วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566

ภาษาที่มีการจัดการหน่วยความจำที่ปลอดภัยกำลังพุ่งขึ้น

programmer
ภาพจาก ZDNet

การศึกษาของ Consumer Reports พบว่ามีการใช้ภาษาการเขียนโปรแกรมที่มีการจัดการหน่วยความจำที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา

รายงานกล่าวว่าโครงการอื่น ๆ รวมถึงจาก Meta, โครงการเปิดเผยต้นฉบับ Android ของ Google และเคอร์เนล Linux กำลังใช้ Rust สำหรับโค้ดที่เขียนด้วยภาษา C และ C++ เพื่อทำให้โค้ดมีความปลอดภัยด้านหน่วยความจำมากขึ้น

รายงานกล่าวว่าอาจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์อาจเพิ่มน้ำหนักด้านความผิดพลาดด้านความปลอดภัยของหน่วยความจำในการให้เกรดได้

เหนือสิ่งอื่นใด รายงานแนะนำให้นักพัฒนาจัดทำรายการการด้านความปลอดภัยของหน่วยความจำสำหรับซอฟต์แวร์หนึ่งตัว และจัดทำ "ฉลากโภชนาการ" ที่ให้รายละเอียดเช่นเปอร์เซ็นต์ของโค้ดที่ที่เขียนด้วยภาษาที่ปลอดภัย และการตรวจสอบ (audit) เป็นต้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  ZDNet

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

ตัวแบบคอมพิวเตอร์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่จะนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนที่ใช้ได้ทั่วไป (Universal)

 

H1N1-virus
ภาพจาก UC San Diego Today

ตัวแบบคอมพิวเตอร์ระดับอะตอมของไวรัสไข้หวัด H1N1 ที่พัฒนาโดยนักวิจัยแห่ง University of California, San Diego (UC San Diego) แสดงการเคลื่อนไหวของไกลโคโปรตีนบนพื้นผิวจากการ "การหายใจ" และ "การเอียง"  ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ตัวแบบนี้ทำงานบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Titan ของ Oak Ridge National Laboratory ซึ่งสร้างข้อมูลมูลมหาศาลถึง 160 ล้านอะตอม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UC San Diego Today


วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566

บล็อกเชนและ JavaScript เป็นทักษะการเขียนโปรแกรมที่ต้องการมากที่สุด

software-developer
ภาพจาก  ITPro Today

Digital & IT Skills Report 2023 ของ DevSkiller  รายงานว่าทักษะการเขียนโปรแกรมที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดคือ JavaScript, Java, SQL และ Python

รายงานซึ่งอิงจากการประเมินทักษะ 209,249 รายการที่ส่งผ่านแพลตฟอร์ม DevSkiller ไปยังผู้สมัครและพนักงานทั่วโลก ยังเผยให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้น 552% ในปีที่แล้วสำหรับทักษะการเขียนโปรแกรมบล็อกเชน

Tomasz Nurkiewicz จาก DevSkiller กล่าวว่า "ไม่ว่าตลาดจะเป็นเพราะตลาดไม่สนใจการล่มสลายของคริปโท หรือเพราะองค์กรต่าง ๆ เริ่มใช้บล็อกเชนสำหรับงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน เรายังไม่เห็นการลดลงของข้อมูลในปี 2022 แต่กระบวนการสรรหาบุคลากรอาจล่าช้ากว่าตลาด

แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการปลดพนักงานของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ Nurkiewicz กล่าวว่าบริษัทต่างๆ ยังคงจ้างงานอยู่

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ITPro Today

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566

เซ็นเซอร์ราคาต่ำตรวจจับโลหะหนักจากเหงื่อได้

sensor
ภาพจาก Agencia FAPESP

เซ็นเซอร์แบบพกพาที่ออกแบบโดยนักวิจัยจาก University of São Paulo (USP) ของบราซิล  University of Munich ของเยอรมนี และ Chalmers University of Technology ของสวีเดน ใช้วัสดุที่เรียบง่ายสามารถตรวจจับโลหะหนักในเหงื่อได้

ฐานของอุปกรณ์คือโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (polyethylene terephthalate) ด้านบนเป็นเทปกาวทองแดงที่มีความยืดหยุ่นนำไฟฟ้า ฉลากที่มีเซ็นเซอร์พิมพ์อยู่ และชั้นป้องกันของน้ำยาเคลือบเงาเล็บหรือสเปรย์

เซ็นเซอร์เชื่อมโยงกับโพเทนชิโอมิเตอร์ที่อ่านค่าความเข้มข้นของโลหะแต่ละชนิด โดยผลลัพธ์จะแสดงบนคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนโดยใช้ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน 

Paulo Augusto Raymundo Pereira จาก USP กล่าวว่า "โลกต้องการเซ็นเซอร์ที่ยืดหยุ่นซึ่งผลิตเป็นจำนวนมากได้ง่าย ราคาถูก และรวดเร็ว เช่นเดียวกับอุปกรณ์ของเรา เพื่อใช้สำหรับการตรวจจับหน้างาน การติดตามอย่างต่อเนื่อง และการวิเคราะห์แบบกระจายศูนย์ของสารประกอบอันตราย"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Agencia FAPESP

