วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

วีดีโอแบบเรียลไทม์สำหรับฉากที่ซ่อนอยู่ตามมุมตอนนี้เป็นไปได้แล้ว

Scence-Around-Corner
ภาพจาก University of Wisconsin-Madison

นักวิจัยจาก University of Wisconsin-Madison (UW) และ Polytechnic University of Milan ของอิตาลี ได้สร้างเทคนิคการถ่ายภาพแบบไม่อยู่ในแนวสายตา (non-line0of-sight) ซึ่งสามารถแสดงวิดีโอของฉากที่ซ่อนอยู่แบบเรียลไทม์ เทคนิคนี้ผสมผสานเซ็นเซอร์ที่มีความไวสูงเป็นพิเศษและมีความไวแสงสูง กับอัลกอริธึมการสร้างวิดีโอขั้นสูง วิธีการนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับฉากโดยสะท้อนแสงจากพื้นผิว และตรวจจับเสียงสะท้อนของแสงนั้นขณะที่แสงสะท้อนกลับ มันมองเห็นตามมุมโดยการตรวจจับการสะท้อนของเสียงสะท้อนเหล่านั้น Andreas Velten แห่ง UW กล่าวว่า "โดยพื้นฐานแล้วมันคือการกำหนดตำแหน่งด้วยเสียงสะท้อน (cholocation) แต่ใช้เสียงสะท้อนเพิ่มเติม เช่นเสียงก้อง (reverb)"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Wisconsin-Madison News


วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ความเป็นส่วนตัวของบิ๊กดาตาสำหรับการเรียนรู้ของเครื่องตอนนี้ถูกกว่าเดิมเป็น 100 เท่า

Shrivastava-Coleman
Anshumali Shrivastava และ Ben Coleman ภาพจาก Rice University

Anshumali Shrivastava และ Ben Coleman จาก Rice University ได้พัฒนา RACE (repeated array of count estimators) ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่แพงในการทำให้ข้อมูลส่วนบุคลลมีความเป็นส่วนตัวเมื่อใช้หรือแบ่งปันฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) หรือ ML โดย Coleman กล่าวว่าภาพร่างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ  RACE นั้นปลอดภัยสำหรับการเผยแพร่สู่สาธารณะ และมีประโยชน์สำหรับอัลกอริธึมที่ใช้เคอร์เนลซัม (kernel sum) และสำหรับโปรแกรม ML ที่ดำเนินงานทั่วไป เช่น การจำแนกประเภท (classification) การจัดอันดับ (ranking) และการวิเคราะห์การถดถอย (regression analysis)  Shrivastava กล่าวว่า "RACE เปลี่ยนแปลงเศรษฐศาสตร์ของการเปิดเผยข้อมูลที่มีมิติสูงด้วยความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกัน มันง่าย รวดเร็ว และราคาถูกกว่าวิธีการที่มีอยู่ 100 เท่า"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Rice University News


วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

การพิมพ์ 3 มิติ และการเรียนรู้ของเครื่องร่วมกันปรับปรุงการปลูกถ่ายประสาทหู

cochlear-3d-printed
ภาพจาก University of Cambridge (U.K.)

การปรับปรุงการปลูกถ่ายประสาทหู (cochlear implant) หรือ CI โดยการรวมการพิมพ์สามมิติ และการเรียนรู้ด้วยเครื่อง (machine learning) หรือ ML เป็นเป้าหมายของวิจัยซึ่งประกอบไปด้วยทีมวิศวกรและแพทย์ชาวอังกฤษ และชาวจีน นักวิจัยได้พิมพ์แบบจำลอง 3 มิติของประสาทหูของมนุษย์เพื่อตรวจสอบว่ารูปร่างของตัวแบบและ "การแพร่กระจายของกระแส" ส่งผลต่อกระแสหรือการกระตุ้นกระแสไฟฟ้าในหูอย่างไรบ้าง การเพิ่ม ML ให้กับกระบวนการทำให้สามารถคาดการณ์การแพร่กระจายของกระแสในผู้ใช้ CI ได้ ซึ่งสามารถใช้เพื่อคาดการณ์ช่วงความต้านทานของเนื้อเยื่อประสาทหูเทียมของผู้ป่วย Shery Juang จาก University of Cambridge แห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า การพิมพ์ 3 มิติ "เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างตัวแบบทางกายภาพ ซึ่งอาจให้ชุดข้อมูลการฝึกอบรมที่มีลักษณะเฉพาะเป็นอย่างดี เพื่อเป็นตัวแทนของข้อมูลทางคลินิกสำหรับการเรียนรู้ของเครื่อง หลักการสร้างตัวแบบร่วมในการศึกษานี้ อาจเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาด้านอื่น ๆ ของตัวแบบทางคลินิก และแอปพลิเคชันด้านการดูแลสุขภาพ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Cambridge (U.K.)


วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ข่าวจริงและไม่จริงเผยแพร่ได้อย่างเท่า ๆ กันบนทวิตเตอร์

twitter
ภาพจาก Cornell Chronicle

ผลการศึกษาพบว่าทั้งข่าวจริงและข่าวเท็จแพร่กระจายผ่านทวิตเตอร์ ด้วยความเร็ว ความกว้าง และความลึกเท่ากัน ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นว่าเหตุใดความพยายามในการหยุดการบิดเบือนข้อมูลบนแพลตฟอร์มจึงประสบความสำเร็จอย่างจำกัด Jonas Juul แห่ง Cornell University และ Johan Ugander แห่ง Stanford University มุ่งเน้นไปที่โครงสร้างของ "การส่งต่อ (cascade)" ของทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นการหาปริมาณของเส้นทางทวีตที่เป็นไวรัลจากผู้โพสต์เริ่มต้นผ่านเครือข่ายผ่านการรีทวีต ทวีตที่ได้รับความนิยมมากขึ้นมีการส่งต่อที่มากกกว่า และนักวิจัยได้วิเคราะห์การส่งต่อที่มีขนาดเท่ากัน ซึ่งอนุมานว่าทวีตจริงและไม่จริงมีผู้ใช้จำนวนเท่ากัน การส่งต่อของทวีตจริงและไม่จริงที่แชร์กันอย่างเท่าเทียมกันนั้นแทบจะเท่ากันหมด เปลี่ยนแนวคิดที่เข้าใจกันแย่างแพร่หลายว่าทวีตที่ไม่จริงเดินทางเร็วกว่า นักวิจัยกล่าวว่าสิ่งนี้จะจำกัดมาตรการตอบโต้การบิดเบือนข้อมูล เช่น ตั้งค่าสถานะทวีตที่เป็นไวรัลด้วยแบบรูปการแพร่กระจายแบบยาว (long diffusion pattern) หรือลดความสำคัญของฮับหลักในฟีดข่าว พวกเขาแนะนำว่าการทำให้ผู้ใช้มีความรู้ด้านดิจิทัลที่ดีขึ้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Cornell Chronicle

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านลำดับจีโนมใด ๆ เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมของมัน

DNA
Photo by ANIRUDH on Unsplash

นักวิจัยจาก Harvard University ได้พัฒนาโปรแกรมที่สามารถอ่านลำดับจีโนมของสิ่งมีชีวิต และกำหนดรหัสพันธุกรรม ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจวิวัฒนาการของรหัสพันธุกรรม แม้ว่าสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ใช้รหัสพันธุกรรมเดียวกัน แต่ก็มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ใช้รหัสพันธุกรรมทางเลือก โปรแกรมใหม่ที่ชื่อ Codetta สามารถใช้เพื่อระบุสิ่งมีชีวิตที่ใช้รหัสพันธุกรรมทางเลือก นักวิจัยได้ใช้ Codetta ในการวิเคราะห์ลำดับจีโนมของแบคทีเรียมากกว่า 250,000 ตัว และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอื่น ๆ และพบว่ามีสิ่งมีชีวิต 5 ตัวซึ่งถูกกำหนดรหัสของกรดอะมิโนอาร์จินีน (arginine) ใหม่ให้กับกรดอะมิโนที่ต่างออกไป ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เห็นการสลับนี้ในแบคที่เรีย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: News-Medical Life Sciences

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

การแผ่รังสีนิวเคลียร์ถูกใช้ในการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัลแบบไร้สาย

ืีnuclear-plant
ภาพจาก Lancaster University (U.K.)

ข้อมูลที่เข้ารหัสแบบดิจิทัลถูกส่งแบบไร้สายโดยใช้รังสีนิวเคลียร์ จากผลงานของวิศวกรของ Lancaster University แห่งสหราชอาณาจักร และ Jožef Stefan Institute ของสโลวีเนีย นักวิจัยส่งข้อมูลโดยใช้นิวตรอนเร็วที่ปล่อยออกมาจากไอโซโทปกัมมันตภาพรังสี californium-252 เครื่องตรวจจับประเมินการปล่อยรังสีซึ่งถูกบันทึกไว้ในแล็ปท็อป นักวิจัยได้เข้ารหัสข้อมูลเป็นลำดับ ซึ่งรวมถึงคำ ตัวอักษร และตัวเลขสุ่มที่เลือกแบบไม่มีรูปแบบเพื่อในการปรับสนามนิวตรอน และถอดรหัสผลลัพธ์บนแล็ปท็อปที่ใช้อ่านข้อมูลที่เข้ารหัส Malcolm Joyce แห่ง Lancaster กล่าวว่า "เราแสดงให้เห็นศักยภาพของการแผ่รังสีนิวตรอนเร็วในฐานะสื่อกลางสำหรับการสื่อสารแบบไร้สาย สำหรับการใช้งานที่การส่งผ่านแม่เหล็กไฟฟ้าแบบธรรมดาไม่สามารถทำได้หรือมีข้อจำกัดในตัวมันเอง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Lancaster University (U.K.)

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เมื่ออัลกอริทึมมีความสร้างสรรค์

numeric-code
ภาพจาก University of Bern (Switzerland)

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่นำโดย University of Bern ของสวิตเซอร์แลนด์ได้พัฒนาอัลกอริธึมเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary algorithm) ที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์ อัลกอริธึมดังกล่าวกำหนด "ความเหมาะสม (fitness)" ของสิ่งที่เป็นคำตอบที่เป็นไปได้ โดยพิจารณาจากความสามารถว่าแก้ปัญหาที่กำลังศึกษาอยู่ได้ดีเพียงใด แนวทาง evolving-to-learn (E2L) หรือ "ปรับตัวได้ (becoming adaptive)" ของนักวิจัยถูกนำไปใช้กับสถานการณ์การเรียนรู้ทั่วไปสามสถานการณ์ อย่างแรกคือการตรวจจับแบบรูป (pattern) ที่เกิดซ้ำในสตรีมอินพุตแบบต่อเนื่องโดยไม่มีการตอบกลับด้านประสิทธิภาพ ประการที่สองให้รางวัลเสมือนแก่คอมพิวเตอร์สำหรับการมีพฤติกรรมตามที่ต้องการ และอย่างที่สามคือแนะนำคอมพิวเตอร์ว่าพฤติกรรมของมันเบี่ยงออกจากแบบรูปที่ต้องการมากน้อยเพียงใด Jakob Jordan จาก Bern กล่าวว่า "ในแนวทางทั้งหมดนี้" "อัลกอริธึมเชิงวิวัฒนาการสามารถค้นพบกลไก synaptic plasticity และด้วยเหตุนี้จึงแก้ปัญหาใหม่ได้สำเร็จ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Bern (Switzerland)

