วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565

อัลกอริทึมส่งโฆษณาของ Facebook มีอคติทางเชิ้อชาติ เพศ และอายุ

facebook-logo
Photo by Dima Solomin on Unsplash

นักวิจัยของ Northeastern University พบว่าอัลกอริธึมการแสดงโฆษณาของ Facebook ส่งโฆษณาไปยังผู้ใช้ตามเชื้อชาติ เพศ และอายุ ตัวอย่างเช่น “เมื่อคุณเลือกที่จะเลือกภาพที่มีผู้หญิงกับผู้ชาย โดยทั่วไปแล้วโฆษณาจะไปถึงผู้หญิงมากกว่า ยกเว้นถ้าเทียบระหว่างภาพของหญิงสาวกับผู้ชายที่มีอายุมากกว่า โฆษณาจะถูกส่งไปที่ผู้ชาย” Alan Mislove จาก Northeastern University อธิบาย

อัลกอริธึมของ Facebook ได้รับการฝึกอบรมโดยใช้ข้อมูลของบริษัทแม่ Meta ที่ได้รวบรวมจากโฆษณาทั้งหมดบนแพลตฟอร์มและการตอบสนองที่โฆษณาเหล่านั้นได้รับ Piotr Sapiezynski แห่ง Northeastern University กล่าวว่าอัลกอริทึมนี้ใช้เชื้อชาติ เพศ และอายุในการประมาณการแบบ "หยาบมาก" เกี่ยวกับว่าจะส่งโฆษณาไปที่ใด 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: News@Northeastern

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เครื่องมือวิชวลไลเซชันช่วยระบุการค้ามนุษย์

data-visualization
ภาพจาก Carnegie Mellon University School of Computer Science

เครื่องมือช่วยสร้างภาพ (visualization) จากข้อมูล TrafficVis ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Carnegie Mellon University (CMU) และ Marinus Analytics ที่แยกออกมาจาก CMU และมหาวิทยาลัย McGill ของแคนาดาสามารถช่วยหน่วยงานต่อต้านการค้ามนุษย์ด้วยการระบุรูปแบบในโฆษณาเพื่อนเที่ยวออนไลน์

TrafficVis ใช้ข้อมูลที่รวบรวมโดย InfoShield และอัลกอริทึมที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะสแกนและจัดกลุ่มความคล้ายคลึงกันในข้อความโฆษณาออนไลน์ เพื่อช่วยผู้บังคับใช้กฎหมายใช้เป็นแนวทางในการสืบสวนและระบุผู้ค้ามนุษย์และเหยื่อได้ดียิ่งขึ้น

InfoShield สามารถรวบรวมโฆษณานับล้านและระบุการใช้ถ้อยคำที่คล้าย ๆ กัน หรือความซ้ำ ๆ เนื่องจากผู้ค้ามนุษย์อาจเขียนโฆษณาสำหรับเหยื่อหลายราย การจัดกลุ่มคุณลักษณะที่คล้ายกันอาจเป็นสัญญาณถึงกิจกรรมที่น่าสงสัย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Carnegie Mellon University School of Computer Science

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์ทำลายสถิติการพับผ้า

clothes-folding-robot
ภาพจาก Ars Technica

นักวิจัยจาก University of California, Berkeley และ Karlsruhe Institute of Technology ของเยอรมนี ได้สร้างสถิติความเร็วในการพับผ้าของหุ่นยนต์ด้วยระบบ SpeedFolding 

SpeedFolding ผสมผสานแมชชีนวิชั่น (machine vision) เครือข่าย BiManual Manipulation Network (BiMaMa-Net) และแขนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสองตัวเพื่อพับเสื้อผ้าในตำแหน่งแบบสุ่มได้ถึง 30 ถึง 40 ชิ้นต่อชั่วโมง ซึ่งนักวิจัยบอกว่าสถิติก่อนหน้านี้ึคือ 6 ชิ้นต่อชั่วโมง

