ในขณะที่บ้านเราโทษโพลเรื่องการเลือกตั้ง ในอเมริกาเขาคิดว่า Google อาจมีส่วนครับ Google ตกเป็นประเด็นเพราะเป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลใหญ่ที่สุดในอเมริกา (หรืออาจจะในโลก) ตามข่าวบอกว่ามีคนที่คิดว่าผลการสืบค้นที่ได้จาก Google ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งอาจมีผลกับผู้สมัครบางราย เขายกตัวอย่างเช่นอดีตประธานาธิบดี George W. Bush ก็จะมีคำว่า ผู้แพ้ที่น่าสังเวช (miserable failure) ติดอยู่กับชื่อเวลาสืบค้น ซึ่งตรงนี้ใครที่ทำการตลาดบน Search Engine คงทราบนะครับว่ามันมีการปรับแต่งเพื่อหลอก Search Engine โดยคนที่รู้หลักได้ แต่ Google ก็บอกว่าได้แก้ปัญหาการทำแบบนี้ไปแล้ว แต่ก็ยังมีคนสงสัยอยู่ดีว่าแล้วถ้ามันไม่ได้เกิดจากการทำจากคนนอกล่ะ แต่เป็นการทำจากภายใน เช่น Google อาจจะมีการปรับแต่งขั้นตอนวิธีการค้นหาเพื่อให้คุณให้โทษกับผู้สมัครรายใดก็ได้ เฮ้ออ่านแล้วก็รู้สึกว่าตอนนี้โลกเราซึ่งเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารนี่ชักอยู่ยากขึ้นทุกวันนะครับ ในขณะที่เรากำลังส่งเสริมให้คนหาข้อมูลข่าวสารก่อนตัดสินใจ แต่ในข่าวนี้มีคำหนึ่งที่สะดุดใจผมมากครับนั่นคือผู้ที่ชนะการเลือกตั้งมักจะได้มาจากคะแนนของผู้ลงคะแนนที่รับรู้ข่าวสารน้อย
ที่มา: Washington Post
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Politics แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Politics แสดงบทความทั้งหมด
วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
อำนาจอยู่ในมือเราแล้วไปเลือกตั้งกันครับ
สวัสดีครับผมไม่ได้เขียนบล็อกมาซะนาน วันนี้ขอเขียนหน่อยเพราะอยากจะร่วมรณรงค์ให้ออกไปเลือกตั้งกันวันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค. นี้ครับ จริง ๆ ผมก็ไม่ได้คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมาเปลี่ยนแปลงประเทศของเราให้มันดีขึ้นมาได้ทันตาเห็นหรอกนะครับ เพราะนักการเมืองที่ลงเลือกตั้งก็หน้าเดิม ๆ มีแนวคิดแบบเดิม ๆ ที่บอกว่าจะปรองดองกันก็ทำได้แต่ปากพูด เพราะเท่าที่เห็นหาเสียงกันอยู่ตอนนี้ก็มีแต่สาดโคลนใส่กัน เอาเรื่องที่ยังไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริงกล่าวหากันไปมา ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งสั่งฆ่าคน อีกฝ่ายก็กล่าวหาว่าอีกฝ่ายเผาบ้านเผาเมืองทั้งที่ความจริงเป็นอย่างไรก็ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ชัดเจน ทำกันแบบนี้ประเทศชาติคงจะสงบได้หรอกเพราะประชาชนที่สนับสนุนแต่ละฝ่ายก็ออกมาตอบโต้กันไปมาสนับสนุนฝ่ายที่ตัวเชียร์อยู่ เขียนมาถึงตรงนี้หลายคนอาจถามว่าถ้าอย่างนั้นเราจะไปเลือกตั้งกันทำไม คำตอบคือการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการแสดงพลังอำนาจของประชาชนอย่างพวกเราที่ถูกปล้นไปโดยผู้คนหลายกลุ่ม (ถ้าใครลืมไปแล้วเดี๋ยวผมจะทวนให้ฟังต่อไป) และหวังว่ามันจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ประเทศเรากลับมาสู่ระบบอีกครั้งถ้าทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งตามที่บอกไว้
