วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

หุ่นยนต์ช่างเจรจาช่วยผู้สูงอายุต่อสู้กับความเหงา

ElliQ-robot
ภาพจาก Associated Press

ElliQ หุ่นยนต์ผู้ช่วยคลายเหงาที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อบรรเทาความเหงาและโดดเดี่ยวของผู้สูงอายุ ผลงานจาก Intuition Robotics บริษัทในอิสราเอล  

ElliQ  มีลักษณะเหมือนโคมไฟตั้งโต๊ะขนาดเล็ก  บนหัวแบน ๆ ไม่มีตาและปากมีไฟส่องสว่างหมุนได้ รู้จักจดจำความสนใจ และบทสนทนาของผู้ใช้เพื่อปรับแต่งบทสนทนาในอนาคต  

ถ้าใช้ร่วมกับหน้าจอ มันสามารถแสดงภาพสถานที่ท่องเที่ยว เมือง  หรือพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนั้นยังคอยเป็นเพื่อนชวนออกกำลังกาย สอบถามสุขภาพ  และเตือนผู้ใช้ทานยาหรือดื่มน้ำ เป็นต้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press

วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2566

จีนเผยข้อจำกัดใหม่สำหรับวิดีโอเกมออนไลน์

ภาพจาก The New York Times

หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้ประกาศข้อจำกัดใหม่สำหรับเกมออนไลน์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อคุมเข้มการบริหารจัดการอุตสาหกรรมและปกป้องเยาวชนของประเทศ 

ร่างกฎหมายร่างกำหนดให้มีการจำกัดการใช้จ่ายของผู้ใช้บนแพลตฟอร์มเกม และห้ามไม่ให้เยาวชนบริจาคเงินให้กับสตรีมเมอร์ที่ไลฟ์เกม 

นอกจากนี้กฎหมายเหล่านี้ยังพยายามลดแรงจูงใจสำหรับผู้เล่นที่จะกลับมาเล่นเกมซ้ำ ๆ โดยการห้ามบริษัทเกมเสนอของรางวัลสำหรับการเข้าสู่ระบบเป็นประจำทุกวัน 

นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวจะกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่บริษัทเกมใช้ต้องตั้งอยู่ในประเทศจีน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The New York Times

วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2566

อัลกอริทึมช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นในเด็ก

doctor-treat-child
ภาพจาก LiveScience

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแพทย์ใน Tanzania ลดการสั่งยาปฏิชีวนะสำหรับเด็ก โดยไม่ส่งผลต่อการรักษา ตัวโปรแกรม ePOCT+ นี้ทำหน้าที่เป็นแนวทางให้แพทย์พิจารณาอาการและสัญญาณต่างๆ ชี้แนะการตรวจที่จำเป็น และวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อช่วยกำหนดแผนการรักษาที่ดีที่สุด โดยข้อมูลที่โปรแกรมใช้มาจากการตรวจวินิจฉัยอย่างรวดเร็วที่สามารถทำได้ภายในห้องตรวจ

จากการทดลองในสถานพยาบาล 40 แห่งทั่ว Tanzania กับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 44,300 คน พบว่า การใช้โปรแกรม ePOCT+ ส่งผลให้การสั่งยาปฏิชีวนะในการรักษาเบื้องต้นลดลงเหลือประมาณ 23% เปรียบเทียบกับสถานพยาบาลอื่นๆ ที่ไม่ใช้โปรแกรมซึ่งการสั่งยามีสูงถึง 70%

ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรม ePOCT+ มีศักยภาพในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในเด็ก ซึ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยา แต่ยังช่วยลดการเกิดเชื้อดื้อยาด้วย

 อ่านข่าวเต็มได้ที่: LiveScience

วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566

การเรียนรู้เชิงลึกสามารถระบุวัยรุ่นที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตมากที่สุด

group-of-teens
 ภาพจาก The University of Tokyo (Japan)

นักวิจัยจาก University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น ใช้การเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการศึกษาสุขภาพจิตของวัยรุ่นเป็นเวลา 6 ปี พบว่า 60.5% จากผู้เข้าร่วม 2,344 คน ไม่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย

กลุ่มเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองและความคิดฆ่าตัวตายสูงสุด พบว่าอยู่ที่ประมาณ 10% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งมีอาการซึมเศร้าและ "ประสบการณ์คล้ายโรคจิต" แต่ผู้ดูแลไม่สามารถระบุปัญหาเหล่านี้ได้

การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการติดตามสุขภาพจิตของวัยรุ่นอย่างใกล้ชิด แม้ว่าจะไม่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตายที่ชัดเจนก็ตาม 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีอาการซึมเศร้าหรือประสบการณ์คล้ายโรคจิต ซึ่งอาจมองไม่เห็นจากภายนอก การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและการสื่อสารกับผู้ดูแลอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงของการทำร้ายตัวเองและฆ่าตัวตายในวัยรุ่น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The University of Tokyo (Japan)

วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ซอฟต์แวร์ติดตามผู้ติดต่อวัดความเสี่ยง COVID-19

women-wearung-face-mask
ภาพจาก Ars Technica

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และนักวิจัยอื่น ๆ ในสหราชอาณาจักร ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้คน 7 ล้านคนในอังกฤษและเวลส์ ระหว่างเดือนเมษายน 2021 ถึงกุมภาพันธ์ 2022 ซึ่งได้รับแจ้งจากแอปพลิเคชัน COVID-19 ของ National Health Service ว่าพวกเขาอาจสัมผัสเชื้อ COVID-19 

แอปพลิเคชันนี้ใช้สัญญาณ Bluetooth ในการประมาณระยะห่างระหว่างสมาร์ทโฟน จากนั้นจะแจ้งเตือนผู้ที่ใช้เวลานาน 15 นาทีขึ้นไป ในระยะห่าง 2 เมตรหรือน้อยกว่า จากผู้ป่วย COVID-19 ที่ได้รับการยืนยัน

ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันสามารถแปลความถูกต้องเกี่ยวกับระยะเวลาและความใกล้เคียงของการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ไปเป็นคะแนนความเสี่ยงทางระบาดวิทยา (epidemiological risk score)  ที่เกี่ยวข้องได้อย่างแม่นยำ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ทรานซิสเตอร์ซินแนปติกเลียนแบบความฉลาดของมนุษย์

human-brain-like-transistor
ภาพจาก Interesting Engineering

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันต่างๆ ในสหรัฐฯ ได้สร้างทรานซิสเตอร์ที่สามารถคิดและจดจำสิ่งต่างๆ ได้ เช่นเดียวกับสมองมนุษย์ ผู้วิจัยใช้รูปแบบ moiré โดยการซ้อนและบิดวัสดุบางเฉียบเป็นพิเศษ เพื่อมอบคุณสมบัติเฉพาะทางอิเล็กทรอนิกส์ให้กับทรานซิสเตอร์

อุปกรณ์ที่ได้ออกมานี้ เรียกว่า ซินแนปติก ทรานซิสเตอร์ (synaptic transistor) ได้รับการฝึกฝนให้จดจำรูปแบบต่างๆ ตัวอุปกรณ์สามารถจดจำรูปแบบได้สำเร็จ แสดงให้เห็นการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง แม้กระทั่งเมื่อได้รับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์

นี่ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เนื่องจากเทคโนโลยีทรานซิสเตอร์แบบใหม่นี้อาจนำไปสู่การพัฒนาชิปประมวลผลที่ใกล้เคียงกับสมองมนุษย์มากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การแปลภาษา การรับรู้ภาพ และการตัดสินใจอัตโนมัติ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering

วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2566

เมอร์เซเดสเพิ่มแสงสีฟ้าสำหรับรถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง

ligt-mercedes
  ภาพจาก CNN

เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้รับอนุมัติให้เพิ่มไฟสีฟ้าอมเขียวภายนอกบนรถยนต์บางรุ่น ซึ่งจะเป็นสัญญาณว่ารถคันนั้นกำลังอยู่ในโหมดขับขี่อัตโนมัติ

รัฐแคลิฟอร์เนียและเนวาดา ซึ่งเป็นรัฐเดียวที่อนุญาตให้ใช้งานเทคโนโลยี Drive Pilot "ขับขี่เองตามเงื่อนไข" ของเมอร์เซเดส ได้อนุมัติการใช้สีไฟใหม่นี้ ไฟสีฟ้าอมเขียวเหล่านี้จำเป็นตามที่เมอร์เซเดสระบุ เพื่อแจ้งให้ผู้ขับขี่คนอื่นและเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบว่ารถคันนี้อยู่ภายใต้การควบคุมอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์

ไฟสีฟ้าอมเขียวเหล่านี้จะปรากฏขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรถ โดยจะอยู่บริเวณไฟท้ายและไฟหน้า การออกแบบสีนี้ได้รับการเลือกสรรมาอย่างพิถีพิถัน เนื่องจากมีความโดดเด่นสังเกตเห็นได้ง่าย อีกทั้งยังแตกต่างจากสีไฟของรถยนต์ทั่วไป รวมถึงไฟฉุกเฉินของรถตำรวจและหน่วยกู้ภัย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN

วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566

วิศวกรตาบอดเปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการออกแบบเกมคอมพิวเตอร์

Shen Guangrong
ภาพจาก Xinhua

วิดีโอเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ที่สร้างสรรค์โดย Shen Guangrong วิศวกรตาบอด ผู้ทำงานกับ Accessibility Research Association เซินเจิน ประเทศจีน 

เกมนี้ไม่มีภาพกราฟิก ไม่มีเอฟเฟกต์พิเศษใด ๆ และไม่มีเสียงเพลงประกอบ ผู้เล่นจะพิจารณาสิ่งแวดล้อมของเกมผ่านสัญญาณเสียงต่างๆ ที่แปลงมาจากข้อมูลข้อความที่ปรากฏบนหน้าจอ 

ผู้เล่นสามารถทำภารกิจต่าง ๆ ในโลกแห่งจินตนาการ และโต้ตอบกันเองด้วยการสร้างงานฝีมือ และเขียนไอเดียสร้างสรรค์ของตนเอง แม้เกมจะยังอยู่ในช่วงเบต้า แต่ก็มีผู้เล่นทีมีปัญหาด้านการมองเห็นมากกว่า 1,000 คนแล้ว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Xinhua

วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2566

หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐเสนอแนวทางการปกป้องข้อมูลส่วนตัวออนไลน์ของเด็กฉบับใหม่

woman-using-laptop
Photo by Andrew Neel on Unsplash

คณะกรรมการการค้า (Federal Trade Commission)   หรือ FTC ของสหรัฐอเมริกา ได้เสนอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับพระราชบัญญัติคุ้มครองความเป็นส่วนตัวออนไลน์ของเด็ก ปี 1998 ซึ่งจำกัดการติดตามข้อมูลเด็กออนไลน์ 

การเปลี่ยนแปลงจะ "เปลี่ยนภาระ" ของความปลอดภัยออนไลน์จากผู้ปกครองไปยังบริการดิจิทัล ในขณะเดียวกันก็จำกัดวิธีที่แพลตฟอร์มสามารถใช้และสร้างรายได้จากข้อมูลของเด็ก 

กฎระเบียบใหม่จะห้ามบริการออนไลน์ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อชักจูงให้เด็กอยู่ในแพลตฟอร์มของตนให้นานขึ้น นอกจากนี้ การปรับปรุงยังจะจำกัดการรวบรวมข้อมูลนักเรียนโดยผู้ให้บริการเทคโนโลยีการศึกษา

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The New York Times

วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2566

จีนและอเมริกาแข่งกันเพื่อปกป้องความลับจากคอมพิวเตอร์ควอนตัม

 

crytologists-working0in-1943
ภาพจาก Reuters

เมื่อวัน Q-day ซึ่งคือวันที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมสามารถทำลายวิธีการเข้ารหัสลับปัจจุบันมาถึง ซึ่งจะเกิดขึ้นหรือไม่ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกัน เนื่องจากว่าคอมพิวเตอร์ควอนตัมยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น 

ในระหว่างนี้ประเทศต่าง ๆ รวมถึงสหรัฐอเมริกาและจีน ได้รายงานว่ากำลังเก็บข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสลับจำนวนมากเพื่อหวังว่าจะถอดรหัสในภายหลัง 

สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรกำลังทำงานเกี่ยวกับการเข้ารหัสลับหลังควอนตัม และจีนกำลังทำงานเกี่ยวกับเครือข่ายการสื่อสารควอนตัมทางทฤษฎีที่ถูกแฮ็กไม่ได้ 

World Economic Forum ทำนายว่าจะต้องมีอุปกรณ์ สองหมื่นล้านตัวที่ต้องถูกอัปเกรดหรือแทนที่ในช่วง 20 ปีจากนี้ เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยควอนตัม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566

นักวิทยาศาสตร์นำโมเลกุลกลับมาจากความตายเพื่อต่อสู้กับ Superbugs

A-figure-of-a-Neanderthal-man
ภาพจาก CNN

ทีมวิจัยที่นำโดย César de la Fuente จาก the University of Pennsylvania กำลังใช้วิธีทางคอมพิวเตอร์เพื่อขุดข้อมูลทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษของมนุษย์ที่สูญพันธุ์และสัตว์อื่น ๆ เพื่อหาสิ่งที่นำมาพัฒนาเป็นยาปฏิชีวนะตัวใหม่

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าโมเลกุลโปรตีนขนาดเล็ก (เปปไทด์) บางส่วนที่พวกเขาค้นพบมีพลังในการต่อสู้กับแบคทีเรียซึ่งอาจเป็นแรงบันดาลใจสำหรับยาตัวใหม่เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อในมนุษย์