โครงข่ายประสาทเทียม BiMaMa-Net วิเคราะห์ตัวอย่าง 4,300 ตัวอย่างที่มนุษย์และเครื่องจักรช่วยสอนเพื่อเรียนรู้การพับเสื้อผ้า ระบบใช้กล้องเหนือศีรษะเพื่อศึกษาสถานะเริ่มต้นของเสื้อผ้า และคำนวณตำแหน่งที่จะจับ

หุ่นยนต์ SpeedFolding สามารถพับเสื้อผ้าจากตำแหน่งเริ่มต้นแบบสุ่มได้ภายในเวลาไม่ถึงสองนาทีโดยเฉลี่ยที่อัตราความสำเร็จ 93% โดยสามารถทำงานได้กับเสื้อผ้าที่มีวัสดุ รูปร่าง หรือสีที่ต่างจากที่ได้รับการฝึกฝน 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica



วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565

วิศวกรพัฒนาเซ็นเซอร์ช่วยวัดว่าหน้ากากอนามัยพอดีกับหน้าเราไหม

MIT-Facemask
ภาพจาก  MIT News

นักวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้พัฒนาเซ็นเซอร์ที่สามารถระบุได้ว่าหน้ากากมีความพอดีหรือไม่ พวกเขาพัฒนาอุปกรณ์ที่เรียกว่า cMaSK (conformable multimodal sensor face mask) ซึ่งมีเซ็นเซอร์ 17 ตัวรอบขอบเพื่อตรวจสอบว่าหน้ากากสัมผัสกับผิวหนังหรือไม่

นอกจากนี้ยังสามารถวัดอุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศเพื่อระบุการกระทำต่างๆ เช่น การพูดและการไอ และมีมาตรความเร่งที่สามารถระบุได้ว่าผู้สวมใส่กำลังเคลื่อนไหวหรือไม่ เซ็นเซอร์ฝังอยู่ในกรอบโพลีเมอร์ที่ยืดหยุ่นได้ซึ่งสามารถติดเข้ากับด้านในของหน้ากากได้

จากการศึกษา ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ได้รับการวิเคราะห์โดยอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ซึ่งพบว่าหน้ากากมีความพอดีกับใบหน้าของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

Canan Dagdeviren จาก MIT กล่าวว่า "เรามีขนาดรองเท้าที่แตกต่างกัน และคุณยังสามารถปรับแต่งรองเท้าของคุณได้ด้วย ดังนั้นทำไมคุณจึงไม่สามารถปรับแต่งและออกแบบหน้ากากของคุณ เพื่อสุขภาพของคุณเองและเพื่อประโยชน์ทางสังคม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  MIT News

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

จะจัดการข้อมูลดิจิทัลที่จัดเก็บเป็น DNA ได้อย่างไร

dna-strand
ภาพจาก CNRS News (France)

นักวิจัยจาก CNRS  (French National Center for Scientific Research)  และ ESPCI Paris-PSL ของฝรั่งเศส และ University of Tokyo ของญี่ปุ่น ใช้ประโยชน์จากเอ็นไซม์ เซลล์ประสาทเทียม และโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อดึงหรือจัดการข้อมูลดิจิทัลที่จัดเก็บเป็น DNA

โดยใช้ปฏิกิริยาของเอนไซม์ 3 ตัว นักวิจัยได้พัฒนาเซลล์ประสาทเคมีที่สร้างโครงสร้างเครือข่ายของเซลล์ประสาท ที่มีความสามารถในการคำนวณที่ซับซ้อน เซลล์ประสาทเคมีเหล่านี้สามารถประมวลผลข้อมูลบนสาย DNA และแสดงผลเป็นสัญญาณเรืองแสง

นักวิจัยยังได้เพิ่มความแม่นยำในการคำนวณโดยใช้เซลล์ประสาทเทียมสองชั้น และการย่อขนาดปฏิกิริยาของไมโครฟลูอิดิก (microfluidic miniaturization of reactions) ซึ่งช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเป็นหมื่นครั้ง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNRS News (France)