วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

ระบบค้นคว้ายาใหม่ ๆ ด้วย AI อาจถูกนำไปปรับใช้ในการสร้างอาวุธเคมี

ai-drug-discovery
ภาพจาก Scientific American

นักวิทยาศาสตร์จาก Collaborations Pharmaceuticals ได้นำเสนองานวิจัยในการประชุม Spiez CONVERGENCE ในปี 2020 ที่สวิตเซอร์แลนด์ว่า เฟรมเวิร์กการค้นคว้ายาที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อผลิตอาวุธเคมี

นักวิจัยได้ใช้ซอฟต์แวร์ MegaSyn ของ Collaborations เพื่อสร้างรายการของโมเลกุลที่เป็นพิษซึ่งคล้ายกับสารสื่อประสาท VX ซึ่งสร้างออกมาได้ 40,000 ตัวอย่าง ซึ่งรวมถึงสารที่สามารถใช้เป็นอาวุธอื่น ๆ นอกเหนือจาก VX ในเวลาน้อยกว่าหกชั่วโมง

Fabio Urbina แห่ง Collaborations กล่าวว่าทีมก่อนหน้านี้เคยใช้ MegaSyn เพื่อสร้างโมเลกุลที่ใช้ในการรักษาโดยมีเป้าหมายระดับโมเลกุลเดียวกันกับ VX ในขณะที่โมเลกุลที่เป็นพิษถูกสร้างขึ้นโดยขอให้ระบบออกแบบโมเลกุลที่คล้ายกันโดยไม่มีข้อมูลเข้าเชิงโครงสร้าง

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าการวิจัยไม่ได้ตอบคำถามสำคัญว่าการใช้ซอฟต์แวร์ AI เพื่อค้นหาสารพิษจะสามารถนำไปสู่การพัฒนาอาวุธชีวภาพในทางปฏิบัติได้หรือไม่

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Scientific American

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

I Feel Fine

วันศุกร์นี้อยากมาชวนฟังเพลงกันครับ ไม่ได้ฟังกันมานานแล้ว เพลงที่จะมาชวนฟังก็เป็นเพลงของ The Beatles คือ I Feel Fine เหตุผลก็ไม่มีอะไรมากครับ เพราะหนึ่งในฐานะแฟนบอลลิเวอร์พูลมาอย่างเหนียวแน่นมาสีสิบกว่าปีได้  ตามข่าวความสำเร็จของทีมจากหนังสือนิตยสารเป็นส่วนใหญ่ในยุค ปลาย  70 ต่อ 80 ที่ทีมครองความยิ่งใหญ่ เพราะในช่วงนั้นการสื่อสารยังไม่ดีเท่าทุกวันนี้ โอกาสจะมีบอลถ่ายทอดทีมโปรดมาให้ดูสักนัดก็ยากมาก ผ่านยุคตกต่ำที่ต้องมองความสำเร็จของแมนยูปีแล้วปีเล่าในยุค 90 ที่ได้เริ่มดูถ่ายทอดสดได้มากขึ้น แต่ก็ต้องมองทีมตัวเองมีได้แค่ลุ้นตอนต้น ๆ ของฤดูกาล แล้วก็ค่อย ๆ หายไปจนไม่มีเหลือลุ้นอะไร เหมือนที่แมนยูเป็นอยู่ตอนนี้

แต่ถึงตอนนี้คงต้องบอกว่ากองเชียร์ลิเวอร์พูลทุกคนคงจะอยู่ในสถานะ I Feel Fine เพราะผลงานของทีมที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใต้การดูแลของชายที่ชื่อว่า เจอร์เก็น คลอปป์ ซึ่งกำลังพาลิเวอร์พูลกลับสู่ยุครุ่งเรื่องอีกครั้ง ในฤดูกาลนี้ก็ยังมีลุ้นทุกรายการที่ลงแข่ง เป็นทีมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทีมที่ดีที่สุดทีมหนึ่งของโลก และนอกจากนี้ยังมีข่าวดีอีกคือ คลอปป์ ยอมขยายสัญญาตัวเองออกไปจากที่จะหมดลงในปี 2024 เป็นปี 2026 ดูหมือนว่ามันจะขยายไปอีกไม่นาน แต่สำหรับแฟนลิเวอร์พูลแล้ว ผมว่าคลอปป์ยอมต่อสัญญาออกไปแม้จะเป็นแค่ปีเดียวก็ทำให้แฟน ๆ มีความสุขแล้ว เพราะมันหมายความว่าลิเวอร์พูลก็จะมีโอการประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นไปอีกตามจำนวนปีที่คลอปป์อยู่ต่อ

นอกจากจะรู้สึก Fine แบบชื่อเพลงแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ผมอยากจะมาชวนฟังเพลงนี้ก็เพราะ กองเชียร์ลิเวอร์พูลที่อังกฤษได้แต่งเพลงสั้น ๆ ให้คลอปป์ โดยใช้ทำนองเพลง I Feel Fine นี้ครับ ไปฟังเพลงและดูเนื้อร้องของเพลงนี้กันก่อนครับ 


 Baby's good to me, you know

She's happy as can be, you know
She said so
I'm in love with her and I feel fine

Baby says she's mine, you know
She tells me all the time, you know
She said so
I'm in love with her and I feel fine

I'm so glad that she's my little girl
She's so glad, she's telling all the world
That her baby buys her things, you know
He buys her diamond rings, you know
She said so
She's in love with me and I feel fine, mm

Baby says she's mine, you know
She tells me all the time, you know
She said so
I'm in love with her and I feel fine

I'm so glad that she's my little girl
She's so glad, she's telling all the world
That her baby buys her things, you know
He buys her diamond rings, you know
She said so
She's in love with me and I feel fine
She's in love with me and I feel fine

และนี่คือเพลงของคลอปป์ครับ



เนื้อเพลงก็สั้น ๆ ตามนี้ครับ

I'm so glad that Jurgen is a Red.

I'm so glad he delivered what he said.

Jurgen said to me, you know. We'll win the Premier League, you know. He said so.

I'm in love with him and I feel fine.


