วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564

นักวิจัยก้าวหนึ่งขั้นออกจากดิจิทัลคอมพิวเตอร์

pim-computing
ภาพจาก Washington University in St. Louis

วงจรการประมวลผลในหน่วยความจำ (processing-in-memory) หรือ PIM ใหม่ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Washington University in St. Louis (WUSTL)  ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของโครงข่ายประสาทเทียมให้กับการทำงานของ PIM โดยใน PIM หน่วยความจำและหน่วยประมวลผลจะถูกรวมเป็นหน่วยเดียว และการคำนวณจะดำเนินการโดยใช้คุณสมบัติทางกายภาพของเครื่อง นักวิจัยกำลังพัฒนาหน่วยความจำ RAM แบบต้านทาน (resistant) ของ PIM  โดยมีตัวต้านทาน (resistor) ทั้งในหน่วยความจำและโปรเซสเซอร์ Xuan "Silvia" Zhang แห่ง WUSTL กล่าว "ในหน่วยความจำแบบต้านทาน คุณไม่จำเป็นต้องแปลงเป็นดิจิทัลหรือไบนารี คุณสามารถอยู่ในโดเมนแอนะล็อกต่อไปได้" เพื่อเอาชนะปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นเมื่อแปลงข้อมูลแอนะล็อกให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล นักวิจัยได้เพิ่มตัวประมาณประสาท (neural approximator) ที่ทำการคำนวณหลายอย่างในลักษณะที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Washington University in St. Louis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น