ขณะที่เขียนบล็อกนี้ประเทศไทยของเราก็เกิดรัฐประหารมาได้สักห้าวันแล้วนะครับ ก็มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียกคนเข้าไปรายงานตัว มีทั้งคนที่ชื่นชมเอาดอกไม้ไปขอบคุณทหาร และก็มีคนที่ไม่กลัวปืนออกมาแสดงการต่อต้านด้วย แต่สิ่งที่ไม่มีแล้วคือม็อบกกปส. กับนปช. ครับ :) สำหรับบล็อกวันนี้ผมอยากเสนอแนวคิดให้ไปลองพิจารณากันครับว่าเราจะช่วยกันลดความขัดแย้งในชาติลงได้ยังไง ซึ่งผมจะขอเขียนโดยแบ่งออกเป็นสองฝ่ายหลัก ๆ นะครับ คือเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร
สำหรับคนที่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ถ้าต้องการจะให้การรัฐประหารนี้มีผลสำเร็จอยู่บ้างในเรื่องลดความขัดแย้งแนะนำว่าให้เลิกการโพสต์ข้อความด่าว่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ยกย่องตัวเองว่าดีเลิศเลอเป็นผู้รักชาติ คนที่ไม่เห็นด้วยเป็นพวกที่ไม่รักชาติ เป็นพวกโลกสวยที่วัน ๆ ฝันหาแต่การเลือกตั้ง เป็นพวกโง่ที่คิดว่าประชาธิปไตยคือการไปเลือกตั้งแล้วปล่อยให้คนโกงไปอีกสี่ปี ที่หนักว่านั้นคือไปไล่เขาว่าถ้าอึดอัดนักก็ไปอยู่ที่อื่นสิ ลองถามตัวเองดูนะครับว่าตัวเองใช้สิทธิอะไรข้อไหนถึงจะไปไล่คนอื่นได้ ถ้าเขาอึดอัดเพราะคุณทำไมเขาถึงต้องไป จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคนที่มีความคิดแบบคุณเป็นเพียงคนส่วนน้อยของประเทศ ลองออกจากอคติที่ครอบตัวเองอยู่ ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ คิดดูว่าคนที่เขาไม่เห็นด้วยนี่เขามีเหตุผลอะไรบ้าง มันเป็นไปได้นะครับที่คนที่ออกมาไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในครั้งนี้อาจเคยเป็นคนที่ไปเดินอยู่ข้าง ๆ คุณ ตอนพรบ.นิรโทษกรรม อาจเป็นคนที่นั่งอยู่ข้าง ๆ คุณ ขณะฟังปราศัยของวิทยากร กกปส. และที่ไม่สบายใจมาก ๆ ก็คือบางคนถึงกับบอกว่าระบบเผด็จการแบบนี้น่ะดีแล้ว เผด็จการไม่เป็นไรขอให้ได้ฆ่านักการเมืองชั่ว อยากบอกว่าถ้าหลังจากนี้เผด็จการมันชั่วซะเองเลือดคงนองแผ่นดินกันอีกครั้ง ถ้าไม่เข้าใจก็ลองกลับไปอ่านประวัติศาสตร์ที่คนเดือนตุลา 2516 เขาช่วยกันโค่นล้มเผด็จการกันก็ดีนะครับ
ในขณะเดียวกันผู้ที่ต่อต้านรัฐประหารก็ควรปฏิบัติเช่นกันออกจากอคติที่ครอบตัวเอง ไม่ด่าว่าคนที่เขาเห็นด้วยกับรัฐประหารด้วยถ้อยคำที่รุนแรง หรืออาจไล่เขาไปอยู่ที่อื่นเช่นกัน ลองทำความเข้าใจศึกษาที่มาที่ไปของการเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ ลองรับฟังความคิดของอีกฝั่งหนึ่ง และอาจจะต้องฝืนใจลองให้โอกาสกับทหารซึ่งเขาก็อาจไม่อยากทำแบบนี้ ซึ่งผมบอกตามตรงว่าก็เป็นคนหนึ่งที่คิดว่าการรัฐประหารเป็นเรื่องล้าหลังและควรหมดไปจากประเทศไทยได้แล้ว และผมคิดว่ามันยังมีทางเลือกอื่น เช่นการให้สัตยาบันเรืองการปฏิรูป ทำประชามติ แล้วก็ไปเลือกตั้ง ผมไม่คิดว่าการรัฐประหารครั้งนี้จะทำให้เราสามารถกำจัดนักการเมืองชั่ว ๆ หรือปัญหาคอรัปชันให้หมดไปได้ คือมันเกิดมาหลายครั้งแล้ว และทุกครั้งที่เกิดก็แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และยิ่งไปว่านั้นยังเป็นการตัดวงจรประชาธิปไตยอีกด้วย แต่ถ้าถามว่านับตั้งแต่ผมรู้ความติดตามการเมืองมา ผมอาจต้องยอมรับด้วยความเจ็บปวดว่าการรัฐประหารครั้งนี้มีเหตุผลที่สุดเมื่อเทียบกับทุกครั้งที่ผ่านมา เรามีนักการเมืองที่เลวร้ายคิดถึงแต่ประโยชน์ตัวเอง เรามีสื่อเลือกข้างไม่รายงานความจริง เรามีนักวิชาการที่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นธรรม เรามีนักกฏหมายที่ตีความกฏหมายเข้าข้างตัวเอง เรามีองค์กรอิสระที่ไม่สามารถสร้างความเชื่อถือในด้านความยุติธรรมได้ และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดเรามีประชาชนที่ไม่รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกันและบางคนอาจพร้อมที่จะฆ่ากันด้วย ด้วยปัจจัยทั้งหลายที่กล่าวมา มันอาจทำให้ทหารคิดว่าคงต้องทำอย่างนี้ ดังนั้นฝ่ายไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ก็อาจต้องทำใจและลองถามตัวเองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นถึงตอนนี้มีอะไรเลวร้ายกว่าที่มันเกิดมากว่าครึ่งปีไหม ลองทำใจคิดว่านี่มันก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งหลังจากที่พวกนักการเมืองหรือผู้มีอำนาจที่ควรจะทำอะไรได้ดีกว่านี้แต่ไม่ยอมทำ
ไหน ๆ การรัฐประหารมันก็เกิดขึ้นแล้ว ผมว่าตอนนี้สิ่งที่พวกเราไม่ว่าฝ่ายไหนควรจะทำต่อไปก็คือ การจับตาดูสิ่งที่ทหารจะทำครับว่าเขาทำทุกอย่างโปร่งใส ให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย และทำเพื่อแก้ปัญหาของชาติจริงไหม และเขาจะคืนอำนาจกลับมาให้กับเราเมื่อไหร่ (ซึ่งตรงนี้ผมว่าทหารควรจะต้องรีบให้คำตอบ) หรือจะยึดยาวไปเลย (ซึ่งผมภาวนาว่าอย่าให้เป็นอย่างนั้น) การประท้วงที่ผ่านมาผมก็ว่าพอเป็นสัญลักษณ์ให้ทหารได้เห็นแล้วว่าถ้าเมื่อไรเขาล้ำเส้นก็จะมีคนที่พร้อมจะออกมาต่อต้าน และเขาคงไม่อยากให้เกิดเหตุูการณ์ตุลาคม 2516 หรือพฤษภาคม 2535 ขึ้นอีกหรอกครับ ต่อจากนี้เราลองให้โอกาสเขาดู และในส่วนของพวกเราที่จะทำได้ก็คือลดความขัดแย้งในหมู่พวกเรากันเองด้วยการไม่โพสต์ข้อความยั่วยุแสดงความเกลียดชัง ถกเถียงกันด้วยเหตุผล ซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็จะทำให้เป้าหมายหนึ่งของการรัฐประหารครั้งคือการลดความขัดแย้งได้สำเร็จลง และอาจทำให้เขาคืนอำนาจอธิปไตยกลับมาได้เร็วขึ้น เริ่มที่ตัวเราหยุดสร้างความขัดแย้งกันเถอะครับ...
วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557
วงการศึกษาไทยคิดอะไรนอกจากสอบเป็นไหม
ไม่ได้เขียนบล็อกมานาน อ่านข่าวเจอว่าจะให้นักศึกษาที่เรียนจบป.ตรีต้องสอบ U-Net แล้วรู้สึกหงุดหงิด ประกอบกับลิเวอร์พูลแพ้เชลซี และแมนซิตี้ยังชนะอีก ก็เลยหงุดหงิดหนักเข้าไปอีก ขอระบายจัดหนักในบล็อกนี้เลยแล้วกัน สำหรับใครที่ยังไม่ทราบเรื่องนี้ก็ลองอ่านเรื่องจากลิงก์นี้ และบทสัมภาษณ์ผู้บริหารสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) คนนี้จากลิงก์นี้ดูแล้วกันนะครับ
ก็หวังว่าจะพอเข้าใจเรื่องราวกันแล้วนะครับ ก่อนอื่นผมก็ขอออกตัวก่อนว่านี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวที่ไม่เห็นด้วยของผมเท่านั้นนะครับ จากการติดตามข่าวและการให้สัมภาษณ์ ซึ่งผมก็ไม่ได้บอกว่าความคิดของผมจะถูกทั้งหมด เพราะคนที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาคงมีเหตุผลของเขา แต่ผมอยากจะแสดงให้เห็นถึงจุดที่ผมไม่เห็นด้วยเท่านั้น แต่ก็อาจจะแรงหน่อยนะ เพราะอย่างที่บอกกำลังหงุดหงิดกับผลบอล
เริ่มจากจุดประสงค์ก่อน ตอนแรกก็บอกว่าจะให้สอบแล้วก็จะให้ผู้ประกอบการเอาไปใช้ประกอบการรับสมัครงานด้วย พอถูกค้านเข้าก็มาบอกว่าเข้าใจผิด การสอบจะเป็นการวัดคุณภาพของสถาบันการศึกษาเท่านั้น ไม่รู้พูดมานี่เคยประเมิน O-Net ไหมว่าตกลงมันวัดคุณภาพของสถานศึกษาได้ไหม อย่างตอนนี้ก็เอาคะแนน O-Net มาเฉลี่ยกับเกรดนักเรียน นัยว่าจะได้บังคับให้เด็กตั้งใจสอบ จะเอามาเฉลี่ยเผื่อโรงเรียนปล่อยเกรด แต่พอเอาเข้าจริง ๆ มันก็ไม่ได้เป็นไปตามจุดประสงค์ พอเด็กสอบตรงติด เขาก็ไม่สนใจที่จะสอบ O-Net แล้ว (ก็เลยจะยกเลิกสอบตรงซะ อันนี้ผมมโนเอาเองนะครับ :) ) ถ้าบังคับมาก ๆ เข้า ตอนนี้ก็มีโรงเรียนกวดวิชา กวดข้อสอบ O-Net แล้ว และผมมั่นใจว่าถ้าบังคับ U-Net กันจริง ๆ มันต้องมีกวดวิชาสอบ U-Net ถ้าเป็นแบบนี้มันวัดคุณภาพสถานศึกษาได้หรือ (ถ้าจะวัดก็คงวัดคุณภาพโรงเรียนกวดวิชา) ยิ่งไปกว่านั้นข้อสอบ O-Net แต่ละปี ก็ล้วนแล้วแต่มีวีรกรรมดี ๆ ทั้งนั้น ไม่รู้ว่าคำถามจะวัดอะไร ให้ครู-อาจารย์ทำกันเองยังตอบกันไปคนละทางสองทาง (น่าจะให้คนออกข้อสอบลองไขว้กันทำข้อสอบที่คนอื่นออกนะ) นี่ระดับโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรกลางเดียวกันนะ โรงเรียนบางแห่งก็ยังสอนไม่เหมือนกัน ข้อสอบ O-Net เน้นวิเคราะห์แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ก็ยังสอนให้ท่องจำกันอยู่ นี่ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายมาก ก็ไม่รู้ว่าจะวัดได้ยังไง แล้วข้อสอบที่ออกมาจะมีวีรกรรมอะไรอีก ผมว่าถ้าจะทำนะก็ทำกับตัวผู้บริหารสทศ. หรือคนที่เป็นต้นเรื่องเห็นด้วยกับเรื่องนี้แหละ ลองดูว่าตัวเองจะสอบผ่านไหม ถ้าไม่ผ่านก็ลาออกไปอยู่บ้านปลูกต้นไม้ต้นไร่ไปตามเรื่องดีกว่า
