สวัสดีครับ พอดีได้อ่านข่าวซึ่งรายงานการสำรวจงานด้านไอทีในอเมริกาว่าแต่ละด้านได้เงินเดือนเท่าไร ก็เลยเอามาเล่าให้ฟังเป็นข้อมูลกันครับ ตามข่าวบอกว่าโดยภาพรวมแล้วงานด้านไอทีถือว่ามีรายได้ดีเลยครับ โดยพนักงานระดับปฏิบัติจะได้เงินโดยเฉลี่ยประมาณ $90, 000 ต่อปี ส่วนถ้าเป็นผู้จัดการจะได้ประมาณ $120,000 ต่อปีครับ
แต่รายได้จะแตกต่างกันตามทักษะและประเภทของอุตสาหกรรมครับ ตามข่าวยกตัวอย่างว่าถ้าใครทำด้านการรวมแอพพลิเคชันระดับเอนเทอร์ไพรส์ (business enterprise integration) จะได้เงินเดือนประมาณ $110,000 ถ้าทำด้านไอทีทั่ว ๆ ไป ก็จะได้ประมาณ $73,000 ส่วนงานด้านให้ความช่วยเหลือ (help desk) จะได้ประมาณ $55,000 จริง ๆ ผมว่างานด้านให้ความช่วยเหลือนี่หนักนะเพราะต้องติดต่อกับลูกค้าโดยตรง แล้วบางทีก็ต้องรองรับอารมณ์ด้วย (หรือเปล่า) น่าจะได้มากกว่านี้นะ
แต่สิ่งที่ผมว่าน่าสนใจอยู่ตรงนี้ครับ ฟิลด์ที่มีความพิเศษอย่างคลาวด์คอมพิวติง ความมั่นคงเว็บ (web security) และด้านโมบายล์ จะมีเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ $130,000 $118,000 และ $111,000 ตามลำดับ งานด้านการวิเคราะห์และธุรกิจอัจฉริยะ (analytic/business intelligence) จะได้เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ $93,000 สำหรับพนักงาน และ $132,000 สำหรับระดับผู้จัดการ แต่สำหรับงานด้านการวิเคราะห์นี้ก็จะมีความแตกต่างกันตามทักษะ แต่เขาบอกว่าฟิลด์นี้ต้องการคนที่มีพรสววรค์ด้านการวิเคราะห์/จัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ
จากข้อมูลนี้ผมมองว่ามหาวิทยาลัยก็คงจะต้องปรับหลักสูตรให้มีรายวิชาทางด้านที่มีความต้องการเป็นพิเศษนี้มากขึ้นตามความถนัดของมหาวิทยาลัย และก็หวังว่าพอจะเป็นประโยชน์กับใครที่กำลังเรียนหรือกำลังจะเข้ามาเรียนทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศว่าควรมุ่งไปทางไหน ส่วนคนที่ทำงานอยู่แล้วก็อาจจะหาเวลาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในด้านใดด้านหนึ่งที่กล่าวมาแล้วไว้บ้างก็ดีนะครับ เพราะถึงแม้ข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลในอเมริกา แต่อเมริกาอาจผลิตบุคลากรมารองรับไม่ทันทั้งหมด ดังนั้นโอกาสที่งานพวกนี้จะถูกส่งออกมายังประเทศที่มีความพร้อมก็มีอยู่มาก ดังนั้นมาเตรียมตัวพวกเราให้พร้อมกันดีกว่าครับ...
ที่มา: Information Week
วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556
Google ทำให้ผลการเลือกตั้งเอนเอียง?
ในขณะที่บ้านเราโทษโพลเรื่องการเลือกตั้ง ในอเมริกาเขาคิดว่า Google อาจมีส่วนครับ Google ตกเป็นประเด็นเพราะเป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลใหญ่ที่สุดในอเมริกา (หรืออาจจะในโลก) ตามข่าวบอกว่ามีคนที่คิดว่าผลการสืบค้นที่ได้จาก Google ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งอาจมีผลกับผู้สมัครบางราย เขายกตัวอย่างเช่นอดีตประธานาธิบดี George W. Bush ก็จะมีคำว่า ผู้แพ้ที่น่าสังเวช (miserable failure) ติดอยู่กับชื่อเวลาสืบค้น ซึ่งตรงนี้ใครที่ทำการตลาดบน Search Engine คงทราบนะครับว่ามันมีการปรับแต่งเพื่อหลอก Search Engine โดยคนที่รู้หลักได้ แต่ Google ก็บอกว่าได้แก้ปัญหาการทำแบบนี้ไปแล้ว แต่ก็ยังมีคนสงสัยอยู่ดีว่าแล้วถ้ามันไม่ได้เกิดจากการทำจากคนนอกล่ะ แต่เป็นการทำจากภายใน เช่น Google อาจจะมีการปรับแต่งขั้นตอนวิธีการค้นหาเพื่อให้คุณให้โทษกับผู้สมัครรายใดก็ได้ เฮ้ออ่านแล้วก็รู้สึกว่าตอนนี้โลกเราซึ่งเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารนี่ชักอยู่ยากขึ้นทุกวันนะครับ ในขณะที่เรากำลังส่งเสริมให้คนหาข้อมูลข่าวสารก่อนตัดสินใจ แต่ในข่าวนี้มีคำหนึ่งที่สะดุดใจผมมากครับนั่นคือผู้ที่ชนะการเลือกตั้งมักจะได้มาจากคะแนนของผู้ลงคะแนนที่รับรู้ข่าวสารน้อย