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566

ผู้ป่วยโรค ALS สร้างสถิติใหม่จากการสื่อสารผ่านการปลูกถ่ายสมอง

brain-computer-interface
ภาพจาก Technology Review

การปลูกถ่ายสมองช่วยฟื้นฟูการสื่อสารสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเส้นโลหิตตีบด้านข้าง (amyotrophic lateral sclerosis) หรือ ALS ทำให้เธอสามารถสร้างสถิติถ่ายทอดคำพูดได้ 62 คำต่อนาที

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดผู้พัฒนาส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ (brain-computer interface) หรือ BCI กล่าวว่าอัตราความถี่ของคำของผู้ป่วยทำได้นั้นดีกว่าสถิติเดิมถึงสามเท่า 

BCI ก่อนหน้านี้ให้อาสาสมัครพูดผ่านคอมพิวเตอร์โดยวางอิเล็กโทรดไว้ด้านบนของสมอง ทีม Stanford กล่าวว่าอุปกรณ์เทียมของพวกเขาแม่นยำกว่าและเร็วกว่าถึงสี่เท่า พวกเขาปรับปรุงความแม่นยำของระบบโดยใช้ซอฟต์แวร์เพื่อคาดเดาว่าคำใดมักจะอยู่ถัดไปในประโยค

นักวิจัยพบว่าพวกเขาผิดพลาดน้อยลงในการทำความเข้าใจผู้ป่วย ALS เนื่องจากจำนวนเซลล์ประสาทที่พวกเขาสามารถอ่านได้พร้อมกันเพิ่มมากขึ้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Technology Review

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566

NASA ต้องการความช่วยเหลือจากเราเพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบ

stars
ภาพจาก PC Magazine

NASA กำลังขอความช่วยเหลือจากสาธารณชนในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบผ่านโครงการวิทยาศาสตร์พลเมือง Exoplanet Watch

Rob Zellem จากห้องปฏิบัติการ Jet Propulsion ของ NASA กล่าวว่าโปรแกรมนี้สอนพลเมืองถึง "วิธีสังเกตดาวเคราะห์นอกระบบและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ที่นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ใช้จริง"

ผู้เข้าร่วมต้องค้นหาความแปรผันของความสว่างปรากฏของดาวฤกษ์ ซึ่งหน่วยงานกล่าวว่า "จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ความแปรปรวนของดาวฤกษ์บางดวงได้ก่อนที่จะศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่ไวต่อแสง เช่น James Webb Space Telescope ของ NASA"

โปรแกรมนี้ช่วยให้ทุกคนที่มีคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนสามารถช่วยนักดาราศาสตร์กรองข้อมูลการสังเกตการณ์ที่ต้องใช้เวลาเป็นทศวรรษได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: PC Magazine

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

ทหารยูเครนที่ได้รับบาดเจ็บจะได้แขนกลชีวภาพ

bionic-arm-for-ukraine
ภาพจาก London Daily Express (U.K.)

บริษัทเทคโนโลยีในสหราชอาณาจักร Open Bionics วางแผนที่จะติดตั้งอวัยวะเทียมชีวภาพที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติให้กับทหารยูเครน 2 นาย เพื่อทดแทนมือที่เสียไปจากระเบิด

นอกจากการจัดหา Hero Arms ที่ผลิตขึ้นเองให้กับทหาร Andrii Gidzun และ Vitalii Ivashchuk ในเดือนหน้าแล้ว ทีม Open Bionics ยังให้การฝึกอบรมทางคลินิกแก่แพทย์ชาวยูเครน 3 คน

Joel Gibbard จาก Open Bionics อธิบายว่าบริษัทได้ออกแบบมือหุ่นยนต์ ซึ่งมีนิ้ว และนิ้วหัวแม่มือที่เคลื่อนไหวได้  โดยใช้เซ็นเซอร์ที่กระตุ้นโดยกล้ามเนื้อที่ปลายแขนของผู้สวมใส่ "สำหรับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เราตั้งเป้าให้มันสามารถจับสิ่งของต่าง ๆ ที่มีขนาดต่างกัน หยิบของ ถือแก้วกาแฟ ผูกเชือกรองเท้า แปรงฟัน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราให้ความสำคัญในการออกแบบ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: London Daily Express (U.K.)

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566

ถอดรหัสคลื่นสมองเพื่อระบุว่ากำลังฟังเครื่องดนตรีอะไรอยู่

Brain-Computer-Interface
ภาพจาก University of Essex (U.K.)


