จากข่าว รถไฟใต้ดินชนกันใน (Washington D.C) ตอนนี้ก็มีความคืบหน้าเพิ่มขึ้นคือ สาเหตุของการชนกันของรถไฟสองขบวนน่าจะมาจากการทำงานที่ผิดพลาดของวงจรบนรางรถไฟ กล่าวคือถ้าวงจรทำงานถูกต้องจะต้องตรวจสอบได้ว่าเมื่อมีรถไฟอีกขบวนหนึ่งเข้ามาใกล้จนเกินไป จะต้องส่งสัญาณไปให้รถไฟคันดังกล่าวหยุด ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุห้าวัน มีการปรับปรุงซ่อมแซมวงจรบนรางรถไฟ ซึ่งหลังจากการซ่อมแซมแล้ว ก็มีอาการแสดงถึงความผิดปกติของระบบออกมาโดยเดี๋ยวก็รายงานว่ามีรถไฟเข้ามา แล้วสักครู่ก็ไม่พบว่ามีรถไฟเป็นต้น ซึ่งปัญหารถไฟชนกันนี้คาดว่าน่าจะเกิดจากการที่ระบบไม่สามารถตรวจสอบตำแหน่งของรถไฟที่จอดอยู่ ดังนั้นเมื่อมีรถไฟอีกขบวนวิ่งเข้ามาจึงไม่มีการส่งสัญญาณไปหยุดขบวนรถดังกล่าว และจากการสืบสวนยังพบว่าในระบบดังกล่าวไม่มีระบบสำรอง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยอัตโนมัติว่ามีรถไฟบางขบวนที่ไม่สามารถตรวจสอบหาตำแหน่งได้ แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือระบบรถไฟใต้ดินที่ Sanfransisco (มีชื่อเรียกว่า BART) ได้ติดตั้งระบบสำรองนี้ไว้มานานหลายปีแล้ว ทั้ง ๆ ที่เริ่มสร้างมาเกือบจะพร้อม ๆ กับ รถไฟใต้ดินของ Washington D.C (มีชื่อเรียกว่า Metro) โดยได้ติดตั้งระบบสำรองนี้หลังจากที่มีการตรวจพบว่ามีกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบตำแหน่งของรถไฟบางขบวนได้ ทางผู้ดูแลระบบรถไฟใต้ดินของ Washington D.C กล่าวว่าระบบของ BART ไม่สามารถใช้กับของ Metro ได้ และในตอนนี้ก็ยังไม่มีระบบใดที่มีอยู่ในตอนนี้จะสามารถทำได้ ซึ่งทางเดียวก็คือจะต้องพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่
ที่มา
The Washington Post
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ก้าวแรกกับการต่อสู้กับจดหมายขยะ
นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Indiana ได้ศึกษาวิธีการที่คนสร้างจดหมายขยะรวบรวมรายชื่ออีเมลของเหยื่อ ซึ่งเป็นก้าวแรกของโครงการรณรงค์ต่อต้านจดหมายขยะ โดยเขาค้นพบว่าอีเมลที่พวกส่งจดหมายขยะได้มาส่วนใหญ่จะเป็นอีเมลที่ถูกโพสต์ไว้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่นคอมเมนต์บนบล็อก หรือเว็บบอร์ด มากกว่าที่จะได้มาจากอีเมลที่ใช้ในการสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ โดยพวกคนที่จะสร้างจดหมายขยะจะใช้โปรแกรมเข้ามาอ่านข้อมูลทีมีการโพสต์บนเว็บไซต์ และกรองอีเมลจากข้อมูลดังกล่าว วิธีการที่นักวิจัยแนะนำในการแก้ปัญหานี้คือ ถ้าเราต้องการโพสต์อีเมลลงไปเป็นส่วนหนึ่งของการคอมเมนต์ให้ใช้คำว่า at แทนที่จะเป็นเครื่องหมาย @ เช่น abc@cde.com ก็ให้ใช้เป็น abc at cde.com เป็นต้น
ที่มา
Technology Review
ที่มา
Technology Review
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เฟรมเวอร์กสำหรับสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้
