วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

Deepfake ถูกใช้เพื่อใส่ร้ายคู่สามีภรรยานักกิจกรรม

ถ้าไปค้นในอินเทอร์เน็ตจะพบว่าชายที่ชื่อ Oliver Taylor เป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในประเทศอังกฤษ อายุประมาณ 20 ปี มีตาสีน้ำตาล เป็นคนรักกาแฟ ถูกเลี้ยงมาในครอบครัวชาวยิวธรรมดา และมีงานบรรณาธิการและบล็อกโพสต์กว่า 6 ชิ้นที่แสดงความสนใจด้านการต่อต้านชาวยิวและกิจกรรมของชาวยิว และยังได้พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์อย่าง Jerusalem Post และ Times of Israel ด้วย แต่สุดท้ายอาจกลายเป็นว่า Taylor นั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง? 

แสดงการวิเคราะห์รูปโปรไฟล์ของ Tylor ว่าสร้างจาก DeepFake 
[ภาพจาก: Reuters]

เรื่องของ Taylor ได้รับความสนใจจนนำไปสู่การตรวจสอบเมื่อ Taylor ไปเขียนบทความโจมตีนักการศึกษาที่อยู่ในลอนดอนคือ Mazen Marsri ซึ่งเป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม ในบทความที่ตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ชาวยิวในอเมริกา โดยบอกว่า Marsri และภรรยาเป็นผู้ที่สนับสนุนผู้ก่อการร้าย 

จากการตรวจสอบที่มหาวิทยาลัยพบว่าไม่มีข้อมูลของเขา และเขาก็ไม่ได้มีร่องรอยของการออนไลน์นอกจากการไปตอบคำถามในเว็บไซต์ถามตอบ Quora ซึ่งก็มีการใช้งานอยู่สองวันในเดือนมีนาคม หนังสือพิมพ์สองฉบับที่เผยแพร่งานของเขาก็พยายามแต่ไม่สามารถระบุตัวตนของเขาได้ ผู้เชี่ยวชาญใช้โปรแกรมที่ทันสมัยที่สุดทางนิติเวชมาวิเคราะห์รูปโพรไฟล์ของเขา และได้ผลว่ามันเป็นรูปที่ถูกสร้างขึ้นโดยเทคนิคที่เรียกว่า deepfake ทางสำนักข่าว Reuter ยังไม่รู้ว่าใครอยู่เบื้องหลังตัวตนปลอมนี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Reuters

เพิ่มเติมเสริมข่าว: 

Deepfake เป็นการใช้เทคนิคที่เรียกว่า deep learning ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ AI ในการสร้างภาพ หรือวีดีโอจากสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง แบบที่ดูเหมือนจริงมาก สำหรับใครที่อยากรู้มากขึ้นเกี่ยวกับ Deepfake สามารถดูได้จากวีดีโอนี้ครับ 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น