ที่มา: Washington Post
ที่มา: Washington Post
โปรแกรมช่วยตรวจข้อสอบแบบเขียนตอบ
สำหรับข่าวนี้คงเป็นข่าวดีสำหรับอาจารย์และอาจจะนักศึกษาด้วยนะครับ สำหรับงานนี้เป็นผลงานของ Edx ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นมาโดยมหาวิทยาลัย Harvard และ สถาบันเทคโนโลยี Massachusetts จุดประสงค์ขององค์กรนี้ก็คือให้การเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ตามข่าวนี้องค์กรนี้ได้พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยตรวจข้อสอบแบบเขียนตอบโดยอัตโนมัติ ซึ่งประโยชน์ที่ได้ก็คืออาจารย์ไม่ต้องมาตรวจข้อสอบนักศึกษาแต่ละคนด้วยตนเอง และนักศึกษาก็สามารถรู้คะแนนของตัวเองได้ทันทีหลังจากสอบเสร็จไม่ต้องรอลุ้นเป็นอาทิตย์หรืออาจเป็นเดือน แต่ก็ยังมีคนค้านเหมือนกันนะครับว่ายังไม่มีข้อมูลทางสถิติที่เชื่อถือได้ว่าเครื่องจะตรวจได้ดีเท่ากับคน แต่ Ex เขื่อว่าระบบจะได้รับการยอมรับจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ทาง Edx บอกว่าระบบนี้จะทำงานโดยใช้เทคนิคของ Machine Learning โดยเรียนรู้จากการตรวจข้อสอบของอาจารย์ที่เป็นคนจากการตรวจข้อสอบแบบเขียนตอบจำนวนร้อยชุด
ที่มา: The New York Times
ที่มา: The New York Times
โปรแกรมที่ใช้เครือข่าย LinkedIn ในการแนะนำอาชีพ
LinkedIn เป็นเครือข่ายสังคมที่เน้นไปในเรื่องของการหางาน โดยคนที่ใช้เครือข่ายนี้ก็จะโพสต์คุณสมบัติของตัวเองไว้ในเครือข่ายนี้ ซึ่งบริษัทที่ต้องการคนไปทำงานด้วยก็มักจะมาหาข้อมูลจากเครือข่ายนี้ นอกจากประโยชน์จากการหางานแล้ว LinkedIn ยังเปิดโอกาสให้เราได้สร้างเครือข่ายสังคมของคนที่อยู่ในวงการอาชีพเดียวกันได้ด้วย นักวิจัยจาก University of California, Santa Barbara มองเห็นประโยชน์ของการนำข้อมูลจากเครือข่ายนี้ไปใช้ครับ โดยเขาได้พัฒนาโปรแกรมชื่อ LinkedVis ซึ่งจะช่วยแนะนำเส้นทางอาชีพให้กับเรา โปรแกรมนี้ทำงานโดยวิเคราะห์เส้นทางอาชีพของคนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเรา จากนั้นจึงนำผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวมาแนะนำเราครับ ยิ่งไปกว่านั้นโปรแกรมนี้ยังมีความสามารถตอบคำถามประเภทถ้า.... ได้อีกด้วยครับ ตามข่าวยกตัวอย่างว่าโปรแกรมสามารถตอบคำถามเช่น ถ้าฉันกลับไปเรียนต่อป.เอก จะมีโอกาสที่ดีขึ้นไหม? น่าสนใจใช่ไหมล่ะครับ แต่ถ้าอยากใช้โปรแกรมนี้คงต้องรอหน่อยครับ เพราะผู้วิจัยกำลังคุยกับทาง LinkedIn อยู่ แต่ตามข่าวบอกว่าทาง LinkedIn สนใจโปรแกรมนี้มากครับ
ที่มา: New Scientist
ที่มา: New Scientist
สอนเด็กเขียนภาษา Java ด้วยวีดีโอเกม
นักวิจัยจาก University of California, San Diego ได้พัฒนาเกมเพื่อช่วยสอนภาษา Java ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน และเป็นภาษาที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งใช้ในการเรียนการสอน แต่จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเขาอยากจะสอนภาษานี้กับเด็ก ๆ สิบขวบถึงสิบสองขวบครับ ดังนั้นเขาจึงได้สร้างเกมเพื่อใช้สอนภาษานี้ขึ้นมาครับ โดยเนื้อหาของเกมก็คือ คนเล่นจะเป็นพ่อมดซึ่งจะต้องเข้าไปช่วยเหลือคนแคระซึ่งเคยมีเวทมนตร์แต่ตอนนี้เสียมันไปหมดแล้ว โดยพ่อมดจะต้องช่วยเขียนคาถาด้วยภาษา Java ซึ่งเมื่อเด็กผ่านระดับแรกของเกมก็จะมีความรู้ในองค์ประกอบหลักของภาษา Java เช่นพารามิเตอร์ if, for, และ while เป็นต้น ทางผู้วิจัยจะนำเสนองานของเขาในวันที่ 18 เมษายนนี้ครับ ในงาน Research Expo ของ University of California, San Diego โดยผู้วิจัยตั้งใจจะแจกเกมนี้ฟรีให้กับสถานศึกษาที่ขอไป ไม่รู้ว่าเฉพาะในอเมริกาหรือเปล่านะครับ ก็หวังว่าจะแจกจ่ายให้กับทั่วโลกนะครับ แต่ถ้าไม่แจกผมว่าคนไทยเราก็ทำแบบนี้ได้นะครับ มีใครสนใจจะทำไหมครับ
ที่มา: UC Sandiego News Center