ทีมงานค้นพบเปปไทด์ต้านจุลชีพที่ไม่เคยพบมาก่อนมากกว่า 11,000 ชนิดซึ่งมีลักษณะเฉพาะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และสังเคราะห์ตัวเลือกที่มีศักยภาพบางตัวจากกลุ่มของพวกมัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ChatGPT ถูกใช้สร้างซอฟต์แวร์ที่เร็วขึ้นและน่าเชื่อถือมากขึ้น

chat-gpt
Photo by Jonathan Kemper on Unsplash

นักวิจัยจาก University of Stirling แห่งสหราชอาณาจักรใช้ประโยชน์จาก ChatGPT เพื่อปรับปรุงความเร็วและความน่าเชื่อถือของโปรแกรมซอฟต์แวร์

นักวิจัยขอให้ ChatGPT อัปเดตซอฟต์แวร์โดยอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงโค้ดของโปรแกรม Sandy Brownlee จากStirling กล่าวว่า "เราพบว่าในโครงการโอเพ่นซอร์สที่เราใช้เป็นกรณีศึกษา โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (large language model) หรือ LLM สามารถสร้างโปรแกรมในเวอร์ชันได้เร็วขึ้นประมาณ 15% ซึ่งเร็วกว่าวิธีการเดิมถึงสองเท่า

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Stirling (U.K.)

วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566

นาฬิกาอัจฉริยะช่วยตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติในเด็ก

kid-using-smart-watch
ภาพจาก Stanford Medicine News Center

การศึกษาโดยนักวิจัย Stanford University School of Medicine พบว่านาฬิกาอัจฉริยะ (smart watch) สามารถตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติในเด็กได้

นักวิจัยได้วิเคราะห์เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็กที่ Stanford Medicine Children's Health โดยสังเกตว่ามีการกล่าวถึง "Apple Watch" ในบันทึก 145 ครั้งในช่วงระยะเวลาสี่ปี (2018-2022)

จากการกล่าวถึงดังกล่าว ใช้วิธีการวินิจฉัยแบบดั้งเดิมเพื่อยืนยันจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติในผู้ป่วย 41 ราย โดยในจำนวนนี้ 29 รายได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นครั้งแรก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Stanford Medicine News Center

วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566

Google, Meta, Qualcomm และอีกหลายบริษัทร่วมมือกันสร้างระบบนิเวศดิจิทัลแบบเปิด

meta-logo
ภาพจาก Reuters

Google, Meta Platforms และ Qualcomm ทำงานร่วมกับบริษัทอื่นๆ อีก 7 แห่งเพื่อจัดตั้ง Coalition for Open Digital Ecosystems (CODE) ซึ่งเป็นองค์กรที่จะร่วมมือกับนักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย และบริษัทต่างๆ เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศดิจิทัลแบบเปิด

กลุ่มพันธมิตรกล่าวว่าการเปิดกว้างทางดิจิทัลสามารถทำได้ในยุโรป "ผ่านการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act) หรือ DMA และในการพัฒนากรอบการกำกับดูแลของสหภาพยุโรปที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"

เหนือสิ่งอื่นใด กลุ่มพันธมิตรจะผลักดันให้เกิดการเชื่อมต่อที่ราบรื่นและระบบที่ทำงานร่วมกันได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters


วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566

อวตารเข้ามาแทนที่ผู้ประกาศข่าวที่เป็นมนุษย์โดยสิ้นเชิง

news-reporter
ภาพจาก Tom's Guide

สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีและสื่อของ Channel 1 มีแผนเปิดตัวช่องข่าวในเดือนกุมภาพันธ์ โดยใช้อวตาร AI ที่ดูสมจริงเป็นผู้ประกาศข่าว

ข่าวที่เป็นตัวอย่างแนะนำบอกว่าการรายงานข่าวของช่องจะมาจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมี AI จัดการการแสดงผลบนหน้าจอ และเลือกข่าว

มนุษย์จะมีส่วนร่วมในการเขียนต้นฉบับ และในกระบวนการแก้ไข นอกเหนือจากข่าวที่สร้างโดย AI จากเอกสารของรัฐบาล และแหล่งอื่น ๆ ยังมีข่าวจากนักข่าวอิสระด้วย รายงานข่าวจะได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ และจะพยายามนำเสนอสิ่งที่ผู้ชมสนใจ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Tom's Guide

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ดาวเทียมเฝ้าดูโลกรุ่นเก่าของ NOAA ได้รับ 'การต่อชีวิต'

sattelite
ภาพจาก  Space.com

National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) วางแผนที่จะใช้ระบบคลาวด์เพื่อยืดอายุการใช้งานของดาวเทียมโคจรขั้วโลกรุ่นเก่าที่มีกำหนดเลิกใช้งาน