เทคนิคการตรวจสอบคลื่นสมองที่สร้างขึ้นโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Essex ของสหราชอาณาจักรสามารถระบุได้ว่าผู้คนกำลังฟังเครื่องดนตรีชิ้นใดอยู่

นักวิจัยได้รวม MRI เชิงฟังก์ชัน (functional MRI)  เข้ากับการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองเพื่อวัดการทำงานของสมองในขณะฟังเพลง พวกเขาใช้ตัวแบบเครือข่ายประสาทการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อแปลข้อมูลนี้เพื่อสร้างใหม่และระบุชิ้นส่วนของดนตรีได้อย่างแม่นยำด้วยความแม่นยำ 71.8%

Ian Daly จาก Essex กล่าวว่า "เราได้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถถอดรหัสเสียงดนตรีได้ ซึ่งบ่งชี้ว่าวันหนึ่งเราอาจจะสามารถถอดรหัสภาษาจากสมองได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Essex (U.K.)


วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566

แอประบุภาวะขาดสารอาหาร

 

Rian-Tiwari
Rian Tiwari ภาพจาก IEEE Spectrum

แอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่พัฒนาโดย Rian Tiwari นักเรียนมัธยมปลายในรัฐนิวเจอร์ซีย์ช่วยให้สตรีมีครรภ์สามารถสแกนเล็บมือเพื่อระบุว่าตนเองขาดสารอาหารหรือไม่

แอปนี้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) เพื่อระบุสัญญาณของการขาดสารอาหารและแนะนำการเปลี่ยนแปลงอาหารและการใช้ชีวิตเพื่อรักษาภาวะดังกล่าว

อัลกอริทึมที่พัฒนาโดย Tiwari จำแนกภาพเล็บว่ามีสุขภาพดีหรือไม่แข็งแรงตามลักษณะที่ปรากฏ โดยมองหารอยแตก สัน การลอก และการเปลี่ยนสี

Tiwari กำลังดำเนินการปรับปรุงแอปเพื่อระบุภาวะขาดสารอาหารตามภาพริมฝีปากและเปลือกตาด้านใน และเพื่อแนะนำยาและอาหารเสริมวิตามิน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566

ทำไมนักพัฒนาซอฟต์แวร์จึงเป็นงานอันดับหนึ่งในปี 2023

software-development
ภาพจาก U.S. News & World Report

การจัดอันดับงานที่ดีที่สุด 100 อันดับของ US News & World Report จัดอันดับให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นตำแหน่งงานสูงสุดในปีนี้ เพิ่มขึ้นสี่อันดับจากปีที่แล้ว

ผู้เชี่ยวชาญอ้างถึงความสำคัญของซอฟต์แวร์ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ การขาดแคลนนักเทคโนโลยีทั่วโลก และความจำเป็นที่ธุรกิจต่างๆ จะต้องก้าวให้ทันกับสาขานี้

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ยังมีบทบาทสำคัญเมื่อบริษัทดำเนินการอัพเกรดเทคโนโลยี Thomas Longstaff แห่งมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon กล่าวว่า "อาชีพพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวตกรรมแห่งอนาคต ความตื่นเต้นของการสร้างสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นทำให้อาชีพซอฟต์แวร์นั้นน่าสนใจมาก"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: U.S. News & World Report

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566

โปรแกรมสอนบุคลากรกองทัพอากาศสหรัฐ AI พื้นฐาน

MIT-AI-Teaching_program
ภาพจาก MIT News

นักวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเมินโปรแกรมสำหรับสอนเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศสหรัฐ (USAF) เกี่ยวกับพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI พบว่าวิธีการนี้ได้ผลและได้รับการตอบรับอย่างดีจากพนักงาน

ผู้เชี่ยวชาญของ MIT Open Learning ใช้เนื้อหาและทรัพยากรด้านการศึกษาของ AI ที่มีอยู่เพื่อสร้างหลักสูตรสำหรับผู้นำ นักพัฒนา และผู้ใช้ของ USAF และสร้างหลักสูตรทดลองเพิ่มเติมสำหรับผู้นำของ Air and Space Forces

นักวิจัยที่ประเมินผลลัพธ์ของโปรแกรมพบว่าผู้เข้าร่วมตอบสนองได้ดีต่อการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง และชอบการเรียนรู้แบบอะซิงโครนัส และการเรียนแบบใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เหมาะกับตารางเวลาของพวกเขา

พวกเขายังชอบประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการทำงานเป็นทีม แต่ต้องการเนื้อหาที่เป็นมืออาชีพ และเนื้อหาด้าน soft skill 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News


วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566

ทักษะด้าน JavaScript, Java และ Python เป็นที่ต้องการในระดับสูง

help-wanted-sign
ภาพจาก  InfoWorld

แพลตฟอร์มจ้างงานด้านเทคโนโลยี CodinGame และ CoderPad คาดการณ์ว่าทักษะการเขียนโค้ดด้วยภาษา JavaScript, Java และ Python จะเป็นที่ต้องการมากที่สุดจากนักพัฒนาในปีนี้ แม้ว่าความต้องการโปรแกรมเมอร์ที่เชี่ยวชาญใน TypeScript, Swift, Scala, Kotlin และ Go คาดว่าจะเกินจากจำนวนที่มีอยู่