ตอนนี้ก็บอกว่าไม่มีผลกับเด็ก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเด็ก ๆ ก็คงสอบแก้บนไปอย่างนั้นเอง เสียงบประมาณไปโดยใช่เหตุ มันวัดอะไรไม่ได้ และถ้าจะให้เดาสุดท้ายก็คงต้องมาบังคับ อย่างเอามาเฉลี่ยกับเกรดตอนจบอะไรอย่างนี้ หรือหนักกว่านั้นถ้าสอบไม่ผ่านก็ไม่ให้จบ ซึ่งผมว่ามันเป็นอะไรที่ไร้สาระมาก ถ้าจะบอกว่านี่ไงเป็นการควบคุมสถานศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ไอ้การสอบครั้งเดียวนี้มันวัดได้หรือ ถ้าจะคุมคุณภาพสถานศึกษามันต้องคุมตั้งแต่หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน คุณภาพของผู้สอน แต่ไม่ใช่ทำแบบประกันคุณภาพการศึกษานะ (เรื่องประกันนี่เดี๋ยวหาเวลาว่างจัดเป็นอีกเรื่องดีกว่า) แต่อยากจะบอกว่าสองหน่วยงานนี้นี่เป็นหน่วยงานที่รับลูกกันดีมาก พอ สทศ. ทำเรื่องนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งดูแลเรื่องประกันคุณภาพ ก็รับลูกว่าจะเอามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินคุณภาพการศึกษาทันที เข้ากันได้ดีราวผีเน่ากับโลงผุ ซึ่งอย่างนี้มหาวิทยาลัยทั้งหลายที่ต้องถูกประเมินโดยสมศ. ก็ต้องบังคับเด็กสอบแน่นอน จะบอกว่าไม่บังคับได้ยังไง สองหน่วยงานนี้บอกตามตรงว่าเป็นหน่วยงานที่ผมไม่ประทับใจการทำงานเอาเลยจริง ๆ
แล้วก็ให้สัมภาษณ์บอกว่าเป็นพันธกิจ ทำไมไม่ตั้งพันธกิจให้มันดูมีประโยชน์กว่า อย่างเช่นทำการทดสอบภาษาอังกฤษระดับชาติขึ้นมา แล้วผลักดันการสอบนี้ให้เป็นที่ยอมรับอย่างน้อยในระดับ AEC คือแทนที่จะให้ไปสอบ TOEFL หรือ IELTS ซึ่งมีราคาแพง ก็ให้คนของเรามาสอบอันนี้แทนตามความสมัครใจ ค่าใช้จ่ายก็ให้เหมาะสมกับประเทศเรา หรือในระดับวิชาชีพ ก็อาจจะจัดการสอบเพื่อวัดความรู้การเขียนโปรแกรมภาษา Java ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ หรือนานาชาติด้วยก็ยิ่งดี อันนี้ไม่ต้องบังคับผมว่าก็คงมีคนหลายคนยินดีสอบ และผู้ประกอบการก็คงจะพอใจที่จะมีอะไรแบบนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่อยู่นอกระบบการศึกษาปกติ แต่มีความสามารถได้มีผลลัพธ์จากการสอบนี้เป็นจุดอ้างอิงได้ด้วย
พันธกิจที่ตอบคำถามสังคมไม่ได้ว่าทำไปทำไม มีประโยน์อะไร คุ้มค่ากับที่แต่ละฝ่ายต้องลงทุนลงแรงเสียเวลาเสียเงินเสียทองไปหรือไม่ แล้วยังจะเดินหน้ืำต่อไปโดยอ้างแค่ว่ามีหน้าที่ อย่างนี้เรียกว่าคิดอย่างมีวิจารณญาณแล้วใช่ไหม ลองตัดอคติที่มัวแต่มาคิดว่าคนที่ค้านนี่เพราะกลัวการสอบออกไป แล้วมานั่งมองดูสิว่าที่เขาค้านกันนี่มันเพราะอะไร หรือถ้ายังคิดไม่ได้ ก็ลองกลับไปประเมินสิ่งที่ตัวเองทำไปแล้วอย่าง O-Net ก็ได้ว่าผลลัพธ์มันเป็นยังไง มันให้อะไรกับสังคมกับประเทศชาติตามที่ตั้งใจไว้หรือยัง ถ้ายังก็ทำให้มันสำเร็จ มีข้อสอบที่คนในสังคมยอมรับว่ามันได้มาตรฐาน วัดความรู้ได้จริง ๆ คนในสังคมเห็นประโยชน์ของมัน ทำอันที่มีอยู่ให้มันสำเร็จอย่างนี้ก่อนดีไหม แล้วค่อยเดินหน้าทำต่อไป คิดว่าถ้าทำได้อย่างนี้ เสียงค้านจะไม่มากมายแบบนี้แน่ ฝากถึงที่ประชุมอธิการบดีด้วยแล้วกัน เห็นเรื่องการเมืองก็ออกมาแสดงบทบาทกันมากมายแล้ว อันนี้เรื่องใกล้ตัวเรื่องการศึกษาออกมาแสดงบทบาทหน่อยก็ดีนะครับ
คราวนี้มาดูที่วิชาสอบกันบ้าง เริ่มจากวิชาที่เขาจะสอบเอาแค่วิชาแรกก่อนแล้วกัน การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แน่นอนครับผมเห็นด้วยว่าเด็กไทยเรามีปัญหาจริง ๆ กับการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากการที่ได้คุมปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ตั้งแต่ระดับป.ตรีถึงป.เอก แต่คำถามคือทำไมเราถึงจะมาแก้ปัญหาด้วยการสอบในระดับอุดมศึกษา เรื่องการสื่อสารนี่มันควรจะเริ่มจากตรงไหน มันควรจะเริ่มจากเด็ก ๆ เลยใช่ไหม ตามที่ผมเข้าใจคือเด็กนักเรียนสมัยนี้เขาไม่ได้เรียนการผันวรรณยุกต์ กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า กันแล้ว ใช้วิธีเหมือนจำ ๆ เอา ดังนั้นก็ผันไม่ถูก ไม่เข้าใจอักษรสูงกลางต่ำ (ไม่ใช่ไฮโลนะ) อย่างคำว่า โค้ด ก็เขียนกันเป็นโค๊ด เพราะเห็นแบบผิด ๆ ที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลาย วิชาเรียงความก็รู้สึกจะไม่มีแล้ว ภาษาอังกฤษนี่ไม่ต้องพูดถึงเรียนกันมาไม่รู้กี่ปีก็ยังสื่อสารไม่ได้ ถ้าไม่ปูไม่ทำกันมาตั้งแต่ต้น แล้วคุณจะมาวัดคุณภาพบัณฑิตคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาอะไรกันตอนนี้ พูดถึงตรงนี้ก็นึกขึ้นได้ว่าผอ.สทศ. บอกว่าหน่วยงานตัวเองมีหน้าที่วัด ไม่ได้มีหน้าที่เป็นตัวปรับปรุงกระบวนการผลิต ฟังแล้วก็ดูเหมือนปัด ๆ ให้พ้นตัวยังไงก็ไม่รู้ ประเด็นคือถ้ากระบวนการผลิตยังไม่ดี ผลลัพธ์มันก็ออกมาอย่างที่เห็นนี่แหละ ดูอย่าง O-Net ผลมันก็ออกมาทุกปีว่าเด็กไทย อ่อนเลข วิทย์ อังกฤษ ไทย แล้วก็มานั่งตีโพยตีพายกัน ปีหน้าสอบใหม่ผลออกมาก็เหมือนเดิม แล้วจริง ๆ ไม่ต้องมีผล O-Net ผมว่าเราก็รู้อยู่แล้วนะว่าเด็กไทยอ่อนวิชาเหล่านี้
อีกสักวิชาแล้วกันการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ดูแล้วก็น่าสนใจนะ เพราะถ้าผู้บริหารบ้านเมืองและนักการเมืองในประเทศเราสามารถคิดได้ย่างมีวิจารณญาณจริง บ้านเมืองเราคงไม่ปั่นป่วนวุ่นวายแบบทุกวันนี้ ชักจะโยงเข้าหาการเมืองแฮะ กลับมาดีกว่า แต่คำถามก็คือไอ้ข้อสอบที่จะวัดนี่จะมีหน้าตายังไง มหาวิทยาลัยจะต้องจัดวิชาอะไรมารองรับข้อสอบแบบนี้ไหม ถ้าต้องทำก็ต้องเป็นวิชาบังคับ ก็หมายความว่าอาจต้องเพิ่มหน่วยกิต หรือไปลดรายวิชาบางตัวออกไปอย่างนั้นหรือ อาจจะบอกว่าก็ทุกสาขามันก็ต้องให้นักศึกษาคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่แล้ว แต่อยากจะบอกอีกครั้งว่านี่คือมหาวิทยาลัย แต่ละสาขาวิชาก็จะมีชุดความคิดพื้นฐานที่แตกต่างกัน ปัญหาเดียวกันไปถามนักคณิตศาสตร์อาจได้คำตอบอย่างหนึ่ง ไปถามนักอักษรศาตร์อาจได้คำตอบอีกอย่างหนึ่ง หรือตัวอย่างใกล้ ๆ ตัวนี่ก็ได้ กฏหมายข้อเดียวกันแท้ ๆ นักกฎหมายก็ยังตีความไปได้คนละทางสองทาง แล้วมันจะมีข้อสอบวิเศษอะไรที่จะวัดตรงนี้ได้ ข้อสอบอย่างผ้าปูโต๊ะควรใช้สีอะไรแบบนั้นหรือไง และถ้ามีข้อสอบแบบนี้จริง ผู้บริหารสทศ.นั่นแหละทำให้ผ่านก่อนเลย จะได้วัดว่าตัวเองเป็นผู้คิดอย่างมีวิจารณญาณหรือไม่
ผู้หลักผู้ใหญ่ประเทศเราชอบแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ผมเข้าใจว่าหลายคนหวังดีอย่างช่วยแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศชาติ แต่การแก้ปัญหาด้วยการรีบเร่งมาวัดจากผลลัพธ์แบบนี้มันอาจไม่ใช่คำตอบ การแก้ปัญหาก็คือต้องแก้ตั้งแต่ต้นทาง แก้ปัญหาที่กระบวนการผลิต ตั้งแต่หลักสูตรระดับประถม มัธยม จนถึงมหาวิทยาลัย ดูแลเรื่องการจัดการเรียนการสอน ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพครูผู้สอน แต่ไม่ใช่การเน้นที่การตรวจเอกสารทีมีเพื่อให้ผ่าน KPI โดยไม่ได้คิดจะแก้ปัญหาจริง ๆ อย่างที่ทำประกันคุณภาพกันอยู่นะ อย่างเช่นบางทีมีเอกสารให้อาจารย์ผู้สอนแจ้งว่าการเรียนการสอนมีปัญหาอะไรบ้าง แต่พอแจ้งไปก็ไม่เคยได้รับการเหลียวแลแก้ไข ซึ่งจริง ๆ แล้วผู้บริหารเพียงแต่ต้องการให้มีเอกสารที่ สมศ. ต้องการให้ครบเท่านั้นไม่ได้คิดจะแก้ปัญหาอะไร อย่างนี้เป็นต้น เรื่องนี้ถ้าให้พูดคงได้พูดกันกันยาวครับ เอาเป็นว่าพอแค่นี้ก่อนแล้วกัน เดี๋ยวมันจะออกนอกเรื่องไปยาวกันใหญ่ อีกอย่างก็ได้ระบายออกมาจนพอจะหายหงุดหงิดที่ลิเวอร์พูลแพ้ไปบ้างแล้ว หวังว่าอีกสองนัดคงไม่พลาดอีกจนหงุดหงิดต้องออกมาระบายอะไรแบบนี้อีกนะหงส์นะ อยากเห็นเจอร์ราดชูถ้วย EPL และ สทศ.ยกเลิกการสอบ O-Net U-Net V-Net อะไรนี่ให้มันหมดไปซะที เอ้อว่าแต่สองเรื่องนี้มันเกี่ยวกันตรงไหนหว่า...