วันศุกร์นี้ก็ขอแสดงความ Fine ตามประสาเดอะค็อปสักวันนะครับ และก็ตามลุ้นให้ทีมทำภารกิจ 4 แชมป์ ที่แทบจะเป็น mission impossible ได้สำเร็จ 

กังวลว่าโทรศัพท์มือถือของคุณกำลังแอบฟังอยู่ใช่ไหม

voice-editing-program
Photo by Kelly Sikkema on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของ Columbia University ได้พัฒนาอัลกอริธึมที่สามารถบล็อกอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลาบจากการสอดแนมผู้ใช้ โดยสร้างเสียงที่เงียบมาก ๆ  Carl Vondrick แห่ง Columbia กล่าวว่าอัลกอริธึมสามารถบล็อกไมโครโฟนที่แอบซ่อนอยู่เพื่อฟังเสียงได้ 80% ของเวลาทั้งหมดโดยการซ่อนเสียงของคน

Mia Chiquier จาก Columbia อธิบายว่าโปรแกรมใช้การโจมตีแบบคาดเดา สัญญาณที่สามารถขัดขวางรูปแบบการรู้จำคำพูดอัตโนมัติที่ถูกสอนให้ถอดเสียง ระบบจะทำงานนี้ในเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาจริงโดยคาดการณ์การโจมตีในอนาคตของสัญญาณหรือคำ โดยอ้างอิงจากสองวินาทีของคำพูดที่ใช้เป็นข้อมูลเข้า ระดับเสียงของการโจมตีใกล้เคียงกับเสียงรบกวนที่มีอยู่ตามปกติเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงสามารถสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Columbia Engineering News

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565

ความเสี่ยงจากยาปลอมกำลังเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีจากมือถือช่วยตรวจสอบได้

Fake-Label
ภาพจาก SciTechDaily

นักวิจัยได้พัฒนาวิธีการระบุยาปลอมโดยใช้แท็กที่สามารถกิน และอ่านได้ผ่านแอปสมาร์ทโฟนเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาและคุณภาพของยา นักวิจัยดัดแปลงพันธุกรรมตัวไหมเพื่อผลิตโปรตีนไหมที่กินได้โดยมีโปรตีนเรืองแสงสีฟ้า สีเขียว หรือสีแดงติดอยู่ 

แท็กที่มีโปรตีนไหมเรืองแสงเหล่านี้ สามารถถูกเอนไซม์ในทางเดินอาหารย่อยสลายได้อย่างปลอดภัย โดยสามารถใช้กับยาเม็ดหรือเติมลงในยาน้ำได้ แอพสมาร์ทโฟนจะสแกนหารูปแบบการเรืองแสง และหากพบ จะใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) เพื่อถอดรหัสคีย์ดิจิทัลและนำผู้ใช้ไปยังหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของยาและเป็นยาจริงหรือไม่

อ่านข่าวเต็มได้ที่: SciTechDaily

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์ควบคุมด้วยจอยสติ๊กสามารถช่วยศัลยแพทย์รักษาโรคหลอดเลือดสมองจากระยะไกลได้

joystick-robot
ภาพจาก MIT News

ระบบเทเลโรโบติก (telerobotic) ที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT), Massachusetts General Hospital, และ Philips Research North America  ช่วยให้ศัลยแพทย์ทำงานจากระยะไกลได้ โดยใช้จอยสติ๊กและการถ่ายทอดภาพสดเพื่อควบคุมแขนหุ่นยนต์โดยที่ผู้ควบคุมอยู่อีกที่หนึ่ง

ระบบสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือหลอดเลือดโป่งพองได้ โดยสามารถเข้าถึงเพื่อเปิดทางหลอดเลือดจากระยะไกล ในช่วงเวลาวิกฤตทันทีหลังจากเริ่มมีอาการ ในระหว่างการทดสอบโดยใช้แบบจำลองขนาดเท่าของจริง ศัลยแพทย์ระบบประสาทสามารถควบคุมแขนของหุ่นยนต์จากระยะไกลเพื่อนำลวดแม่เหล็ก (magnetic wire) ผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดได้หลังจากฝึกใช้เพียงชั่วโมงเดียว

Yoonho Kim แห่ง MIT อธิบายว่า "จุดประสงค์หลักของสายนำแม่เหล็ก (magnetic guidewire) คือการไปยังตำแหน่งเป้าหมายอย่างรวดเร็วและปลอดภัย เพื่อใช้อุปกรณ์มาตรฐานอย่าง microcatheters ในการรักษาได้ ระบบของเราเปรียบเสมือนเครื่องนำทาง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News


วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

รถขับเคลื่อนด้วยตัวเองสามารถถูกหลอกให้เห็นไฟแดงเป็นไฟเขียวได้

street-night
Photo by Tom Hill on Unsplash

นักวิจัยจาก Zhejiang University ของจีนพบว่ารถยนต์ไร้คนขับอาจถูกหลอกให้มองเห็นสัญญาณไฟจราจรสีแดงเป็นสีเขียวได้ นักวิทยาศาสตร์ฉายเลเซอร์ไปที่เซ็นเซอร์ของกล้องห้ารุ่นที่ใช้โดยรถขับเคลื่อนด้วยตนเอง โดยมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซสองชุดอ่านภาพที่ถ่ายไว้ 

เลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 650 นาโนเมตรและความยาวคลื่น 520 นาโนเมตรทำให้ภาพทั้งหมดเป็นสีแดงหรือสีเขียวตามลำดับ ในขณะที่การกะพริบของเลเซอร์ที่ความถี่สูงทำให้เกิดสีในบางส่วนของภาพเท่านั้น การเพิ่มแถบแนวนอนสีเขียวหรือสีแดงทำให้ชุดซอฟต์แวร์ทั้งสองตรวจพบสัญญาณไฟจราจรอย่างไม่ถูกต้องโดยเฉลี่ยว่าเป็นสีเขียว 30%  และสีแดง 86% ของเวลาทั้งหมด ระหว่างกล้องทุกตัว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565

เครื่องมือที่อาจทำนายความเสี่ยงของงานคุณจากระบบอัตโนมัติ

robot
Photo by Owen Beard on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์จาก Swiss Federal Institute of Technology (EPFL) ในเมืองโลซานน์  และ University of Lausanne ในสวิตเซอร์แลนด์ได้ออกแบบอัลกอริธึมเพื่อทำนายว่าแต่ละอาชีพมีความเสี่ยงจากระบบอัตโนมัติอย่างไร 

ดัชนีความเสี่ยงด้านระบบอัตโนมัติ (automation risk index) หรือ ARI จะตรวจสอบจำนวนข้อกำหนดในรายละเอียดงานที่หุ่นยนต์สามารถทำได้เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ จัดอันดับความสำคัญของทักษะเหล่านี้ และประเมินความสามารถในปัจจุบันของหุ่นยนต์ที่จะทำมัน 

ในการจัดอันดับงาน 967 ตำแหน่งโดย ARI ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูล Occupation Information Network นักฟิสิกส์ได้รับการพิจารณาให้เป็นอาชีพที่ปลอดภัยที่สุดจากระบบอัตโนมัติ ในขณะที่พบว่าคนงานบรรจุหีบห่อ และคนงานในโรงฆ่าสัตว์มีความเสี่ยงสูงสุด

นักวิจัยยังได้จัดทำดัชนีความยืดหยุ่นนี้เป็นเว็บไซต์เพื่อผู้ใช้สามารถค้นหาเพื่อค้นหาความเสี่ยงด้านระบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน และงานที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ซึ่งใครที่สนใจสามารถทดลองเข้าไปค้นหาดูได้จากลิงก์นี้ครับ https://lis2.epfl.ch/resiliencetorobots/#/

 อ่านข่าวเต็มได้ที่: Silicon Republic

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2565

บอทสามารถตรวจพบผู้ใช้ Twitter ที่มีความซึมเศร้า 9 จาก 10 ราย

twitter-bot-depression
ภาพจาก Brunel University London (U.K.)