คราวนี้ผมจะทวนให้ฟังครับว่าอำนาจของเราถูกใครปล้นไปบ้าง เริ่มจากกลุ่มแรกเลยครับก็คือกลุ่มคนที่ใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์กับทหารที่ทำปฏิวัติเมื่อปี 2549 จริง ๆ ผมเคยคิดนะครับว่าการปฏิวัติสมัย รสช. คงจะเป็นครั้งสุดท้ายของประเทศแล้วไม่คิดว่าจะได้เห็นอีก จริง ๆ กลุ่มคนที่ใช้เสื้อเหลืองนี่ผมก็ไม่อยากจะเหมารวมไปทุกคนนะครับ เอาเป็นว่าขอเน้นไปที่แกนนำแล้วกัน แกนนำยุยงปลุกปั่นด้วยเรื่องจริงบ้างไม่จริงบ้างให้ประชาชนออกมารวมตัวกัน จนทหารมีข้ออ้างออกมาปฏิวัติ ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นเรากำลังจะมีการเลือกตั้งกันอยู่แล้ว ซึ่งคนเสื้อเหลืองและทหารไม่แน่ใจว่าถ้าปล่อยให้มีการเลือกตั้งแล้วพรรคที่ตัวเองต้องการจะได้มาบริหารประเทศหรือไม่ และที่น่าเศร้าที่สุดก็คือหลังจากการปฏิวัติแล้วก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ปัญหาที่มีอยู่ที่เป็นสาเหตุของการปฏิวัติก็ไม่ได้รับการแก้ไข สิ่งที่การปฏิวัติทิ้งไว้ให้เราคือความแตกแยก และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนยอมรับเพราะมีการลงมติ แต่การลงมติที่ว่านั้นอยู่ในบรรยากาศที่ว่าให้รับ ๆ ไปก่อนเพราะถ้าไม่รับคณะปฏิวัตินี้ก็จะยังคงปกครองประเทศเราอยู่ต่อไป และสุดท้ายเมื่อมีการเลือกตั้งพรรคการเมืองที่ทั้งเสื้อเหลืองและทหารไม่อยากให้เข้ามาก็ชนะได้เข้ามาอยู่ดี
แต่เอาล่ะครับอย่างน้อยการเลือกตั้งครั้งนั้นก็ทำให้เราได้อำนาจคืนมาบ้าง แต่ก็ได้มาไม่นานส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาไม่รู้จักหลาบจำ ไปทำเรื่องที่เป็นเหตุให้คนเสื้อเหลืองหาเหตุระดมคนออกมาชุมนุมอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์บางอย่างที่ผมคิดว่าถ้าประเทศเราอยู่ในสถานการณ์ปกติมันไม่น่าจะเกิดขึ้น เช่นการที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยต้องถูกปลดเพราะไปออกรายการทำกับข้าว พอเปลี่ยนนายกมาเป็นอีกคนหนึ่งก็ยังไม่ถูกใจคนเสื้อเหลือง ก็เลยทำการชุมนุมเลยเถิดสร้างความเดือดร้อนไปทั่วไปยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นแรมเดือน จนถึงขั้นไปทำนากันอยู่ในนั้น และยังไปยึดสนามบินนานาชาติ ทำเอาเศรษฐกิจของชาติเสียหายไปมากมาย และที่น่าโมโหสำหรับผมก็คือคนเสื้อเหลืองอ้างอีกว่านี่คื่อเสียงของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งไม่มีที่มาที่ไปเพราะคนเสื้อเหลืองไม่ได้รับการเลือกตั้งมา ส่วนทหารก็ให้ความร่วมมือด้วยการอยู่เฉย ๆ ไม่่ิออกมาทำอะไรทั้งที่รัฐบาลมอบหมายหน้าที่ให้ แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ต้องจากไปแต่ไม่ใช่เพราะคนเสืิ้อเหลืองแต่เป็นเพราะสาเหตุอื่น นั่นคือการถูกยุบพรรคของแกนนำรัฐบาล
