วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สกุลเงินคริปโตที่อยู่บนฐานของฟิสิกส์ส่งพลังงานผ่านบล็อกเชน

e-stable-coin
ภาพจาก Lawrence Livermore National Laboratory

นักวิจัยจาก U.S. Department of Energy's Lawrence Livermore National Laboratory (LLNL) ได้พัฒนา E-Stablecoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลบนฐานของฟิสิกส์ซึ่งเชื่อมต่อพลังงานไฟฟ้ากับเทคโนโลยีบล็อกเชน 

Maxwell Murialdo และ Jon Belof แห่ง LLNL  กล่าวว่า E-Stablecoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับหลักประกันโดยตรงจากปริมาณไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง นั่นคือถ้าใครที่ถือเหรียญนี้หนึ่งเหรียญเท่ากับมีปริมาณไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ E-Stablecoin เป็นโทเค็นดิจิทัลตัวแรกที่มีหลักประกันเป็นสินทรัพย์ทางฟิสิกส์ หรือพูดง่าย ๆ คือในการสร้างเหรียญนี้หนึ่งเหรียญต้องใช้ไฟ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง และถ้าเหรียญถูกทำลาย (ใช้) ก็จะได้ ปริมาณไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมงกลับมา 

ด้วยวิธีการนี้ E-Stablecoin เป็นเหรียญแบบมูลค่าเสถียร (stable coin) ตัวแรกที่ไม่ต้องใช้คนกลางมาเป็นผู้ตรวจสอบเหมือนเหรียญแบบมูลค่าเสถียรตัวอื่นที่ผูกกับเงินดอลลาร์สหรัฐ E-Stablecoin อาจถูกส่งไปยังที่ห่างไกลที่ไม่มีเครือข่ายไฟฟ้า หรืออาจกล่าวว่ามันเป็นพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Belof กล่าวว่า "ด้วยการย้อนกลับทางอุณหพลศาสตร์ (thermodynamic reversibility) - ในขอบเขตของความเข้าใจด้านกลศาสตร์ทางสถิติ (statistical mechanics) สมัยใหม่ เรามองเห็นบล็อกเชนในอนาคตที่ไม่เพียงแต่ฝังรากในทรัพย์สินในชีวิตจริง เช่น การใช้พลังงาน แต่ยังเป็นผู้ดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่รับผิดชอบมากขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Lawrence Livermore National Laboratory


วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์ค้นหากุญแจในกระเป๋าได้ด้วยการฟังในขณะที่มันควานหา

a-key-putting-in-a-bag
ภาพจาก  New Scientist

Maximilian Du แห่ง Stanford University และเพื่อนร่วมงานได้ฝึกแขนหุ่นยนต์ที่ติดตั้งไมโครโฟนไว้เพื่อค้นหาสิ่งของต่างๆ เช่น กุญแจในกระเป๋าถือ โดยฟังเสียงที่มันกระทบกันในขณะค้นหา “โดยพื้นฐานแล้วในสภาพแวดล้อมแบบนั้น เหมือนกับว่าคุณเอื้อมมือลงไป คุณไม่รู้ว่ากุญแจอยู่ที่ไหน แต่แล้วเมื่อคุณได้ยินเสียงของกุญแจ คุณก็จะบอกตำแหน่งมันได้ จากนั้นเมื่อรู้ตำแหน่ง คุณก็จะหยิบมันออกมาได้" Du กล่าว

นักวิจัยฝึกหุ่นยนต์โดยให้คนสาธิตวิธีการการกระทำผ่านชุดหูฟังความจริง และตัวควบคุมความจริงเสมือน (virtual reality) ของ Oculus โดยมีคำแนะนำเพิ่มเติมจากคนเพื่อแก้ไขการทำงานของมัน Olivia Lee จากสแตนฟอร์ดกล่าวว่าวิธีการนี้เพิ่มประสิทธิภาพได้ 20%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist


วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565

Meta อาจทำให้เราสร้างตัวตนสามมิติของเราจากกล้องโทรศัพท์

meta-facebook
Photo by Dima Solomin on Unsplash

 Meta  (Facebook) เสนอขั้นตอนง่าย ๆ แก่ผู้ใช้ในการสร้างอวาตาร์เสมือนจริงของตนเองโดยใช้สมาร์ทโฟน โดยนักวิจัยจาก Meta's Reality Labs ได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการสร้างอวตารสามมิติ (3D) ที่เหมือนจริงกระบวนการนี้จะทำด้วยการที่ผู้ใช้เลื่อนกล้องของสมาร์ทโฟนผ่านใบหน้าจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง จากนั้นแสดงสีหน้าท่าทางที่แตกต่างกันให้กับระบบ 

นักวิจัยกล่าวว่ากระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณสามนาทีครึ่ง และใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนหน้านี้โดยข้อมูลใบหน้า 3 มิติที่บันทึกจากตัวอย่าง 255 ตัวอย่างจากกลุ่มของกล้องที่ความล้ำสมัย กระบวนการเรนเดอร์ใช้เวลาประมาณหกชั่วโมง และสามารถทำได้ในระบบคลาวด์ ทำให้ผู้ใช้แต่ละรายไม่ต้องใช้พีซีระดับไฮเอนด์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Gizmodo Australia

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565

นักวิจัยสอนหุ่นยนต์ให้มองเห็นน้ำ

robot-pouring-water
ภาพจาก Carnegie Mellon University School of Computer Science

ทีมนักวิจัยของ Carnegie Mellon University (CMU) ได้สอนหุ่นยนต์ให้ระบุน้ำและเทลงในแก้วโดยใช้การเรียนรู้แบบแยกความแตกต่าง (contrastive learning) สำหรับการแปลภาพที่ไม่จับคู่กัน นักวิจัยเล่นวิดีโอ YouTube หลังแก้วน้ำใส เพื่อฝึกหุ่นยนต์ให้มองเห็นพื้นหลังผ่านแก้วน้ำ ซึ่งช่วยสอนให้หุ่นยนต์เทน้ำลงในแก้วได้สูงระดับหนึ่ง

ทีมงานได้ทดสอบการจดจำน้ำของหุ่นยนต์โดยใช้แก้วที่มีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ David Held จาก CMU กล่าวว่า "เช่นเดียวกับที่เราฝึกแบบจำลองเพื่อแปลภาพม้าให้ดูเหมือนม้าลาย เราสามารถฝึกแบบจำลองในลักษณะเดียวกันนี้ เพื่อแปลภาพของเหลวสีเป็นภาพของเหลวใสได้ เราใช้ตัวแบบนี้ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเข้าใจของเหลวที่โปร่งใสได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Carnegie Mellon University School of Computer Science

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565

QR โค้ดที่กินได้ตรวจสอบวิสกี้ปลอม

qr-code-whiskey
ภาพจาก  Purdue University News

วิศวกรชีวการแพทย์ที่ Purdue University และ National Institute of Agricultural Sciences ของเกาหลีใต้ได้พัฒนารหัสตอบกลับอย่างรวดเร็ว (quick response code) หรือ QR โค้ด เพื่อยืนยันว่าวิสกี้เป็นของจริงหรือของปลอม

รหัส QR ถูกพิมพ์บนแท็กโปรตีนไหมเรืองแสงที่รับประทานได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถสแกนด้วยสมาร์ทโฟนเพื่อตรวจสอบความแท้จริงของเครื่องดื่ม Young Kim จาก Purdue กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์เสริมความทนทานของโปรตีนไหมด้วยแอลกอฮอล์ ดังนั้น "รูปร่างของแท็กสามารถคงอยู่ได้นาน"

Jungwoo Leem และ Kim จาก Purdue กล่าวว่าหนอนไหมชนิดพิเศษผลิตรังไหมเรืองแสงซึ่งถูกแปรรูปเป็นไบโอโพลีเมอร์ที่ใช้เพื่อสร้างรูปแบบการเข้ารหัสข้อมูล นักวิจัยใส่แท็กลงในวิสกี้ยี่ห้อต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลา 10 เดือน และพบว่าพวกเขาสามารถยังคงสามารถใช้งานแท็กและอ่านรหัสด้วยแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Purdue University News