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

มือหุ่นยนต์แบบคล่องแคล่วจัดการวัตถุได้อย่างง่ายดาย

robot-hand-handle-objects
ภาพจาก MIT Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory

นักวิทยาศาสตร์จาก Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory หรือ CSAILของ Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT  ได้ออกแบบระบบที่ช่วยให้มือหุ่นยนต์จัดการกับวัตถุที่แตกต่างกันมากกว่า 2,000 ชิ้นได้ นักวิจัยใช้มือจำลองที่มีองศาอิสระ 24 องศา และแสดงให้เห็นว่ากรอบการทำงานนี้สามารถปรับให้เข้ากับระบบหุ่นยนต์จริงได้ เฟรมเวิร์กนี้ใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้การเสริมแรงแบบไม่มีตัวแบบ (model-free)  ซึ่งกำหนดฟังก์ชันกำหนดค่าจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เชิงลึก และการฝึกอบรมแบบ "ครูกับนักเรียน" เครือข่าย "ครู" ได้รับการป้อนข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุและหุ่นยนต์ในการจำลอง ซึ่งกลั่นกรองสู่การสังเกต ซึ่งคล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกจริง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สภาคองเกรสสั่งให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อหยุดการเมาแล้วขับ

 

street
ภาพจาก Associated Press

สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาต้องการให้ผู้ผลิตรถยนต์พัฒนาเทคโนโลยีที่ป้องกันการเมาแล้วขับติดตั้งมากับรถยนต์เลย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันด้านความปลอดภัยของรถยนต์ที่รวมอยู่ในแพ็คเกจโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ มาตรการดังกล่าวกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องสร้างระบบตรวจสอบเพื่อหยุดคนเมาเข้าไปขับรถโดยเร็วที่สุดภายในไม่เกินปี 2026 หลังจากกระทรวงคมนาคมของสหรัฐอเมริกากำหนดแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุด และผู้ผลิตรถยนต์มีเวลาเพียงพอในการปฏิบัติตาม กฎหมายระบุเพียงว่าระบบต้อง "ตรวจสอบประสิทธิภาพของผู้ขับขี่ยานยนต์เพื่อระบุให้ได้อย่างถูกต้องว่าผู้ขับขี่รายนั้นอาจมีความไม่พร้อมหรือไม่" Sam Abuelsamid จากบริษัทด้านการตลาด Guidehouse Insights กล่าวว่ากล้องอินฟราเรดเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด และบริษัทต่างๆ ซึ่งรวมถึง General Motors, BMW และ Nissan ได้ใช้กล้องเหล่านี้เพื่อติดตามความมีสมาธิของผู้ขับขี่ในระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่อัตโนมัติแบบบางส่วนอยู่แล้ว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ทำไมภาษาโปรแกรมที่เป็นที่นิยมในอดีตถึงตกอันดับ

PHP
ภาพจาก ZDNet

ความนิยมของ PHP ลดลงในรายการภาษาโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเดือนพฤศจิกายนของ Tiobe บริษัททดสอบซอฟต์แวร์ โดยลดลงสองอันดับมาอยู่ที่ 10 เมื่อเทียบกับอันดับของเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว Paul Jansen ซีอีโอของ Tiobe กล่าวว่า PHP ซึ่งถูกใช้ใช้อยู่เสมอสำหรับการพัฒนาเว็บและการทำงานในฝั่งแบ็กเอนด์ เผชิญกับการแข่งขันที่สำคัญ แต่เนื่องจากองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวนมากยังคงใช้ภาษาสคริปต์นี้ "ผมคาดว่า PHP จะลดลงอีกแต่ในอัตราที่ช้ามาก"  PHP ยังคงได้รับความนิยมใน GitHub แต่กำลังถูกแทนที่โดย ซุปเปอร์เซ็ตของภาษา JavaScript ซึ่งคือภาษา Typescript ของ Microsoft ซึ่งจะถูกคอมไพล์เป็น JavaScript อีกทีหนึ่ง และเป็นที่นิยมสำหรับเว็บแอปพลิเคชันขนาดใหญ่

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet


วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

การเพิ่มขึ้นของหุ่นยนต์อย่างรวดเร็วในช่วงของการแพร่ระบาดและปัญหาแรงงานในสหรัฐ

robot-in-life
ภาพจาก Bloomberg

ธุรกิจในสหรัฐฯ กำลังลงทุนในระบบอัตโนมัติท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนพนักงานจากเหตุโรคระบาดและค่าแรงที่สูงขึ้น การสำรวจของ U.S. Federal Reserve survey ต่อประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐพบว่า 33% ของบริษัทที่ประสบปัญหาในการจ้างงานกำลังปรับใช้หรือพิจารณาระบบอัตโนมัติ David A. Zapico จาก Ametek ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม  กล่าวว่าธุรกิจติดตามการเคลื่อนไหวของบริษัทกำลัง "รุ่งในทุกด้าน" เพราะ "ผู้คนต้องการเอาแรงงานคนออกจากกระบวนการผลิต" Knightscope ผู้พัฒนาหุ่นยนต์กล่าวว่า หุ่นยนต์กำลังดึงดูดลูกค้าที่มีปัญหาในการจ้างคนงานในการลาดตระเวน เช่น ปริมณฑลของโรงงาน เร็ว ๆ นี้ หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยของบริษัทจะตรวจตราบริเวณที่จอดรถที่ Los Angeles International Airport หรือ LAX ซึ่ง Heath Montgomery จาก LAX กล่าวว่า "พวกเขากำลังเสริมสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว โดยไม่ได้แทนที่การทำงานของคน"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