คราวนี้การเมืองก็พลิกขั้วมาเป็นอีกฝ่ายหนึ่งได้เข้ามาเป็นรัฐบาล ซึ่งโดยส่วนตัวผมก็พอจะทำใจรับได้ (ถึงแม้มันจะดูไม่โปร่งใสอยู่บ้าง) เพราะอย่างน้อยคนเหล่านั้นก็ยังได้รับเลือกตั้งเข้ามา เรียกว่ายังอยู่ในระบบ แต่อำนาจของเรากลับถูกโขมยไปอีกจากคนอีกกลุ่มหนึ่ง (ขอเน้นที่แกนนำเช่นกัน) ที่ใช้เสื้อสีแดง คนกลุ่มนี้ที่เคยด่าเสื้อเหลืองไว้ว่าทำอะไรไม่คิดทำให้ประเทศชาติเสียหายก็ทำซะเอง เริ่มตั้งแต่ไม่ได้สนใจว่าตัวเราเองเป็นเจ้าบ้านจัดการประชุมสำคัญระดับนานาชาติ ไปประท้วงจนเกิดความวุ่นวายจนแขกบ้านแขกเมืองต้องหนีขึ้นเรือออกไปกลางทะเลเพื่อไปขึ้นเครื่องบินกลับบ้านเป็นภาพที่อเนจอนาถเหลือเกิน หลังจากนั้นรัฐบาลใหม่ก็ไม่ได้ทำอะไรให้ดีขึ้น ความพยายามที่จะลดความขัดแย้งก็ทำอย่างไม่จริงใจ จนในที่สุดคนกลุ่มนี้ก็กลับมาอีกครั้ง และก็ประท้วงมาเลยเถิดไปยึดแยกราชประสงค์จนเกิดความเสียหายไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไร และในที่สุดมันก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดจนเป็นปัญหากันอยู่ตอนนี้ และเหมือนเดิมคนกลุ่มนี้ก็อ้างว่านี่คือความต้องการของคนส่วนใหญ่ของประเทศ นี่มันโขมยอำนาจของเราไปชัด ๆ นะครับ คนสองกลุ่มนี้เราไม่ได้เลือกเข้ามา (ถึงแม้ในแต่ละกลุ่มอาจมีส.ส.อยู่แต่ก็มีไม่กี่คน)
ทั้งหมดก็คือการสรุปคร่าว ๆ ของกลุ่มคนที่มาเอาอำนาจที่อยู่ในมือเราออกไป ดังนั้นการเลือกตั้งครั้งนี้อำนาจได้กลับมาอยู่ในมือเราแล้ว ขอให้เราออกไปแสดงให้เขาเห็นครับว่าเราต้องการให้ประเทศเป็นไปอย่างไร ถึงแม้เราจะได้นักการเมืองหน้าเดิม ๆ กลับเข้ามา แต่ก็หวังว่าเขาจะทำตัวดีขึ้นและเราก็ติดตาม ถ้าเขายังทำตัวไม่ดีเราก็ใช้ช่องทางตามที่กฏหมายกำหนดเช่นการเข้าชื่อหรืออะไรก็ว่าไป ซึ่งฝ่ายค้านน่าจะมาชี้นำประชาชนในจุดนี้มากกว่าที่จะไปสนับสนุนคนที่ออกมาเคลื่อนไหวเข้าข้างฝ่ายตัวเองบนถนน (หวังว่าจะไม่มีอีก) และถ้ายังทำอะไรไม่ได้จริง ๆ (ผมคิดว่าถ้ามันแย่จริง ๆ หรือมีหลักฐานชัดมันน่าจะทำได้) เราก็รอให้ครบเทอมครับจนอำนาจกลับมาอยู่ในมือเราอีกครั้ง ทหารควรจะเอาคำว่าปฏิวัติทิ้งไปได้แล้ว ให้ระบบมันดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง และผมเชื่ออย่างที่ผมเคยเขียนไปแล้วว่าถ้าเรายอมอยู่ในระบบจนคนดีมีความสามารถเขามีความมั่นใจเขาก็จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของบ้านเมืองครับ
สุดท้ายผมอยากบอกว่าประเทศเราโชคดีที่ยังไม่เป็นอย่างลิเบีย ซึ่งผมคิดว่าคนที่ออกมาประท้วงรัฐบาลตอนแรกอาจจะไม่ได้คิดว่าเหตุการณ์มันจะบานปลายมาถึงขนาดนี้ ถ้าเขารู้เขาอาจจะไม่ทำ ดังนั้นพวกเราโชคดีครับที่ยังมีโอกาส ออกไปเลือกตั้งกันครับและยอมรับผลการเลือกตั้ง ติดตามดูผลงานของคนที่เราเลือกและไม่ได้เลือกเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งหน้า และขอฝากนักการเมืองทั้งหลายให้เปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำงานโดยคิดถึงประเทศชาติเป็นหลัก เลิกสร้างความขัดแย้ง ทำงานให้สมกับที่ประชาชนไว้ใจเลือกเข้ามาเป็นตัวแทน ผมว่าถ้าเป็นได้อย่างนี้ประเทศเราจะเดินไปข้างหน้าได้โดยเริ่มจากการเลือกตั้งครั้งนี้ครับ
วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เรากลับมาอยู่ในระบบกันดีไหม