ดาวเทียมรุ่นเก่าเปิดตัวตั้งแต่ปี 1998 ถึง 2005 และใช้ในการพยากรณ์อากาศและสภาพอากาศ โดยเป็นส่วนหนึ่งของฝูง Polar-Orbiting Environmental Satellites (POES)  ของ NOAA

NOAA จะควบคุมดาวเทียมรุ่นเก่าโดยใช้ระบบคลาวด์บนอินเทอร์เน็ต POES Extended Life Internet ผ่านทาง Microsoft Azure โดยใช้แนวทาง "ระบบภาคพื้นดินในฐานะบริการ (ground system as a service)" แลฃะตั้งเป้าจะให้ดาวเทียมทำงานอย่างน้อยจนถึงเดือนกันยายน 2025

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Space.com

วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566

AI เปลี่ยนความคิดเป็นข้อความ

brain-computer-interface
ภาพจาก University of Technology Sydney (Australia)

ระบบแบบพกพาและไม่รุกราน พัฒนาโดยนักวิจัย University of Technology Sydney (UTS) ของออสเตรเลีย สามารถเปลี่ยนความคิดของแต่ละบุคคลให้เป็นข้อความได้

ระบบรวมเอาสิ่งที่นักวิจัยเรียกว่า DeWave ซึ่งเป็นโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ที่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับข้อมูลคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ EEG จำนวนมหาศาล ซึ่งสามารถแปลสัญญาณ EEG ที่ได้รับผ่านหมวกที่ผู้ถูกทดสอบสวมใส่เป็นคำและประโยค

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Technology Sydney (Australia)

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566

เครื่องบินขนส่งสินค้าที่ควบคุมจากระยะไกลได้รับการทดสอบครั้งใหญ่ครั้งแรก

remote-control-plane
ภาพจาก Bloomberg

Reliable Robotics สตาร์ทอัพด้านการบินอัตโนมัติของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประกาศว่าตนได้บินเครื่องบินขนส่งสินค้าขนาดเล็กที่ยืมมาจาก FedEx Corp. โดยไม่มีคนอยู่บนเครื่อง ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสู่การได้รับการอนุมัติตามกฎข้อบังคับสำหรับระบบนักบินควบคุมระยะไกล

ในการประสานงานกับสำนักงานการบินแห่งชาติสหรัฐ เที่ยวบิน 12 นาที Cessna 208B Grand Caravan ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ได้บินขึ้นและลงจอดที่สนามบินเทศบาล Hollister ในแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ นักบินระยะไกลรับสายการติดต่อทางวิทยุทั้งหมด และติดตามเครื่องบินระหว่างบินจากระยะไกลประมาณ 50 ไมล์

“เราสาธิตการแท็กซี่ การบินขึ้น และการลงจอดแบบอัตโนมัติ ทั้งหมดนี้โดยไม่ต้องใช้นักบิน” Robert Rose ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Reliable Robotics กล่าว 

“ระบบของเราไม่ได้สตาร์ทเครื่องยนต์อัตโนมัติ ดังนั้นจึงต้องมีคนอยู่บนเครื่องบินเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์” เขากล่าวเสริม “เรากำลังทำเรื่องนั้นอยู่”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg

วันอังคารที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566

AI ทำให้การจับเป็นธรรมชาติมากขึ้น

researchers-from-TUM
ภาพจาก Technical University of Munich (Germany)

อัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจา Technical University of Munich (TUM) ของเยอรมนี ใช้หลักการการทำงานร่วมกันและเครือข่ายเซ็นเซอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอุปกรณ์มือเทียมขั้นสูงได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น

หลักการประสานกันใช้เพื่ออธิบาย เช่น วิธีที่นิ้วเคลื่อนไหวแบบประสานกันเพื่อจับวัตถุและปรับให้เข้ากับรูปร่างของมันเมื่อมีการสัมผัส นักวิจัยได้พัฒนาอัลกอริทีมการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ตามหลักการนี้

Patricia Capsi Morales จาก TUM กล่าวว่า "ด้วยความช่วยเหลือของการเรียนรู้ของเครื่อง เราสามารถเข้าใจความหลากหลายของวัตถุต่าง ๆ และปรับปรุงความสามารถในการปรับตัวในการควบคุมเมื่อเวลาผ่านไปและตามกระบวนการเรียนรู้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Technical University of Munich (Germany)

วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566

โลกขึ้นอยู่กับโค้ดที่มีอายุ 60 ปี ที่ไม่มีใครรู้จัก

coding-with-multiple-monitors
ภาพจาก PC Magazine

ภาษาเขียนโปรแกรม COBOL ที่มีมายาวนานถึง 64 ปี เป็นหนึ่งในภาษาการเขียนโปรแกรมเมนเฟรมอันดับต้น ๆ ที่มีการใช้งาน โดยเฉพาะในภาคการธนาคาร ยานยนต์ ประกันภัย รัฐบาล การดูแลสุขภาพ และการเงิน