ที่มา: UC Sandiego News Center
วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556
เรื่องเล่าจากงานสัมมนา
ในช่วงปิดเทอมพอจะมีเวลาว่างบ้าง ก็เลยไปร่วมสัมมนาวิชาการสักหน่อยครับ จริง ๆ หลาย ๆ งานก็นำมาประกาศเชิญชวนบนเฟซบุ๊คของตัวเองนะครับ แต่พอไปในงานไม่เจอนักศึกษาของตัวเองเลยสักคน :( วันนี้พอมีเวลาว่างก็เลยเอามาเล่าให้ฟังกันสักหน่อย เริ่มจากงานแรกก็คือ PRAGMA Cloud Computing and Software-Defined Networking (SDN) Technology Workshop งานนี้จัดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2556 ครับ ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมฟังสัมมนาวันแรกซึ่งในช่วงแรกก็เป็นการปูพื้นคลาวด์คอมพิวติงทั่ว ๆ ไปว่าคืออะไร ในส่วนหลังก็จะเน้นไปที่ตัวอย่างของการติดตั้งคลาวด์คอมพิวติง ซึ่งก็จะลงไปในแง่ของสถาปัตยกรรมซึ่งไม่ได้อยู่ในความสนใจของผมมากนัก ดังนั้นก็ขอสรุปสิ่งที่คิดว่าพอจะเป็นประเด็นที่น่าสนใจและยังพอจำได้มาให้ฟังกันสักสองสามเรื่องดังนี้ครับ
1. ประเด็นหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ยังมีความเป็นกังวลเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงก็คือเรื่องของความมั่นคง (security) คือต้องแยกเป็นสองประเด็นนะครับ ข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์ในแง่หนึ่งก็จะมีความมั่นคงในแง่ที่บริษัทผู้ให้บริการคลาวด์ส่วนใหญ่ก็จะสำรองข้อมูลไว้ให้เราอยู่ระดับหนึ่ง แต่ความกังวลด้านความมั่นคงจะเกี่ยวกับข้อมูลที่มีความอ่อนไหว หรือเป็นเรื่องลับ การที่เราจะฝากข้อมูลดังกล่าวไว้ให้กับผู้ให้บริการก็อาจไม่ปลอดภัยได้
2. ประเด็นเรื่องการเขียนงบประมาณการใช้งานคลาวด์ครับ อันนี้ผมว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับประเทศเราที่น่าจะเตรียมตัวไว้นะครับ เพราะแม้แต่ประเทศต้นกำเนิดอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังมีปัญหาครับ คือวิทยากรเล่าให้ฟังว่าเขามีปัญหาเรื่องการเขียนงบประมาณเหมือนกัน เพราะโดยปกติเวลาเขียนงบประมาณนี่เราก็จะระบุเป็นของไปเช่นจะซื้อเครื่องเซิฟเวอร์ มีฮารด์ดิสก์เท่าไร มีหน่วยความจำเท่าไร แต่พอจะเขียนข้อกำหนดคุณลักษณะของคลาวด์เราไม่ได้ซื้อฮาร์ดแวร์ แต่เราจะซื้อเวลาในการประมวลผล ซึ่งตรงนี้ระเบียบหลาย ๆ อย่างยังไม่รองรับ
3. การใช้งานคลาวด์ไม่ได้เหมาะกับงานทุกงาน วิทยากรบอกว่าอย่าลืมว่าเราต้องจ่ายค่าบริการคลาวด์ตามปริมาณการใช้งาน ดังนั้นงานที่ต้องมีการรับส่งข้อมูลไปมาเป็นจำนวนมากอาจไม่เหมาะที่จะใช้บริการคลาวด์ งานที่ควรใช้งานคลาวด์ควรเป็นงานที่มีการประมวลผลหลัก ๆ อยู่บนเซิฟร์เวอร์ และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ถ้าใครตามข่าวด้านไอทีคงพอจะทราบว่าเริ่มมีแนวคิดที่จะเก็บเงินค่าบริการอินเทอร์เน็ตต่อการคลิกดูข้อมูลแต่ละครั้ง เพราะผู้ให้บริการอาจต้องจ่ายค่าการใช้งานข้อมูลที่เราโหลดมานั่นเองครับ
4. ประเด็นที่เป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในกระแสของคลาวด์ตอนนี้ก็คือเรื่องของ Software-Defined Networking (SDN) ซึ่งเป็นการจัดการเครือข่ายผ่านทางซอฟต์แวร์ พูดถึงตรงนี้หลายคนอาจนึกถึง Virtual LAN แต่วิธีนี้จะเหมือนกับเหนือขึ้นไปอีกระดับครับ เป็นลักษณะของเขียนโปรแกรมเพื่อปรับแต่งเครือข่ายตามที่เราต้องการ ซึ่งก็จะรองรับกับแนวคิดของคลาวด์คอมพิวติงซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรต่าง ๆ ในแบบไดนามิก ก็เป็นเรื่องที่คนที่สนใจด้านการทำ IaaS น่าจะศึกษาไว้นะครับ
ทั้งหมดนี่้ก็คืองานสัมมนาแรกที่พอจะจับประเด็นและพอจะจำได้ครับ