สวัสดีครับ คงยังไม่สายไปที่จะกล่าวคำว่า Merry X'Mas ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับชาวพุทธอย่างที่คนไทยส่วนใหญ่เป็นกัน แต่เราชาวไทยทั้งหลายก็พร้อมที่จะร่วมฉลองกับทุกเทศกาลอยู่แล้ว ซึ่งผมมองว่านี่เป็นจุดที่น่ารักอีกประการหนึ่งของคนไทยเราครับ และก็ทำให้เราไม่เกิดสงครามศาสนาเหมือนกับประเทศอื่น ๆ แต่สิ่งที่ผมอยากจะเขียนวันนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องคริสต์มาสนะครับ แต่อยากจะพูดถึงเรื่องที่หลัง ๆ นี้ผมว่าพวกเราหลายคนอาจจะลืม ๆ ไป หรือชินกับมันไปแล้วนั่นคือการที่เรายอมละเมิดกฏหรือระบบเพื่อให้ได้ตามที่ใจเราต้องการ
จริง ๆ ผมมีความคิดที่จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้นานแล้ว แต่ก็ตัดสินใจไม่เขียนเพราะบอกตรง ๆ ว่าไม่อยากจะพูดเรื่องการเมืองมากนัก ผมเคยเขียนบล็อกว่าพวกเสื้อเหลืองที่มาชุมนุมปิดสนามบิน และว่าพวกเสื้อแดงที่มาชุมนุมจนการประชุมอาเซ็มล่ม ซึ่งในบล็อกที่เขียนว่าเสื้อเหลืองก็มีคนคิดว่าผมเป็นเสื้อแดง พอเขียนว่าเสื้อแดงผมก็กลายเป็นเสื้อเหลือง ซึ่งจริง ๆ ผมไม่ใช่สีไหนทั้งสิ้นผมเป็นคนไทยที่ไม่มีสี และจริง ๆ คนไทยก็ไม่เคยมีสี จนมาถึงยุคนี้แหละครับที่พวกเราถูกคนที่ต้องการอำนาจพยายามใช้เราเป็นเครื่องมือและแบ่งแยกคนไทยออกจากกัน และกลายเป็นว่าคุณต้องเป็นสีใดสีหนึ่งถ้าคุณบอกว่าคุณไม่เป็นสีใดนั่นคือคุณแอ๊บ ดังนั้นผมเลยตัดสินใจว่าไม่เขียนดีกว่า
พอเกิดเหตุการณ์โจ๊ก-จิ๊บไผ่เขียวที่ไปยิงน้องโตมี่ และในที่สุดก็นำไปสู่การวิสามัญฆาตกรรมโจ๊ก (ทำไมต้องชื่อโจ๊กด้วยนะ ทำเสียคนชื่อโจ๊กหมด) ผมเลยคิดว่าน่าจะต้องเขียนถึงเสียหน่อย ผมต้องบอกก่อนนะครับว่าผมก็มีความเห็นเหมือนกับพวกเราหลายคนคือคนอย่างพี่น้องสองคนนี้ไม่สมควรที่จะมีชีวิตอยู่เพือมาก่อกรรมทำชั่วกับใคร ๆ อีก ยิ่งฟังการให้สัมภาษณ์ของพ่อของทั้งสองคนแล้ว ก็ทำให้เห็นเลยว่าทำไมสองคนนี้ถึงได้ชั่วขนาดนี้ แต่สิ่งที่ผมอยากจะสะกิดเตือนพวกเราในวันนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับการวิสามัญฆาตกรรมนี่แหละครับ ผมจะไม่เขียนเรื่องว่าตำรวจทำถูกหรือไม่ถูกนะครับ เพราะผมไม่เคยดูวีดีโอที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน หรือถึงจะดูก็อาจจะไม่สามารถวิจารณ์ได้อยู่ดี
สิ่งที่ผมอยากจะพูดก็คือกระแสสังคมที่เหมือนจะสนับสนุนการทำวิสามัญฆาตกรรมของตำรวจ ซึ่งผมมองว่านี่คือสิ่งที่น่ากลัวครับ เพราะผมมองว่ามันคือการทำลายระบบยุติธรรมของไทย มันเหมือนกับว่าเราพร้อมที่จะสนับสนุนการทำผิดถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราถูกใจ จริง ๆ แล้วกระบวนการยุติธรรมมันมีบทบาทเฉพาะของมันอยู่แล้ว ตำรวจมีหน้าที่จับกุมถ้าคนร้ายต่อสู้ก็สามารถป้องกันตัวเองได้ แต่ตำรวจไม่มีอำนาจไปตัดสินว่าคนร้ายสมควรที่จะต้องตาย การตัดสินเป็นอำนาจของศาล