อัลกอริทึมที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Brunel University London และ University of Leicester ในสหราชอาณาจักร สามารถตรวจสอบสภาพจิตใจของบุคคลได้โดยการแยกและวิเคราะห์จุดข้อมูล 38 จุดจากโปรไฟล์ Twitter สาธารณะของพวกเขา

นักวิจัยได้ฝึกอบรมบอทบนฐานข้อมูลสองฐานข้อมูลที่มีประวัติการทวีตของผู้ใช้หลายพันคน และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพจิตของพวกเขา โดยไม่รวมเอาผู้ใช้ที่มีการทวีตน้อยกว่า 5 ทวีต จากนั้นจึงแก้ไขคำที่สะกดผิดและตัวย่อโดยใช้ซอฟต์แวร์ภาษาธรรมชาติ

อัลกอริทึมระบุภาวะซึมเศร้าด้วยความแม่นยำ 88.39% ในชุดข้อมูลหนึ่ง และ 70.69% ในอีกชุดหนึ่ง Abdul Sadka แห่ง Brunel กล่าวว่า "แม้จะไม่ได้แม่นยำ 100% แต่ฉันไม่คิดว่าโซลูชันการเรียนรู้ของเครื่องใด ๆ จะสามารถบรรลุความน่าเชื่อถือได้ที่ระดับ 100% อย่างไรก็ตาม ยิ่งคุณเข้าใกล้ตัวเลข 90 เปอร์เซ็นต์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีเท่านั้น”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Brunel University London (U.K.)

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565

AI กำลังอธิบายตัวเองให้คนฟัง และดูเหมือนจะได้ผล

linkedin-microsoft-logos
ภาพจาก Reuters

บริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่กำลังลงทุนอย่างหนักในด้านปัญญาประดิษฐ์ที่อธิบายได้ (eXplainable artificial intelligence) หรือ XAI เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปรณรงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความโปร่งใสจากการตัดสินใจโดยอัตโนมัติ

ผู้สนับสนุน XAI กล่าวว่าได้ช่วยให้ AI มีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านต่างๆ เช่น การดูแลสุขภาพและการขาย Microsoft เห็นว่ารายรับจากการสมัครสมาชิก LinkedIn เพิ่มขึ้น 8% หลังจากให้บริการซอฟต์แวร์ CrystalCandle แก่ทีมขาย ซึ่งระบุลูกค้าที่มีความเสี่ยงที่จะยกเลิกสมาชิกพร้อมทั้งอธิบายเหตุผล ส่วนผู้ที่ยังคลางแคลงบอกว่าคำอธิบายของ AI ว่าทำไมมันถึงทำนายได้ยังมีความไม่น่าเชื่อถืออยู่มาก 

LinkedIn กล่าวว่าเราไม่สามารถตัดสินความครบถ้วนสมบูรณ์ของอัลกอริธึมได้หากไม่เข้าใจเหตุผล ในขณะที่เครื่องมือเช่น CrystalCandle สามารถช่วยให้แพทย์เรียนรู้ว่าเพราะอะไร AI จึงคาดการณ์ว่าบางคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมากขึ้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565

การท่องเน็ตที่ให้ความรู้สึกทันทีทันใด

microwave-tower
ภาพจาก  Duke Today

นักวิจัยจาก   Duke University, University of Illinois, Yale University, และ ETH Zurich ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาการออกแบบสำหรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วแสงใน 120 เมืองในสหรัฐอเมริกา แทนที่จะใช้สายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ฝังไว้คดเคี้ยวไปมาตามพิ้นดิน เครือข่ายจะนำข้อมูลแบบไร้สายผ่านการส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟ เนื่องจากสัญญาณเดินทางในอากาศเร็วกว่าแสงที่เดินทางผ่านไฟเบอร์ 50%

วิธีการนี้ใช้เครือข่ายที่สร้างขึ้นเองตั้งแต่ต้นปี 2010 ซึ่งช่วยลดเวลาในการส่งข้อมูลระหว่าง Chicago Mercantile Exchange และตลาดหลักทรัพย์ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ได้ภายในเสี้ยววินาที นักวิจัยประเมินว่าการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่าย 81 เซนต์ต่อกิกะไบต์ และลดความล่าช้าลงอยู่ใน 5% ของความเร็วที่แสงทำได้ 

อย่างไรก็ตามนักวิจัยบอกว่าไม่ใช่ว่าจะสามารถเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตมาใช้แบบนี้ได้ทั้งหมด เพราะเอาจริง ๆ แล้วปริมาณข้อมูลในการรับส่งด้วยวิธีนี้ยังเทียบกับวิธีเดิมไม่ได้ มันเหมาะกับงานที่ต้องการการตอบสนองอย่างทันใดเช่นการที่นักดนตรีอาจจะอยู่ห่างกันเป็นร้อยไมล์ แต่เมื่อเล่นเพลงด้วยกันแล้ว เหมือนกับนั่งเล่นอยู่ในห้องเดียวกัน  

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Duke Today



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565

ข้อมูลจากเพื่อน และคนที่ไม่รู้จักสามารถบอกได้ว่าเราอยู่ที่ไหน

location-tracking
ภาพจาก Futurity.org

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติระบุว่าข้อมูลจากเพื่อนและคนแปลกหน้าสามารถใช้ทำนายตำแหน่งของใครบางคนได้ แม้ว่าฟังก์ชันการติดตามข้อมูลบนอุปกรณ์ส่วนตัวของพวกเขาจะถูกปิดไว้ก็ตาม 

Gourab Ghoshal University of Rochester และเพื่อนร่วมงานได้วิเคราะห์ชุดข้อมูลเครือข่ายโซเชียลที่มีข้อมูลตำแหน่งที่อยู่สามชุดที่รวบรวมการเช็คอินนับล้านครั้งบนแอปพลิเคชัน เช่น Brightkite, Facebook และ Foursquare และบันทึกของข้อมูลการโทรมากกว่า 22 ล้านครั้งโดยผู้ใช้ที่ไม่ระบุชื่อเกือบ 36,000 ราย 

ทีมงานใช้ทฤษฎีสารสนเทศและการวัดเอนโทรปี (entropy) เพื่อเรียนรู้ว่ารูปแบบการเคลื่อนไหวของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลนั้น สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการประเมินความเคลื่อนไหวของบุคคคลนั้นได้มากถึง 95%  แม้แต่ข้อมูลจากคนแปลกหน้าก็สามารถนำมาใช้ทำนายการเคลื่อนไหวของบุคคลได้ถึง 85%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Futurity.org