งานสัมมนางานที่สองที่ไปมาก็เมื่อวันอาทิตย์ 31 มีนาคม ที่ผ่านมาครับ งานนี้ก็คือการประชุมวิชาการประจำปี สวทช.ครั้งที่ 9 ในหัวข้อ ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) สำหรับงานนี้ก็มีประเด็นพอจะสรุปให้ฟังได้ดังนี้ครับ ในช่วงเช้าเป็นการบรรยายหลักที่เกี่ยวกับทีมของงานครับ แต่ผมไปสายครับ :( ก็เลยได้ฟังเรื่องเดียวคือ เรื่องการสนับสนุนงานวิจัยของสวทช. ซึ่งสามารถดูรายละเอียดของได้จากเอกสารประกอบการบรรยายของ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ซึ่งนอกจากจะมีข้อมูลงานวิจัยแล้ว ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจเช่นความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตัวอย่างงานวิจัยที่นำไปใช้ได้จริงที่สนับสนุนโดยสวทช. ถ้าใครอยากได้เอกสารบรรยายของวิทยากรทุกคนก็สามารถโหลดได้ที่นี่ครับ
ในช่วงบ่ายจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลครับ ซึ่งหัวข้อของการบรรยายก็คือ AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury ) ต้องบอกตามตรงว่าตอนแรกผมตั้งใจว่าจะไปฟังแค่ช่วงเช้าแล้วกลับ แต่พอเห็นหัวข้อนี้จากเอกสารที่ได้รับก็รู้สึกสนใจครับเลยตัดสินใจอยู่ฟัง และจากที่ฟังก็ได้ประเด็นที่น่าสนใจมาสรุปให้ฟังดังนี้ครับ
1. อันนี้คิดว่าหลายคนก็คงทราบอยู่แล้วนะครับว่าเมือประเทศเราเปิด AEC จะมีการเคลื่อนย้ายบุคคลากรระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งอาชีพ 7 อย่างที่จะเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีก็คือ หมอ หมอฟัน นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก พยาบาล และนักสำรวจ ยังไม่มีคอมพิวเตอร์นะครับ ถ้ามองในแง่ดีก็คืออย่างน้อยตอนนี้ก็ยังไม่ถูกแย่งงาน แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่งก็คือถ้าเราอยากไปทำงานในประเทศอื่นบ้างก็ยังไม่เปิดเสรี
2. ประโยชน์ของการใช้เครือข่ายสังคมในการได้งาน เครือข่ายสังคมที่พวกเราใช้อยู่ตอนนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งเป็นช่องทางที่เราจะได้รู้เรื่องความต้องการงานจากนายจ้าง และเป็นช่องทางให้นายจ้างรู้จักเราด้วย โดยเครือข่ายสังคมที่วิทยากรบอกว่ามีศักยภาพเกี่ยวกับการเรืองงานมากที่สุดคือ Linkedin ถัดมาคือ Facebook และ Twitter ตามลำดับ ดังนั้นใครที่ยังไม่มี Linkedin ก็ไปเปิดบัญชีกันไว้ซะนะครับ และก็ไม่จำเป็นนะครับที่เราจะต้องหางานอยู่แล้วค่อยไปเปิดบัญชีพวกนี้ ถึงแม้เราจะมีความสุขดีอยู่แล้วกับงานที่ทำแต่ถ้าเราไปเปิดบัญชีไว้ ก็เท่ากับเราเปิดโอกาสของงานใหม่ ๆ ที่อาจดีกว่าเข้ามาสู่ตัวเรา
3. ถัดมาอีกหัวข้อหนึ่ง อันนี้น่าสนใจมากครับเพราะเป็นเสียงของผู้ประกอบการที่ชี้ให้เห็นถึงนิสัยแบบไทย ๆ ที่ทำให้คนไทยไม่ค่อยก้าวหน้าในหน้าที่การงานเมื่อเทียบกับชาวต่างชาติ ปัญหาประการแรกคือปัญหาที่เรารู้กันอยู่แล้วก็คือเรื่องของภาษา ซึ่งทางวิทยากรบอกว่าสิ่งที่เราต้องแก้ที่สุดไม่ใช่เรื่องของการพูดนะครับ แต่เป็นเรื่องของการฟัง เขาบอกว่าเรื่องพูดนี่อย่างภาษาอังกฤษสำเนียงสิงคโปร์ฝรั่งก็ยังฟังรู้เรื่อง แต่เหตุผลหนึ่งที่คนไทยไม่ค่อยแสดงความเห็นอาจเป็นเพราะฟังไม่รู้เรื่องมากกว่า ปัญหาประการที่สองก็คือเขามองว่าคนไทยไม่ทุ่มเทให้กับงานเท่าที่ควร เขาบอกว่าไม่ได้หมายความว่าจะต้องมาทำงานเป็นบ้าเป็นหลังนะครับ แต่หมายความว่าให้ใส่ใจในงานที่รับผิดชอบให้มากกว่านี้ อันถัดมาก็คือเรื่องของการที่เรามักจะทำตัวเป็นผู้รายงานเหตุการณ์แต่ไม่ทำตัวเป็นผู้แก้ปัญหา เขายกตัวอย่างว่าบริษัทรับนักศึกษาฝึกงาน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นนักศึกษาไทยก็จะรายงานว่าเกิดเหตุการณ์แบบนั้นแบบนี้ขึ้น แต่ไม่เคยบอกว่าควรจะแก้ปัญหาอย่างไร ดังนั้นเราคงต้องเริ่มกันตั้งแต่ในห้องเรียนแล้วล่ะครับ ดังนั้นนักศึกษาของผมต่อไปผมถามอะไร ให้คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาอะไรก็ช่วยกันตอบนะ