อย่างไรก็ตาม โรงเรียนและมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ได้สอนภาษา COBOL มานานหลายทศวรรษแล้ว ซึ่งถือเป็นความท้าทายเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญภาษา COBOL จะเกษียณอายุ โดยไม่มีคนมาทดแทน

IBM หวังที่จะใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เพื่อแก้ไขสถานการณ์โดยการสร้างผู้ช่วยโค้ดแบบ AI ผู้สร้าง (generative AI) ที่เรียกว่า watsonx เพื่อแปลงโค้ด COBOL เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมสมัยใหม่ขึ้น

Skyla Loomis จาก IBM กล่าวว่า "ถึงแม้ได้รับความช่วยเหลือจาก AI แต่ยังต้องมีนักพัฒนา" เพื่อแก้ไขโค้ดที่ AI สร้างให้ เขากล่าวเสริมว่า "นี่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไม่ใช่กิจกรรมทดแทนนักพัฒนาซอฟต์แวร์"

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  PC Magazine


วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566

การเรียนรู้ของเครื่องตรวจสอบ 'ภาระงาน' ของผู้ขับขี่เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน

smart-car
ภาพจาก University of Cambridge (U.K.)

นักวิจัยจาก University of Cambridge ร่วมมือกับ Jaguar Land Rover พัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งสามารถปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนได้ โดยการทำนายว่าเมื่อใดที่ผู้ขับขี่สามารถโต้ตอบได้อย่างปลอดภัยกับระบบในรถหรือรับข้อความ

นักวิจัยใช้การผสมผสานระหว่างการทดลองบนท้องถนนและการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) รวมถึงเทคนิคการกรองแบบเบย์ (Bayesian filtering) เพื่อวัด "ภาระงาน (workload) " ของคนขับอย่างต่อเนื่อง

อัลกอริทึมที่ได้สามารถปรับเปลี่ยนได้และสามารถตอบสนองในเวลาใกล้เคียงกับเวลาจริงต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสถานะของผู้ขับขี่ สภาพถนน ประเภทถนน หรือลักษณะของผู้ขับขี่ ข้อมูลนี้สามารถรวมเข้ากับระบบภายในรถยนต์ได้

Bashar Ahmad จากเคมบริดจ์กล่าวว่า "เราสามารถปรับเปลี่ยนตัวแบบต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาโดยใช้เทคนิคการกรองแบบเบย์แบบง่าย ๆ มันสามารถปรับให้เข้ากับประเภทและสภาพถนนที่แตกต่างกันได้อย่างง่ายดาย หรือผู้ขับขี่คนละคนที่ใช้รถคันเดียวกัน"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Cambridge (U.K.)



วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ข้อมูลส่วนบุคคลอาจเข้าถึงได้จากคำถามที่ป้อนให้ chatGPT

opne-AI
ภาพจาก Silicon Angle

นักวิจัยของ Google แสดงให้เห็นว่า ChatGPT ของ OpenAI สามารถใช้เพื่อนำเอาข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ หากได้รับ พรอมท์ (prompt) ที่ถูกต้อง

แม้ว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนแชทบอทดังกล่าวจะได้รับการฝึกให้ดึงข้อมูลจากข้อมูลออนไลน์เพื่อตอบคำถามโดยไม่ต้องทำซ้ำข้อมูลนั้น แต่นักวิจัยพบว่าพวกเขาสามารถบังคับให้ ChatGPT ให้คำตอบที่มีข้อความจากตัวแบบภาษาต้นฉบับโดยใช้คำหลักซ้ำ ๆ

นักวิจัยกล่าวว่า "การใช้คำถาม ChatGPT มูลค่าเพียง 200 ดอลลาร์สหรัฐทำให้เราสามารถดึงตัวอย่างการฝึกอบรมแบบจดจำคำต่อคำที่ไม่ซ้ำกันได้มากกว่า 10,000 ตัวอย่าง การคาดเดาของเราทำให้คาดได้ว่าถ้าใช้งบประมาณที่มากขึ้น ฝ่ายตรงข้ามที่ตั้งใจทุ่มสามารถดึงข้อมูลได้มากขึ้นอย่างมาก"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Silicon Angle

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566

เส้นใยที่เปลี่ยนสีได้อาจช่วยลดขยะเสื้อผ้า

smart-texttile
ภาพจาก Reuters

สิ่งทอเปลี่ยนสีได้ที่ฝังกล้องขนาดเล็กและการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ช่วยให้ผู้สวมใส่เปลี่ยนสีเสื้อผ้าได้ด้วยท่าทางง่าย ๆ