รายงาน The State of Tech Hiring ในปี 2023 ของ CodinGame-CoderPad ได้สำรวจผู้เชี่ยวชาญ 14,000 คนและพบว่า Node.js, React และ .NET Core เป็นเฟรมเวิร์กการพัฒนาที่พวกเขารู้จักดีที่สุดและเป็นที่ต้องการมากที่สุด

หนึ่งในสามของนักพัฒนาที่ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขารู้สึกมีความมั่นคงในงานมากกว่าปีที่แล้ว การพัฒนาเว็บ ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) /การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และการพัฒนาเกม คือสามทักษะทางเทคนิคที่ผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าพวกเขาต้องการเรียนรู้มากที่สุด 

ขณะที่นายหน้าหางานกล่าวว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับมืออาชีพที่มีทักษะในการพัฒนาเว็บ devop และการพัฒนาซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลมากที่สุด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: InfoWorld


วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566

World Economic Forum วางแผนจะให้ผู้นำมารวมตัวกันในจักรวาลนฤมิตร

metaverse
ภาพจาก  Time

World Economic Forum (WEF) ตั้งใจที่จะเปิดตัวพื้นที่การประชุมในจักรวาลนฤมิตร (metaverse) ที่เรียกว่า Global Collaboration Village ในการประชุม Davos 2023 ในสัปดาห์นี้ ก่อนการใช้งานเต็มรูปแบบ

หมู่บ้านเสมือนจริงจำลองมาจากเมืองในสวิส ซึ่งผู้นำสามารถใช้อวตารเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ได้ ไม่ว่าจะผ่านเครื่องVR เช่น ชุดหูฟัง Oculus หรือผ่านโทรศัพท์หรือแล็ปท็อป

หมู่บ้านกำลังสร้างโดยใช้ Microsoft Mesh ซึ่งเป็นการอัปเกรด Microsoft Teams ให้เป็นแบบสามมิติ Schwab จาก WEF หวังว่าสภาพแวดล้อมจะทำหน้าที่เป็นสถานที่รวมตัวสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ Davos โดยขยายกิจกรรมจากการประชุมหนึ่งสัปดาห์เป็นโปรแกรมตลอดทั้งปี

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Time

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์บอกว่า "ศิลปิน" AI สมควรได้ลิขสิทธิ์ในผลงานของตัวเอง

man-holds-AI-label
Photo by Hitesh Choudhary on Unsplash

Stephen Thaler นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ได้ร้องขอต่อศาลแขวงในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ให้ตัดสินให้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ของเขาคือ Creativity Machine สมควรได้รับลิขสิทธิ์สำหรับงานศิลปะที่ผลิตขึ้น

Thaler ขอให้ศาลเพิกถอนคำตัดสินของสำนักงานลิขสิทธิ์แห่งสหรัฐอเมริกาที่ตัดสินว่างานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์จะต้องประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์เท่านั้น 

Ryan Abbott ทนายความของเขาจาก Brown Neri Smith & Khan กล่าวว่าคดีนี้มี "ความสำคัญทางการเงินอย่างแท้จริง" ที่อาจถูกมองข้ามไปก่อนหน้านี้ และการคุ้มครองงานศิลปะที่สร้างโดย AI จะเป็นไปตามเป้าหมายของกฎหมายลิขสิทธิ์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

คอมพิวเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับอาจทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลก

car-emission
ภาพจาก MIT News

นักวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology (MIT)  ระบุว่า คอมพิวเตอร์ที่ขับเคลื่อนพาหนะไร้คนขับสามารถสร้างก๊าซเรือนกระจกได้มากเท่ากับศูนย์ข้อมูลทุกแห่งทั่วโลกที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศประเมินว่าศูนย์ข้อมูลเหล่านี้สร้างการปล่อยคาร์บอนประมาณ 0.3% ของการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกในปัจจุบัน

แบบจำลองทางสถิติของนักวิจัย MIT คำนวณว่าการปล่อยก๊าซของยานยนต์ไร้คนขับ 1 พันล้านคันอาจเท่ากับปริมาณการปล่อยมลพิษทั่วโลกของศูนย์ข้อมูล ถ้ารถแต่ละคันติดตั้งคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำลังไฟฟ้า 840 วัตต์ และขับเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อวัน

กว่า 90% ของการจำลองแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ของรถแต่ละคันต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้รถขับเคลื่อนอัตโนมัติปล่อยมลพิษเกินกว่าศูนย์ข้อมูล

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2566

ความผิดพลาดในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์คือสาเหตุหลักของการที่ระบบคอมพิวเตอร์ของ FAA มีปัญหา

travllers-waiting-at-terminal
ภาพจาก ABC News

เจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐ (Federal Aviation Administration) หรือ FAA ตำหนิข้อผิดพลาดในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ล่มเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งทำให้เที่ยวบินในประเทศต้องหยุดบิน 