ในทำนองเดียวกันกับการชุมนุมของกลุ่ม พธม. (เสื้อเหลือง) ซึ่งทั้งปิดถนน เข้าไปยึดทำเนียบ และปิดสนามบิน แต่พวกเราหลายคนก็พร้อมที่จะปิดหูปิดตาและบอกว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะคนเหล่านี้มาชุมนุมขับไล่คนที่เราไม่ชอบ เวลาทหารอกมาปฏิวัติถ้าเขาปฏิวัติเอาคนที่เราไม่ชอบออกไป เราก็เอาดอกไม้ไปให้ทหาร ขอบคุณทหารที่ออกมาปฏิวัติ ทั้ง ๆ ที่มันเป็นการทำลายระบบ พวกสื่อและนักวิชาการก็ช่วยให้การชุมนุมที่จริง ๆ นั้นผิดให้กลับกลายเป็นถูก มีการประดิษฐ์ถ้อยคำเช่น "ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง" หรือคำประเภท "สิทธิของเสียงส่วนน้อย" ซึ่งในความเห็นผมผมก็เห็นด้วย แต่มันต้องมีการเติมให้สมบูรณ์ครับ เช่นประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่คุณต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง และคอยติดตามดูผลงานของคนที่คุณเลือกหรือไม่ได้เลือกเข้าไป ถ้าเขาทุจริตหรือคดโกงคุณก็ต้องใช้ช่องทางตามที่กฏหมายเปิดช่องไว้ เช่นการเข้าชื่อถอดถอน ยื่นฟ้องต่อองค์กรอิสระ หรือก็อาจต้องอดทนรอการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งอำนาจจะกลับมาอยู่ในมือเราอีกครั้ง ถ้าเราเป็นเสียงส่วนน้อยเรามีสิทธิที่จะพูดแสดงความคิดเห็น และโน้มน้าวให้คนอื่น ๆ เห็นด้วยกับเราจนเรากลายเป็นเสียงข้างมาก แต่ถ้ามันไม่สำเร็จเราก็ต้องยอมตามเสียงข้างมาก นั่นคือระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้าเราคิดว่าสิ่งที่เสียงส่วนใหญ่นั้นผิดและจะเป็นภัยร้ายแรง เราก็ต้องมาใช้สิทธิของเราในด้านอื่นตามช่องทางที่กฏหมายกำหนด
หลายคนอาจจะบอกว่าเลือกตั้งใหม่ก็ได้คนเดิมอยู่ดี เพราะเสียงคุณสู้ไม่ได้ (จนกลายไปเป็นไปดูถูกหรือด่าคนอื่นว่าโง่กว่าตัวเอง) แต่นี่คือระบอบประชาธิปไตยครับ อย่างที่บอกไปแล้วว่าคุณต้องโน้มน้าวหรือทำให้คนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับคุณ คุณอาจจะคุยกับเพื่อน ๆ คุณบอกว่าควรเลือกพรรคนี้หรือพรรคนั้นเพราะอะไร ส่วนนักการเมืองก็ควรจะนำเสนอนโยบาย และถ้าแพ้ก็ควรจะมาพิจารณาตัวเองว่ายังมีจุดบกพร่องอะไร ไม่ใช่พอแพ้เลือกตั้งมาก็พูดอยู่คำเดียวเป็นคาถาว่าแพ้เพราะอีกฝ่ายซื้อเสียงโดยไม่ได้มองตัวเองเลย แล้วก็เล่นเกมการเมืองไปเรื่อยโดยไม่คิดว่าที่จะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีโดยเอาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นหลัก
พูดมาถึงตรงนี้หลายคนก็บอกว่าก็นี่ไงเพราะคุณภาพของนักการเมืองบ้านเรามันเป็นอย่างนี้ก็เลยต้องใช้วิธีนอกระบบ แต่ผมกลับมองว่าถ้าเรารักษาระบบไว้คือไม่ว่านักการเมืองจะแย่ยังไง เราก็จะใช้วิธีที่อยู่ในระบบจัดการกับเขา ไม่มีการมาปิดสนามบินหรือยึดย่านเศรษฐกิจขับไล่ และไม่มีการปฏิวัติ ก็จะทำให้คนดี ๆ กล้าที่จะเข้ามาทำงานมากขึ้น เพราะเขารู้ว่าจะไม่มีการใช้วิธีการนอกระบบมาจัดการกับเขา เพราะแม้แต่คนชั่ว ๆ เรายังอดทนที่จะอยู่ในระบบได้ ซึ่งผมคิดว่าสักวันวันนั้นจะมาถึงถ้าเราปล่อยให้ทุกอย่างมันเป็นไปตามกลไกการทำงานของระบบ ไม่ไปหยุดมันกลางทางอย่างทีทำกันอยู่ในปัจจุบัน