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2565

แอปประชุมทางไกลอาจยังฟังเสียงเราอยู่ถึงแม้เราจะปิดไมค์แล้ว

Favaz-And-Yucheng
Fawaz and Yucheng ภาพจาก  University of Wisconsin-Madison News

Kassem Fawaz และ Yucheng Yang แห่ง University of Wisconsin-Madison พบว่าแอปพลิเคชั่นการประชุมผ่านวิดีโอจำนวนมากยังคงฟังเสียงของเราอยู่เมื่อมีเราปิดไมโครโฟน นักวิจัยได้ทดสอบแอปเหล่านั้นบนระบบปฏิบัติการหลายตัว และได้เรียนรู้ว่าโดยส่วนใหญ่ "เมื่อคุณปิดเสียงตัวเอง แอปเหล่านี้ไม่ได้หยุดเข้าถึงไมโครโฟน" Fawaz กล่าว 

Fawaz ร่วมกับ Yang และเพื่อนร่วมงานที่ Loyola University Chicago ติดตามเสียงในแอปการประชุมทางวิดีโอยอดนิยม และพบว่าพวกมันทั้งหมดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นครั้งคราวขณะปิดเสียง แอพหนึ่งยังคงรวบรวมและส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ในอัตราปกติแม้จะปิดเสียงไมโครโฟน 

นักวิจัยได้ฝึกอบรมตัวแยกประเภทกิจกรรมโดยใช้เสียงจากวิดีโอ YouTube ซึ่งแสดงถึงกิจกรรมพื้นหลังทั่วไป 6 กิจกรรมเพื่อระบุกิจกรรมพื้นหลังจากแอปการประชุมทางวิดีโอที่ปิดเสียง โดยคะแนนความแม่นยำที่ได้อยู่ที่ 82% 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Wisconsin-Madison News


วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565

นักวิจัยสามารถระบุคนที่มีอาการเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจได้อย่างแม่นยำโดยดูจากข้อความเท่านั้น

man-with-tablet
ภาพจาก Folio (University of Alberta, Canada)

ตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่ได้รับการฝึกฝนโดยนักวิจัยจาก University of Alberta (U of A) ของแคนาดา เพื่อระบุผู้ที่มีความผิดปกติจากความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder) หรือ PTSD โดยการวิเคราะห์ข้อความที่พวกเขาเขียน

Jeff Sawalha แห่ง U of A และเพื่อนร่วมงานวิเคราะห์ข้อความในชุดข้อมูลที่รวบรวมไว้ที่ University of Southern California จากการสัมภาษณ์ 250 ครั้งกับตัวละครที่สร้างขึ้นระหว่างการประชุมทางวิดีโอกับคน 188 คนที่ไม่เป็น PTSD และ 87 คนที่เป็น PTSD 

นักวิจัยสามารถระบุบุคคลที่มี PTSD ได้อย่างแม่นยำถึง 80% จากคะแนนที่ระบุความถี่ของคำพูดของพวกเขาโดยดูคำพูดที่มีความรู้สึกเป็นกลางหรือเป็นลบเป็นหลัก Sawalha กล่าวว่า "การมีเครื่องมือเช่นนี้ที่ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ อาจเป็นประโยชน์กับโลกหลังการเกิดโรคระบาด"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Folio (University of Alberta, Canada)

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2565

การแฮกที่เรียกว่า Brokenwire อาจขัดขวางการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

car-ev-charger
Photo by Ernest Ojeh on Unsplash

นักวิจัยจาก University of Oxford ของสหราชอาณาจักรและ Armasuisse S+T ของสวิตเซอร์แลนด์ ระบุวิธีการโจมตีระบบ Combined Charging System (CCS) และขัดขวางช่วงการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เทคนิค Brokenwire ขัดขวางการสื่อสารการควบคุมระหว่างรถกับที่ชาร์จ ทำให้แฮกเกอร์สามารถหยุดการชาร์จแบบไร้สายได้จากระยะไกลถึง 151 ฟุต (46 เมตร)
นักวิจัยไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการหาประโยชน์จากช่องโหว่ดังกล่าว แต่ระบุว่าการโจมตีดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ด้วยการใช้องค์ประกอบเหล่านี้ร่วมกัน ซึ่งก็คือวิทยุที่ใช้องค์ประกอบเป็นซอฟต์แวร์ (software-define radio) ที่หาซื้อได้จากร้านค้า เครื่องขยายเสียง และเสาอากาศไดโพล (dipole antenna)  

นักวิจัยกล่าวว่า "การใช้ PLC [power-line communications] สำหรับการสื่อสารในการชาร์จเป็นข้อบกพร่องด้านการออกแบบที่ร้ายแรง ซึ่งทำให้ยานพาหนะหลายล้านคัน ซึ่งบางคันเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ มีช่องโหว่สำหรับการจู่โจม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Hacker News

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2565

เมืองต่าง ๆ ใช้ฝาแฝดดิจิทัลอย่าง SimCity เพื่อช่วยสร้างนโยบาย

city-plan
ภาพจาก Bloomberg CityLab

เมืองต่าง ๆ เช่น ออร์แลนโด ฟลอริดา และสิงคโปร์ใช้ฝาแฝดดิจิทัลในการสร้างแบบจำลองเสมือนจริงของตนเอง เพื่อจำลองผลกระทบของนโยบายหรือโครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ ที่อาจให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในโลกจริง

ตัวอย่างเช่น  Orlando Economic Partnership และบริษัทเกม Unity ได้พัฒนาตัวแบบสามมิติ (3D) ของพื้นที่ในเมืองนำไปแสดงต่อนักลงทุนทีมีศักยภาพ เพื่อพยายามขยายพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยี

ในขณะเดียวกัน โมเดล Virtual Singapore รวมภาพระดับถนนมากกว่า 3 ล้านภาพและภาพถ่ายทางอากาศ 160,000 ภาพ รวมถึงจุดข้อมูล 3 มิติอีกนับพันล้านจุด ซึ่งกินข้อมูลดิบเกินกว่า 100 เทราไบต์ Victor Khoo แห่งหน่วยงาน Singapore Land Authority กล่าวว่าแบบจำลองนี้มีความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบแต่ละอัน ทำให้ง่ายต่อการทดสอบการตอบสนองต่อสภาวะต่าง ๆ ในการจำลองแบบต่าง ๆ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg CityLab

 

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2565

ค่าไฟแบบ TOU จริง ๆ เดือนแรกมาแล้ว

TOU-meter
มิเตอร์ TOU

วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังต่อเนื่องจากบทความเรื่องไฟ TOU อันแรกนะครับ ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็อาจเข้าไปอ่านก่อนได้นะครับ  เรื่องวุ่น ๆ กับไฟ TOU  แต่ถ้าขี้เกียจอ่านผมสรุปให้ฟังคร่าว ๆ ก็คือ ผมได้ขอติดตั้งไฟแบบ TOU คือคิดอัตราตามเวลาการใช้งาน คือ 9.00-22.00 วันจันทร์ถึงศุกร์ก็แพงหน่อย แต่จาก 22.00-9.00 วันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการก็ถูกหน่อย โดยการไฟฟ้าได้มาติดตั้งให้ในเดือนธันวาคม แต่ปรากฏว่ามิเตอร์ที่การไฟฟ้าเอามาติดเสีย การไฟฟ้าก็เลยประมาณ (มโน) ค่าไฟบ้านผมมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เพราะต้องรอเบิกมิเตอร์ใหม่ 