นักวิทยาศาสตร์ใช้หุ่นยนต์สัตว์เพื่อเรียนรู้สัตว์จริง

guooie-robofish
ภาพจาก Smithsonian

นักวิทยาศาสตร์กำลังใช้หุ่นยนต์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์อย่างสมจริง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของสัตว์ Dora Biro แห่ง University of Rochester กล่าวว่า "หากคุณสามารถสร้างหุ่นยนต์ที่คุณสามารถฝังไว้ในกลุ่มสัตว์ในฐานะลูกฝูง และพวกมันยอมรับหุ่นยนต์ตัวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของฝูง คุณก็สามารถทำให้หุ่นยนต์ทำสิ่งต่าง ๆ และดูว่าสัตว์จริงจะตอบสนองอย่างไร นักวิจัยจาก Free University of Berlin ของเยอรมนีได้สร้าง Robobee ซึ่งเป็นผึ้งจำลองขนาดเท่าของจริงที่สามารถเลียนแบบการเคลื่อนไหวและการสั่นของคู่ของมันซึ่งเป็นผึ้งจริง และนำพวกมันไปยังแหล่งอาหาร นักวิจัยจาก Humboldt University of Berlin ของเยอรมนีได้ส่ง Robofish ที่ได้จากเครื่องพิมพ์สามมิติเข้าไปในฝูงของปลาหางนกยูง (Guppie) ซึ่งก็ตอบสนองราวกับว่ามันเป็นปลาจริง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Smithsonian

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

โครงการธนาคารโลกมองไปที่บล็อกเชนพื่อช่วยแก้ปัญหาประเด็นข้อมูลการปล่อยคาร์บอน

worldbank-conference
ภาพจาก Bloomberg Green

โครงการ Climate Warehouse ของธนาคารโลกกำลังปรึกษากับบริษัทสตาร์ทอัพด้สนสกุลเงินเข้ารหัส (cryptocurrency)  เช่น Chia Network เพื่อสร้าง "ชั้นที่ดีต่อสาธารณะ (public-good layer)" สำหรับสภาพอากาศ Gene Hoffman ของ Chia กล่าวว่าชั้นดังกล่าวจะมอบทั้งความเชื่อใจและความโปร่งใส โดยทำงานอยู่บนบล็อกเชน (blockchain) และอนุญาตให้ประเทศและกลุ่มต่างๆ เปิดเผยและตรวจสอบสินทรัพย์คาร์บอนในรูปแบบรวมศูนย์ ชั้นข้อมูลของ Chia ใช้ประโยชน์จากบล็อคเชนสาธารณะที่ไม่ต้องได้รับอนุญาต เพื่อให้ผู้ร่วมโครงการสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลในลักษณะที่ตรวจสอบได้ โดยไม่ต้องละทิ้งการควบคุมข้อมูลที่ผู้ร่วมโครงการแต่ละคนเป็นเจ้าของ ประเทศที่ใช้แพลตฟอร์มสามารถบ่งชี้ถึงการปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสในการลดการปล่อยคาร์บอนโดยการส่งชุดข้อมูลที่ตรวจสอบได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg Green


วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

สร้างวัสดุประดิษฐ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้

drone-with-material
ภาพจาก University of Missouri

ทีมนักวิจัยจาก University of Missouri (MU) และ University of Chicago ได้พัฒนา metamaterial ที่สามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม ตัดสินใจ และดำเนินการโดยไม่ต้องใช้การป้อนข้อมูลจากมนุษย์ ชิปคอมพิวเตอร์จัดการการประมวลผลสารสนเทศที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพของวัสดุตามคำสั่งที่ได้รับ และใช้ไฟฟ้าเพื่อแปลงพลังงานที่ได้ให้เป็นพลังงานกล Guoliang Huang แห่ง MU กล่าวว่า "โดยพื้นฐานแล้ว เรากำลังควบคุมวิธีที่วัสดุนี้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าภายนอกที่พบในสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น เราสามารถนำวัสดุนี้ไปใช้กับเทคโนโลยีการพรางตัวในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศได้ โดยการติดวัสดุเข้ากับโครงสร้างของยานบิน มันจะช่วยควบคุมและลดเสียงรบกวนที่มาจากเครื่องบิน เช่น การสั่นของเครื่องยนต์ ซึ่งสามารถเพิ่มความสามารถฟังก์ชั่นหลากหลายของเครื่องบินได้" 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Missouri

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เทคนิคการยืนยันตัวตนเสนอทางแก้ปัญหาที่สามารถต่อสู้กับการแฮกได้

identity-verification
ภาพจาก McGill University Newsroom (Canada)