4. หัวข้อต่อมาเกี่ยวกับบทบาทของสถานศึกษาครับ โดยหน้าที่หลักของสถานศึกษาก็คือสร้างบุคคลากรที่มีความสามารถดีเด่น (talent) ซึ่งวิทยากรก็ได้ยกตัวอย่างโครงการต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาที่วิทยากรดูแลคือพระจอมเกล้าธนบุรีมาให้ดูกัน ซึ่งประเด็นสำคัญก็คือการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ครับ
5. ส่วนหัวข้อสุดท้ายอันนี้เป็นเรื่องผ่อนคลายครับเหมือนกับดูทอล์กโชว์เลย เป็นการขึ้นนำเสนอของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นนักคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยได้รางวัลนวัตกรรมมากมายหลายรางวัล ประเด็นที่ได้ก็คือการที่เราจะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาได้นั้นเราต้องมีความรักกับงานที่เราทำ มีความสังเกตุ มีความอดทน มีความพยายาม และอย่าคิดดูถูกตัวเองว่าเราเป็นคนไทยเราจะไปทำอะไรสู้ระดับโลกได้ยังไง หรือเราอยู่นอกเมืองคงทำอะไรสู้คนในเมืองไม่ได้อะไรอย่างนี้ นอกจากนี้การนำเสนอก็เป็นเรื่องสำคัญ ต่อให้ทำงานออกมาดีเลิศแต่นำเสนอไม่เป็นหรือไม่น่าสนใจก็อาจทำให้งานของเราถูกมองข้ามไปได้
สำหรับรายละเอียดและรายชื่อวิทยากรของหัวข้อนี้สามารถดูได้จากที่นี่ครับ เสียดายที่หัวข้อนี้ไม่ได้มีลิงก์ให้ไปโหลดเอกสารประกอบการบรรยายครับ
สำหรับงานสัมมนาเรื่อง AEC นี้ ผมขอนำเสนอมุมมองส่วนตัวในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์หน่อยแล้วกันนะครับว่านักศึกษาและบุคคลากรในด้านนี้จะมีบทบาทอย่างไร จากงานนี้ผมได้เห็นว่าประเทศของเรากำลังมุ่งสู่งานวิจัยระดับสูงในด้านต่าง ๆ ซึ่งก็เน้นไปในส่วนที่เป็นหลักของประเทศเราก็คือด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ผมมองว่าต้องการการสนับสนุนด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างแน่นอนครับ ดังนั้นสถานศึกษาที่สอนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็ควรจะเน้นที่จะสร้างคนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จริง ๆ กันให้มากขึ้นได้แล้ว คือสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับสูงที่อาจต้องมีการคิดค้นขั้นตอนวิธีใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา พอผมพูดประเด็นนี้อาจมีคนสงสัยว่ามันยังไงเน้นวิทยาการคอมพิวเตอร์จริง ๆ ปัจจุบันนี้มันไม่จริงยังไง คือต้องขออธิบายก่อนว่าสาขาหลัก ๆ ที่มีการเรียนการสอนทางด้านคอมพิวเตอร์และดูมันจะเหลื่อม ๆ กันอยู่ก็มีอยู่สามสาขาคือวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทั้งสามสาขานี้จริง ๆ แล้วมีจุดเน้นที่ต่างกันนะครับ ผมขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดเรื่องความแตกต่างแล้วกันนะครับเพราะมันยาว และรู้สึกว่าน่าจะมีคนเคยเขียนไว้แล้ว ลองค้นจาก Google ดูแล้วกันนะครับ ถ้าค้นไม่เจอมาคอมเม้นต์บอกไว้ได้ครับแล้วผมจะเขียนให้อ่านกัน แต่เพราะตลาดแรงงานของเราในอดีตถึงปัจจุบันมันอาจจะไม่กว้างนักครับ ดังนั้นทั้งสามสาขาก็จำเป็นที่จะต้องเรียนอะไรที่เป็นความต้องการของตลาด เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็อาจตกงานกันหมด นักศึกษาจึงมักจะเลือกเรียนวิชาที่ออกมาทำงานในตลาดแรงงานได้ โดยไม่เลือกเรียนวิชาที่เป็นวิชาระดับสูงในสาขาตัวเองเพราะมองว่ายากและเรียนแล้วก็ไม่ได้ใช้ ดังนั้นบัณฑิตที่จบจากสามสาขานี้ก็มักจะจบออกมามีความรู้ในเรื่องที่ใกล้ ๆ กัน ทำงานในด้านเดียวกันเช่นจบมาไม่ว่าสาขาไหนก็มาพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันอะไรประมาณนี้ แต่ถ้าเรามีงานด้านวิจัยระดับสูงแบบนี้มารองรับก็น่าที่จะทำให้นักศึกษาหันมาเรียนวิชาเลือกที่เคยโดนมองข้ามไปมากขึ้น
เอาล่ะครับนั่นก็คือบทสรุปทั้งหมดตามที่พอจะจำได้ในงานสัมมนาวิขาการที่ได้ไปฟังมา ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ...