แต่ในเดือนมีนาคมผมก็ได้ยอดใช้จ่ายจริงมาแล้วครับ วันนี้ผมก็เลยจะมาลองคำนวณให้ดูนะครับว่าค่าไฟถ้าคิดแบบ  TOU กับแบบเดิมมันประหยัดลงมากไหม เพราะในบทความแรกก็มีคนอยากรู้ เพราะถ้าคุ้มเขาก็อยากลองไปติดบ้าง ในบทความนี้ผมจะคิดเฉพาะค่าไฟนะครับ ไม่ได้คิดค่าบริการ ค่า FT และ VAT  โดยเดือนมีนาคมนี้ตามบิลค่าไฟบ้านผมใช้ไปแบบนี้ครับ on peak (ราคาแพง) 98 หน่วย off peak (ราคาถูก)  489 หน่วย ถ้าไม่คิดแยกเท่ากับบ้านผมใช้ไฟรวม 587 หน่วยนะครับ

โอเคคราวนี้มาดูอัตราค่าไฟกันครับ รายละเอียดตามลิงก์นี้ครับ  

เนื่องจากบ้านผมเป็นบ้านพักอาศัย และมีอัตราการใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ดังนั้นอัตราค่าไฟก็คือ 

 150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 150) 3.2484

250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)  4.2218

เกิน 400 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) 4.4217

ถ้าคิดตามสูตรนี้ก็คือ ผมจะต้องเสีย 150 * 3.2484 + 250 * 4.2218 + 187 * 4.4217 = 2369.56 บาท 

แต่ถ้าคิดแบบ TOU ของผมจะเข้า 1.2.2 อัตราก็คือ 

 แรงดันตํ่ากว่า 22 กิโลโวลท์ on peak 5.7982, off peak   2.6369

ค่าไฟที่ผมต้องจ่ายคือ 98 * 5.7982 + 489 * 2.6369 = 1857.66 บาท

ดังนั้นส่วนต่างก็คือ 2369.56-1857.66 = 511.9 บาท  เท่ากับประหยัดไปได้ประมาณ 500 บาท

สำหรับใครที่อ่านถึงตรงนี้แล้วอยากจะเปลี่ยนมาใช้แบบนี้ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มอย่างนี้นะครับ มันมีค่าเปลี่ยนมิเตอร์อยู่ประมาณ 6600 บาท ซึ่งถ้าผมประหยัดได้เดือนละ  500 แบบนี้ จะใช้เวลาประมาณหนึ่งปีจึงจะได้จำนวนเงินเท่ากับค่ามิเตอร์ที่จ่ายไป นั่นคือจะประหยัดได้จริง ๆ ก็ต้องหนึ่งปีผ่านไปแล้ว และเราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟสักเล็กน้อยนะครับ อย่างเปิดแอร์ผมก็จะรอสี่ทุ่ม จะซักผ้าโดยใช้เครื่องซักผ้า อบผ้า ก็จะรอสี่ทุ่ม หรือรอวันหยุด อีกอย่างหนึ่งที่ควรรู้ไว้ก็คือถ้าใครไปขอเปลี่ยนแล้ว แล้วปรากฏว่าค่าไฟมันแพงกว่าเดิม จะขอเปลี่ยนกลับเลยไม่ได้นะครับ จะต้องใช้แบบนี้ไปอย่างน้อยหนึ่งปีจึงจะขอเปลี่ยนกลับได้ 

ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากเปลี่ยนนะครับ อ้อเกือบลืมศุกร์นี้อยู่ในช่วงสงกรานต์พอดี ก็ขออวยพรให้มีความสุขกัน เดินทางปลอดภัย และรอดพ้นภัยโควิดนะครับ สุขสันต์เทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ไทยครับ...  

เงินเดือนของวิศวกรซอฟต์แวร์ในปี 2022

SE-Salary
ภาพจาก  IEEE Spectrum

รายงาน State of Software Engineers ปี 2022 ของ Hired ซึ่งเป็น ตลาดการจ้างงานออนไลน์  ประเมินทักษะที่ต้องการมากที่สุดและค่าจ้างที่ได้ โดยวิเคราะห์การโต้ตอบประมาณ 366,000 รายการระหว่างบริษัทและวิศวกรซอฟต์แวร์ และจากการสำรวจวิศวกรอีกกว่า 2,000 คน

Hired พบว่าจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นในปีที่แล้วทำให้ความต้องการวิศวกรความมั่นคง (security engineer) เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เงินเดือนเฉลี่ยของพวกเขาพุ่งขึ้น 7.59% เทียบกับปี 2020 วิศวกรที่มีทักษะการเขียนโปรแกรม Go ถูกเรียกสัมภาษณ์ 1.8 เท่าของวิศวกรซอฟต์แวร์ทั่วไป ในขณะที่ Python และ JavaScript เป็นภาษาที่พวกเขาชื่นชอบ โดยผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าเพราะมีไลบรารีและแพ็คเกจที่มีประโยชน์และได้รับการดูแลอย่างดี

เงินเดือนเฉลี่ยสำหรับวิศวกรซอฟต์แวร์ในซิลิคอนแวลลีย์เพิ่มขึ้น 2% ในปี 2021 เป็น 170,000 ดอลลาร์ต่อปี และเงินเดือนสำหรับวิศวกรที่ทำงานจากระยะไกลที่ Bay Area เพิ่มขึ้นเป็น 168,000 ดอลลาร์

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  IEEE Spectrum

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2565

อัลกอริทึมสามารถระบุบุคคลได้จากจังหวะการเต้นของหัวใจ

heart-beat
ภาพจาก Universidad Carlos III de Madrid (Spain)

นักวิจัยจาก Universidad Carlos III de Madrid (UC3M) ของสเปนและ Shahid Rajaee Teacher Training University ของอิหร่านกำลังพัฒนาอัลกอริธึมที่สามารถระบุตัวบุคคลจากจังหวะการเต้นของหัวใจ Carmen Cámara แห่ง UC3M กล่าวว่านักวิจัยได้วิเคราะห์การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ราวกับว่ามันเป็นคลื่นเสียง โดยใช้คุณสมบัติทางดนตรีของไดนามิก จังหวะ เสียงต่ำ ระดับเสียง และโทนเสียง 

Pedro Peris-López จาก UC3M บอกว่า ผลที่ได้คือการผสานพารามิเตอร์ที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละคน โดยมีอัตราแม่นยำที่ 96.6% โดยวิธีนี้ให้มาตรวัดทางชีวภาพแบบสากล (universal biometric measure)   และยังเสริมว่า "ทุกวันนี้ มีสร้อยข้อมือและนาฬิกาอัจฉริยะที่บันทึก ECG อยู่แล้ว ซึ่งก็เพียงพอกับการติดตั้งแอปพลิเคชันที่ใช้อัลกอริธึมการระบุตัวตนของเรา"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Universidad Carlos III de Madrid (Spain)