ผ้ารีไซเคิลที่พัฒนาโดย  Laboratory for Artificial Intelligence in Design  ในฮ่องกงนั้นถักด้วยเส้นใยนำแสงโพลีเมอร์และเส้นด้ายจากสิ่งทอ และสามารถส่องสว่างได้ในเฉดสีที่แตกต่างกัน

การยกนิ้วโป้งที่ด้านหน้ากล้องของผ้าจะทำให้ผ้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม ในขณะที่สัญลักษณ์หัวใจจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู และท่าทาง 'OK' จะทำให้เป็นสีเขียว

นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งสีได้โดยใช้แอปสมาร์ตโฟน และอัลกอริทึม AI ช่วยให้กล้องแยกแยะท่าทางของผู้ใช้แต่ละรายได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ชุดทดสอบที่สั่งทำได้

researcher-with-test-printed-chip
ภาพจาก McGill University Newsroom (Canada)

นักวิจัยของ McGill University ได้คิดค้นระบบทดสอบการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการบนชิปที่สามารถพิมพ์สามมิติได้ภายใน 30 นาที

ชิปคาปิลลาริก (capillaric) แบบใช้ครั้งเดียวไม่ต้องใช้แหล่งพลังงานภายนอก และสามารถพิมพ์แบบ 3 มิติสำหรับการทดสอบต่าง ๆ รวมถึงการวัดปริมาณแอนติบอดีสำหรับโควิด-19

David Juncker จาก McGill กล่าวว่า "เครื่องมือของเราก็เปรียบได้กับโทรศัพท์มือถือที่สามารถถูกนำมาใช้แทนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปทั่วไปที่ต้องใช้จอภาพ คีย์บอร์ด และแหล่งจ่ายไฟแยกต่างหากในการทำงาน"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: McGill University Newsroom (Canada)


วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ทฤษฎีจิตวิทยาช่วยสร้างหุ่นยนต์ที่เหมือนมนุษย์

human-hands-and-robot-hands
ภาพจาก The New Indian Express

นักวิจัยจาก International Institute of Information Technology-Bangalore (IIIT-Bangalore) ในอินเดียได้พัฒนาขั้นตอนการสร้างตัวแบบการมีส่วนร่วมในปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์

Arpitha Malavalli จาก IIIT-Bangalore อธิบายว่า “เราต้องการใช้ประโยชน์จากทฤษฎีจิตวิทยาที่มีอยู่ เราพยายามที่จะสะท้อนสิ่งเดียวกันนี้ในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์" 

ท่อส่งผ่านข้อมูลได้รับการฝึกฝนโดยใช้ทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ Shrisha Rao แห่ง IIIT-Bangalore กล่าวว่า "เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์อีกคนหนึ่ง เราจะวิเคราะห์อารมณ์ของพวกเขา บุคลิกภาพ ท่าทางมือ และการแสดงออก และปรับเปลี่ยนการตอบสนองของเราตามนั้น นั่นคือสิ่งที่ท่อส่งนี้มุ่งหวังที่จะทำ และมีความรอบรู้และเหมือนมนุษย์มากขึ้น”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The New Indian Express

วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566

AI ทำให้การประมาณปริมาณฝนจากดาวเทียมเฉียบคมขึ้น

cloud-based-connected-lines
ภาพจาก  IEEE Spectrum

นักวิจัยของ Colorado State University (CSU) ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เพื่อปรับปรุงการประมาณปริมาณน้ำฝนจากดาวเทียมตรวจอากาศ ซึ่งจะสแกนยอดเมฆแทนการตรวจจับการตกตะกอนในระดับพื้นผิว

นักวิจัยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจาก Geostationary Operational Environmental Satellites (GOES-R) ของ National Oceanic and Atmospheric Administration ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสแกนแสงที่มองเห็นและแสงอินฟราเรดจากโลก

นักวิจัยได้ฝึกฝนตัวแบบนี้เพื่อสร้างการประมาณปริมาณน้ำฝนให้ใกล้เคียงกับการประมาณจากค่าเรดาร์ภาคพื้นดินมากที่สุด โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่มีพารามิเตอร์มากกว่า 1.3 ล้านพารามิเตอร์และข้อมูลอินฟราเรด GOES-R จากทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา

พวกเขาพบว่าระบบ AI มีประสิทธิภาพเหนือกว่าอัลกอริทึมอื่น ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมในการจับคู่ค่าประมาณจากเรดาร์ภาคพื้นดิน และแม่นยำยิ่งขึ้นในการประมาณปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักเมื่อรวมข้อมูลฟ้าผ่าของ GOES-16 เข้ามาด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2566