1. ประเด็นหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ยังมีความเป็นกังวลเกี่ยวกับคลาวด์คอมพิวติงก็คือเรื่องของความมั่นคง (security) คือต้องแยกเป็นสองประเด็นนะครับ ข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์ในแง่หนึ่งก็จะมีความมั่นคงในแง่ที่บริษัทผู้ให้บริการคลาวด์ส่วนใหญ่ก็จะสำรองข้อมูลไว้ให้เราอยู่ระดับหนึ่ง แต่ความกังวลด้านความมั่นคงจะเกี่ยวกับข้อมูลที่มีความอ่อนไหว หรือเป็นเรื่องลับ การที่เราจะฝากข้อมูลดังกล่าวไว้ให้กับผู้ให้บริการก็อาจไม่ปลอดภัยได้
2. ประเด็นเรื่องการเขียนงบประมาณการใช้งานคลาวด์ครับ อันนี้ผมว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับประเทศเราที่น่าจะเตรียมตัวไว้นะครับ เพราะแม้แต่ประเทศต้นกำเนิดอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังมีปัญหาครับ คือวิทยากรเล่าให้ฟังว่าเขามีปัญหาเรื่องการเขียนงบประมาณเหมือนกัน เพราะโดยปกติเวลาเขียนงบประมาณนี่เราก็จะระบุเป็นของไปเช่นจะซื้อเครื่องเซิฟเวอร์ มีฮารด์ดิสก์เท่าไร มีหน่วยความจำเท่าไร แต่พอจะเขียนข้อกำหนดคุณลักษณะของคลาวด์เราไม่ได้ซื้อฮาร์ดแวร์ แต่เราจะซื้อเวลาในการประมวลผล ซึ่งตรงนี้ระเบียบหลาย ๆ อย่างยังไม่รองรับ
3. การใช้งานคลาวด์ไม่ได้เหมาะกับงานทุกงาน วิทยากรบอกว่าอย่าลืมว่าเราต้องจ่ายค่าบริการคลาวด์ตามปริมาณการใช้งาน ดังนั้นงานที่ต้องมีการรับส่งข้อมูลไปมาเป็นจำนวนมากอาจไม่เหมาะที่จะใช้บริการคลาวด์ งานที่ควรใช้งานคลาวด์ควรเป็นงานที่มีการประมวลผลหลัก ๆ อยู่บนเซิฟร์เวอร์ และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ถ้าใครตามข่าวด้านไอทีคงพอจะทราบว่าเริ่มมีแนวคิดที่จะเก็บเงินค่าบริการอินเทอร์เน็ตต่อการคลิกดูข้อมูลแต่ละครั้ง เพราะผู้ให้บริการอาจต้องจ่ายค่าการใช้งานข้อมูลที่เราโหลดมานั่นเองครับ
4. ประเด็นที่เป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในกระแสของคลาวด์ตอนนี้ก็คือเรื่องของ Software-Defined Networking (SDN) ซึ่งเป็นการจัดการเครือข่ายผ่านทางซอฟต์แวร์ พูดถึงตรงนี้หลายคนอาจนึกถึง Virtual LAN แต่วิธีนี้จะเหมือนกับเหนือขึ้นไปอีกระดับครับ เป็นลักษณะของเขียนโปรแกรมเพื่อปรับแต่งเครือข่ายตามที่เราต้องการ ซึ่งก็จะรองรับกับแนวคิดของคลาวด์คอมพิวติงซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรต่าง ๆ ในแบบไดนามิก ก็เป็นเรื่องที่คนที่สนใจด้านการทำ IaaS น่าจะศึกษาไว้นะครับ
ทั้งหมดนี่้ก็คืองานสัมมนาแรกที่พอจะจับประเด็นและพอจะจำได้ครับ
งานสัมมนางานที่สองที่ไปมาก็เมื่อวันอาทิตย์ 31 มีนาคม ที่ผ่านมาครับ งานนี้ก็คือการประชุมวิชาการประจำปี สวทช.ครั้งที่ 9 ในหัวข้อ ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) สำหรับงานนี้ก็มีประเด็นพอจะสรุปให้ฟังได้ดังนี้ครับ ในช่วงเช้าเป็นการบรรยายหลักที่เกี่ยวกับทีมของงานครับ แต่ผมไปสายครับ :( ก็เลยได้ฟังเรื่องเดียวคือ เรื่องการสนับสนุนงานวิจัยของสวทช. ซึ่งสามารถดูรายละเอียดของได้จากเอกสารประกอบการบรรยายของ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ซึ่งนอกจากจะมีข้อมูลงานวิจัยแล้ว ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจเช่นความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตัวอย่างงานวิจัยที่นำไปใช้ได้จริงที่สนับสนุนโดยสวทช. ถ้าใครอยากได้เอกสารบรรยายของวิทยากรทุกคนก็สามารถโหลดได้ที่นี่ครับ