ก็หวังว่าจะพอเข้าใจเรื่องราวกันแล้วนะครับ ก่อนอื่นผมก็ขอออกตัวก่อนว่านี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวที่ไม่เห็นด้วยของผมเท่านั้นนะครับ จากการติดตามข่าวและการให้สัมภาษณ์ ซึ่งผมก็ไม่ได้บอกว่าความคิดของผมจะถูกทั้งหมด เพราะคนที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาคงมีเหตุผลของเขา แต่ผมอยากจะแสดงให้เห็นถึงจุดที่ผมไม่เห็นด้วยเท่านั้น แต่ก็อาจจะแรงหน่อยนะ เพราะอย่างที่บอกกำลังหงุดหงิดกับผลบอล
เริ่มจากจุดประสงค์ก่อน ตอนแรกก็บอกว่าจะให้สอบแล้วก็จะให้ผู้ประกอบการเอาไปใช้ประกอบการรับสมัครงานด้วย พอถูกค้านเข้าก็มาบอกว่าเข้าใจผิด การสอบจะเป็นการวัดคุณภาพของสถาบันการศึกษาเท่านั้น ไม่รู้พูดมานี่เคยประเมิน O-Net ไหมว่าตกลงมันวัดคุณภาพของสถานศึกษาได้ไหม อย่างตอนนี้ก็เอาคะแนน O-Net มาเฉลี่ยกับเกรดนักเรียน นัยว่าจะได้บังคับให้เด็กตั้งใจสอบ จะเอามาเฉลี่ยเผื่อโรงเรียนปล่อยเกรด แต่พอเอาเข้าจริง ๆ มันก็ไม่ได้เป็นไปตามจุดประสงค์ พอเด็กสอบตรงติด เขาก็ไม่สนใจที่จะสอบ O-Net แล้ว (ก็เลยจะยกเลิกสอบตรงซะ อันนี้ผมมโนเอาเองนะครับ :) ) ถ้าบังคับมาก ๆ เข้า ตอนนี้ก็มีโรงเรียนกวดวิชา กวดข้อสอบ O-Net แล้ว และผมมั่นใจว่าถ้าบังคับ U-Net กันจริง ๆ มันต้องมีกวดวิชาสอบ U-Net ถ้าเป็นแบบนี้มันวัดคุณภาพสถานศึกษาได้หรือ (ถ้าจะวัดก็คงวัดคุณภาพโรงเรียนกวดวิชา) ยิ่งไปกว่านั้นข้อสอบ O-Net แต่ละปี ก็ล้วนแล้วแต่มีวีรกรรมดี ๆ ทั้งนั้น ไม่รู้ว่าคำถามจะวัดอะไร ให้ครู-อาจารย์ทำกันเองยังตอบกันไปคนละทางสองทาง (น่าจะให้คนออกข้อสอบลองไขว้กันทำข้อสอบที่คนอื่นออกนะ) นี่ระดับโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรกลางเดียวกันนะ โรงเรียนบางแห่งก็ยังสอนไม่เหมือนกัน ข้อสอบ O-Net เน้นวิเคราะห์แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ก็ยังสอนให้ท่องจำกันอยู่ นี่ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายมาก ก็ไม่รู้ว่าจะวัดได้ยังไง แล้วข้อสอบที่ออกมาจะมีวีรกรรมอะไรอีก ผมว่าถ้าจะทำนะก็ทำกับตัวผู้บริหารสทศ. หรือคนที่เป็นต้นเรื่องเห็นด้วยกับเรื่องนี้แหละ ลองดูว่าตัวเองจะสอบผ่านไหม ถ้าไม่ผ่านก็ลาออกไปอยู่บ้านปลูกต้นไม้ต้นไร่ไปตามเรื่องดีกว่า
ตอนนี้ก็บอกว่าไม่มีผลกับเด็ก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเด็ก ๆ ก็คงสอบแก้บนไปอย่างนั้นเอง เสียงบประมาณไปโดยใช่เหตุ มันวัดอะไรไม่ได้ และถ้าจะให้เดาสุดท้ายก็คงต้องมาบังคับ อย่างเอามาเฉลี่ยกับเกรดตอนจบอะไรอย่างนี้ หรือหนักกว่านั้นถ้าสอบไม่ผ่านก็ไม่ให้จบ ซึ่งผมว่ามันเป็นอะไรที่ไร้สาระมาก ถ้าจะบอกว่านี่ไงเป็นการควบคุมสถานศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ไอ้การสอบครั้งเดียวนี้มันวัดได้หรือ ถ้าจะคุมคุณภาพสถานศึกษามันต้องคุมตั้งแต่หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน คุณภาพของผู้สอน แต่ไม่ใช่ทำแบบประกันคุณภาพการศึกษานะ (เรื่องประกันนี่เดี๋ยวหาเวลาว่างจัดเป็นอีกเรื่องดีกว่า) แต่อยากจะบอกว่าสองหน่วยงานนี้นี่เป็นหน่วยงานที่รับลูกกันดีมาก พอ สทศ. ทำเรื่องนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ซึ่งดูแลเรื่องประกันคุณภาพ ก็รับลูกว่าจะเอามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินคุณภาพการศึกษาทันที เข้ากันได้ดีราวผีเน่ากับโลงผุ ซึ่งอย่างนี้มหาวิทยาลัยทั้งหลายที่ต้องถูกประเมินโดยสมศ. ก็ต้องบังคับเด็กสอบแน่นอน จะบอกว่าไม่บังคับได้ยังไง สองหน่วยงานนี้บอกตามตรงว่าเป็นหน่วยงานที่ผมไม่ประทับใจการทำงานเอาเลยจริง ๆ
แล้วก็ให้สัมภาษณ์บอกว่าเป็นพันธกิจ ทำไมไม่ตั้งพันธกิจให้มันดูมีประโยชน์กว่า อย่างเช่นทำการทดสอบภาษาอังกฤษระดับชาติขึ้นมา แล้วผลักดันการสอบนี้ให้เป็นที่ยอมรับอย่างน้อยในระดับ AEC คือแทนที่จะให้ไปสอบ TOEFL หรือ IELTS ซึ่งมีราคาแพง ก็ให้คนของเรามาสอบอันนี้แทนตามความสมัครใจ ค่าใช้จ่ายก็ให้เหมาะสมกับประเทศเรา หรือในระดับวิชาชีพ ก็อาจจะจัดการสอบเพื่อวัดความรู้การเขียนโปรแกรมภาษา Java ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ หรือนานาชาติด้วยก็ยิ่งดี อันนี้ไม่ต้องบังคับผมว่าก็คงมีคนหลายคนยินดีสอบ และผู้ประกอบการก็คงจะพอใจที่จะมีอะไรแบบนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่อยู่นอกระบบการศึกษาปกติ แต่มีความสามารถได้มีผลลัพธ์จากการสอบนี้เป็นจุดอ้างอิงได้ด้วย
พันธกิจที่ตอบคำถามสังคมไม่ได้ว่าทำไปทำไม มีประโยน์อะไร คุ้มค่ากับที่แต่ละฝ่ายต้องลงทุนลงแรงเสียเวลาเสียเงินเสียทองไปหรือไม่ แล้วยังจะเดินหน้ืำต่อไปโดยอ้างแค่ว่ามีหน้าที่ อย่างนี้เรียกว่าคิดอย่างมีวิจารณญาณแล้วใช่ไหม ลองตัดอคติที่มัวแต่มาคิดว่าคนที่ค้านนี่เพราะกลัวการสอบออกไป แล้วมานั่งมองดูสิว่าที่เขาค้านกันนี่มันเพราะอะไร หรือถ้ายังคิดไม่ได้ ก็ลองกลับไปประเมินสิ่งที่ตัวเองทำไปแล้วอย่าง O-Net ก็ได้ว่าผลลัพธ์มันเป็นยังไง มันให้อะไรกับสังคมกับประเทศชาติตามที่ตั้งใจไว้หรือยัง ถ้ายังก็ทำให้มันสำเร็จ มีข้อสอบที่คนในสังคมยอมรับว่ามันได้มาตรฐาน วัดความรู้ได้จริง ๆ คนในสังคมเห็นประโยชน์ของมัน ทำอันที่มีอยู่ให้มันสำเร็จอย่างนี้ก่อนดีไหม แล้วค่อยเดินหน้าทำต่อไป คิดว่าถ้าทำได้อย่างนี้ เสียงค้านจะไม่มากมายแบบนี้แน่ ฝากถึงที่ประชุมอธิการบดีด้วยแล้วกัน เห็นเรื่องการเมืองก็ออกมาแสดงบทบาทกันมากมายแล้ว อันนี้เรื่องใกล้ตัวเรื่องการศึกษาออกมาแสดงบทบาทหน่อยก็ดีนะครับ
คราวนี้มาดูที่วิชาสอบกันบ้าง เริ่มจากวิชาที่เขาจะสอบเอาแค่วิชาแรกก่อนแล้วกัน การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร แน่นอนครับผมเห็นด้วยว่าเด็กไทยเรามีปัญหาจริง ๆ กับการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากการที่ได้คุมปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ตั้งแต่ระดับป.ตรีถึงป.เอก แต่คำถามคือทำไมเราถึงจะมาแก้ปัญหาด้วยการสอบในระดับอุดมศึกษา เรื่องการสื่อสารนี่มันควรจะเริ่มจากตรงไหน มันควรจะเริ่มจากเด็ก ๆ เลยใช่ไหม ตามที่ผมเข้าใจคือเด็กนักเรียนสมัยนี้เขาไม่ได้เรียนการผันวรรณยุกต์ กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า กันแล้ว ใช้วิธีเหมือนจำ ๆ เอา ดังนั้นก็ผันไม่ถูก ไม่เข้าใจอักษรสูงกลางต่ำ (ไม่ใช่ไฮโลนะ) อย่างคำว่า โค้ด ก็เขียนกันเป็นโค๊ด เพราะเห็นแบบผิด ๆ ที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลาย วิชาเรียงความก็รู้สึกจะไม่มีแล้ว ภาษาอังกฤษนี่ไม่ต้องพูดถึงเรียนกันมาไม่รู้กี่ปีก็ยังสื่อสารไม่ได้ ถ้าไม่ปูไม่ทำกันมาตั้งแต่ต้น แล้วคุณจะมาวัดคุณภาพบัณฑิตคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาอะไรกันตอนนี้ พูดถึงตรงนี้ก็นึกขึ้นได้ว่าผอ.สทศ. บอกว่าหน่วยงานตัวเองมีหน้าที่วัด ไม่ได้มีหน้าที่เป็นตัวปรับปรุงกระบวนการผลิต ฟังแล้วก็ดูเหมือนปัด ๆ ให้พ้นตัวยังไงก็ไม่รู้ ประเด็นคือถ้ากระบวนการผลิตยังไม่ดี ผลลัพธ์มันก็ออกมาอย่างที่เห็นนี่แหละ ดูอย่าง O-Net ผลมันก็ออกมาทุกปีว่าเด็กไทย อ่อนเลข วิทย์ อังกฤษ ไทย แล้วก็มานั่งตีโพยตีพายกัน ปีหน้าสอบใหม่ผลออกมาก็เหมือนเดิม แล้วจริง ๆ ไม่ต้องมีผล O-Net ผมว่าเราก็รู้อยู่แล้วนะว่าเด็กไทยอ่อนวิชาเหล่านี้
อีกสักวิชาแล้วกันการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ดูแล้วก็น่าสนใจนะ เพราะถ้าผู้บริหารบ้านเมืองและนักการเมืองในประเทศเราสามารถคิดได้ย่างมีวิจารณญาณจริง บ้านเมืองเราคงไม่ปั่นป่วนวุ่นวายแบบทุกวันนี้ ชักจะโยงเข้าหาการเมืองแฮะ กลับมาดีกว่า แต่คำถามก็คือไอ้ข้อสอบที่จะวัดนี่จะมีหน้าตายังไง มหาวิทยาลัยจะต้องจัดวิชาอะไรมารองรับข้อสอบแบบนี้ไหม ถ้าต้องทำก็ต้องเป็นวิชาบังคับ ก็หมายความว่าอาจต้องเพิ่มหน่วยกิต หรือไปลดรายวิชาบางตัวออกไปอย่างนั้นหรือ อาจจะบอกว่าก็ทุกสาขามันก็ต้องให้นักศึกษาคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่แล้ว แต่อยากจะบอกอีกครั้งว่านี่คือมหาวิทยาลัย แต่ละสาขาวิชาก็จะมีชุดความคิดพื้นฐานที่แตกต่างกัน ปัญหาเดียวกันไปถามนักคณิตศาสตร์อาจได้คำตอบอย่างหนึ่ง ไปถามนักอักษรศาตร์อาจได้คำตอบอีกอย่างหนึ่ง หรือตัวอย่างใกล้ ๆ ตัวนี่ก็ได้ กฏหมายข้อเดียวกันแท้ ๆ นักกฎหมายก็ยังตีความไปได้คนละทางสองทาง แล้วมันจะมีข้อสอบวิเศษอะไรที่จะวัดตรงนี้ได้ ข้อสอบอย่างผ้าปูโต๊ะควรใช้สีอะไรแบบนั้นหรือไง และถ้ามีข้อสอบแบบนี้จริง ผู้บริหารสทศ.นั่นแหละทำให้ผ่านก่อนเลย จะได้วัดว่าตัวเองเป็นผู้คิดอย่างมีวิจารณญาณหรือไม่
ผู้หลักผู้ใหญ่ประเทศเราชอบแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ผมเข้าใจว่าหลายคนหวังดีอย่างช่วยแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศชาติ แต่การแก้ปัญหาด้วยการรีบเร่งมาวัดจากผลลัพธ์แบบนี้มันอาจไม่ใช่คำตอบ การแก้ปัญหาก็คือต้องแก้ตั้งแต่ต้นทาง แก้ปัญหาที่กระบวนการผลิต ตั้งแต่หลักสูตรระดับประถม มัธยม จนถึงมหาวิทยาลัย ดูแลเรื่องการจัดการเรียนการสอน ปรับปรุงพัฒนาคุณภาพครูผู้สอน แต่ไม่ใช่การเน้นที่การตรวจเอกสารทีมีเพื่อให้ผ่าน KPI โดยไม่ได้คิดจะแก้ปัญหาจริง ๆ อย่างที่ทำประกันคุณภาพกันอยู่นะ อย่างเช่นบางทีมีเอกสารให้อาจารย์ผู้สอนแจ้งว่าการเรียนการสอนมีปัญหาอะไรบ้าง แต่พอแจ้งไปก็ไม่เคยได้รับการเหลียวแลแก้ไข ซึ่งจริง ๆ แล้วผู้บริหารเพียงแต่ต้องการให้มีเอกสารที่ สมศ. ต้องการให้ครบเท่านั้นไม่ได้คิดจะแก้ปัญหาอะไร อย่างนี้เป็นต้น เรื่องนี้ถ้าให้พูดคงได้พูดกันกันยาวครับ เอาเป็นว่าพอแค่นี้ก่อนแล้วกัน เดี๋ยวมันจะออกนอกเรื่องไปยาวกันใหญ่ อีกอย่างก็ได้ระบายออกมาจนพอจะหายหงุดหงิดที่ลิเวอร์พูลแพ้ไปบ้างแล้ว หวังว่าอีกสองนัดคงไม่พลาดอีกจนหงุดหงิดต้องออกมาระบายอะไรแบบนี้อีกนะหงส์นะ อยากเห็นเจอร์ราดชูถ้วย EPL และ สทศ.ยกเลิกการสอบ O-Net U-Net V-Net อะไรนี่ให้มันหมดไปซะที เอ้อว่าแต่สองเรื่องนี้มันเกี่ยวกันตรงไหนหว่า...
วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557
แด่เพื่อนผู้จากไป อาจารย์วีระชัย ตันยะสิทธิ์
ไม่ได้เขียนบล็อกเสียนานเพราะไม่ว่าง แต่ก็ไม่คิดเลยว่าเมื่อมีโอกาสได้เขียนบล็อกจะต้องมาเขียนถึงเพื่อนที่ดีที่สุดคนหนึ่งที่เพิ่งจากไป จากไปอย่างรวดเร็วโดยไม่มีเค้าลางใด ๆ เมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้น เพื่อนคนนั้นคนที่ผมพูดถึงคืออ.วีระชัย ตันยะสิทธิ์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผมเริ่มเข้ามาทำงานที่นี่เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนในฐานะนักเรียนทุนรัฐบาล คนที่ผมรู้จักมาก่อนในตอนนั้นก็มีเพียงอ.วีระ บุญจริง ที่เป็นรุ่นพี่ที่จุฬาเท่านั้น เมื่อผมเข้ามาทำงานผมก็ได้รู้จักกับอ.วีระชัย และผมก็ได้นั่งทำงานห้องเดียวกับอ.วีระชัยมาตลอด การแนะนำตัวของผมที่มีต่อนักศึกษาในแต่ละรุ่นในชั่วโมงแรกของการเรียนก็คือห้องพักของผมก็คือห้องเดียวกับห้องของอ.วีระชัย เพราะไม่มีนักศึกษาที่เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์คนใดนับจนถึงปัจจุบันนี้จะไม่ได้เรียนกับอ.วีระชัย อ.วีระชัยเป็นคนปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรมให้กับนักศึกษาแต่ละรุ่นตั้งแต่ครั้งเรายังใช้ภาษาปาสคาลจนมาถึงภาษาจาวา
อ.วีระชัยเป็นกำลังหลักให้กับภาควิชามาโดยตลอด เพราะคนที่สอนวิชาเขียนโปรแกรมให้กับคนที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาเลย ก็ทำงานหนักไม่ต่างจากครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลที่ต้องสร้างความรู้พื้นฐานให้เด็กเพื่อนำไปใช้ชีวิตต่อไป และอ.วีระชัยก็ยินดีที่จะรับทำหน้าที่นั้นด้วยความเต็มใจถึงแม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยแค่ไหนอ.ก็ไม่บ่น บอกตามตรงว่าตั้งแต่ทำงานกันมากว่า 20 ปี ผมแทบไม่เคยเห็นอ.วีระชัยจะงดสอน ยกเว้นจะไม่สบายมาสอนไม่ไหวจริง ๆ
ด้วยความที่อ.วีระชัยยินดียอมรับหน้าที่นี้ ทำให้อ.วีระชัยไม่สนใจที่จะไปเรียนต่อที่ไหน ในขณะที่อาจารย์หลาย ๆ ท่าน รวมถึงตัวผมด้วย ก็ยังมีช่วงเวลาที่ลาไปเรียนต่อ ซึ่งช่วงเวลาที่ไปเรียนต่อนั้นอ.วีระชัยนอกจากจะต้องสอนการเขียนโปรแกรมและโครงสร้างข้อมูลซึ่งเป็นวิชาประจำของอาจารย์แล้ว อาจารย์ก็ต้องรับภาระแทนในบางวิชาของอาจารย์ที่ลาเรียนต่อด้วย เรียกว่าอ.วีระชัยคือเสาหลักที่สำคัญที่สุดของภาควิชาเลยก็ว่าได้
นอกจากในแง่การทำงานแล้ว ในแง่ส่วนตัวอ.วีระชัยก็เปรียบได้กับเป็นพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์ที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่อย่างผม คอยแนะนำเรื่องต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ และบางครั้งก็ยังแนะนำการใช้ชีวิตให้ผมด้วย ผมก็คงเหมือนกับพวกเราหลาย ๆ คนที่บางครั้งก็บ้าทำงาน อยากทำให้เสร็จจนบางครั้งก็ลืมที่จะดูลิมิตของตัวเอง อ.วีระชัยก็จะคอยเตือนว่าใจเย็น ๆ สุขภาพสำคัญนะ พักผ่อนก่อนแล้วกลับมาทำต่อก็ได้ สำหรับผมแล้วอ.วีระชัยเป็นเพื่อนร่วมงานที่ผมไม่เคยรู้จักมาก่อน ไม่เคยเรียนด้วยกันมา แต่ผมเชื่อว่าอาจารย์มีความปรารถนาดีต่อผมอย่างจริงใจ ผมสามารถเปิดใจคุยกับอาจารย์ได้ทุกเรื่อง โดยสบายใจได้ว่าอาจารย์จะไม่เอาเรื่องที่เราคุยกันไปพูดต่อ หรือไปทำอะไรให้ผมเสียหาย ซึ่งผมคิดว่าพวกเราคงจะหาเพื่อนแบบนี้ได้ยากมากในที่ทำงาน ซึ่งถ้าใครเจอเพื่อนแบบนี้ก็ต้องบอกว่าโชคดีมาก และผมก็เป็นคนหนึ่งที่โชคดีที่ได้รู้จักกับอ.วีระชัย
ผมไม่อยากเชื่อจริง ๆ ว่าวันนี้ผมจะไม่มีเพื่อนที่ชื่ออาจารย์วีระชัยแล้ว เมื่อเดือนที่แล้วนี้เองอาจารย์ยังดูปกติ แข็งแรงทุกอย่าง เรายังพูดคุยกันว่าหลังจากอาจารย์เกษียณแล้ว อย่าหนีหายไปไหน ให้ขับรถเข้ามาคุยกัน ไปหาข้าวกลางวันกินกันเหมือนที่พวกเราทำกันมาตลอด อาจารย์จะเกษียณปี 2558 ซึ่งจากการปรับเทอมรับ AEC ก็เท่ากับว่าอาจารย์จะได้สอนอีกสองเทอม แล้วอาจารย์ก็จะได้พักผ่อนจากหน้าที่อันหนักและสำคัญที่อาจารย์ทำมากว่าสามสิบปี
เรื่องของเรื่องมันไม่น่าจะมีอะไรเลย ผมจำได้ว่าเรื่องมันเกิดขึ้นหลังจากที่อาจารย์บ่นว่าปวดเมื่อยตัว ซึ่งพวกเราก็คิดว่าเป็นอาการธรรมดาอาจจะนั่งหรือนอนผิดท่า จากนั้นมันก็เริ่มหนักขึ้นอาจารย์ขยับตัวไม่ได้ ต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งผมก็ยังไม่ได้ตระหนักอะไรอีกว่ามันจะเลยเถิดมาจนเป็นวันนี้ มันอาจเป็นเพราะอ.วีระชัยเคยป่วยหนักจนเข้าโรงพยาบาลแบบนี้มาครั้งหนึ่งแล้วด้วยโรคไต ซึ่งตอนนั้นอาจารย์ก็หายออกมาได้ ถึงแม้หลังจากนั้นจะต้องไปฟอกไตสัปดาห์ละสามวันก็ตาม หลังจากอ.วีระชัยออกจากโรงพยาบาลในครั้งนั้น ผมกับอ.วีระก็ชวนอ.วีระชัยไปเดินออกกำลังกายกันที่สนามกีฬาในตอนเย็น ๆ กัน เราสามคนเดินออกกำลังด้วยกันในตอนเย็นมาอย่างนั้นตลอดหลายปี ซึ่งสุขภาพของอาจารย์ก็แข็งแรงมาโดยตลอด จนมาช่วงสองปีหลังนี้ผมกับอาจารย์วีระมีภารกิจมากขึ้นจนเราไม่ค่อยได้ไปเดินออกกำลังกาย แต่อ.วีระชัยก็ยังคงไปเหมือนเดิม ซึ่งผมคิดว่าอาจารย์น่าจะแข็งแรงกว่าผมกับอ.วีระเสียอีก
หนึ่งในสิ่งที่ผมเสียใจที่สุดก็คือ ผมไม่ได้ไปเยี่ยมอ.วีระชัยในตอนที่อาจารย์ยังรู้สึกตัวอยู่ ผมมัวแต่ยุ่งกับนักศึกษาปัญหาพิเศษ เคลียร์งาน และก็ช่วยตรวจข้อสอบที่อ.วีระชัยยังตรวจไม่เสร็จ (ผมกับอ.วีระแบ่งข้อกันตรวจข้อสอบ ส่วนของอ.วีระเรียบร้อยแล้วเหลือส่วนของผม) โดยผมคิดว่าหลังจากเสร็จงานพวกนี้อ.วีระชัยก็จะแข็งแรงขึ้นและใกล้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผมก็จะไปนั่งคุยกับอาจารย์ ท้าวความถึงความหลังว่านี่ผมได้ตอบแทนที่อาจารย์เคยช่วยผมแล้วนะ คือตอนที่ผมจะไปเรียนต่อผมต้องเดินทางวันที่ 1 ม.ค. ดังนั้นผมจะต้องจัดการทุกอย่างให้เสร็จรวมถึงตรวจข้อสอบด้วย แต่ปรากฏว่าผมทำไม่เสร็จก่อนวันที่ 30 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันทำงานวันสุดท้าย ผมนั่งตรวจข้อสอบและตัดเกรดจนเสร็จและเอาไปฝากไว้ที่อ.วีระชัยในคืนวันที่ 30 ธ.ค. ซึ่งดึกมากแล้ว แต่อ.วีระชัยก็นั่งคอยรอรับข้อสอบจากผมอยู่ที่บ้าน ซึ่งผมยังจำภาพที่ผมขับรถเอาข้อสอบไปส่งให้อาจารย์ได้อยู่เลย เหมือนมันเพิ่งเกิด ทั้ง ๆ ที่จริงมันสิบกว่าปีมาแล้ว
ในวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม เวลาประมาณ 11 โมงกว่า ๆ ตอนนั้นผมกำลังตรวจข้อสอบของอ.วีระชัยอยู่ ผมได้รับโทรศัพท์จากอ.วีระ ซึ่งมันทำให้ผมใจหายเพราะผมกับอ.วีระเราติดต่อกันผ่าน Facebook messenger เป็นหลักมานานแล้ว และก็เป็นจริง อ.วีระโทรมาบอกให้ผมรีบไปเยี่ยมอ.วีระชัยให้ทันก่อนที่อาจารย์จะเข้าห้องผ่าตัด ผมก็รีบแต่งตัว แต่วันนั้นเป็นวันที่ฝนตกหนักมาก เป็นวันที่ผมขับรถไปก็แช่งด่าฟ้าฝนไปอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ผมใช้เวลาเดินทางกว่าจะไปถึงโรงพยาบาลก็เกือบบ่ายสอง อ.วีระชัยเข้าห้องผ่าตัดไปแล้ว ผมกับอ.วีระรออยู่จนอ.วีระชัยออกจากห้องผ่าตัด และนั่นเป็นครั้งแรกหลังจากที่อ.วีระชัยเข้าโรงพยาบาลที่ผมได้เห็นอาจารย์ บอกตามตรงว่าผมใจหายและเริ่มกังวล แต่ก็ยังคิดว่าอาจารย์จะต้องหาย ผมไม่ได้คุยกับอ.วีระชัย เพราะอาจารย์ยังไม่ฟื้นจากผ่าตัด ผมกลับมาบ้านรีบตรวจข้อสอบของอ.วีระชัยต่อ เพื่อที่จะได้ไปบอกอ.วีระชัยว่าข้อสอบตรวจเสร็จแล้วไม่ต้องกังวล ผมตรวจเสร็จวันอาทิตย์ 23 วันจันทร์ที่ 24 เอาไปให้อ.วีระป้อนคะแนนตัดเกรดเรียบร้อย และในวันนั้นเป็นวันที่ผมต้องสอบทั้งปัญหาพิเศษของป.ตรี และหัวข้อวิทยานิพนธ์ของป.เอก กว่าจะเสร็จก็ค่ำ