นักวิทยาศาสตร์จาก McGill University ของแคนาดา และ University of Geneva ของสวิตเซอร์แลนด์ได้พัฒนาเทคนิคการตรวจสอบตัวตนที่ปลอดภัยโดยยึดหลักที่ว่าสารสนเทศไม่สามารถเกินความเร็วแสงได้ "การวิจัยของเราพบ และติดตั้งกลไกที่ปลอดภัยเพื่อพิสูจน์ตัวตนของคน โดยที่ผู้ตรวจสอบตัวตนไม่สามารถทำซ้ำขึ้นมาใหม่ได้"  Claude Crépeau จาก McGill กล่าว เทคนิคนี้ขยายการพิสูจน์แบบ  zero-knowledge ผ่านระบบที่ใช้คู่พิสูจน์ตรวจสอบที่แยกจากกันทางกายภาพ ผู้พิสูจน์ทั้งสองต้องแสดงให้ผู้ตรวจสอบเห็นว่าพวกเขามีความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการใช้สีสามสีในการระบายสีในรูปภาพที่ประกอบด้วยรูปร่างที่เชื่อมต่อถึงกันนับพัน โดยต้องไม่ระบายสีรูปร่างที่อยู่ติดกันสองรูปให้เหมือนกัน Hugo Zbinden จากเจนีวากล่าวว่า "มันก็เหมือนกับการที่ตำรวจสอบปากคำผู้ต้องสงสัยสองคนพร้อมกันในคนละสำนักงานที่แยกจากกัน  และก็การตรวจสอบว่าคำให้การของพวกเขานั้นสอดคล้องกัน โดยไม่อนุญาตให้พวกเขาสื่อสารกัน"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: McGill University Newsroom (Canada)

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

อัลกอริทึมทำนายได้อย่างแม่นยำเมื่อวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะมีความคิดและพฤติกรรมฆ่าตัวตาย

BYU
ภาพจาก Brigham Young University

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Brigham Young, Johns Hopkins และ Harvard ได้พัฒนาอัลกอริทึมที่พวกเขากล่าวว่ามีความแม่นยำถึง 91% ในการทำนายความคิดและพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ( suicidal thoughts and behavior) หรือ STB ในหมู่วัยรุ่น นักวิจัยได้ตรวจสอบข้อมูลจากนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย 179,384 คน รวมทั้งผู้เข้าร่วมในการสำรวจสุขภาพและการป้องกันความเสี่ยงของนักเรียนในปี 2017 โดยมีการประมวลผลข้อมูลทั้งหมด 1.2 พันล้านประเด็น ทีมงานใช้อัลกอริทึมหลายตัวกับข้อมูล ซึ่งทำให้ได้ตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่คาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่าวัยรุ่นคนใดจะมี STB ในภายหลัง ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมี STB มากกว่าผู้ชาย ในขณะที่วัยรุ่นที่ไม่มีพ่อดูแลก็มีแนวโน้มที่จะคิดฆ่าตัวตายมากกว่า

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Brigham Young University


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เอาชนะการดื้อยาปฏิชีวนะโดยใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

antibiotics
ภาพจาก University of Portsmouth (U.K.)

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ในตอนนี้เพื่อต่อต้านการดื้อต่อเชื้อแบคทีเรีย นักวิจัยได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างตัวแบบหลาย ๆ ด้านของยาปฏิชีวนะที่มีการออกแบบใหม่พร้อม ๆ กัน ซึ่งรวมถึงการละลาย การแทรกซึมของแบคทีเรีย และการยับยั้งการผลิตโปรตีน ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำของยุโรปสร้างตัวแบบนี้เสร็จภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่ทีมงานใช้เวลาหลายปีในการตรวจสอบวิธีการทดลอง Gerhard Koenig จาก University of Portsmouth แห่งสหราชอาณาจักรกล่าวว่า "การใช้วิธีการคำนวณช่วยให้การพัฒนาอนุพันธ์ของยาปฏิชีวนะใหม่เร็วขึ้น และราคาถูกลง และการทำนายว่าสารประกอบทางเคมีจะทำงานก่อนที่จะสังเคราะห์หรือไม่ก็ช่วยหลีกเลี่ยงความสิ้นเปลืองทางเคมี"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Portsmouth (U.K.)

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

บั๊กในโค้ดช่วยให้นักวิจัยสร้างเครื่องมือถอดรหัสมัลแวร์ Secret BlackMatter

hackers
Photo by Clint Patterson on Unsplash

นักวิจัยจากบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Emsisoft ช่วยกู้คืนไฟล์ที่เข้ารหัสของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ BlackMatter นักวิจัยระบุว่าช่องโหว่ในกระบวนการเข้ารหัสของ BlackMatter ทำให้สามารถกู้คืนไฟล์ที่เข้ารหัสได้โดยที่เหยื่อไม่ต้องจ่ายค่าไถ่ พวกเขาไม่ได้ประกาศจุดอ่อนที่ค้นพบเมื่อต้นปีนี้เพราะกลัวว่ากลุ่ม BlackMatter จะแก้ไข Fabian Wosar แห่ง Emsisoft กล่าวว่า "ตั้งแต่นั้นมา เราได้ยุ่งอยู่กับการช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ BlackMatter กู้คืนข้อมูลของพวกเขา ด้วยความช่วยเหลือของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย, CERT  (Computer Emergency Readiness Teams) และพันธมิตรภาคเอกชนในหลายประเทศ เราสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากได้ ช่วยพวกเขาหลีกเลี่ยงการต้องจ่ายหลายสิบล้านดอลลาร์ตามที่ถูกเรียกร้อง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Tech Crunch

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

NASA และ ESA ร่วมมือกันเพื่อเผยแพร่แพลตฟอร์มวิทยาศาสตร์แบบเปิดเผยรหัสในคลาวด์

earth
ภาพจาก NASA

National Aeronautics and Space Administration หรือ NASA และ European Space Agency หรือ ESA ได้พัฒนา Multi-Mission Algorithm and Analysis Platform (MAAP) ซึ่งเป็นเครื่องมือเปิดเผยรหัส (open source) สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล Earth Science ในระบบคลาวด์ MAAP ให้การเข้าถึงข้อมูลวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก (Earth science) จาก NASA และ ESA อย่างราบรื่น ดังนั้นนักวิจัยสามารถทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาอัลกอริทึมและโค้ดได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้พวกเขาวิเคราะห์และนำเสนอภาพของชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้จากดาวเทียม สถานีอวกาศนานาชาติ และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ในขั้นต้น MAAP จะมุ่งเน้นไปที่การวัดชีวมวลเหนือพื้นดิน ในการกำหนดขนาดและปริมาณคาร์บอนของป่าไม้ของโลก เพื่อช่วยในการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกในส่วนที่กว้างกว่านี้ จะถูกเพิ่มใน MAAP เวอร์ชัน 2 ซึ่งกำหนดจะเผยแพร่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NASA


วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

คำที่ใช้ในงานวิจัยด้านการทำเหมืองข้อความนั้นมีอคติ

coding
Photo by Shahadat Rahman on Unsplash

นักวิจัยของ Cornell University พบรายการคำศัพท์ที่บรรจุและแบ่งปันกันเพื่อหาปริมาณอคติในข้อความออนไลน์ มักประกอบด้วยคำหรือ "กลุ่มคำ (seeds)" ที่มีอคติทั้งโดยตัวมันเองและกลุ่มของมัน ตัวอย่างเช่น การมีคำว่า "แม่ (mom)" ในกลุ่มคำที่ใช้วิเคราะห์ข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องเพศในการทำงานบ้านจะทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นเพศหญิง Maria Antoniak จาก Cornell กล่าวว่า "เป้าหมายไม่ใช่เพื่อด้อยค่าการค้นหา แต่เพื่อช่วยให้นักวิจัยคิดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกลุ่มคำที่ใช้สำหรับการตรวจจับอคติ"  เธอกล่าวว่ากลุ่มคำบางกลุ่มไม่มีเอกสาร หรืออยู่ลึกเข้าไปในรหัสของตัวแบบและชุดข้อมูล Antoniak แนะนำให้นักวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ดิจิทัลและการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ติดตามต้นกำเนิดของชุดกลุ่มคำและคุณสมบัติของมัน ตรวจสอบและทดสอบด้วยตนเอง และจัดทำเอกสารเกี่ยวกับกลุ่มคำและเหตุผลของการได้มาของกลุ่มคำนี้ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Cornell Chronicle

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

องค์กรมวยใช้ AI ตรวจสอบผู้ตัดสินเพื่อนำความเชื่อมั่นกลับคืนมา

boxing
Photo by Hermes Rivera on Unsplash

สมาคมมวยสากลสมัครเล่น หรือ AIBA ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เพื่อประเมินผู้ตัดสินและผู้ตัดสินก่อนที่จะทำให้พวกเขาโปร่งใสสำหรับการแข่งขันมวยสากลสมัคเล่นชิงแชมป์โลกชายที่กำลังแข่งขันอยู่  และเพื่อฟื้นฟูความน่าเชื่อถือหลังจากถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริต Richard McLaren จาก AIBA กล่าวว่าระบบวิเคราะห์เสียงอัตโนมัติ "วัดการทำงานของสมองในการตอบสนองต่อคำพูด" และระบุเกรดให้แก่ผู้ตัดสินเป็นความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง หรือสูง McLaren กล่าวว่าโครงการ AI "ระบุปัญหาได้อย่างชัดเจน" หากใช้ในการตรวจสอบก่อนการแข่งขัน การสัมภาษณ์หลังการแข่งขัน และ "การประเมินโดยมนุษย์" เกี่ยวกับความเหมาะสมของเจ้าหน้าที่ เขาแนะนำว่าระบบ AI สามารถช่วย AIBA "จัดบ้านของพวกเขาให้เป็นระเบียบ" และสามารถนำมาใช้กับกีฬาชนิดอื่นในโอลิมปิกที่ต้องใช้กรรมการในการตัดสินผลการแข่งขัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press

เพิ่มเติมเสริมข่าว: ขณะที่สรุปข่าวนี้รายการนี้จบลงแล้ว รายการนี้จัดระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม ถึง 6 พฤศจิกายน 2564


วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

AI สามารถเปลี่ยนคอลเลคชันภาพสองมิติเป็นโลกสามมิติที่เข้าไปสำรวจได้

2d-collection-boat-images
ภาพจาก New Scientist

โครงข่ายประสาทเทียมที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก University of Erlangen-Nuremberg ของเยอรมนี สามารถแปลงภาพสองมิติมาตรฐานให้กลายเป็นโลกสามมิติที่สำรวจได้ การใช้ภาพนิ่งและแบบจำลอง 3 มิติแบบหยาบ ๆ ของฉากที่สร้างขึ้นโดยใช้ COLMAP ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป โครงข่ายประสาทเทียมสามารถกำหนดได้ว่าฉากนั้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไรจากทุกมุม ตัวอย่างที่ราบรื่นที่สุดของโลก 3 มิติถูกสร้างขึ้นโดยใช้ภาพ 300 ถึง 350 ภาพที่ถ่ายจากมุมต่าง ๆ Darius Rückert จาก Erlangen-Nuremberg กล่าวว่า "ยิ่งคุณมีรูปภาพมากเท่าใด คุณภาพก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น ตัวแบบไม่สามารถสร้างสิ่งที่มันไม่เคยเห็น "Tim Field ของ Abound Labs กล่าวว่าระบบนี้เป็น "การพิสูจน์ว่าระบบสร้างภาพเหมือนจริง (photorealism) แบบอัตโนมัตินั้นเป็นไปได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  New Scientist