แต่แน่นอนครับเมื่อระบบมันเสียไปจากการที่พวกเรายอมรับสิ่งที่ผิดถ้ามันตรงใจ จากเสื้อเหลืองมันก็เลยเกิดเสื้อแดง ก็ต้องบอกอีกครั้งว่าไม่ได้เห็นด้วยเลยกับการที่เสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกับเสื้อเหลือง เพราะตอนเสื้อเหลืองทำผิดกฏหมายบ้านเมืองพวกเสื้อแดงก็ด่าเสร็จแล้วก็มาทำเสียเอง ผมว่าไอ้คนที่ด่าเขาแล้วตัวเองมาทำเองนี่แย่กว่าอีกนะ คือรู้ว่าอะไรผิดแล้วยังทำ ผมเบื่อจริง ๆ กับคำว่าเขาทำผิดได้เราก็ต้องทำได้ จริง ๆ มันควรจะเป็นว่าเขาทำผิดเราจะไม่ทำผิดเหมือนเขาถึงจะถูก จริง ๆ ถ้าอยากชุมนุมก็ทำเหมือนที่เคยทำมาก่อนหน้าคือชุมนุมโดยสงบตามสนามกีฬาที่ไม่เดือดร้อนใคร ชี้ให้เห็นการทำงานที่ผิดพลาดหรือสองมาตรฐานอะไรก็ตาม ซึ่งผมว่าถ้าคุณทำอย่างนี้นี่แหละจะเป็นการโน้มน้าวให้คนที่มีใจเป็นกลางให้เห็นด้วยกับคุณ และขณะที่กำลังเขียนบล็อกนี้อยู่ก็มีข่าวแฟนบอลลงมาทำร้ายกรรมการในการแข่งขันระหว่างศรีสะเกษกับนครปฐม นี่ก็คือตัวอย่างของการทำนอกระบบ
ท้ายนี้ผมก็อยากจะฝากให้พวกเราทุกฝ่ายคิดและยอมรับระบบ อะไรที่คิดว่าไม่ยุติธรรมก็ให้แก้ไขอยู่ในขอบเขตของระบบ และต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงไม่อาจเกิดขึ้นได้ในข้ามวัน ขอให้มีความอดทนอดกลั้นเพื่อให้ประเทศเราได้เดินหน้าไปอย่างปกติเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาครับ
จริง ๆ ผมมีความคิดที่จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้นานแล้ว แต่ก็ตัดสินใจไม่เขียนเพราะบอกตรง ๆ ว่าไม่อยากจะพูดเรื่องการเมืองมากนัก ผมเคยเขียนบล็อกว่าพวกเสื้อเหลืองที่มาชุมนุมปิดสนามบิน และว่าพวกเสื้อแดงที่มาชุมนุมจนการประชุมอาเซ็มล่ม ซึ่งในบล็อกที่เขียนว่าเสื้อเหลืองก็มีคนคิดว่าผมเป็นเสื้อแดง พอเขียนว่าเสื้อแดงผมก็กลายเป็นเสื้อเหลือง ซึ่งจริง ๆ ผมไม่ใช่สีไหนทั้งสิ้นผมเป็นคนไทยที่ไม่มีสี และจริง ๆ คนไทยก็ไม่เคยมีสี จนมาถึงยุคนี้แหละครับที่พวกเราถูกคนที่ต้องการอำนาจพยายามใช้เราเป็นเครื่องมือและแบ่งแยกคนไทยออกจากกัน และกลายเป็นว่าคุณต้องเป็นสีใดสีหนึ่งถ้าคุณบอกว่าคุณไม่เป็นสีใดนั่นคือคุณแอ๊บ ดังนั้นผมเลยตัดสินใจว่าไม่เขียนดีกว่า
พอเกิดเหตุการณ์โจ๊ก-จิ๊บไผ่เขียวที่ไปยิงน้องโตมี่ และในที่สุดก็นำไปสู่การวิสามัญฆาตกรรมโจ๊ก (ทำไมต้องชื่อโจ๊กด้วยนะ ทำเสียคนชื่อโจ๊กหมด) ผมเลยคิดว่าน่าจะต้องเขียนถึงเสียหน่อย ผมต้องบอกก่อนนะครับว่าผมก็มีความเห็นเหมือนกับพวกเราหลายคนคือคนอย่างพี่น้องสองคนนี้ไม่สมควรที่จะมีชีวิตอยู่เพือมาก่อกรรมทำชั่วกับใคร ๆ อีก ยิ่งฟังการให้สัมภาษณ์ของพ่อของทั้งสองคนแล้ว ก็ทำให้เห็นเลยว่าทำไมสองคนนี้ถึงได้ชั่วขนาดนี้ แต่สิ่งที่ผมอยากจะสะกิดเตือนพวกเราในวันนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับการวิสามัญฆาตกรรมนี่แหละครับ ผมจะไม่เขียนเรื่องว่าตำรวจทำถูกหรือไม่ถูกนะครับ เพราะผมไม่เคยดูวีดีโอที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน หรือถึงจะดูก็อาจจะไม่สามารถวิจารณ์ได้อยู่ดี
