คณะนักวิจัยจาก University of Electronic Science and Technology ของจีน และ Northwestern University ได้พัฒนาวิธีการระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวิธีการที่ใช้ก็คือใช้ Google Map เพื่อหาที่อยู่จริง ๆ และที่อยู่บนเว็บของมหาวิทยาลัยและองค์กรธุรกิจเพื่อนำมาสร้างเป็นแผนที่ IP address ซึ่งจากงานวิจัยนี้ก็จะได้ประมาณ 76,000 ตำแหน่ง ส่วนวิธีการคำนวณตำแหน่งของผู้ใช้ก็คือคำนวณเวลาส่งข้อมูลจากตำแหน่งที่มีอยู่ไปยังเครืองของผู้ใช้ จากนั้นก็แปลงจากเวลาเป็นระยะทาง ซึ่งก็จะสามารถให้ข้อมูลที่เที่ยงตรงได้ในระยะทาง 690 เมตร หรืออาจจะได้ถึง 100 เมตร วิธีนี้มีคนบอกว่าถ้าเราใช้ proxy server เราก็สามารถให้ตำแหน่งที่อยู่หลอก ๆ ได้ แต่นักวิจัยบอกว่าเขาสามารถตรวจจับได้ว่าเป็น proxy server และถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะส่งค่า null กลับมาให้แทนที่จะเป็นตำแหน่งหลอก
ถึงแม้การระบุตำแหน่งผู้ใช้จะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่บางทีมันก็ละเมิดความเป็นส่วนตัวเหมือนกันนะครับ ยิ่งวิธีนี้การระบุตำแหน่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ใช้
ที่มา: News Scientist
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Internet แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Internet แสดงบทความทั้งหมด
วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554
ปริมาณข้อมูลสารสนเทศทางธุรกิจต่อปีอาจสูงถึง 9.7 เซตตาไบต์ต่อปี
คณะนักวิจัยจาก University of California, San Diego (UCSD) ได้ประมาณปริมาณการประมวลผลสารสนเทศทางธุรกิจต่อปีไว้ว่าอาจสูงถึง 9.7 เซตตาไบต์ (9,570,000,000,000,000,000,000 ไบต์) ต่อปีครับ โดยข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลชั่วคราวที่เกิดขึ้น ใช้งานและหายไปภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยที่เราไม่รับรู้เลยด้วยซ้ำ
ข้อมูลนี้ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะทำให้เราได้เห็นประสิทธิภาพของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับว่าต้องทำงานหนักแค่ไหน
ที่มา : UCSD News
ข้อมูลนี้ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะทำให้เราได้เห็นประสิทธิภาพของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับว่าต้องทำงานหนักแค่ไหน
ที่มา : UCSD News
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
อินเทอร์เน็ตโพรโตคอลสำหรับใช้ในอวกาศ
มหาวิทยาลัย Colorado at Boulder (CU-Boulder) ร่วมมือกับ NASA เพื่อพัฒนาอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมระหว่างดาวต่าง ๆ จุดประสงค์ก็เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง NASA และองการอวกาศอื่น ๆ กับยานอวกาศจากชาติต่างๆ ที่กำลังสำรวจดวงจันทร์ หรือดาวอังคารทำได้โดยสะดวก เทคโนโลยีใหม่นี้มีชื่อว่า Disruption Tolerant Networking (DTN) สาเหตุที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ใช้อยู่บนโลกได้ก็เพราะว่า อินเทอร์เน็ตที่อยู่บนโลกกำหนดให้ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ที่กำลังรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ในอวกาศโอกาสที่สัญญาณเชื่อมต่อจะขาด ๆ หาย ๆ เป็นเรื่องปกติ เช่นในขณะที่ยานอวกาศกำลังเคลื่อนตัวไปด้านหลังดาวเคราะห์ หรือในขณะที่เกิดพายุสุริยะ ซึ่งระบบใหม่นี้จะเก็บข้อมูลเอาไว้ให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลออกไปเมื่อเหตุการณ์เป็นปกติแล้ว นอกจากจะใช้ระบบใหม่นี้ในอวกาศได้แล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้บนโลกได้ด้วยเช่นใช้ในการติดตามฝูงสัตว์ ในบริเวณที่เป็นป่าเขาในประเทศโลกที่สาม หรือใช้ในทางการทหาร
ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)
ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)