เจ้าหน้าที่ FAA กล่าวก่อนหน้านี้ว่าระบบ Notice To all Air Missions (NOTAM) ที่ได้รับผลกระทบได้ส่งการแจ้งเตือนไปยังนักบินถึงอันตรายจากการบินและข้อจำกัดในเวลาขณะนั้น เจ้าหน้าที่อาวุโสกล่าวว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นจากวิศวกร "แทนที่ไฟล์หนึ่งด้วยอีกไฟล์หนึ่ง" โดยไม่เจตนา ทำให้เกิดความผิดพลาดของระบบสารสนเทศต่อเนื่องงเป็นลำดับ 

FAA ย้ำว่าไม่มีการระบุการโจมตีทางไซเบอร์ ขณะที่ Pete Buttigieg รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าจำเป็นต้องมีการสอบสวนเต็มรูปแบบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในอนาคต

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ABC News

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

โปรแกรม AI ของ Microsoft สามารถโคลนเสียงจากคลิปวีดีโอยาวสามวินาที

faces-of-droid
ภาพจาก PC Magazine

โปรแกรมสังเคราะห์ข้อความเป็นคำพูด VALL-E ของ Microsoft สามารถทำซ้ำหรือ "โคลน" เสียงของบุคคลจากคลิปเสียงยาวสามวินาที

นักวิจัยของ Microsoft ฝึกอบรม VALL-E โดยใช้คำบรรยายหนังสือเสียงภาษาอังกฤษ 60,000 ชั่วโมงจากผู้บรรยายมากกว่า 7,000 คน

ตัวแบบแปลงเสียงพูดเป็น "โทเค็นแยกจากกัน (discrete token)" จากนั้นทำโทเค็นซ้ำเพื่อใช้พูดข้อความอื่น VALL-E สามารถควบคุมเสียงจำลองให้พูดอะไรก็ได้ตามต้องการ เช่นเดียวกับการสร้างอารมณ์หรือปรับแต่งเสียงให้เป็นรูปแบบการพูดที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยอมรับว่า "เนื่องจาก VALL-E สามารถสังเคราะห์เสียงพูดที่รักษาเอกลักษณ์ของผู้พูดได้ จึงอาจมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ตัวแบบในทางที่ผิด เช่น การปลอมแปลงเสียงเพื่อใช้ในการระบุบุคล และการการแอบอ้างการเป็นผู้พูด"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: PC Magazine


วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566

Google, DeepMind เปิดตัวตัวแบบภาษา MedPaLM

AI-in-Healthcare
ภาพจาก Interesting Engineering

Alphabet บริษัทที่แตกออกมาจาก Google และ DeepMind ได้เปิดตัวตัวแบบภาษาขนาดใหญ่ (large language model) หรือ LLM คือ MedPaLM ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้คำตอบที่ปลอดภัยและมีประโยชน์สำหรับคำถามในด้านการแพทย์

ตัวแบบนี้ใช้ชุดข้อมูลหลายตัว หนึ่งในนั้นคือ HealthSearchQA ซึ่งมีคำถามที่ผู้คนมักจะถามบ่อย ๆ จำนวน 3375 คำถาม 

MedPaLM สามารถตอบคำถามแบบปรนัยและคำถามง่ายๆ จากทั้งผู้ที่ประกอบอาชีพทางการแพทย์และไม่ใช่ ทีมบุคลากรทางการแพทย์พบว่า 92.6% ของคำตอบของ MedPaLM นั้นถูกต้อง เมื่อเทียบกับ 92.9% ของคำตอบที่ได้จากแพทย์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566

ศึกษาแผนที่เครื่องหมาย DNA เพื่อเร่งการวินิจฉัยโรคมะเร็ง

DNA
ภาพจาก The Jerusalem Post (Israel)

นักวิจัยจาก Hebrew University of Jerusalem (HU) ของอิสราเอล Hadassah-University Medical Center จากเยรูซาเล็ม และ GRAIL ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในซานฟรานซิสโก ทำแผนที่เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) ในเซลล์ของมนุษย์ รวมถึงที่ตั้งของจีโนมที่ควบคุมการเปิด/ปิดการทำงานของยีน

Tommy Kaplan จาก HU กล่าวว่าทีมพัฒนาอัลกอริทึมและเครื่องมือคำนวณสำหรับการแทนและวิเคราะห์ข้อมูลลำดับของ DNA จำนวนมหาศาล และระบุบริเวณจีโนมนับพันตำแหน่งที่มีเมทิลเลต (methylated) ที่ไม่ซ้ำกับใครในเซลล์เฉพาะประเภทในร่างกายของเรา”

Kaplan กล่าวว่าพื้นที่เหล่านั้น "ช่วยให้เราสามารถระบุและวัดปริมาณ DNA จากเซลล์แต่ละประเภทได้อย่างแม่นยำอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และจะช่วยกำหนดสัดส่วนของเซลล์แต่ละประเภทในตัวอย่างที่มีการผสมเซลล์แบบต่าง ๆ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Jerusalem Post (Israel)


วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566

ChatGPT กำลังช่วยผู้ที่่เขียนโปรแกมไม่เป็นให้สร้างมัลแวร์ที่ใช้งานได้

chatGPT
ภาพจาก Ars Technica

ผู้เข้าร่วมในฟอรัมอาชญากรรมไซเบอร์ บางคนไม่มีประสบการณ์ในการเขียนโค้ด หรือมีประสบการณ์น้อยมาก กำลังใช้ ChatGPT ซึ่งเป็นแชทบ็อตปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ที่เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายนในรูปแบบเบต้า เพื่อเขียนมัลแวร์ที่ใช้งานได้จริง ตามรายงานจากบริษัทความมั่นคง Check Point Research 

ตัวอย่างเช่น ผู้เข้าร่วมรายหนึ่งให้เครดิต ChatGPT จากการให้ความช่วยเหลือที่ยอดเยี่ยม กับสิ่งที่ถูกอ้างว่าเป็นสคริปต์แรกที่คนคนนั้นเขียนขึ้น

นักวิจัยของ Check Point พบว่าสคริปต์สามารถ "แก้ไขได้อย่างง่ายดายเพื่อใช้เข้ารหัสเครื่องของใครบางคนโดยสมบูรณ์โดยไม่ต้องมีการโต้ตอบกับผู้ใช้"

นักวิจัยของ Check Point เองก็พัฒนามัลแวร์ที่มีกระบวนการสำหรับการติดไวรัสเต็มรูปแบบโดยใช้ความช่วยเหลือจาก ChatGPT  พวกเขาเขียนสรุปว่า "งานยากทำโดย AI ไปแล้ว สิ่งที่เหลือให้เราทำคือสั่งการโจมตี"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566

โรงเรียนในนิวยอร์คห้ามการใช้ chatGPT เนื่องจากกลัวการโกง

chatGPT
ภาพจาก CNet

New York City Department of Education (NYCDOE) กล่าวว่าได้ห้ามการเข้าถึงแชทบอท ChatGPT บนอุปกรณ์และเครือข่ายออนไลน์เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับ "ผลกระทบเชิงลบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและ ความถูกต้องของเนื้อหา"

Jenna Lyle จาก NYCDOE กล่าวว่า "แม้ว่าเครื่องมือนี้อาจสามารถตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย แต่เครื่องมือนี้ไม่ได้สร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา ซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จทางวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

นักเรียนและครูยังคงสามารถเชื่อมต่อกับ ChatGPT ได้โดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบของโรงเรียน Lyle ยังกล่าวอีกว่าคนที่สนใจศึกษาเทคโนโลยีพื้นฐานของแชทบอทสามารถร้องขอการเข้าถึงได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNet

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566

NSF มุ่งเป้าการให้ทุนเพื่อปรับปรุงความหลากหลายของแรงงานด้าน AI

man-with-AR-headset
ภาพจาก Nextgov

มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) หรือ NSF ของสหรัฐอเมริกา และองค์กรวิจัยของรัฐบาลกลางอีก 6 องค์กรจะผลักดันให้ส่งเสริมบุคลากรด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI และการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) หรือ ML ที่ครอบคลุมมากขึ้นผ่านโครงการ ExpandAI

โปรแกรมนี้จะเพิ่มช่องทางการระดมทุนของรัฐบาลกลางมากขึ้นในการวิจัยและพัฒนา AI ภายในมหาวิทยาลัยที่มีประชากรนักศึกษาที่หลากหลายและมุ่งเน้นไปที่การศึกษาด้าน AI 

ExpandAI จะจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัย AI ระดับชาติที่เข้าร่วม โครงการพัฒนาศักยภาพจะมุ่งสร้างศูนย์การศึกษา AI แห่งใหม่ภายในสถาบันสำหรับชนกลุ่มน้อยซึ่งปัจจุบันยังขาดหลักสูตร AI/ML และจะรองรับนักศึกาชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน/อเมริกันผิวดำ ชาวอเมริกันเชื้อสายฮิสแปนิก ชาวอเมริกันอินเดียน ชาวอะแลสกา ชาวฮาวายพื้นเมือง และชาวเกาะแปซิฟิกจำนวนมาก

Margaret Martonosi จาก NSF กล่าวว่า "เราหวังว่าจะได้เห็นการมีส่วนร่วมที่หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้นของนักประดิษฐ์ที่มีความสามารถจากทั่วประเทศของเรา เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมด้าน AI"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Nextgov



วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566

ภาษาเขียนโปรแกรม: ทำไมภาษาเก่าแก่ยอดนิยมตัวนี้กำลังกลับมาพุ่งอีกครั้ง

man-using-3-monitors
Photo by Max Duzij on Unsplash

Tiobe บริษัททดสอบซอฟต์แวร์ได้เลือก C++ เป็นภาษาโปรแกรมของปี 2022 รายงานการใช้งานจาก Tiobe พบว่ามันเพิ่มขึ้นเร็วกว่าภาษาอื่น ๆ ทั้งหมดเมื่อปีที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้น 4.26% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปี 2022 ยิ่งไปกว่านั้นในดัชนีรายเดือนแรกของปีนี้ มันถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 3