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565

FBI บอกว่าสามารถขัดขวางแฮกเกอร์รัสเซียได้

FBI-Building
ภาพจาก Reuters

เจ้าหน้าที่สหรัฐกล่าวว่า FBI ได้เข้าควบคุมเราเตอร์และอุปกรณ์ไฟร์วอลล์หลายพันเครื่องจากแฮ็กเกอร์ชาวรัสเซีย โดยกล่าวว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นการพยายามป้องกันไม่ให้แฮ็กเกอร์เชื่อมโยงอุปกรณ์เข้ากับบ็อตเน็ต ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถโจมตีเซิร์ฟเวอร์อื่นโดยสร้างทราฟฟิกปลอมได้

Merrick Garland อัยการสูงสุดของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า "โชคดีที่เราสามารถทำลายบ็อตเน็ตนี้ได้ก่อนที่จะใช้งานได้" บ็อตเน็ตถูกควบคุมโดยมัลแวร์ Cyclops Blink ซึ่งหน่วยงานป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ตของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรระบุว่าเป็น Sandworm ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวกรองทางทหารของรัสเซีย 

Chris Wray ผู้อำนวยการ FBI กล่าวว่า "เราลบมัลแวร์ออกจากอุปกรณ์ที่ใช้ในธุรกิจขนาดเล็กหลายพันแห่งเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่ายของโลก เราได้ปิดประตูที่รัสเซียเคยใช้”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565

อาสาสมัครร่วมแรงร่วมใจรักษาวัฒนธรรมดิจิทัลของยูเครน

volunteers-computer-Ukraine
ภาพจาก IEEE Spectrum

อาสาสมัครมากกว่า 1,300 คนกำลังทำงานเพื่อรักษาวัฒนธรรมดิจิทัลของยูเครน ก่อนที่เซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้โดยพิพิธภัณฑ์ บริษัทเต้นรำ ห้องสมุด คอลเลคชันเพลง และองค์กรอื่นๆ เพื่อจัดเก็บเว็บไซต์ วิดีโอ และรูปภาพจะถูกทำลาย

Anna Kijas แห่งมหาวิทยาลัย Tufts ได้เรียกร้องผ่านทาง Twitter เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อให้อาสาสมัครมีส่วนร่วมในกิจกรรมกู้ภัยข้อมูลเพื่อบันทึกเว็บไซต์ของยูเครน อาสาสมัครเข้าร่วมกองกำลังเพื่อเสนอพื้นที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์และความช่วยเหลือด้านเทคนิคอื่น ๆ

ในเวลาไม่กี่วัน อาสาสมัครกลุ่มแรกได้สร้างโปรแกรมช่วยสอนและเว็บไซต์ และเปิดตัวโครงการ Saving Ukrainian Heritage Online (SUCHO) ซึ่งจนถึงปัจจุบันได้เก็บรักษาข้อมูลไว้มากกว่า 10 เทราไบต์ รวมถึงรูปภาพและ PDF เกือบ 15,000 รายการ และข้อมูลบางส่วนจากกว่า 3,000 เว็บไซต์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์ส่งกาแฟจากบริษัทหุ่นยนต์ในแคนาดาทดลองให้บริการแล้วในนอร์ทแคโรไลนา

Geoffrey-robot
ภาพจาก The Charlotte Observer

Tiny Mile บริษัทหุ่นยนต์ในโตรอนโต ประเทศแคนาดา ติดตั้งหุ่นยนต์ส่งของ "Geoffrey" ตัวแรกในสหรัฐฯ เป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบสองเดือนในเมือง Charlotte รัฐนอร์ทแคโรไลนา หุ่นยนต์กึ่งอัตโนมัติ ซึ่งตั้งชื่อตาม Geoffrey Hinton หนึ่งในเจ้าพ่อแห่งปัญญาประดิษฐ์ ส่งมอบสินค้าจากร้าน Undercurrent Coffee ให้กับคนงานและผู้อยู่อาศัยในย่าน Plaza Midwood 

ตอนนี้ Geoffrey 5 ตัว จัดส่งสินค้าภายในรัศมีหนึ่งไมล์จากที่ตั้งของร้านซึ่งอยู่ใน Commonwealth Avenue โดยมีการควบคุมเส้นทางจากระยะไกลโดยมนุษย์ ในขณะที่ Todd Huber เจ้าของ Undercurrent Coffee ไม่สามารถบอกได้ว่าหุ่นยนต์ได้ส่งสินค้าไปมากเท่าไหร่แล้ว แต่เขากล่าวว่าลูกค้าชอบการใช้หุ่นยนต์นี้ และเสริมว่า "วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกว่ามากสำหรับเราเมื่อเทียบกับการใช้บริษัทขนส่งแบบเดิม ๆ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Charlotte Observer


วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์สามารถช่วยเหลือนักเรียนที่มีความพิการได้อย่างไร

robot
Photo by Andrea De Santis on Unsplash

เครื่องมือใหม่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เพื่อระบุ สอน และช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น หุ่นยนต์เพื่อสังคมสามารถช่วยสอนทักษะทางสังคมและการศึกษาแก่นักเรียนที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีปัญหาในการได้ยิน กลุ่มอาการดาวน์ และออทิสติก

Brian Scassellati จาก Yale University ตั้งข้อสังเกตว่าผู้เรียนดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อหุ่นยนต์ “ในลักษณะที่พวกเขาไม่เคยตอบสนองต่อหุ่นกระบอก หรือการบำบัดด้วยสัตว์เลี้ยง”  ซึ่งอาจเป็นเพราะพวกมันดูเหมือนมนุษย์ แต่เขาก็ยังไม่ได้ตัดสินว่ามันจะดีกว่าเสมอ

การศึกษาโดย Scassellati และเพื่อนร่วมงานได้ใช้ต้นแบบของหุ่นยนต์ Jibo ซึ่งจำลองพฤติกรรม social-gaze และให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำในเกมแบบโต้ตอบเพื่อปรับความยากให้เหมาะกับประสิทธิภาพของเด็ก ในขณะเดียวกัน วิดีโอเกมที่พัฒนาโดยนักวิจัยของ Vanderbilt University ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักเรียนออทิสติกเข้าใจทฤษฎีของจิตใจ จินตนาการถึงสิ่งที่คนอื่นกำลังคิดหรือรู้สึก โดยใช้คลิปภาพยนตร์และสัญญาณอื่น ๆ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The New York Times

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565

เส้นทางของแฮกเกอร์แสนจะง่ายดายเมื่อมีตำแหน่งงานด้านความมั่นคงไซเบอร์ว่างถึง 600,000 ตำแหน่งในสหรัฐ

hacker
Photo by Mika Baumeister on Unsplash

แพลตฟอร์มค้นหางานด้านความมั่นคงไซเบอร์ CyberSeek ประมาณการตำแหน่งงานด้านความมั่นคงไซเบอร์ที่ว่างของสหรัฐประมาณ 600,000 ตำแหน่ง รวมถึงงานภาคเอกชน 560,000 ตำแหน่ง การระบาดใหญ่ประกอบกับการขาดผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์ ในขณะที่การโจมตีแบบฟิชชิง (phishing) และแรนซัมแวร์ (ransomware) เพิ่มขึ้นเนื่องจากพนักงานจำนวนมากใช้เครือข่ายและคอมพิวเตอร์ที่บ้าน