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

AI ไขความกระจ่างว่าสมองประมวลผลภาษาอย่างไร

MIT-Language-Model
ภาพจาก MIT News

การวิจัยโดยนักประสาทวิทยาของ Massachusetts Institute of Technology (MIT)  นำเสนอกลไกพื้นฐานของตัวแบบภาษาทำนายล่วงหน้า (predictive language) ที่ทำงานคล้ายกับศูนย์ประมวลผลภาษาของสมองมนุษย์ Nancy Kanwisher แห่ง MIT กล่าวว่า "ยิ่งตัวแบบทำนายคำถัดไปได้ดีเท่าไร ก็ยิ่งเข้ากับสมองของมนุษย์ได้ใกล้เคียงมากขึ้นเท่านั้น" ตัวแบบคอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ดีกับงานด้านอื่น ๆ ของภาษา ไม่ได้แสดงความคล้ายคลึงกัน ซึ่งอนุมานได้ว่าสมองอาจขับเคลื่อนการประมวลผลภาษาโดยใช้การคาดคะเนคำถัดไป Daniel Yamins แห่ง Stanford University กล่าวว่า "เนื่องจากเครือข่าย AI [ปัญญาประดิษฐ์] ไม่ได้พยายามเลียนแบบสมองโดยตรง แต่กลับกลายเป็นว่าทำงานเหมือนสมอง นี่แสดงให้เห็นว่าในแง่หนึ่งมันเป็น วิวัฒนาการแบบบรรจบกัน (covergent evolution) ที่เกิดขึ้นระหว่าง AI กับธรรมชาติ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ภาษาเขียนโปรแกรมที่ได้รับความนิยมเติบโตเร็วที่สุดสำหรับนักพัฒนา

developers
ภาพจาก ZDNet

State of the Developer Nation Report ครั้งที่ 21 ของ SlashData ระบุว่า JavaScript เป็นภาษาเขียนโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไตรมาสที่สาม ซึ่งมีนักพัฒนากว่า 16.4 ล้านคนทั่วโลกใช้ ความนิยมอย่างต่อเนื่องของ JavaScript ในเว็บและแอปพลิเคชันแบ็กเอนด์ช่วยส่งเสริมการครอบงำอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่นักพัฒนามากกว่า 2.5 ล้านคนเข้าร่วมชุมชน JavaScript ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา แบบสำรวจ SlashData จัดอันดับ Python เป็นอันดับสองจากผู้ใช้ประมาณ 11.3 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในแอปด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) หรือ ML และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) หรือ  IoT  C/C++, PHP และ C# อยู่ในห้าอันดับแรก โดย PHP มีนักพัฒนาถึง 1 ล้านคนระหว่างไตรมาสที่หนึ่งและสาม SlashData พบการมีส่วนร่วมของนักพัฒนาเพิ่มขึ้นในโครงการ 5G โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับ IoT, Augmented Reality/Virtual Reality อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค และ ML/ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet


วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

การทดลอง VR กับหนูให้ข้อมูลเชิงลึกว่าเซลล์ประสาททำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร

rat-in-maze
ภาพจาก UCLA Newsroom

นักวิจัยจาก University of California, Los Angeles (UCLA) ศึกษาหนูในเขาวงกตเสมือนจริงเพื่อพิจารณาว่าเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ในฮิบโปแคมปัส (hippocampus) เปิดใช้งานการนำทางได้อย่างไร ผลลัพธ์สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาวิธีการรักษาที่ดีขึ้นสำหรับโรคอัลไซเมอร์ โรคจิตเภท โรคลมบ้าหมู และความผิดปกติทางระบบประสาทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในฮิบโปแคมปัส หนูต้องกำหนดตำแหน่งของพวกมันให้สัมพันธ์กับวัตถุเสมือนจริงที่ฉายบนผนังตู้คอนเทนเนอร์เพื่อรับรางวัล Mayank Mehta จาก UCLA กล่าวว่า "เราพบว่าในเขาวงกตเสมือนจริง เซลล์ประสาทมีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับตำแหน่งของหนู แต่เซลล์ประสาทส่วนใหญ่จะเข้ารหัสในด้านอื่น ๆ ของการนำทาง เช่น ระยะทางที่เดินทาง และทิศทางที่ตัวกำลังมุ่งหน้าไป"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UCLA Newsroom


วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ระบบภาพแบบใหม่จับข้อความจากหนังสือที่เปิดอ่านไม่ได้

new-imaging-system
ภาพจาก University of Rochester

วิธีการประมวลภาพแบบใหม่ที่พัฒนาโดย Gregory Heyworth แห่ง University of Rochester และเพื่อนร่วมงานสามารถจับภาพข้อความจากหนังสือที่เปราะบางอย่างยิ่งได้ เทคนิคนี้สามารถสร้างภาพดิจิทัลของต้นฉบับแหนังสือที่หายากและบอบบางโดยไม่ต้องเปิดเกิน 30 องศา Heyworth และนักวิจัยในโครงการค้นคืนข้อความ Lazarus Project ของ Rochester ได้สร้างระบบที่มีกล้องมองภาพที่มีส่วนที่บิดได้ ซึ่งถ่ายภาพหนังสือที่เปิดโดยมีแท่นป้องกัน ซอฟต์แวร์แก้ไขการบิดเบือนของภาพที่ได้ ทำให้สามารถอ่านหน้าได้เหมือนกับการอ่านหนังสือที่วางราบอยู่ ระบบยังจับความยาวคลื่นของแสงได้หลายช่วง ดึงคุณลักษณะที่มองไม่เห็นด้วยตาในขณะที่ยังแก้ไขสีของหน้าหนังสือที่เก่ามาก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Rochester