C++ ได้รับความนิยมเร็วกว่าภาษาอื่น ๆ ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจาก "ประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมในขณะที่เป็นภาษาเชิงวัตถุระดับสูง" Paul Jensen CEO ของ Tiobe กล่าว

Jensen กล่าวเสริมว่า "ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปได้ที่จะพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่รวดเร็วและใหญ่ (โค้ดหลายล้านบรรทัด) ในภาษา C++ โดยไม่จำเป็นต้องจบลงด้วยฝันร้ายในการบำรุงรักษา"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2566

ใช้ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างระบบรู้จำใบหน้าที่ไม่ลำเอียง

AI-generated-image
ภาพจาก USC Viterbi School of Engineering

Jiazhi Li และ Wael AbdAlmageed จาก Information Sciences Institute แห่งมหาวิทยาลัย Southern California ได้พัฒนาวิธีการสร้างซอฟต์แวร์จดจำใบหน้าที่ไม่ลำเอียงด้วยการสร้างภาพใหม่ขึ้นมา

AbdAlmageed กล่าวว่า "เราสามารถสร้างชุดข้อมูลการฝึกอบรมสังเคราะห์ที่เมื่อรวมกับข้อมูลจริงแล้ว จะมีตัวอย่างภาพใบหน้าที่มีลักษณะต่างๆ กันในจำนวนที่สมดุล (เช่น อายุ เพศ และสีผิว)"

วิธีการที่เรียกว่า Controllable Attribute Translation for Fair Facial Attribute Classification ช่วยให้ซอฟต์แวร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยมีอคติที่น้อยกว่ามากอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากภาพตัวอย่างมีระดับที่สมดุลของแอตทริบิวต์ทั้งหมด

Li กล่าวว่าโปรแกรมการจดจำใบหน้าสามารถฝึกด้วยภาพสังเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิผลดีเช่นเดียวกับการใช้ภาพจริง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: USC Viterbi School of Engineering

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2566

Chatbot ที่ร่าเริงไม่ได้หมายถึงการปรับปรุงบริการลูกค้าที่ดีขึ้น

chatbot
ภาพจาก Georgia Tech Research

Chatbots ที่แสดงอารมณ์เชิงบวกไม่ได้ปรับปรุงการบริการลูกค้าเสมอไป จากการศึกษาของนักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology (Georgia Tech)

แชทบอทแสดงอารมณ์โดยใช้คำคุณศัพท์ทางอารมณ์เชิงบวก เช่น "ตื่นเต้น" "ดีใจ" "มีความสุข" หรือ "ดีใจ" และใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์มากขึ้น

การวิเคราะห์หนึ่งแสดงว่าอารมณ์เชิงบวกมีประโยชน์มากกว่าเมื่อแสดงโดยตัวแทนที่เป็นคนมากกว่าที่เป็นบอท 

การศึกษาครั้งที่สองพบว่าผู้เข้าร่วมชื่นชมแชทบอทเชิงบวกมากกว่าถ้าเป็นเรื่องของชุมชนเมื่อเทียบกับการทำธุรกรรม  และการวิเคราะห์สุดท้ายพบว่าลูกค้าที่มุ่งหวังกับแชทบอทแสดงอารมณ์มักจะตอบสนองเชิงบวกต่อพวกมัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Georgia Tech Research


วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2566

คนหนุ่มสาวต้องการแอปสุขภาพจิตที่น่าเชื่อถือ

 

people-using-smart-phone
ภาพจาก University of Edinburgh

จากผลการวิจัยของ University of Edinburgh ในสหราชอาณาจักรสรุปว่า การขาดความน่าเชื่อถือของแอปสุขภาพจิตอาจทำให้คนหนุ่มสาวไม่ใช้

นักวิจัยใช้ตัวแบบทางสถิติเพื่อประเมินทัศนคติของผู้เข้าร่วม 248 คนที่มีอายุระหว่าง 17 ถึง 25 ปีที่มีต่อเทคโนโลยีด้านสุขภาพดิจิทัล พวกเขาสังเกตเห็นความสัมพันธ์เชิงบวกเล็กน้อยถึงปานกลางกับความตั้งใจที่สูงขึ้นในการใช้แหล่งข้อมูลด้านสุขภาพจิตดิจิทัล เมื่อเทคโนโลยีได้รับการพิจารณาว่าน่าเชื่อถือและมีประโยชน์

อย่างไรก็ตาม ไม่มีความแตกต่างในความตั้งใจที่จะใช้ทรัพยากรโดยพิจารณาจากความสะดวกในการใช้งานหรือความต้องการด้านสุขภาพจิต 

Vilas Sawrikar แห่ง University of Edinburgh กล่าวว่า "ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความน่าเชื่อถือของสุขภาพจิตแบบดิจิทัล พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์และประสิทธิผลเพื่อปรับปรุงการซึมซับของเยาวชน"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Edinburgh