ในช่วงบ่ายจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลครับ ซึ่งหัวข้อของการบรรยายก็คือ AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury ) ต้องบอกตามตรงว่าตอนแรกผมตั้งใจว่าจะไปฟังแค่ช่วงเช้าแล้วกลับ แต่พอเห็นหัวข้อนี้จากเอกสารที่ได้รับก็รู้สึกสนใจครับเลยตัดสินใจอยู่ฟัง และจากที่ฟังก็ได้ประเด็นที่น่าสนใจมาสรุปให้ฟังดังนี้ครับ
1. อันนี้คิดว่าหลายคนก็คงทราบอยู่แล้วนะครับว่าเมือประเทศเราเปิด AEC จะมีการเคลื่อนย้ายบุคคลากรระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งอาชีพ 7 อย่างที่จะเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีก็คือ หมอ หมอฟัน นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก พยาบาล และนักสำรวจ ยังไม่มีคอมพิวเตอร์นะครับ ถ้ามองในแง่ดีก็คืออย่างน้อยตอนนี้ก็ยังไม่ถูกแย่งงาน แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่งก็คือถ้าเราอยากไปทำงานในประเทศอื่นบ้างก็ยังไม่เปิดเสรี
2. ประโยชน์ของการใช้เครือข่ายสังคมในการได้งาน เครือข่ายสังคมที่พวกเราใช้อยู่ตอนนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งเป็นช่องทางที่เราจะได้รู้เรื่องความต้องการงานจากนายจ้าง และเป็นช่องทางให้นายจ้างรู้จักเราด้วย โดยเครือข่ายสังคมที่วิทยากรบอกว่ามีศักยภาพเกี่ยวกับการเรืองงานมากที่สุดคือ Linkedin ถัดมาคือ Facebook และ Twitter ตามลำดับ ดังนั้นใครที่ยังไม่มี Linkedin ก็ไปเปิดบัญชีกันไว้ซะนะครับ และก็ไม่จำเป็นนะครับที่เราจะต้องหางานอยู่แล้วค่อยไปเปิดบัญชีพวกนี้ ถึงแม้เราจะมีความสุขดีอยู่แล้วกับงานที่ทำแต่ถ้าเราไปเปิดบัญชีไว้ ก็เท่ากับเราเปิดโอกาสของงานใหม่ ๆ ที่อาจดีกว่าเข้ามาสู่ตัวเรา
3. ถัดมาอีกหัวข้อหนึ่ง อันนี้น่าสนใจมากครับเพราะเป็นเสียงของผู้ประกอบการที่ชี้ให้เห็นถึงนิสัยแบบไทย ๆ ที่ทำให้คนไทยไม่ค่อยก้าวหน้าในหน้าที่การงานเมื่อเทียบกับชาวต่างชาติ ปัญหาประการแรกคือปัญหาที่เรารู้กันอยู่แล้วก็คือเรื่องของภาษา ซึ่งทางวิทยากรบอกว่าสิ่งที่เราต้องแก้ที่สุดไม่ใช่เรื่องของการพูดนะครับ แต่เป็นเรื่องของการฟัง เขาบอกว่าเรื่องพูดนี่อย่างภาษาอังกฤษสำเนียงสิงคโปร์ฝรั่งก็ยังฟังรู้เรื่อง แต่เหตุผลหนึ่งที่คนไทยไม่ค่อยแสดงความเห็นอาจเป็นเพราะฟังไม่รู้เรื่องมากกว่า ปัญหาประการที่สองก็คือเขามองว่าคนไทยไม่ทุ่มเทให้กับงานเท่าที่ควร เขาบอกว่าไม่ได้หมายความว่าจะต้องมาทำงานเป็นบ้าเป็นหลังนะครับ แต่หมายความว่าให้ใส่ใจในงานที่รับผิดชอบให้มากกว่านี้ อันถัดมาก็คือเรื่องของการที่เรามักจะทำตัวเป็นผู้รายงานเหตุการณ์แต่ไม่ทำตัวเป็นผู้แก้ปัญหา เขายกตัวอย่างว่าบริษัทรับนักศึกษาฝึกงาน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นนักศึกษาไทยก็จะรายงานว่าเกิดเหตุการณ์แบบนั้นแบบนี้ขึ้น แต่ไม่เคยบอกว่าควรจะแก้ปัญหาอย่างไร ดังนั้นเราคงต้องเริ่มกันตั้งแต่ในห้องเรียนแล้วล่ะครับ ดังนั้นนักศึกษาของผมต่อไปผมถามอะไร ให้คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาอะไรก็ช่วยกันตอบนะ
4. หัวข้อต่อมาเกี่ยวกับบทบาทของสถานศึกษาครับ โดยหน้าที่หลักของสถานศึกษาก็คือสร้างบุคคลากรที่มีความสามารถดีเด่น (talent) ซึ่งวิทยากรก็ได้ยกตัวอย่างโครงการต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาที่วิทยากรดูแลคือพระจอมเกล้าธนบุรีมาให้ดูกัน ซึ่งประเด็นสำคัญก็คือการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ครับ