สิ่งที่ผมอยากจะพูดก็คือกระแสสังคมที่เหมือนจะสนับสนุนการทำวิสามัญฆาตกรรมของตำรวจ ซึ่งผมมองว่านี่คือสิ่งที่น่ากลัวครับ เพราะผมมองว่ามันคือการทำลายระบบยุติธรรมของไทย มันเหมือนกับว่าเราพร้อมที่จะสนับสนุนการทำผิดถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราถูกใจ จริง ๆ แล้วกระบวนการยุติธรรมมันมีบทบาทเฉพาะของมันอยู่แล้ว ตำรวจมีหน้าที่จับกุมถ้าคนร้ายต่อสู้ก็สามารถป้องกันตัวเองได้ แต่ตำรวจไม่มีอำนาจไปตัดสินว่าคนร้ายสมควรที่จะต้องตาย การตัดสินเป็นอำนาจของศาล
ในทำนองเดียวกันกับการชุมนุมของกลุ่ม พธม. (เสื้อเหลือง) ซึ่งทั้งปิดถนน เข้าไปยึดทำเนียบ และปิดสนามบิน แต่พวกเราหลายคนก็พร้อมที่จะปิดหูปิดตาและบอกว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะคนเหล่านี้มาชุมนุมขับไล่คนที่เราไม่ชอบ เวลาทหารอกมาปฏิวัติถ้าเขาปฏิวัติเอาคนที่เราไม่ชอบออกไป เราก็เอาดอกไม้ไปให้ทหาร ขอบคุณทหารที่ออกมาปฏิวัติ ทั้ง ๆ ที่มันเป็นการทำลายระบบ พวกสื่อและนักวิชาการก็ช่วยให้การชุมนุมที่จริง ๆ นั้นผิดให้กลับกลายเป็นถูก มีการประดิษฐ์ถ้อยคำเช่น "ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง" หรือคำประเภท "สิทธิของเสียงส่วนน้อย" ซึ่งในความเห็นผมผมก็เห็นด้วย แต่มันต้องมีการเติมให้สมบูรณ์ครับ เช่นประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่คุณต้องยอมรับผลการเลือกตั้ง และคอยติดตามดูผลงานของคนที่คุณเลือกหรือไม่ได้เลือกเข้าไป ถ้าเขาทุจริตหรือคดโกงคุณก็ต้องใช้ช่องทางตามที่กฏหมายเปิดช่องไว้ เช่นการเข้าชื่อถอดถอน ยื่นฟ้องต่อองค์กรอิสระ หรือก็อาจต้องอดทนรอการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งอำนาจจะกลับมาอยู่ในมือเราอีกครั้ง ถ้าเราเป็นเสียงส่วนน้อยเรามีสิทธิที่จะพูดแสดงความคิดเห็น และโน้มน้าวให้คนอื่น ๆ เห็นด้วยกับเราจนเรากลายเป็นเสียงข้างมาก แต่ถ้ามันไม่สำเร็จเราก็ต้องยอมตามเสียงข้างมาก นั่นคือระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้าเราคิดว่าสิ่งที่เสียงส่วนใหญ่นั้นผิดและจะเป็นภัยร้ายแรง เราก็ต้องมาใช้สิทธิของเราในด้านอื่นตามช่องทางที่กฏหมายกำหนด
หลายคนอาจจะบอกว่าเลือกตั้งใหม่ก็ได้คนเดิมอยู่ดี เพราะเสียงคุณสู้ไม่ได้ (จนกลายไปเป็นไปดูถูกหรือด่าคนอื่นว่าโง่กว่าตัวเอง) แต่นี่คือระบอบประชาธิปไตยครับ อย่างที่บอกไปแล้วว่าคุณต้องโน้มน้าวหรือทำให้คนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับคุณ คุณอาจจะคุยกับเพื่อน ๆ คุณบอกว่าควรเลือกพรรคนี้หรือพรรคนั้นเพราะอะไร ส่วนนักการเมืองก็ควรจะนำเสนอนโยบาย และถ้าแพ้ก็ควรจะมาพิจารณาตัวเองว่ายังมีจุดบกพร่องอะไร ไม่ใช่พอแพ้เลือกตั้งมาก็พูดอยู่คำเดียวเป็นคาถาว่าแพ้เพราะอีกฝ่ายซื้อเสียงโดยไม่ได้มองตัวเองเลย แล้วก็เล่นเกมการเมืองไปเรื่อยโดยไม่คิดว่าที่จะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีโดยเอาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นหลัก
พูดมาถึงตรงนี้หลายคนก็บอกว่าก็นี่ไงเพราะคุณภาพของนักการเมืองบ้านเรามันเป็นอย่างนี้ก็เลยต้องใช้วิธีนอกระบบ แต่ผมกลับมองว่าถ้าเรารักษาระบบไว้คือไม่ว่านักการเมืองจะแย่ยังไง เราก็จะใช้วิธีที่อยู่ในระบบจัดการกับเขา ไม่มีการมาปิดสนามบินหรือยึดย่านเศรษฐกิจขับไล่ และไม่มีการปฏิวัติ ก็จะทำให้คนดี ๆ กล้าที่จะเข้ามาทำงานมากขึ้น เพราะเขารู้ว่าจะไม่มีการใช้วิธีการนอกระบบมาจัดการกับเขา เพราะแม้แต่คนชั่ว ๆ เรายังอดทนที่จะอยู่ในระบบได้ ซึ่งผมคิดว่าสักวันวันนั้นจะมาถึงถ้าเราปล่อยให้ทุกอย่างมันเป็นไปตามกลไกการทำงานของระบบ ไม่ไปหยุดมันกลางทางอย่างทีทำกันอยู่ในปัจจุบัน