Stuart Madnick จาก Massachusetts Institute of Technology Sloan School of Management กล่าวถึงการขาดบุคลากรด้านความมั่นคงไซเบอร์ที่ผ่านการรับรอง ในขณะที่ Bryan Palma จากบริษัทความมั่นคงทางไซเบอร์ Trellix กล่าวว่าประเทศต่าง ๆ เช่นรัสเซียและจีนเป็นเจ้าภาพในการจัดหาผู้มีความสามารถได้ดีกว่าถ้าเทียบกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ได้รับการฝึกอบรมด้านความมั่นคงไซเบอร์

Max Shuftan จากองค์กรฝึกอบรมความมั่นคงไซเบอร์ของ SANS Institute กล่าวว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานส่งผลกระทบต่อองค์กรขนาดเล็กโดยเฉพาะเช่นหน่วยงานราชการ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถให้ค่าจ้างเท่ากับบริษัทเอกชนได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg


วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565

ภาษามือมุ่งเข้าสู่เทคโนโลยี

sign-language-glossary
ภาพจาก University of Edinburgh (U.K.)

นักวิจัยจาก University of Edinburgh แห่งสหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมในการพัฒนาอภิธานศัพท์ภาษามือซึ่งมีคำมากกว่า 500 รายการ ซึ่งครอบคลุมวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงไซเบอร์ วิทยาการข้อมูล และการพัฒนาซอฟต์แวร์ 

เป้าหมายคือช่วยให้คนหูหนวกในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถานที่ทำงานสื่อสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีได้ดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหูหนวกแปดคนทั่วสหราชอาณาจักรทำงานร่วมกับนักภาษาศาสตร์สัญญลักษณ์เพื่อพัฒนาและทดสอบคำใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศัพท์ภาษามือ  British Sign Language ฉบับใหม่ 

 Phil Ford จากหน่วยงานรัฐบาล Skills Development Scotland กล่าวว่า "สิ่งนี้จะช่วยให้คนหูหนวกได้งานด้านเทคโนโลยีในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มความครอบคลุม ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายสูงสุดในการอุดช่องว่างด้านทักษะในภาคส่วนที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของสกอตแลนด์"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Edinburgh (U.K.)

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

นักวิทยาศาสตร์ถอดรหัส 8% สุดท้ายของจีโนมมนุษย์ได้แล้ว

DNA-Sequence
ภาพจาก Interesting Engineering

ทีมของนักวิจัยนานาชาติ 99 คน ถอดรหัส 8% สุดท้ายของจีโนม (genome) มนูษย์เรียบร้อยแล้ว ต้องขอบคุณการพัฒนาการของเทคโนโลยีและความเข้าใจศาสตร์ด้านจีโนมที่ก้าวหน้ากว่าที่มีอยู่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว Erich Jarvis จาก  Howard Hughes Medical University กล่าวว่าอัลกอรึทึมที่มีขายอยู่ในตลาดก็สามารถประกอบลำดับของ DNA ของคนได้ถูกต้องถึง 98% แล้ว แต่ "2% ที่เหลือยังมีข้อผิดพลาดอยู่"  ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ Giulio Formenti เพื่อนร่วมงานของเขาได้พัฒนาอัลกอรืทึม "เพื่อทำความสะอาด 2% ที่เหลือ" 

Adam Phillippy นักชีวสารสนเทศกล่าวว่า "การจัดลำดับจีโนมของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์เปรียบได้กับการใส่แว่นใหม่ที่ทำให้เห็นทุกอย่างได้ชัดเจนขึ้น เราก้าวเข้าไปไกลอีกหนึ่งขั้นที่จะเข้าใจแล้วว่าทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไร"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

โค้ดเก็บเกี่ยวข้อมูลในแอปมือถือส่งข้อมูลผู้ใช้กลับ Google ของรัสเซีย

Yandex
ภาพจาก Ars Technica

ส่วนหนึ่งของแคมเปญการตรวจสอบแอปขององค์กรไม่หวังผลกำไร Me2B Alliance ทำให้นักวิจัยคือ Zach Edwards พบว่า Yandex หรือที่รู้จักในชื่อ "Google ของรัสเซีย" ได้ฝังโค้ดในแอปสำหรับอุปกรณ์มือถือที่ใช้ระบบ iOS ของ Apple และระบบ Android ของ Google ที่อนุญาตให้มีการส่งข้อมูลไปที่เซอร์ฟเวอร์ในรัสเซีย มีการค้นพบซอฟต์แวร์นี้ในแอป 52,000 แอปที่ใช้โดยผู้ใช้หลายร้อยล้านคน

Edwards กล่าวว่า "ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (software development kit) หรือ SDK ชื่อ AppMetrica ที่บอกว่าให้บริการที่จำเป็น จริง ๆ แล้วติดต่อกลับไปที่มอสโกโดยส่งรายละเอียดเมตาดาต้าที่ล่วงล้ำลึกซึ่งสามารถใช้เพื่อติดตามผู้คนทั่วทั้งเว็บไซต์และแอปได้" เกม แอพส่งข้อความ เครื่องมือแชร์ตำแหน่ง และ VPN ล้วนแล้วแต่เป็นแอปที่ใช้ AppMetrica 

อย่างไรก็ตาม Yandex บอกว่า SDK ของตน "ทำงานในลักษณะเดียวกับ SDK อื่นที่ใช้กันในระดับสากล" เช่น Google Firebase และรวบรวมข้อมูลเฉพาะ "หลังจากที่แอปได้รับความยินยอมจากผู้ใช้" ผ่านแอป Android และ iOS

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565

Battery-Free จาก MakeCode ทำให้เด็ก ๆ โค้ดดิ้งความยั่งยืน

ิbattery-free-makecode
ภาพจาก Northwestern Now

นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Northwestern University ได้ออกแบบแพลตฟอร์มโค้ดดิงคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ช่วยให้เด็กๆ สามารถสร้างและเขียนโค้ดอุปกรณ์เก็บพลังงานที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่แบบยั่งยืน (sustainable) นักวิจัยใช้เครื่องมือ Battery-Free บนแพลตฟอร์มเรียนเพื่อโค้ด MakeCode ของ Microsoft โดยใช้ส่วนขยาย (extension )ที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมพลังงานจากการสั่นสะเทือน การส่งสัญญาณความถี่วิทยุ (RF) และแหล่งแวดล้อมอื่นๆ

ส่วนขยายช่วยให้เกิดความทนทานต่อข้อผิดพลาด โดยรับประกันว่าสถานะของโปรแกรมจะคงอยู่เมื่อการจ่ายพลังงานขาดช่วง ครูที่โรงเรียนประถมศึกษา Pu'ohala ในฮาวายกำลังปรับใช้ MakeCode Battery-Free ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ที่เน้นความยั่งยืน