โครงการ European OpenInterface (OI) ได้พัฒนาเฟรมเวอร์กสำหรับสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้เมาส์ไปคลิกที่ไอคอนต่าง ๆ ประเด็นก็คือมีการพัฒนาวิธีติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ มานานแล้ว แต่การคิดค้นแต่ละครั้งผู้ที่คิดค้นก็ต้องเริ่มทำขึ้นมาตั้งแต่ต้น เช่นจะต้องศึกษาคุณลักษณะของอุปกรณ์ พัฒนาให้มันใช้ได้กับระบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ และต้องทำการทดสอบมากมาย ซึ่งเฟรมเวอร์กนี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยในตัวเฟรมเวอร์กจะมีคลังของคอมโพเนนต์ต่าง ๆ ให้ผู้พัฒนาได้ลองนำเอาคอมโพเนนต์เหล่านั้นมาประกอบกัน เพื่อให้มองเห็นภาพการทำงานร่วมกันของคอมโพเนนต์ต่าง ๆ
ที่มา
ICT Result
ที่มา
ICT Result
อินเทอร์เน็ตโพรโตคอลสำหรับใช้ในอวกาศ
มหาวิทยาลัย Colorado at Boulder (CU-Boulder) ร่วมมือกับ NASA เพื่อพัฒนาอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมระหว่างดาวต่าง ๆ จุดประสงค์ก็เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง NASA และองการอวกาศอื่น ๆ กับยานอวกาศจากชาติต่างๆ ที่กำลังสำรวจดวงจันทร์ หรือดาวอังคารทำได้โดยสะดวก เทคโนโลยีใหม่นี้มีชื่อว่า Disruption Tolerant Networking (DTN) สาเหตุที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ใช้อยู่บนโลกได้ก็เพราะว่า อินเทอร์เน็ตที่อยู่บนโลกกำหนดให้ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ที่กำลังรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ในอวกาศโอกาสที่สัญญาณเชื่อมต่อจะขาด ๆ หาย ๆ เป็นเรื่องปกติ เช่นในขณะที่ยานอวกาศกำลังเคลื่อนตัวไปด้านหลังดาวเคราะห์ หรือในขณะที่เกิดพายุสุริยะ ซึ่งระบบใหม่นี้จะเก็บข้อมูลเอาไว้ให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลออกไปเมื่อเหตุการณ์เป็นปกติแล้ว นอกจากจะใช้ระบบใหม่นี้ในอวกาศได้แล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้บนโลกได้ด้วยเช่นใช้ในการติดตามฝูงสัตว์ ในบริเวณที่เป็นป่าเขาในประเทศโลกที่สาม หรือใช้ในทางการทหาร
ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)
ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)
อินเทอร์เน็ตโพรโตคอลสำหรับใช้ในอวกาศ
มหาวิทยาลัย Colorado at Boulder (CU-Boulder) ร่วมมือกับ NASA เพื่อพัฒนาอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมระหว่างดาวต่าง ๆ จุดประสงค์ก็เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง NASA และองการอวกาศอื่น ๆ กับยานอวกาศจากชาติต่างๆ ที่กำลังสำรวจดวงจันทร์ หรือดาวอังคารทำได้โดยสะดวก เทคโนโลยีใหม่นี้มีชื่อว่า Disruption Tolerant Networking (DTN) สาเหตุที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ใช้อยู่บนโลกได้ก็เพราะว่า อินเทอร์เน็ตที่อยู่บนโลกกำหนดให้ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ที่กำลังรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ในอวกาศโอกาสที่สัญญาณเชื่อมต่อจะขาด ๆ หาย ๆ เป็นเรื่องปกติ เช่นในขณะที่ยานอวกาศกำลังเคลื่อนตัวไปด้านหลังดาวเคราะห์ หรือในขณะที่เกิดพายุสุริยะ ซึ่งระบบใหม่นี้จะเก็บข้อมูลเอาไว้ให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลออกไปเมื่อเหตุการณ์เป็นปกติแล้ว นอกจากจะใช้ระบบใหม่นี้ในอวกาศได้แล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้บนโลกได้ด้วยเช่นใช้ในการติดตามฝูงสัตว์ ในบริเวณที่เป็นป่าเขาในประเทศโลกที่สาม หรือใช้ในทางการทหาร
ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)
ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)