แต่แน่นอนครับเมื่อระบบมันเสียไปจากการที่พวกเรายอมรับสิ่งที่ผิดถ้ามันตรงใจ จากเสื้อเหลืองมันก็เลยเกิดเสื้อแดง ก็ต้องบอกอีกครั้งว่าไม่ได้เห็นด้วยเลยกับการที่เสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกับเสื้อเหลือง เพราะตอนเสื้อเหลืองทำผิดกฏหมายบ้านเมืองพวกเสื้อแดงก็ด่าเสร็จแล้วก็มาทำเสียเอง ผมว่าไอ้คนที่ด่าเขาแล้วตัวเองมาทำเองนี่แย่กว่าอีกนะ คือรู้ว่าอะไรผิดแล้วยังทำ ผมเบื่อจริง ๆ กับคำว่าเขาทำผิดได้เราก็ต้องทำได้ จริง ๆ มันควรจะเป็นว่าเขาทำผิดเราจะไม่ทำผิดเหมือนเขาถึงจะถูก จริง ๆ ถ้าอยากชุมนุมก็ทำเหมือนที่เคยทำมาก่อนหน้าคือชุมนุมโดยสงบตามสนามกีฬาที่ไม่เดือดร้อนใคร ชี้ให้เห็นการทำงานที่ผิดพลาดหรือสองมาตรฐานอะไรก็ตาม ซึ่งผมว่าถ้าคุณทำอย่างนี้นี่แหละจะเป็นการโน้มน้าวให้คนที่มีใจเป็นกลางให้เห็นด้วยกับคุณ และขณะที่กำลังเขียนบล็อกนี้อยู่ก็มีข่าวแฟนบอลลงมาทำร้ายกรรมการในการแข่งขันระหว่างศรีสะเกษกับนครปฐม นี่ก็คือตัวอย่างของการทำนอกระบบ
ท้ายนี้ผมก็อยากจะฝากให้พวกเราทุกฝ่ายคิดและยอมรับระบบ อะไรที่คิดว่าไม่ยุติธรรมก็ให้แก้ไขอยู่ในขอบเขตของระบบ และต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงไม่อาจเกิดขึ้นได้ในข้ามวัน ขอให้มีความอดทนอดกลั้นเพื่อให้ประเทศเราได้เดินหน้าไปอย่างปกติเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาครับ
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
แนะนำฟอรัมเกี่ยวกับการเมืองให้อ่านกันครับ
สวัสดีครับสำหรับวันนี้ผมจะมาคุยเรื่องการเมืองครับ แต่เนื้อหานั้นจะไม่ได้มาจากที่ผมเขียนครับแต่มาจากฟอรัมในบล็อกนัน ผมคิดว่าพวกเราหลายคนก็คงเข้าไปอ่านข่าวไอทีจากบล็อกนันกันเป็นประจำอยู่แล้ว ผมก็ใช่ครับแต่วันนี้บังเอิญได้ไปอ่านฟอรัมในบล็อกนันในหัวข้อจริยธรรมนัการเมืองโกง,คนเล่นบล็อกนันใช้ของเถื่อน? ซึ่งตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะมีอะไรน่าสนใจมากมาย แต่ปรากฏว่าในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าว มีมุมมองที่น่าสนใจอยู่มากครับทั้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ และแตกประเด็นไปถึงเรื่องระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งผมอยากให้ได้เข้าไปอ่านกันครับเพราะผมเชื่อว่าจะเปิดมุมมองของเราให้กว้างขึ้นได้อย่างมากมายครับ การอ่านความเห็นของคนที่ถกกันด้วยเหตุผลและหลักการผมว่ามันดีกว่าเข้าไปเว็บไซต์ที่เลือกข้างไว้แล้ว และพยายามปั่นหัวหรือยัดเยียดมุมมองด้านเดียวให้กับเรานะครับ เชิญชวนให้อ่านกันครับแต่แนะนำว่าควรจะต้องมีเวลาว่างพอสมควรนะครับ บางทีอาจต้องใช้เวลาอ่านมากกว่าหนึ่งวันครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)