Josiah Hester จาก Northwestern กล่าวว่า "ด้วย MakeCode Battery-Free เราต้องการช่วยให้ผู้สอนสามารถสอนโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่ให้เข้าใจการคำนวณอย่างยั่งยืน (computing sustainable) และได้ฝึกการเขียนโปรแกรม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Northwestern Now


วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565

แอพวัดความเสี่ยงของการสัมผัส COVID-19 ในที่สาธารณะ

Albert-Cheng-University-Houston
Albert Cheng จาก University of Houston ภาพจาก IEEE Spectrum

Albert Cheng จาก University of Houston กำลังทดสอบแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟนเพื่อช่วยผู้คนหลีกเลี่ยงการสัมผัส COVID-19 ในที่สาธารณะ โดยการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ที่แออัด 

แอปนี้ทำงานบนระบบคลาวด์โดยใช้ข้อมูลเวลายอดนิยม (popular time) จาก Google Maps ซึ่งแสดงให้เห็นสถานที่ที่มักจะมีผู้คนพลุกพล่านในช่วงเวลาหนึ่ง ร่วมกับข้อมูลจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับอัตราการติดเชื้อ COVID-19 รายงานตัวเลขการฉีดวัคซีน และแบบสำรวจของผู้คนที่ยินดีใส่หน้ากากอนามัย โดยทั้งหมดจัดเรียงตามรหัสไปรษณีย์

"พารามิเตอร์ทั้งหมดเหล่านี้ถูกป้อนลงในอัลกอริธึมที่ชั่งน้ำหนักข้อมูลเพื่อกำหนดความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ร้านค้าต่าง ๆ ใกล้ผู้ใช้ ยิ่งคนฉีดวัคซีนมาก ยิ่งเสี่ยงน้อยลง" Cheng กล่าว นอกจากนี้เขายังบอกว่า เขาได้พัฒนาแอปนี้ ซึ่งในตอนนี้กำลังทดสอบอยู่ในเมืองฮุสตันและซีแอตเทิล เพื่อให้ข้อมูลแจ้งเตือนที่เป็นปัจจุบันแก่แต่ละคนในเวลานั้นเลย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum



 

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565

ก้าวสู่ Metaverse บริษัท Meta จับมือกับพันธมิตรในการโฆษณา 3 มิติ

meta-inc
ภาพจาก Reuters

ด้วยความร่วมมือครั้งใหม่กับ VNTANA บริษัทด้านเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ  บริษัท Meta Platforms Inc. จะทำให้ขั้นตอนสำหรับแบรนด์ต่างๆ ในการแสดงโฆษณาสามมิติบน Facebook และ Instagram ทำได้ง่ายขึ้น แบรนด์ต่างๆ สามารถอัปโหลดโมเดล 3 มิติของผลิตภัณฑ์ของตนไปยังแพลตฟอร์มโซเชียลเพื่อแปลงเป็นโฆษณา โดยไม่จำเป็นต้องฟอร์แมตไฟล์ 3 มิติใหม่เพื่อให้เข้ากันได้กับระบบโฆษณาของ Meta

Ashley Crowder จาก VNTANA กล่าวว่า metaverse "เป็นโลกแห่งความเป็นไปได้ที่เริ่มต้นด้วยการมีโมเดล 3 มิติที่ถูกต้องของผลิตภัณฑ์ของคุณ" โฆษณา 3 มิติจะอนุญาตให้ผู้ใช้โต้ตอบกับรูปภาพจากทุกมุม Chris Barbour จาก Meta กล่าวว่า "ในทางหนึ่ง นี่เป็นภาพรวมของสิ่งที่คุณอาจคาดหวังบนอุปกรณ์ในอนาคต เช่น แว่นตา AR (augmented reality)"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565

คนส่วนใหญ่ยอมรับเทคโนโลยีฝังชิปในสมองถ้าพวกเขาสามารถปิดมันได้

inside-brain
Photo by Bret Kavanaugh on Unsplash

ในการสำรวจของ Pew Research Center ในผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 10,260 คน พบว่า 78% ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่เห็นด้วยกับการผ่าตัดฝังชิปในสมองเพื่อปรับปรุงความสามารถในการรับรู้ อย่างไรก็ตาม 59% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าเทคโนโลยีนี้สามารถเป็นที่ยอมรับได้มากขึ้น หากยอมให้มีการเปิดและปิดการทำงานของชิปได้ 

 Alec Tyson แห่ง Pew กล่าวว่า "คำพูดเหล่านี้พูดถึงการควบคุม ถ้าฉันสามารถควบคุมเทคโนโลยีนี้ได้ ฉันก็เปิดรับมันมากขึ้น" นอกจากนี้ 83% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยที่จะมีมาตรฐานที่สูงขึ้นสำหรับการทดสอบชิปสมองในมนุษย์ นอกจากนี้ 87% สนับสนุนมาตรฐานที่สูงขึ้นสำหรับการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับ

ผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าเครื่องหมายหรือลักษณะที่มองเห็นได้เพื่อระบุให้รู้ว่ารถยนต์คันนี้เป็นรถยนต์ที่ขับด้วยตนเอง (70%) และการมีช่องทางเฉพาะสำหรับยานพาหนะดังกล่าว (67%) จะทำให้พวกเขายอมรับเทคโนโลยีมากขึ้น 

มากกว่าครึ่ง (57%) ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่เห็นด้วยกับการใช้ซอฟต์แวร์จดจำใบหน้าที่ใช้โดยแพลตฟอร์มสื่อสังคมเพื่อระบุตัวบุคคลในภาพถ่าย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Fortune

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์ที่มีการแสดงความเจ็บปวดแบบเหมือนจริงช่วยลดความผิดพลาดจากการวินิจฉัย

patient-face-robot
ภาพจาก  Imperial College London (U.K.)

นักวิทยาศาสตร์จาก Imperial College London แห่งสหราชอาณาจักรได้พัฒนาเทคนิคในการสร้างการแสดงความเจ็บปวดบนใบหน้าที่สมจริงยิ่งขึ้นสำหรับหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยระบุและแก้ไขสัญญาณที่ทำให้เกิดการวิเคราะห์ที่ผิดพลาดในหมู่นักศึกษาแพทย์

นักศึกษาตรวจร่างกายที่หน้าท้องของผู้ป่วยที่เป็นหุ่นยนต์ โดยแรงที่ใช้กับหน้าท้องของหุ่นยนต์จะทำให้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริเวณของหุ่นยนต์ที่เรียกว่า "MorphFace" เพื่อแสดงการเจ็บปวดที่สัมพันธ์กัน 

มีข้อสังเกตด้วยว่าการรับรู้ขอบเขตความเจ็บปวดของผู้ป่วยหุ่นยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับความแตกต่างทางเพศและเชื้อชาติระหว่างผู้เข้าร่วมและผู้ป่วย ซึ่งส่งผลต่อแรงที่ใช้ระหว่างการตรวจ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Imperial College London (U.K.)