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566

นักวิจัยจาก Cambridge พัฒนาเครื่องมือ VR เพื่อรักษามะเร็ง

person-wearing-VR-Headset
ภาพจาก PC Magazine

นักออกแบบวิดีโอเกมและนักวิจัยด้านมะเร็งได้ร่วมมือกันที่ห้องปฏิบัติการ IMAXT ของ University of Cambridge ในสหราชอาณาจักร เพื่อเปลี่ยนข้อมูลสเปรดชีตให้เป็นภาพความจริงเสมือน (virtual reality) หรือ VR ที่มีรายละเอียดสูงของเซลล์มะเร็ง

ด้วยชุดสวมหัว VR ผู้ใช้สามารถเดินเข้าไปภายในเนื้องอกของผู้ป่วย ทำให้ประเมินความรุนแรงและต้นกำเนิดของเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น และรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิธีการรักษา

อ่านข่าวเต็มได้ที่: PC Magazine

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566

โค้ดที่ถูกสร้างจาก AI อาจมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัย


programming-code
ภาพจาก TechCrunch

วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ใช้โค้ดที่สร้างโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดช่องโหว่ด้านความมั่นคงในแอพที่พวกเขาพัฒนา ตามรายงานของนักวิจัยจาก Stanford University

พวกเขาศึกษา Codex ซึ่งเป็นระบบสร้างรหัส AI ที่พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการวิจัย OpenAI นักวิจัยได้คัดเลือกนักพัฒนาเพื่อใช้ Codex เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในภาษาการเขียนโปรแกรม รวมถึง Python, JavaScript และ C 

ผู้เข้าร่วมที่ใช้ Codex มีแนวโน้มที่จะเขียนวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้องและ "ไม่มั่นคง" เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และพวกเขามีแนวโน้มที่จะบอกว่าคำตอบที่ไม่มั่นคงนั้นมั่นคงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: TechCrunch


วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566

AI เบื้องหลัง ChatGPT อาจช่วยชี้อาการเบื้องต้นของอัลไซเมอร์

Chat-on-Computer
ภาพจาก Drexel University

GPT-3 ของ OpenAI ซึ่งเป็นอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ที่ใช้ในแชทบอท ChatGPT สามารถใช้ทำนายระยะแรกของภาวะสมองเสื่อมได้ จากการศึกษาของนักวิจัยจาก Drexel University

นักวิจัยได้ฝึกโปรแกรมโดยใช้การถอดเสียงจากชุดข้อมูลการบันทึกเสียงพูดที่รวบรวมเพื่อทดสอบความสามารถของโปรแกรมประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) ในการทำนายภาวะสมองเสื่อม จากนั้นให้โปรแกรมระบุว่าเสียงจากชุดข้อมูลนั้นมาจากคนที่มีอการอัลไซเมอร์ระยะแรกหรือไม่ 

พวกเขาพบว่า GPT-3 มีประสิทธิภาพดีกว่าโปรแกรม NLP ชั้นนำ 2 โปรแกรมในการระบุตัวอย่างทั้งที่เป็นอัลไซเมอร์และไม่ใช่อัลไซเมอร์ได้อย่างแม่นยำ

นักวิจัยยังพบว่า GPT-3 มีความแม่นยำมากกว่าเกือบ 20% ในการทำนายคะแนนของผู้ป่วยในการสอบ Mini-Mental State ซึ่งมักใช้ในการทำนายความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Drexel University

หุ่นยนต์กำลังสะสมความฉลาดของมด

carpenter-ant
Photo by VD Photography on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์ของ Harvard University สร้างตัวแบบทีมหุ่นยนต์ตามแมลงสังคม (social insects) dเพื่อทำงานที่ซับซ้อนร่วมกันโดยใช้พารามิเตอร์เพียงไม่กี่ตัว

นักวิจัยสังเกตมดช่างไม้สีดำ (black carpenter ant) ขณะที่พวกมันร่วมกันขุดและหนีออกจากคอกที่ทำจากวัสดุอ่อนนุ่ม โดยสังเกตถึงความแข็งแกร่งของความร่วมมือร่วมและอัตราการขุดค้นเป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

นักวิจัยได้สร้างหุ่นยนต์มด (robotic ants) หรือ RANts เพื่อทำงานที่คล้ายกัน โดยใช้สนามแสงหรือ "โฟโตร์โมน (photormone)" ที่เลียนแบบสนามฟีโรโมนหรือเสาอากาศของมด

S. Ganga Prasath แห่ง Harvard University กล่าวว่า "เราได้แสดงให้เห็นว่าการทำงานให้สำเร็จลุล่วงแบบร่วมมือสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไรจากกฎง่าย ๆ และกฎเชิงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันสามารถนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนอื่น ๆ เช่น การก่อสร้าง การค้นหาและกู้ภัย และการป้องกัน"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Harvard University John A. Paulson School of Engineering and Applied Sciences