วันที่ 25 มีนาคม ผมควรจะไปเยี่ยมอ.วีระชัยแต่ก็ไม่ได้ไป เพราะนัดนักศึกษาในที่ปรึกษาของตัวเองให้เอารายงานมาส่ง เวลาประมาณบ่ายสองโมงกว่า ๆ ขณะที่ผมกำลังตรวจรายงานนักศึกษาอยู่ มีเสียงโทรศัพท์ของอ.วีระดังขึ้น ได้ยินเสียงอ.วีระบ่นพึมพำว่าไม่อยากรับสายนี้เลย ผมก็ไม่ได้สนใจอะไร ตรวจงานนักศึกษาต่อไป สักครู่หนึ่งอ.วีระ เดินมาที่โต๊ะผมแล้วแจ้งข่าวที่ผมไม่อยากได้ยินที่สุด อาจารย์วีระชัยเสียแล้ว ผมกับนักศึกษาสองคนของผม (ซึ่งน่าจะเป็นสองคนแรกที่รู้ข่าวนี้) เราเงียบกันไปครู่หนึ่ง บอกตามตรงว่าณ.เวลานั้น ผมอยากบอกให้นักศึกษาทั้งสองคนกลับไป ผมไม่อยากทำอะไรแล้ว แต่มาคิดดูอ.วีระชัยคงไม่สบายใจนักถ้าเราจะต้องมาหยุดงานมาเสียงานกันเพราะเรื่องนี้ ดังนั้นเราจึงพยายามทำหน้าที่ของเราจนจบ
หลังจากนั้นผมเริ่มเขียนสเตตัสเพื่อแจ้งข่าวนี้บน Facebook แต่ก็ดูเหมือนว่าจะมีนักศึกษาและเพื่อนอาจารย์หลายคนที่รู้ข่าวนี้กันบ้างแล้ว จากนั้นแทบทั้งไทม์ไลน์ก็เต็มไปด้วยข้อความแสดงความอาลัยที่ทางภาค(สาขา)วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้สูญเสียบุคคลากรที่เป็นเสาหลักของภาควิชามาตั้งแต่เริ่มต้น เป็นครูที่แท้จริง ทุ่มเท เสียสละ เป็นราวกับพ่อคนที่สองของนักศึกษา
สุดท้ายนี้ผมคงต้องบอกกับอาจารย์วีระชัยว่าขอบคุณสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้กับภาค และประเทศชาติ ด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพออกไปเป็นกำลังของประเทศ ขอบคุณสำหรับความเป็นเพื่อนเป็นพี่ที่ได้มอบให้กันมากว่า 20 ปี สิ่งที่อ.วีระชัยได้ทำไว้ มันได้ส่งให้เห็นผลแล้วครับ นักศึกษาที่อาจารย์ได้สั่งสอนไปวันนี้พวกเขาเติบใหญ่ มีการงานที่มั่นคง พวกเขารักอาจารย์ และได้กลับมาร่วมส่งอาจารย์เดินทางกันอย่างคับคั่ง เรื่องนักศึกษาที่อาจารย์อาจเป็นห่วงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์ในเทอมนี้ นักศึกษาที่ตกค้าง นักศึกษาในที่ปรึกษาของอาจารย์ พวกเราอาจารย์ที่อยู่กันตอนนี้ช่วยกันดูแลจัดการกันเรียบร้อยแล้วครับ ไม่ต้องกังวลอะไร ถ้าชาติหน้ามีจริงก็ขอให้เราได้มาเป็นเพื่อนกันแบบนี้อีกนะครับ พักผ่อนให้สบายนะครับอ.วี ...
ผมเริ่มเข้ามาทำงานที่นี่เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนในฐานะนักเรียนทุนรัฐบาล คนที่ผมรู้จักมาก่อนในตอนนั้นก็มีเพียงอ.วีระ บุญจริง ที่เป็นรุ่นพี่ที่จุฬาเท่านั้น เมื่อผมเข้ามาทำงานผมก็ได้รู้จักกับอ.วีระชัย และผมก็ได้นั่งทำงานห้องเดียวกับอ.วีระชัยมาตลอด การแนะนำตัวของผมที่มีต่อนักศึกษาในแต่ละรุ่นในชั่วโมงแรกของการเรียนก็คือห้องพักของผมก็คือห้องเดียวกับห้องของอ.วีระชัย เพราะไม่มีนักศึกษาที่เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์คนใดนับจนถึงปัจจุบันนี้จะไม่ได้เรียนกับอ.วีระชัย อ.วีระชัยเป็นคนปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรมให้กับนักศึกษาแต่ละรุ่นตั้งแต่ครั้งเรายังใช้ภาษาปาสคาลจนมาถึงภาษาจาวา
อ.วีระชัยเป็นกำลังหลักให้กับภาควิชามาโดยตลอด เพราะคนที่สอนวิชาเขียนโปรแกรมให้กับคนที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาเลย ก็ทำงานหนักไม่ต่างจากครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลที่ต้องสร้างความรู้พื้นฐานให้เด็กเพื่อนำไปใช้ชีวิตต่อไป และอ.วีระชัยก็ยินดีที่จะรับทำหน้าที่นั้นด้วยความเต็มใจถึงแม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยแค่ไหนอ.ก็ไม่บ่น บอกตามตรงว่าตั้งแต่ทำงานกันมากว่า 20 ปี ผมแทบไม่เคยเห็นอ.วีระชัยจะงดสอน ยกเว้นจะไม่สบายมาสอนไม่ไหวจริง ๆ
ด้วยความที่อ.วีระชัยยินดียอมรับหน้าที่นี้ ทำให้อ.วีระชัยไม่สนใจที่จะไปเรียนต่อที่ไหน ในขณะที่อาจารย์หลาย ๆ ท่าน รวมถึงตัวผมด้วย ก็ยังมีช่วงเวลาที่ลาไปเรียนต่อ ซึ่งช่วงเวลาที่ไปเรียนต่อนั้นอ.วีระชัยนอกจากจะต้องสอนการเขียนโปรแกรมและโครงสร้างข้อมูลซึ่งเป็นวิชาประจำของอาจารย์แล้ว อาจารย์ก็ต้องรับภาระแทนในบางวิชาของอาจารย์ที่ลาเรียนต่อด้วย เรียกว่าอ.วีระชัยคือเสาหลักที่สำคัญที่สุดของภาควิชาเลยก็ว่าได้
นอกจากในแง่การทำงานแล้ว ในแง่ส่วนตัวอ.วีระชัยก็เปรียบได้กับเป็นพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์ที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่อย่างผม คอยแนะนำเรื่องต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ และบางครั้งก็ยังแนะนำการใช้ชีวิตให้ผมด้วย ผมก็คงเหมือนกับพวกเราหลาย ๆ คนที่บางครั้งก็บ้าทำงาน อยากทำให้เสร็จจนบางครั้งก็ลืมที่จะดูลิมิตของตัวเอง อ.วีระชัยก็จะคอยเตือนว่าใจเย็น ๆ สุขภาพสำคัญนะ พักผ่อนก่อนแล้วกลับมาทำต่อก็ได้ สำหรับผมแล้วอ.วีระชัยเป็นเพื่อนร่วมงานที่ผมไม่เคยรู้จักมาก่อน ไม่เคยเรียนด้วยกันมา แต่ผมเชื่อว่าอาจารย์มีความปรารถนาดีต่อผมอย่างจริงใจ ผมสามารถเปิดใจคุยกับอาจารย์ได้ทุกเรื่อง โดยสบายใจได้ว่าอาจารย์จะไม่เอาเรื่องที่เราคุยกันไปพูดต่อ หรือไปทำอะไรให้ผมเสียหาย ซึ่งผมคิดว่าพวกเราคงจะหาเพื่อนแบบนี้ได้ยากมากในที่ทำงาน ซึ่งถ้าใครเจอเพื่อนแบบนี้ก็ต้องบอกว่าโชคดีมาก และผมก็เป็นคนหนึ่งที่โชคดีที่ได้รู้จักกับอ.วีระชัย
ผมไม่อยากเชื่อจริง ๆ ว่าวันนี้ผมจะไม่มีเพื่อนที่ชื่ออาจารย์วีระชัยแล้ว เมื่อเดือนที่แล้วนี้เองอาจารย์ยังดูปกติ แข็งแรงทุกอย่าง เรายังพูดคุยกันว่าหลังจากอาจารย์เกษียณแล้ว อย่าหนีหายไปไหน ให้ขับรถเข้ามาคุยกัน ไปหาข้าวกลางวันกินกันเหมือนที่พวกเราทำกันมาตลอด อาจารย์จะเกษียณปี 2558 ซึ่งจากการปรับเทอมรับ AEC ก็เท่ากับว่าอาจารย์จะได้สอนอีกสองเทอม แล้วอาจารย์ก็จะได้พักผ่อนจากหน้าที่อันหนักและสำคัญที่อาจารย์ทำมากว่าสามสิบปี
เรื่องของเรื่องมันไม่น่าจะมีอะไรเลย ผมจำได้ว่าเรื่องมันเกิดขึ้นหลังจากที่อาจารย์บ่นว่าปวดเมื่อยตัว ซึ่งพวกเราก็คิดว่าเป็นอาการธรรมดาอาจจะนั่งหรือนอนผิดท่า จากนั้นมันก็เริ่มหนักขึ้นอาจารย์ขยับตัวไม่ได้ ต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งผมก็ยังไม่ได้ตระหนักอะไรอีกว่ามันจะเลยเถิดมาจนเป็นวันนี้ มันอาจเป็นเพราะอ.วีระชัยเคยป่วยหนักจนเข้าโรงพยาบาลแบบนี้มาครั้งหนึ่งแล้วด้วยโรคไต ซึ่งตอนนั้นอาจารย์ก็หายออกมาได้ ถึงแม้หลังจากนั้นจะต้องไปฟอกไตสัปดาห์ละสามวันก็ตาม หลังจากอ.วีระชัยออกจากโรงพยาบาลในครั้งนั้น ผมกับอ.วีระก็ชวนอ.วีระชัยไปเดินออกกำลังกายกันที่สนามกีฬาในตอนเย็น ๆ กัน เราสามคนเดินออกกำลังด้วยกันในตอนเย็นมาอย่างนั้นตลอดหลายปี ซึ่งสุขภาพของอาจารย์ก็แข็งแรงมาโดยตลอด จนมาช่วงสองปีหลังนี้ผมกับอาจารย์วีระมีภารกิจมากขึ้นจนเราไม่ค่อยได้ไปเดินออกกำลังกาย แต่อ.วีระชัยก็ยังคงไปเหมือนเดิม ซึ่งผมคิดว่าอาจารย์น่าจะแข็งแรงกว่าผมกับอ.วีระเสียอีก
หนึ่งในสิ่งที่ผมเสียใจที่สุดก็คือ ผมไม่ได้ไปเยี่ยมอ.วีระชัยในตอนที่อาจารย์ยังรู้สึกตัวอยู่ ผมมัวแต่ยุ่งกับนักศึกษาปัญหาพิเศษ เคลียร์งาน และก็ช่วยตรวจข้อสอบที่อ.วีระชัยยังตรวจไม่เสร็จ (ผมกับอ.วีระแบ่งข้อกันตรวจข้อสอบ ส่วนของอ.วีระเรียบร้อยแล้วเหลือส่วนของผม) โดยผมคิดว่าหลังจากเสร็จงานพวกนี้อ.วีระชัยก็จะแข็งแรงขึ้นและใกล้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผมก็จะไปนั่งคุยกับอาจารย์ ท้าวความถึงความหลังว่านี่ผมได้ตอบแทนที่อาจารย์เคยช่วยผมแล้วนะ คือตอนที่ผมจะไปเรียนต่อผมต้องเดินทางวันที่ 1 ม.ค. ดังนั้นผมจะต้องจัดการทุกอย่างให้เสร็จรวมถึงตรวจข้อสอบด้วย แต่ปรากฏว่าผมทำไม่เสร็จก่อนวันที่ 30 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันทำงานวันสุดท้าย ผมนั่งตรวจข้อสอบและตัดเกรดจนเสร็จและเอาไปฝากไว้ที่อ.วีระชัยในคืนวันที่ 30 ธ.ค. ซึ่งดึกมากแล้ว แต่อ.วีระชัยก็นั่งคอยรอรับข้อสอบจากผมอยู่ที่บ้าน ซึ่งผมยังจำภาพที่ผมขับรถเอาข้อสอบไปส่งให้อาจารย์ได้อยู่เลย เหมือนมันเพิ่งเกิด ทั้ง ๆ ที่จริงมันสิบกว่าปีมาแล้ว
ในวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม เวลาประมาณ 11 โมงกว่า ๆ ตอนนั้นผมกำลังตรวจข้อสอบของอ.วีระชัยอยู่ ผมได้รับโทรศัพท์จากอ.วีระ ซึ่งมันทำให้ผมใจหายเพราะผมกับอ.วีระเราติดต่อกันผ่าน Facebook messenger เป็นหลักมานานแล้ว และก็เป็นจริง อ.วีระโทรมาบอกให้ผมรีบไปเยี่ยมอ.วีระชัยให้ทันก่อนที่อาจารย์จะเข้าห้องผ่าตัด ผมก็รีบแต่งตัว แต่วันนั้นเป็นวันที่ฝนตกหนักมาก เป็นวันที่ผมขับรถไปก็แช่งด่าฟ้าฝนไปอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ผมใช้เวลาเดินทางกว่าจะไปถึงโรงพยาบาลก็เกือบบ่ายสอง อ.วีระชัยเข้าห้องผ่าตัดไปแล้ว ผมกับอ.วีระรออยู่จนอ.วีระชัยออกจากห้องผ่าตัด และนั่นเป็นครั้งแรกหลังจากที่อ.วีระชัยเข้าโรงพยาบาลที่ผมได้เห็นอาจารย์ บอกตามตรงว่าผมใจหายและเริ่มกังวล แต่ก็ยังคิดว่าอาจารย์จะต้องหาย ผมไม่ได้คุยกับอ.วีระชัย เพราะอาจารย์ยังไม่ฟื้นจากผ่าตัด ผมกลับมาบ้านรีบตรวจข้อสอบของอ.วีระชัยต่อ เพื่อที่จะได้ไปบอกอ.วีระชัยว่าข้อสอบตรวจเสร็จแล้วไม่ต้องกังวล ผมตรวจเสร็จวันอาทิตย์ 23 วันจันทร์ที่ 24 เอาไปให้อ.วีระป้อนคะแนนตัดเกรดเรียบร้อย และในวันนั้นเป็นวันที่ผมต้องสอบทั้งปัญหาพิเศษของป.ตรี และหัวข้อวิทยานิพนธ์ของป.เอก กว่าจะเสร็จก็ค่ำ
วันที่ 25 มีนาคม ผมควรจะไปเยี่ยมอ.วีระชัยแต่ก็ไม่ได้ไป เพราะนัดนักศึกษาในที่ปรึกษาของตัวเองให้เอารายงานมาส่ง เวลาประมาณบ่ายสองโมงกว่า ๆ ขณะที่ผมกำลังตรวจรายงานนักศึกษาอยู่ มีเสียงโทรศัพท์ของอ.วีระดังขึ้น ได้ยินเสียงอ.วีระบ่นพึมพำว่าไม่อยากรับสายนี้เลย ผมก็ไม่ได้สนใจอะไร ตรวจงานนักศึกษาต่อไป สักครู่หนึ่งอ.วีระ เดินมาที่โต๊ะผมแล้วแจ้งข่าวที่ผมไม่อยากได้ยินที่สุด อาจารย์วีระชัยเสียแล้ว ผมกับนักศึกษาสองคนของผม (ซึ่งน่าจะเป็นสองคนแรกที่รู้ข่าวนี้) เราเงียบกันไปครู่หนึ่ง บอกตามตรงว่าณ.เวลานั้น ผมอยากบอกให้นักศึกษาทั้งสองคนกลับไป ผมไม่อยากทำอะไรแล้ว แต่มาคิดดูอ.วีระชัยคงไม่สบายใจนักถ้าเราจะต้องมาหยุดงานมาเสียงานกันเพราะเรื่องนี้ ดังนั้นเราจึงพยายามทำหน้าที่ของเราจนจบ
หลังจากนั้นผมเริ่มเขียนสเตตัสเพื่อแจ้งข่าวนี้บน Facebook แต่ก็ดูเหมือนว่าจะมีนักศึกษาและเพื่อนอาจารย์หลายคนที่รู้ข่าวนี้กันบ้างแล้ว จากนั้นแทบทั้งไทม์ไลน์ก็เต็มไปด้วยข้อความแสดงความอาลัยที่ทางภาค(สาขา)วิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้สูญเสียบุคคลากรที่เป็นเสาหลักของภาควิชามาตั้งแต่เริ่มต้น เป็นครูที่แท้จริง ทุ่มเท เสียสละ เป็นราวกับพ่อคนที่สองของนักศึกษา
สุดท้ายนี้ผมคงต้องบอกกับอาจารย์วีระชัยว่าขอบคุณสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้กับภาค และประเทศชาติ ด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพออกไปเป็นกำลังของประเทศ ขอบคุณสำหรับความเป็นเพื่อนเป็นพี่ที่ได้มอบให้กันมากว่า 20 ปี สิ่งที่อ.วีระชัยได้ทำไว้ มันได้ส่งให้เห็นผลแล้วครับ นักศึกษาที่อาจารย์ได้สั่งสอนไปวันนี้พวกเขาเติบใหญ่ มีการงานที่มั่นคง พวกเขารักอาจารย์ และได้กลับมาร่วมส่งอาจารย์เดินทางกันอย่างคับคั่ง เรื่องนักศึกษาที่อาจารย์อาจเป็นห่วงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์ในเทอมนี้ นักศึกษาที่ตกค้าง นักศึกษาในที่ปรึกษาของอาจารย์ พวกเราอาจารย์ที่อยู่กันตอนนี้ช่วยกันดูแลจัดการกันเรียบร้อยแล้วครับ ไม่ต้องกังวลอะไร ถ้าชาติหน้ามีจริงก็ขอให้เราได้มาเป็นเพื่อนกันแบบนี้อีกนะครับ พักผ่อนให้สบายนะครับอ.วี ...
วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เลือกตั้งครั้งนี้จะได้อะไร
ใกล้วันเลือกตั้งเข้ามาแล้ว ซึ่งปีนี้เป็นปีที่แปลกครับ เพราะมีการรณรงค์คัดค้านการเลือกตั้ง การไปเลือกตั้งสำหรับคนบางคนกลับกลายเป็นการแสดงความไม่รักชาติ บางคนก็ลังเลไม่รู้ว่าควรจะไปเลือกตั้งดีไหม เรียกว่าจะทำอะไรก็กลัวไปหมดจะไปเลือกก็กลัวกลายเป็นขี้ข้าทักษิณ จะไม่ไปเลือกก็กลัวจะกลายเป็นพวกไม่รักประชาธิปไตยแพ้แล้วพาล ซึ่งผมอยากบอกว่าอย่าให้มายาคติเหล่านี้มาทำให้เราสับสนครับ ผมมองว่าคนส่วนใหญ่ทั้งคนที่เห็นด้วยกับกปปส.และคนที่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งล้วนแล้วแต่เป็นคนที่รักชาติ เพียงแต่มีมุมมองหรือชุดความคิดต่อการแก้ปัญหาที่ต่างกันเท่านั้น ดังนั้นอย่ากลัวที่จะไปใช้สิทธิตามความเชื่อของเราครับ และคงต้องขอร้องโดยเฉพาะกกปส.ว่าอย่าไปขัดขวางคนที่เขาต้องการไปเลือกตั้งครับ เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ผมเชื่อว่ามันมีสิ่งที่จะได้ตามมาหลายอย่างครับ ไม่ใช่แค่ผลาญเงินสามพันล้านแล้วไม่ได้อะไร ลองมาดูกันครับ
ก่อนอื่นผมขอไม่พูดถึงคนที่ต้องการออกมาเลือกพรรคเพื่อไทยหรือพรรคอื่น ๆ นะครับอันนั้นก็เป็นสิทธิของพวกคุณครับ แต่ผมอยากจะพูดถึงคนที่ไม่เห็นด้วยกับเพื่อไทยแต่ก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของกกปส. เพราะคนกลุ่มนี้แหละครับที่มีความสับสนมากว่าจะทำอะไรกันดี และผมก็เป็นหนึ่งในนั้น ในส่วนตัวผมผมชัดเจนว่าผมไปโหวตโนแน่ ในตอนแรกผมคิดว่าเราน่าจะรณรงค์ให้คนที่ไม่ชอบเพื่อไทยซึ่งหมายรวมถึงกกปส.ด้วยให้ออกมาโหวตโนกัน ถ้ามวลมหาประชาชนมีจำนวนมากจริง ๆ เสียงโหวตโนจะต้องมากกว่าเสียงที่เพื่อไทยได้ ซึ่งตรงนี้ถึงแม้มันจะไม่มีผลทางนิติศาสตร์แต่ผมว่ามันมีผลทางรัฐศาสตร์นะครับ เพราะรัฐบาลจะไม่สามารถอ้างได้ว่าตัวเองเป็นเสียงข้างมากอีกแล้ว และน่าจะต้องรีบทำเรื่องปฏิรูปตามที่ประชาชนต้องการ
แต่คิดอีกทีจากการประมวลจากหลากหลายความคิดที่แสดงกันออกมาในช่วงนี้ ผมกลับมองใหม่ครับว่า กกปส.ไหน ๆ ก็รณรงค์กันมานานแล้ว ก็ให้ยึดกับแนวทางเดิมไปเลยคือไม่ต้องไปเลือกตั้งกัน แต่ก็อย่าไปขัดขวางคนที่เขาจะไปเลือกนะครับ เพราะถ้าปล่อยให้เป็นไปเป็นแบบนี้สิ่งที่จะได้มาก็คือถ้าจำนวนมวลมหาประชาชนเป็นคนส่วนมากของประเทศจริง ๆ เราจะต้องได้จำนวนคนที่ไม่ไปเลือกตั้งมากกว่าคนที่ไปเลือกตั้ง ซึ่งตรงนี้ผมว่ามันเหมือนเป็นการทำประชามติได้นะครับ ให้มองว่าเงินสามพันล้านที่เสียไปในการจัดการเลือกตั้งคราวนี้เป็นค่าใช้จ่ายการทำประชามติซะก็แล้วกัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นแบบนี้จริง ๆ กกปส.จะได้ความชอบธรรมมากขึ้นแน่นอนครับ ผมคนหนึ่งล่ะที่จะไม่บ่นในสิ่งที่กกปส.จะทำ เพราะถือว่าได้ฉันทามติแล้ว ผมมองว่าถ้าเป็นอย่างนี้กกปส.มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้พรรคที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาทำตามสิ่งที่ต้องการ เช่นยื่นเงื่อนไขว่าขอไม่ให้คุณยิ่งลักษณ์ หรือคนที่เกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ลองเลือกสักคนจากสส.พรรคเพื่อไทย (ซึ่งก็น่าจะมีคนดีอยู่บ้างล่ะน่าหรือเอาที่คิดว่าเลวน้อยสุดก็ได้) เพราะรัฐธรรมนูญบอกว่านายกต้องมาจาก สส. จากนั้นนำเสนอบุคคลที่คิดว่าควรจะเป็นรัฐมนตรีเข้าไป จะตั้งสภาประชาชนขึ้นมา จะแก้กฏหมายก็ยิ่งง่ายเพราะตอนนี้มีสภานิติบัญญัติแล้ว
ในกรณีที่มวลมหาประชาชนไม่ได้เป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศจริงคือมีคนไปเลือกตั้งมากกว่าคนไม่ไปเลือก ก็ยังไม่เป็นไรเพราะผมมองว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีคนโหวตโนกันมาก อย่างน้อยคนที่เคยเลือกประชาธิปัตย์ก็น่าจะโหวตโนกันนะ ตรงนี้ถ้าจำนวนคนที่ไม่ไปเลือกกับคนโหวตโนมีจำนวนมากกว่าคะแนนเสียงที่เพื่อไทยได้ ผมว่ามันก็จะเข้ากรณีแรกคือมีผลทางรัฐศาสตร์ที่ทำให้รัฐบาลสำนึกตัวว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้เขาไม่เอาคุณนะ ดังนั้นรีบปฏิรูปตามที่สัญญาไว้ซะ และอย่าทำอะไรแบบนิรโทษสุดซอยอีก เพราะถ้าทำคราวนี้คนส่วนใหญ่ของประเทศออกมาจัดการคุณแน่ แต่ถ้าสุดท้ายคนที่เลือกเพื่อไทยยังคงมากกว่าเสียงของโหวตโนและโนโหวตก็คงต้องยอมรับ แต่ยังไงก็ตามผมยังเชื่อนะว่าเพื่อไทยก็จะไม่กล้าทำอะไรที่เลวร้ายมาก ๆ อย่างที่ผ่านมาอีกแน่