นักวิจัยค้นพบช่องโหว่ในการพัฒนา Windows Hello

Windows_Surface
ภาพจาก  SiliconANGLE

นักวิจัยจากบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Blackwing Intelligence ค้นพบช่องโหว่ในการใช้งาน Windows Hello ซึ่งเป็นฟีเจอร์การเข้าสู่ระบบไบโอเมตริกซ์ที่ติดตั้งใน Windows จากผู้ผลิตแล็ปท็อปหลายราย

นักวิจัยได้ค้นพบช่องโหว่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ดำเนินการในนามของทีมวิจัยเชิงรุกและวิศวกรรมความปลอดภัยของ Microsoft Corp. เพื่อวิเคราะห์แล็ปท็อปจาก Microsoft, Lenovo และ Dell

ข้อบกพร่องที่พบเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีของ Microsoft ที่เรียกว่า Secure Device Connection Protocol (SDCP) ซึ่งแล็ปท็อปจำนวนมากใช้งานเพื่อขับเคลื่อนการใช้งาน Windows Hello

“Microsoft ทำงานได้ดีในการออกแบบ Secure Device Connection Protocol (SDCP) เพื่อให้ช่องทางที่ปลอดภัยระหว่างโฮสต์และอุปกรณ์ไบโอเมตริกซ์ แต่น่าเสียดายที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ดูเหมือนจะเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์บางประการ” นักวิจัยกล่าว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: SiliconANGLE

วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ปกป้องเสียงของคุณจาก Deepfake

Fake-Text
ภาพจาก Photo by Markus Spiske on Unsplash

เครื่องมือที่พัฒนาโดย Ning Zhang จาก Washington University in St. Louis  มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องเสียงของผู้ใช้ไม่ให้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้าง Deepfake ด้วยการทำให้เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI อ่านคุณลักษณะการบันทึกเสียงบางอย่างได้ยากขึ้น เครื่องมือ AntiFake จึงป้องกันการสังเคราะห์คำพูดโดยไม่ได้รับอนุญาต

Zhang กล่าวว่า "เครื่องมือนี้ใช้เทคนิค AI ฝ่ายตรงข้าม (adversarial AI) ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของกล่องเครื่องมือของอาชญากรไซเบอร์ แต่ตอนนี้เรากำลังใช้มันเพื่อป้องกันการบุกรุกจากพวกเขา เราทำให้สัญญาณเสียงที่บันทึกไว้สับสนเล็กน้อย บิดเบือนหรือรบกวนสัญญาณเท่าที่จำเป็น ทำให้ยังคงฟังดูถูกต้องสำหรับผู้ฟังที่เป็นมนุษย์ แต่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ AI"

ในการทดสอบกับเครื่องสังเคราะห์เสียงพูดที่ล้ำสมัยห้าตัว พบว่า AntiFake มีประสิทธิภาพ 95%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Source (Washington University in St. Louis)


วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566

การติดตามการแพร่กระจายของมะเร็งผ่านหน้าต่างการคำนวณ

cancer-moving-window
ภาพจาก Duke University Pratt School of Engineering

ทีมที่นำโดยนักวิจัยจาก  Duke University ได้พัฒนาตัวแบบการคำนวณที่สามารถจำลองการเคลื่อนไหวของเซลล์มะเร็งแต่ละเซลล์ผ่านทางหลอดเลือดของร่างกาย

ตัวแบบ Adaptive Physics Refinement ขยายอัลกอริทึมที่มีอยู่เพื่อแสดงให้เห็นว่าเซลล์มะเร็งมีปฏิกิริยาอย่างไรกับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่อยู่ใกล้เคียงหลายล้านเซลล์

Samreen Mahmud จาก Duke กล่าวว่า "เป้าหมายของเราคือการขยายขนาดหน้าต่างให้ใหญ่ที่สุดเพื่อดูว่าเราสามารถจับภาพได้กี่เซลล์โดยใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับแนวหน้า จากนั้นเรามุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนในการคำนวณและย้ายวิธีการไปยังระบบคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพ"

นักวิจัยได้สาธิตประสิทธิภาพของอัลกอริทึมด้วยการจำลองการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งในระยะ 1 เซนติเมตรโดยใช้โหนดเดียวบนเว็บเซอร์วิสของ Amazon เป็นเวลา 500 ชั่วโมง ซึ่งช่วยลดความต้องการหน่วยความจำในการคำนวณจากเพตะไบต์ (petabyte) เป็นกิกะไบต์ (gigabyte)

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Duke University Pratt School of Engineering