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

นักวิจัยใช้ตัวแบบคอมพิวเตอร์ในการทำนายการตอบสนองของผู้ป่วยมะเร็งต่อรังสีรักษา

radiation-therapy
ภาพจาก Moffitt Cancer Center

นักวิจัยที่ Moffitt Cancer Center  ในเมืองแทมปา รัฐฟลอริดา ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองผลกระทบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์มะเร็งและเซลล์ภูมิคุ้มกันในเนื้องอก รวมถึงการตอบสนองต่อรังสี ทีมงานได้รวมปัจจัยต่างๆ เช่น การงอกขยายของเซลล์ การเคลื่อนย้ายของเซลล์ การตายของเซลล์ การเคลื่อนที่ของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์กับเซลล์ และผลกระทบต่อเซลล์ที่เป็นพิษของรังสีภายในตัวแบบ พวกเขาระบุว่าเซลล์เนื้องอกจะหลบเลี่ยงการล่าของภูมิคุ้มกัน หรือถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันและเซลล์ต้านที่มีอยู่ ตัวแบบคาดการณ์ว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็กที่รับการรักษาด้วยรังสี จะมีการควบคุมเนื้องอกที่ถาวรโดยใช้ปริมาณรังสีที่ต่ำกว่า ในขณะที่ 40% จะต้องได้รับในปริมาณที่สูงขึ้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Moffitt Cancer Center

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

รถแข่งขับเคลื่อนด้วยตัวเองสร้างประวัติศาสตร์ใน Indianapolis

self-driving-racing-car
ภาพจาก Yahoo! News

Indy Autonomous Challenge ครั้งแรกใน Indianapolis สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการแข่งรถครั้งแรกระหว่างยานยนต์ไร้คนขับ โดยทีมจาก echnical University of Munich (TUM) ของเยอรมันคว้าเงินรางวัลมูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ รถของ TUM เอาชนะ Dallara IL-15 ของทีม EuroRacing ได้สองรอบ แม้ว่า Dallara จะทำเวลาต่อรอบได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้สำหรับรถยนต์ไร้คนขับที่ 139 ไมล์ต่อชั่วโมง (223 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) รถขับเคลื่อนอัตโนมัติแต่ละคันใช้เซ็นเซอร์ กล้อง เรดาร์ และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกหรือ GPS Alexander Wischnewski ของทีม TUM กล่าวว่าความเร็วเฉลี่ยของรถของพวกเขาอยู่ที่ 135 ไมล์ต่อชั่วโมง (218 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) "ซึ่งไม่ห่างกันมากกับการที่คนขับ" ในรถคันเดียวกัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Yahoo! News

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ภาพถ่ายข่าวเพียง 10 ภาพเท่านั้นสามารถทำนายผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลกในแต่ละวัน

camera
ภาพจาก Royal Melbourne Institute of Technology (Australia)

นักวิจัยจาก Royal Melbourne Institute of Technology  (มหาวิทยาลัย RMIT) ของออสเตรเลียและSwinburne University of Technology ได้ฝึกอบรมอัลกอริทึมเพื่อคาดการณ์ผลตอบแทนของตลาดหุ้นรายวันโดยการวิเคราะห์ "รายการยอดนิยม (top lists)" ของภาพบรรณาธิการ (editorial picture) ในเว็บไซต์ภาพสต็อก Getty อัลกอริทึมสร้างคะแนนรายวันตามประเภทของภาพถ่ายที่แสดงในรายงานข่าวทั่วโลก Angel Zhong จาก RMIT กล่าวว่า "คุณสามารถดูภาพรวมของอารมณ์การลงทุนทั่วโลกได้โดยการดูภาพถ่ายยอดนิยม 10 ภาพ แทนที่จะอ่านบทความข่าวหลายร้อยบทความ" อัลกอริทึมสามารถคาดการณ์ผลตอบแทนของหุ้นใน 37 ประเทศ โดยเอาชนะอุปสรรคด้านภาษา Zhong อธิบายว่า "ถ้าคุณดูเฉพาะข้อความในบทความข่าว คุณมักจะพลาดการจับภาพของตลาดในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ แต่การวิเคราะห์ภาพช่วยขจัดปัญหานั้น"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Royal Melbourne Institute of Technology (Australia)


วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

นักวิทยาศาสตร์ช่วยให้หญิงตาบอดมองเห็นรูปร่างง่ายๆ ด้วยการปลูกถ่ายสมอง

Berna Gómez
 Berna Gómez ภาพจาก University of Utah

นักวิทยาศาสตร์จาก University of Utah (UoU) และ Miguel Hernandez University ของสเปน ได้ให้การมองเห็นเทียมแก่ผู้หญิงตาบอดผ่านการปลูกถ่ายสมอง ศัลยแพทย์ฝัง Utah Electrode Array (UEA) ลงในเยื่อหุ้มสมองของ Berna Gómez เธอสวมแว่นสายตาซึ่งมีกล้องวิดีโอ และซอฟต์แวร์เข้ารหัสและส่งข้อมูลภาพของกล้องไปยัง UEA อาร์เรย์กระตุ้นเซลล์ประสาทให้สร้างฟอสเฟน (phosphene) ซึ่งมองเห็นเป็นจุดแสงสีขาว เพื่อสร้างภาพ Gómez ระบุเส้น รูปร่าง และตัวอักษรง่ายๆ ที่เกิดจากรูปแบบการกระตุ้นที่แตกต่างกันได้สำเร็จ Dr. Eduardo Fernández แห่ง UoU กล่าวว่า "ผลลัพธ์เหล่านี้น่าตื่นเต้นมากเพราะแสดงให้เห็นถึงทั้งความปลอดภัยและประสิทธิภาพ"  Fernández กล่าวเสริมว่า "เราได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมาก โดยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของอุปกรณ์ประเภทนี้ในการฟื้นฟูการมองเห็นที่ใช้งานได้สำหรับผู้ที่สูญเสียการมองเห็น"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Utah