ถึงตรงนี้หลายคนอาจคิดว่าผมเป็นพวกโลกสวยรัฐบาลแบบนี้มันไม่ยอมทำอะไรแบบนี้หรอก ก็ไม่รู้สินะครับ ผมมองว่าไม่ว่าใครที่ได้รับเสียงที่เลือกเข้ามาน้อยกว่าเสียงที่ไม่เลือก เขาไม่น่าจะกล้าทำอะไรที่ขัดความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ และถ้าจะพูดเรื่องโลกสวยผมว่าคนในกกปส.นี่โลกสวยกว่าผมอีกนะ ที่คิดกันว่าการปฏิรูป (ที่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง) ในช่วงประมาณปีครึ่ง จะแก้ปัญหาที่เกาะกินประเทศเรามาเป็นสิบ ๆ ปี อย่างเรื่องนักการเมืองด้อยคุณภาพ การทุจริตในทุกระดับได้ ไม่ใช่ผมไม่อยากได้นะอะไรแบบนี้ แต่ผมมองว่าประเทศเราผ่านการปฏิวัติกันมากันตั้งหลายครั้ง ทุกครั้งก็มีการร่างกติกาการปกครองประเทศขึ้นมาใหม่ ซึ่งแต่ละครั้งก็บอกว่านี่คือกติกาที่ดีที่สุดแล้ว จะแก้ปัญหาได้ แต่สุดท้ายเป็นยังไงครับ ขนาดรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ซึ่งแต่ก่อนก็ว่าดีนักดีหนา ก็ยังกันคนโกงไม่ได้ ผมว่าปัญหาแบบนี้มันจะต้องค่อย ๆ แก้กันไปให้มีการเรียนรู้กันไป ซึ่งผมมองว่าประเทศเราก็เดินหน้ามาเรื่อย ๆ นะ อย่างน้อยตอนหลังมานี้เราได้เห็นการแข่งขันกันด้านนโยบายมากขึ้น และมันทำให้คนได้เรียนรู้ว่านโยบายแบบไหนทีที่มันไม่ยั่งยืนและสร้างความเสียหาย อย่างเช่นนโยบายจำนำข้าวนี่ผมเชื่อว่าชาวนาหลายคนก็ได้เรียนรู้แล้วและเขาไม่น่าจะเลือกเพื่อไทยเข้ามาอีก
สุดท้ายผมก็อยากบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มาถึงขนาดนี้แล้วควรจะเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าสุดท้ายมันจะเป็นโมฆะหรือไม่ อยากขออย่างเดียวว่าไม่ว่าจะคิดเห็นต่างกันอย่างไรก็อย่าไปละเมิดสิทธิของคนอื่น ผมเชื่อว่าเงินสามพันล้านที่เราใช้ลงไปกับการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ จะให้อะไรกลับมาครับนั่นคือมันจะเป็นตัวแสดงความเห็นของคนทั้งประเทศ
ก่อนอื่นผมขอไม่พูดถึงคนที่ต้องการออกมาเลือกพรรคเพื่อไทยหรือพรรคอื่น ๆ นะครับอันนั้นก็เป็นสิทธิของพวกคุณครับ แต่ผมอยากจะพูดถึงคนที่ไม่เห็นด้วยกับเพื่อไทยแต่ก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของกกปส. เพราะคนกลุ่มนี้แหละครับที่มีความสับสนมากว่าจะทำอะไรกันดี และผมก็เป็นหนึ่งในนั้น ในส่วนตัวผมผมชัดเจนว่าผมไปโหวตโนแน่ ในตอนแรกผมคิดว่าเราน่าจะรณรงค์ให้คนที่ไม่ชอบเพื่อไทยซึ่งหมายรวมถึงกกปส.ด้วยให้ออกมาโหวตโนกัน ถ้ามวลมหาประชาชนมีจำนวนมากจริง ๆ เสียงโหวตโนจะต้องมากกว่าเสียงที่เพื่อไทยได้ ซึ่งตรงนี้ถึงแม้มันจะไม่มีผลทางนิติศาสตร์แต่ผมว่ามันมีผลทางรัฐศาสตร์นะครับ เพราะรัฐบาลจะไม่สามารถอ้างได้ว่าตัวเองเป็นเสียงข้างมากอีกแล้ว และน่าจะต้องรีบทำเรื่องปฏิรูปตามที่ประชาชนต้องการ
แต่คิดอีกทีจากการประมวลจากหลากหลายความคิดที่แสดงกันออกมาในช่วงนี้ ผมกลับมองใหม่ครับว่า กกปส.ไหน ๆ ก็รณรงค์กันมานานแล้ว ก็ให้ยึดกับแนวทางเดิมไปเลยคือไม่ต้องไปเลือกตั้งกัน แต่ก็อย่าไปขัดขวางคนที่เขาจะไปเลือกนะครับ เพราะถ้าปล่อยให้เป็นไปเป็นแบบนี้สิ่งที่จะได้มาก็คือถ้าจำนวนมวลมหาประชาชนเป็นคนส่วนมากของประเทศจริง ๆ เราจะต้องได้จำนวนคนที่ไม่ไปเลือกตั้งมากกว่าคนที่ไปเลือกตั้ง ซึ่งตรงนี้ผมว่ามันเหมือนเป็นการทำประชามติได้นะครับ ให้มองว่าเงินสามพันล้านที่เสียไปในการจัดการเลือกตั้งคราวนี้เป็นค่าใช้จ่ายการทำประชามติซะก็แล้วกัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นแบบนี้จริง ๆ กกปส.จะได้ความชอบธรรมมากขึ้นแน่นอนครับ ผมคนหนึ่งล่ะที่จะไม่บ่นในสิ่งที่กกปส.จะทำ เพราะถือว่าได้ฉันทามติแล้ว ผมมองว่าถ้าเป็นอย่างนี้กกปส.มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้พรรคที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาทำตามสิ่งที่ต้องการ เช่นยื่นเงื่อนไขว่าขอไม่ให้คุณยิ่งลักษณ์ หรือคนที่เกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ลองเลือกสักคนจากสส.พรรคเพื่อไทย (ซึ่งก็น่าจะมีคนดีอยู่บ้างล่ะน่าหรือเอาที่คิดว่าเลวน้อยสุดก็ได้) เพราะรัฐธรรมนูญบอกว่านายกต้องมาจาก สส. จากนั้นนำเสนอบุคคลที่คิดว่าควรจะเป็นรัฐมนตรีเข้าไป จะตั้งสภาประชาชนขึ้นมา จะแก้กฏหมายก็ยิ่งง่ายเพราะตอนนี้มีสภานิติบัญญัติแล้ว
ในกรณีที่มวลมหาประชาชนไม่ได้เป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศจริงคือมีคนไปเลือกตั้งมากกว่าคนไม่ไปเลือก ก็ยังไม่เป็นไรเพราะผมมองว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีคนโหวตโนกันมาก อย่างน้อยคนที่เคยเลือกประชาธิปัตย์ก็น่าจะโหวตโนกันนะ ตรงนี้ถ้าจำนวนคนที่ไม่ไปเลือกกับคนโหวตโนมีจำนวนมากกว่าคะแนนเสียงที่เพื่อไทยได้ ผมว่ามันก็จะเข้ากรณีแรกคือมีผลทางรัฐศาสตร์ที่ทำให้รัฐบาลสำนึกตัวว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้เขาไม่เอาคุณนะ ดังนั้นรีบปฏิรูปตามที่สัญญาไว้ซะ และอย่าทำอะไรแบบนิรโทษสุดซอยอีก เพราะถ้าทำคราวนี้คนส่วนใหญ่ของประเทศออกมาจัดการคุณแน่ แต่ถ้าสุดท้ายคนที่เลือกเพื่อไทยยังคงมากกว่าเสียงของโหวตโนและโนโหวตก็คงต้องยอมรับ แต่ยังไงก็ตามผมยังเชื่อนะว่าเพื่อไทยก็จะไม่กล้าทำอะไรที่เลวร้ายมาก ๆ อย่างที่ผ่านมาอีกแน่
ถึงตรงนี้หลายคนอาจคิดว่าผมเป็นพวกโลกสวยรัฐบาลแบบนี้มันไม่ยอมทำอะไรแบบนี้หรอก ก็ไม่รู้สินะครับ ผมมองว่าไม่ว่าใครที่ได้รับเสียงที่เลือกเข้ามาน้อยกว่าเสียงที่ไม่เลือก เขาไม่น่าจะกล้าทำอะไรที่ขัดความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ และถ้าจะพูดเรื่องโลกสวยผมว่าคนในกกปส.นี่โลกสวยกว่าผมอีกนะ ที่คิดกันว่าการปฏิรูป (ที่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง) ในช่วงประมาณปีครึ่ง จะแก้ปัญหาที่เกาะกินประเทศเรามาเป็นสิบ ๆ ปี อย่างเรื่องนักการเมืองด้อยคุณภาพ การทุจริตในทุกระดับได้ ไม่ใช่ผมไม่อยากได้นะอะไรแบบนี้ แต่ผมมองว่าประเทศเราผ่านการปฏิวัติกันมากันตั้งหลายครั้ง ทุกครั้งก็มีการร่างกติกาการปกครองประเทศขึ้นมาใหม่ ซึ่งแต่ละครั้งก็บอกว่านี่คือกติกาที่ดีที่สุดแล้ว จะแก้ปัญหาได้ แต่สุดท้ายเป็นยังไงครับ ขนาดรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ซึ่งแต่ก่อนก็ว่าดีนักดีหนา ก็ยังกันคนโกงไม่ได้ ผมว่าปัญหาแบบนี้มันจะต้องค่อย ๆ แก้กันไปให้มีการเรียนรู้กันไป ซึ่งผมมองว่าประเทศเราก็เดินหน้ามาเรื่อย ๆ นะ อย่างน้อยตอนหลังมานี้เราได้เห็นการแข่งขันกันด้านนโยบายมากขึ้น และมันทำให้คนได้เรียนรู้ว่านโยบายแบบไหนทีที่มันไม่ยั่งยืนและสร้างความเสียหาย อย่างเช่นนโยบายจำนำข้าวนี่ผมเชื่อว่าชาวนาหลายคนก็ได้เรียนรู้แล้วและเขาไม่น่าจะเลือกเพื่อไทยเข้ามาอีก
สุดท้ายผมก็อยากบอกว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มาถึงขนาดนี้แล้วควรจะเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าสุดท้ายมันจะเป็นโมฆะหรือไม่ อยากขออย่างเดียวว่าไม่ว่าจะคิดเห็นต่างกันอย่างไรก็อย่าไปละเมิดสิทธิของคนอื่น ผมเชื่อว่าเงินสามพันล้านที่เราใช้ลงไปกับการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ จะให้อะไรกลับมาครับนั่นคือมันจะเป็นตัวแสดงความเห็นของคนทั้งประเทศ
วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557
รายการความเห็นทางการเมืองของตัวเอง
ผ่านปีใหม่มากว่าครึ่งเดือนแล้วเวลาเร็วจริง ๆ ครับ แต่การประท้วงในประเทศเราก็ยังดำเนินต่อไป โดยยังไม่รู้ว่ามันจะไปจบลงยังไง วันนี้ก็เลยอยากลิสต์รายการความเห็นทางการเมืองของตัวเองออกมาสักหน่อยครับ จะได้เข้าใจตัวเองด้วยว่าตัวเองคิดอย่างไรกันแน่ เพราะทุกวันนี้ดูช่องดาวเทียมมาก ๆ เข้ามันชักจะเพี้ยนวันไหนดูบลูสกายมากไปหน่อยก็ดูจะกลายร่างเป็นสาวกลุงกำนันออกมาร้องเพลงสู้ต่อไปอย่าได้ถอย ... หรือวันไหนดู Asia Update มาก ๆ เข้าก็เกือบจะวิ่งไปหาเสื้อแดงมาใส่ และการทำรายการความเห็นนี้ก็เผื่อจะทำให้ได้เข้าใจกันว่าในประเทศนี้มันไม่ได้มีแต่คนรู้ทันและขับไล่ทักษิณกับคนที่เป็นเป็นพวกทักษิณเท่านั้น จะตรงใจใครไม่ตรงใจใครยังไงก็ขอโทษด้วยนะครับ
- ไม่ชอบทักษิณ ไม่ชอบประชาธิปัตย์ ไม่เหลือง ไม่แดง ไม่ขาว ไม่หลากสี แต่ชอบทำอะไรที่มันอยู่ในหลักการ มีความชัดเจนและถูกกฏหมาย
- ไม่ชอบละเมิดสิทธิใครและไม่ชอบถูกละเมิดสิทธิ