5. ส่วนหัวข้อสุดท้ายอันนี้เป็นเรื่องผ่อนคลายครับเหมือนกับดูทอล์กโชว์เลย เป็นการขึ้นนำเสนอของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นนักคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยได้รางวัลนวัตกรรมมากมายหลายรางวัล ประเด็นที่ได้ก็คือการที่เราจะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาได้นั้นเราต้องมีความรักกับงานที่เราทำ มีความสังเกตุ มีความอดทน มีความพยายาม และอย่าคิดดูถูกตัวเองว่าเราเป็นคนไทยเราจะไปทำอะไรสู้ระดับโลกได้ยังไง หรือเราอยู่นอกเมืองคงทำอะไรสู้คนในเมืองไม่ได้อะไรอย่างนี้ นอกจากนี้การนำเสนอก็เป็นเรื่องสำคัญ ต่อให้ทำงานออกมาดีเลิศแต่นำเสนอไม่เป็นหรือไม่น่าสนใจก็อาจทำให้งานของเราถูกมองข้ามไปได้
สำหรับรายละเอียดและรายชื่อวิทยากรของหัวข้อนี้สามารถดูได้จากที่นี่ครับ เสียดายที่หัวข้อนี้ไม่ได้มีลิงก์ให้ไปโหลดเอกสารประกอบการบรรยายครับ
สำหรับงานสัมมนาเรื่อง AEC นี้ ผมขอนำเสนอมุมมองส่วนตัวในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์หน่อยแล้วกันนะครับว่านักศึกษาและบุคคลากรในด้านนี้จะมีบทบาทอย่างไร จากงานนี้ผมได้เห็นว่าประเทศของเรากำลังมุ่งสู่งานวิจัยระดับสูงในด้านต่าง ๆ ซึ่งก็เน้นไปในส่วนที่เป็นหลักของประเทศเราก็คือด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ผมมองว่าต้องการการสนับสนุนด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างแน่นอนครับ ดังนั้นสถานศึกษาที่สอนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็ควรจะเน้นที่จะสร้างคนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จริง ๆ กันให้มากขึ้นได้แล้ว คือสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับสูงที่อาจต้องมีการคิดค้นขั้นตอนวิธีใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา พอผมพูดประเด็นนี้อาจมีคนสงสัยว่ามันยังไงเน้นวิทยาการคอมพิวเตอร์จริง ๆ ปัจจุบันนี้มันไม่จริงยังไง คือต้องขออธิบายก่อนว่าสาขาหลัก ๆ ที่มีการเรียนการสอนทางด้านคอมพิวเตอร์และดูมันจะเหลื่อม ๆ กันอยู่ก็มีอยู่สามสาขาคือวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทั้งสามสาขานี้จริง ๆ แล้วมีจุดเน้นที่ต่างกันนะครับ ผมขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดเรื่องความแตกต่างแล้วกันนะครับเพราะมันยาว และรู้สึกว่าน่าจะมีคนเคยเขียนไว้แล้ว ลองค้นจาก Google ดูแล้วกันนะครับ ถ้าค้นไม่เจอมาคอมเม้นต์บอกไว้ได้ครับแล้วผมจะเขียนให้อ่านกัน แต่เพราะตลาดแรงงานของเราในอดีตถึงปัจจุบันมันอาจจะไม่กว้างนักครับ ดังนั้นทั้งสามสาขาก็จำเป็นที่จะต้องเรียนอะไรที่เป็นความต้องการของตลาด เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็อาจตกงานกันหมด นักศึกษาจึงมักจะเลือกเรียนวิชาที่ออกมาทำงานในตลาดแรงงานได้ โดยไม่เลือกเรียนวิชาที่เป็นวิชาระดับสูงในสาขาตัวเองเพราะมองว่ายากและเรียนแล้วก็ไม่ได้ใช้ ดังนั้นบัณฑิตที่จบจากสามสาขานี้ก็มักจะจบออกมามีความรู้ในเรื่องที่ใกล้ ๆ กัน ทำงานในด้านเดียวกันเช่นจบมาไม่ว่าสาขาไหนก็มาพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันอะไรประมาณนี้ แต่ถ้าเรามีงานด้านวิจัยระดับสูงแบบนี้มารองรับก็น่าที่จะทำให้นักศึกษาหันมาเรียนวิชาเลือกที่เคยโดนมองข้ามไปมากขึ้น
เอาล่ะครับนั่นก็คือบทสรุปทั้งหมดตามที่พอจะจำได้ในงานสัมมนาวิขาการที่ได้ไปฟังมา ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ...
วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)