- ไม่ใช่คนดีเลิศเลอ แต่ก็คิดว่าตัวเองไม่ใช่คนเลว เพราะแค่ไม่ออกมาร่วมประท้วง
- ไม่เห็นด้วยกับพรบ.นิรโทษกรรมไม่ยอมให้มีการโกงและได้ลงชื่อคัดค้านแล้ว และก็รู้สึกพอใจที่รัฐบาลยุบสภาและคืนอำนาจมาให้ประชาชน ตอนแรกตั้งใจว่าจะยอมเลือกประชาธิปัตย์ เพื่อลงโทษเพื่อไทย แต่ตอนนี้เมื่อประชาธิปัตย์ไม่ลง ก็กำลังมองดูพรรคอื่นอยู่ หรือไม่ก็โหวตโน
- เห็นว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรม
- นายกยิ่งลักษณ์ และคนตระกูลชินวัตรควรวางมือจากการเมืองไปก่อน ไม่น่าลงสมัครเลือกตั้งครั้งนี้ เพื่อแสดงความจริงใจในการปฏิรูป และแสดงว่าเสียใจต่อสิ่งที่ได้กระทำไป
- หนึงคนหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่ากัน
- การที่คนเรามีเสรีภาพไม่ได้หมายความว่าจะทำอะไรก็ได้โดยผิดกฏหมาย และไม่เคารพสิทธิของคนอื่น จริง ๆ เราทุกคนถูกจำกัดเสรีภาพอยู่แล้วนะครับ นั่นคือกฏหมาย
- ไม่ว่าอะไรที่จะช่วยชาวนา หรือเกษตรกร แต่เห็นว่าควรจะช่วยเขาในด้านอื่นเช่นลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อให้ชาวนาสามารถต่อรองกับพ่อค้าข้าวได้ หรือจัดให้มีบริษัทรับประกันมารับประกันความเสียหายของผลผลิต โดยรัฐบาลช่วยออกค่าเบี้ยประกัยให้เป็นต้น
- ไม่ชอบวิธีการจัดการโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ปล่อยให้มีการโกง ทำให้ตลาดข้าวเสียหาย และดีใจที่ปปช.กำลังดำเนินการเรื่องนี้ ตรงนี้อยากให้ผู้ที่ประท้วงเห็นว่ามันมีวิธีการตามกฏหมายที่จัดการกับคนโกงได้ แต่มันอาจต้องใช้เวลาหน่อย
- ไม่ศรัทธาศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ มีความเห็นว่าตัดสินไม่มีหลักการ มีอคติ และไม่มีวิสัยทัศน์
- เห็นด้วยกับการปฏิรูปโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่แก้กฏหมายให้ลงโทษประหารกับคนโกง และคดีเกี่ยวกับการโกงไม่มีหมดอายุ
- ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมยืดเยื้อของ กกปส. เพราะเห็นว่าเป็นการทำที่ผิดหลักกฏหมาย การที่เราจะจัดการคนทำผิดกฏหมายตัวเราไม่ควรทำผิดกฏหมาย เมื่อมันมีช่องทางตามกฏหมายให้ทำได้
- เข้าใจว่าผู้ที่ออกมาร่วมชุมนุมกับกกปส.ส่วนใหญ่เป็นคนที่หวังดีและรักชาติ แต่คนที่ไม่ได้ออกมาไม่ได้หมายความว่าเขาไม่รักชาติ แต่เขาคิดต่างกับผู้ชุมนุมกกปส. การที่คนเหล่านี้ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกปปส. และต้องการไปเลือกตั้งคนเหล่านี่กลายเป็นคนโง่และไม่รักชาติหรือ
- ไม่ชอบที่เอาคนต่างชาติมาอ้างบอกว่าดูสิคนต่างชาติยังออกมาทำไมคนไทยไม่ออกมาไม่รักชาติหรือ แต่ไปต่อว่าคนต่างชาติที่แสดงความไม่เห็นด้วย
- ไม่ต้องการถูกปิดตาเดินไปโดยแค่มีคนมาบอกว่าไปเส้นทางนี้เถอะเดี๋ยวดีเอง โดยคนที่มาบอกก็ไม่มีความชัดเจนว่าเส้นทางที่จะไปเป็นยังไง ซึ่งแปลกใจมากที่มีอาจารย์นักวิจัยมากมายที่เห็นด้วยกับวิธีการนี้ ตัวผู้เขียนเป็นอาจารย์ที่ควบคุมงานวิจัย ถ้ามีลูกศิษย์มาเสนอว่าจะทำวิจัยเราจะต้องชัดเจนเรื่องระเบียบวิธีวิจัยก่อนนะครับ
- ไม่เห็นด้วยกับกปปส.เพราะไม่มีความชัดเจนใด ๆ จะปฏิรูปอะไรบ้าง และจะทำยังไงถ้าต้องมีการแก้กฏหมายแต่ไม่มีสภานิติบัญญัติ และไม่มีอะไรมารับประกันว่ามันจะแก้ปัญหาได้จริง ดูอย่างการรัฐประหารหรือการต่อสู้ของประชาชนที่ผ่านมาก็ได้ เราร่างรัฐธรรมนูญมากี่ฉบับแล้ว แต่ละฉบับก็ร่างขึ้นมาเพื่อที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการรัฐประหารในแต่ละครั้งใช่ไหม แล้วผลเป็นยังไงมันแก้ปัญหาได้ไหม คนร่างก็พวกนักวิชาการนักฏหมายนี่แหละ ชาวบ้านรากหญ้าไม่ได้มาร่างด้วย รัฐธรรมนูญ 50 ที่ว่าดีนักดีหนา ถึงขั้นจะแก้อะไรก็แก้แทบจะไม่ได้ แต่ตอนนี้มาบอกว่ามันไม่ดี เพราะมันไม่สามารถป้องกันทักษิณให้กลับเข้ามามีอำนาจได้ ส่วนตัวเห็นว่าถ้าจะแก้รัฐธรรมนูญจริง มาแก้ในส่วนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากขึ้นดีกว่า และการแก้นี้ก็จะต้องใช้สภานิติบัญญัติ ซึ่งต้องมาจากการเลือกตั้ง
- อยากให้กฏหมายเขียนให้มันชัดเจน จะได้ไม่ต้องมานั่งตีความกันไปคนละทางสองทาง
- การมาประท้วงยืดเยื้อแบบนี้ คนที่เสียประโยชน์และน่าสงสารมากในตอนนี้คือชาวนา เพราะรัฐไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ที่จะนำเงินมาให้ชาวนา จริงอยู่อันนี้มันเป็นการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาลเองก็จริง แต่ชาวนาก็ไม่ควรได้รับผลกระทบ รัฐบาลที่จะตั้งมาโดยกกปส. จะเป็นรัฐบาลรักษาการเหมือนอย่างนี้หรือเปล่า ถ้าใช่จะมีอำนาจในการอนุมัติเงินหรือหาเงินมาให้ชาวนาไหม และเคยคิดเคยประเมินไหมว่าตอนนี้เศรษฐกิจของประเทศเสียไปแค่ไหน
- เห็นว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้ก็อาจมีปัญหา แต่มันก็ดีกว่ามาประท้วงกันอยู่อย่างนี้ มันเป็นทางที่ให้ประชาชนได้แสดงความเห็นของตัวเอง และเป็นการวัดความเห็นของประชาชนได้ดีที่สุด แทนที่จะรณรงค์ให้คนออกมาประท้วงบนท้องถนน ถ้ามองว่ามีคนเห็นด้วยกับกกปส. มาก จริง ๆ ทำไมไม่รณรงค์กันไม่ให้เลือกเพื่อไทย รณรงค์ให้โหวตโนก็ได้ อย่างน้อยถ้าคะแนนโหวตโนมากกว่าเพื่อไทย ก็น่าจะทำให้พรรคนี้อ้างไม่ได้อีกแล้วว่าเป็นฉันทามติ และเป็นการบอกเพื่อไทยว่าถ้ายังทำอย่างนี้อีก ให้ระวังพลังของมวลมหาประชาชนที่แท้จริง
- เห็นว่ารัฐบาลใหม่ที่จะมาจากการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ (ถ้ามี) ควรจะเน้นที่การปฏิรูปและใช้เวลาไม่เกินหนึ่งปี จากนั้นยุบสภาและเลือกตั้งใหม่
- ไม่เชื่อว่าการซื้อเสียงการทุจริตเลือกตั้งจะเป็นสาเหตุให้เพื่อไทยชนะและประชาธิปัตย์แพ้
- ไม่ชอบการใช้ถ้อยคำแสดงความเกลียดชังต่อกัน ด่าคนที่เราไม่ชอบด้วยถ้อยคำหยาบคาย และเหยียดหยามทางเพศ เราต้องการให้สิ่งนี้กลายเป็นสิ่งปกติของลูกหลานของเราต่อไปหรือ
- ไม่ชอบการเหยียดหรือจัดกลุ่มคนโดยใช้ถ้อยคำที่เหยียดหยามเช่น สลิ่มเหลือง ควายแดง แดงแอ๊บขาว โลกสวย เป็นต้น
- ไม่เห็นด้วยที่จะนำในหลวงมาอ้างให้การชุมนุมของตัวเองดูดี แล้วผลักให้อีกพวกหนึ่งกลายเป็นคนไม่จงรักภักดี
- อยากได้รถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง (โดยไม่ต้องรอให้ประเทศไม่มีถนนลูกรังก่อน เพราะตายไปแล้วอาจยังเป็นไปไม่ได้) เพราะเป็นสิ่งจำเป็นกับการพัฒนาประเทศ เรื่องต้องเป็นหนี้ไม่กลัว แต่ขอให้เงินที่กู้มาถูกใช้ลงไปในโครงการจริง ๆ ไม่มีใครอยากเป็นหนี้หรอกแต่ถ้าเป็นหนี้แล้วมันทำให้ประเทศก้าวหน้าก็ต้องทำ อยากจะบอกว่าตอนสมัยเด็ก ๆ ก็เรียนมาว่าประเทศเราก็เป็นหนี้มากมาย ครูที่สอนวิชาสังคมก็พูดเป็นเชิงประชดประชันขำ ๆ ว่าเป็นหนี้ก็ดีนะไม่ต้องห่วงว่าประเทศที่เป็นเจ้าหนี้เขาจะปล่อยให้ประเทศเราล้ม เพราะว่าเขากลัวจะเสียเงินที่เขาให้เรากู้มา ถึงตอนนี้ผมยังไม่ตายเลย เข้าใจว่าหนี้ก้อนนั้นเราใช้หมดแล้ว และเพราะหนี้ก้อนนั้นก็ทำให้ประเทศเราเจริญมาจนถึงวันนี้ อยากเห็นนโยบายของคนที่ออกมาค้านว่าจะสร้างโครงสร้างพิ้นฐานเหล่านี้ได้อย่างไรโดยไม่ต้องเป็นหนี้ หรือเป็นหนี้น้อยกว่านี้
- ไม่อยากเห็นความรุนแรง หรือมีใครที่ต้องมาตายเพิ่มขึ้นอีกแล้ว
- อยากให้คนไทยอยู่ร่วมกันได้แม้มีความเห็นต่างกันเหมือนในสมัยก่อน ซึ่งถึงแม้จะเลือกจะเชียร์คนละพรรคก็ยังพูดคุยกันได้ ไม่เหมือนทุกวันนี้ที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่คุยกัน หรือต้องดูก่อนว่าคนที่เราคุยด้วยนี่เชียร์ข้างไหน
- ไม่ชอบการทำงานของกสทช.ชุดนี้ โดยเฉพาะส่วนโทรคมนาคม (อันนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองแต่อยากเขียน :))
- สุดท้ายแล้วดีกว่าแค่นี้ก็พอแล้ว 30 ข้อแล้ว อยากให้มีการทำประชามติถามความเห็นของคนทั้งประเทศว่าจะเอาแนวทางของกกปส.หรือไม่ ถ้าคนส่วนใหญ่บอกว่าเอา ริวจะไม่พูด เอ๊ยไม่ใช่ จะไม่บ่น จะทำอะไรก็เชิญ และจะช่วยภาวนาให้สิ่งที่ทำประสบความสำเร็จ...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)