วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2564

เครือข่ายเรียนรู้เชิงลึกชอบเสียงคนมากกว่า

 

ภาพจาก Columbia Engineering

Hod Lipson และ Boyuan Chen จาก Columbia University สาธิตให้เห็นว่าระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ตั้งโปรแกรมด้วยไฟล์เสียงภาษามนุษย์สามารถทำงานได้ดีกว่าระบบที่เข้ารหัสด้วยป้ายกำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลข  วิศวกรได้สร้างเครือข่ายประสาทเทียมสองเครือข่าย และฝึกให้พวกมันจดจำวัตถุ 10 ประเภทในชุดภาพถ่าย 50,000 ภาพ ระบบหนึ่งได้รับการฝึกฝนด้วยอินพุตไบนารี ในขณะที่อีกระบบหนึ่งได้รับการป้อนตารางข้อมูลที่มีรูปถ่ายของสัตว์หรือสิ่งของพร้อมไฟล์เสียงที่สอดคล้องกันของเสียงของมนุษย์ที่พูดชื่อสัตว์หรือสิ่งของ นักวิจัยจากโคลัมเบียพบว่าเมื่อนำเสนอด้วยภาพเครือข่ายโปรแกรมไบนารีจะตอบด้วย 1 และ 0 ในขณะที่อีกเครือข่ายหนึ่งจะพูดชื่อของวัตถุจากภาพ เมื่อทดสอบด้วยภาพที่ไม่ชัดเจนพบว่าเครือข่ายที่ฝึกด้วยเสียงมีความแม่นยำ 50% ในขณะที่เครือข่ายที่ฝึกด้วยตัวเลขมีความแม่นยำเพียง 20%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Columbia Engineering

วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2564

เครื่องมือ AI สามารถช่วยตรวจหาเนื้องอกได้

ภาพจาก MIT News

นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้ออกแบบระบบปัญญาประดิษฐ์ที่วิเคราะห์ภาพแบบ wide-field ของผิวของผู้ป่วยเพื่อตรวจหามะเร็งผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กระบวนการนี้ใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบ deep convolutional (DCNNs) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบุ และการจำแนกประเภทของสีของรอยโรคที่น่าสงสัย ( suspicious pigmented lesions) หรือ SPL ในภาพแบบ wide-field นักวิจัยของ MIT ได้ฝึกฝนระบบโดยใช้ภาพแบบ wide-field 20,388 ภาพจากผู้ป่วย 133 คนที่ Hospital Gregorio Marañón ในสเปน รวมถึงภาพที่เผยแพร่ต่อสาธารณะด้วย แพทย์ผิวหนังจำแนกรอยโรคด้วยสายตาจากภาพเพื่อเปรียบเทียบ โดยระบบมีความไวมากกว่า 90.3% ในการแยกความแตกต่างของ SPL จากแผลที่ไม่น่าสงสัย ผิวหนัง และพื้นหลัง (ของภาพ) ทีมีความซับซ้อน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News

วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2564

Rice กับ Intel ฝึกฝน AI แบบเหมาะสมที่สุดสำหรับฮาร์ดแวร์ของสินค้าโภคภัณฑ์

ภาพจาก Rice University

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของ Rice University และผู้ร่วมงานจาก Intel ได้สาธิตซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ที่ทำงานบนโปรเซสเซอร์ของสินค้าโภคภัณฑ์ และฝึกเครือข่ายประสาทเทียมเชิงลึก (deep neural network)  หรือ DNN ได้เร็วกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้หน่วยประมวลผลกราฟิก  หรือ GPU อย่างมีนัยสำคัญ Anshumali Shrivastava ของ Rice กล่าวว่าค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม DNN ถือเป็นปัญหาคอขวดที่ใหญ่ที่สุดใน AI และ sub-linear deep learning engine (SLIDE) ซึ่งทีมได้พัฒนาขึ้นเอาชนะมันได้ด้วยการทำงานบนซีพียูของสินค้าโภคภัณฑ์ และด้วยมองว่าการฝึก DNN เป็นปัญหาการสืบค้นโดยใช้ตารางแฮช   (hash table) งานวิจัยล่าสุดได้พิจารณาถึงผลกระทบของ vectorization และตัวเร่งการเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยความจำที่มีต่อ CPU Shrivastava กล่าวว่า "เราใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านั้นเพื่อใช้ SLIDE ให้ดียิ่งขึ้นไปอีกโดยแสดงให้เห็นว่าถ้าเราแก้ไขการคูณเมทริกซ์ไม่ได้ เรายังสามารถใช้ประโยชน์จากพลังในซีพียูสมัยใหม่ และฝึกโมเดล AI ได้เร็วกว่าฮาร์ดแวร์เฉพาะทางที่ดีที่สุดถึง 4 ถึง 15 เท่า"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Rice University News


วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564

ภาษาโปรแกรมรุ่นเก๋าจู่ ๆ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง

TIOBE Index April 2021

ดัชนี Tiobe Programming Community ล่าสุด แสดงให้เห็นว่า Objective-C หลุดจากรายการภาษาโปรแกรมยอดนิยม 20 อันดับแรก ในขณะที่ Fortran ขึ้นจากอันดับที่ 34 เป็นอันดับที่ 20 ในปีที่ผ่านมา Tiobe ตั้งสมมติฐานว่าที่ Objective-C ยังคงได้รับความนิยมส่วนหนึ่งเป็นเพราะการใช้ Swift ลดลง เนื่องจากนักพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือมุ่งเน้นไปที่ภาษาที่สามารถใช้ในการสร้างแอปที่ทำงานได้บนหลายแพลตฟอร์ม ตัว Swift เองก็ตกลงไปที่อันดับ 15 จากที่เคยอยู่อันดับ 11 เมื่อเมษายนปี 2020 Fortran ซึ่งถูกเผยแพร่โดย IBM ในปี 1950 ยังคงเป็นภาษายอดนิยมในแวดวงการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ Tiobe บอกว่า "Fortran เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมเชิงพาณิชย์จริง ๆ ตัวแรก  และกำลังได้รับความนิยมเนื่องจากความต้องการคำนวณที่ต้องใช้ตัวเลขมาก ๆ   [ทางวิทยาศาสตร์]"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2564

ทำไมคำตัดสินของศาลสูงที่ให้ Google ชนะ Oracle จึงเป็นชัยชนะของนวัตกรรม

Tom Carnegie on Unsplash

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (5 เมษายน) ศาลสูงสหรัฐได้ยุติการต่อสู้ทางกฎหมายที่ยาวนานกว่าทศวรรษในการตัดสินว่า Google ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของ Oracle ที่เกี่ยวข้องกับภาษาโปรแกรม Java การตัดสินจะเกี่ยวข้องกับการใช้  API (Application Program Interface) ซึ่งทำให้ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ของบริษัทต่าง ๆ สามารถติดต่อกันได้  Microsoft, Red Hat ของ IBM และ Mozilla เป็นส่วนหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่อาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่อาจถูกขัดขวางหากความต้องการของ Oracle ได้รับการอนุมัติ  Stan Adams จาก Center for Democracy and Technology  "ผลการตัดสินครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะครั้งใหญ่สำหรับนักพัฒนาและผู้บริโภค เมื่อซอฟต์แวร์ทำงานร่วมกันได้ซึ่งหมายถึงหมายความว่าซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งสามารถพูดคุยกับซอฟต์แวร์อีกตัวหนึ่ง มันก็ง่ายที่จะสร้างนวัตกรรมและสร้างบริการใหม่ ๆ "

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Fortune

เพิ่มเติมเสริมข่าว: ถ้าใครอยากรู้ที่มาที่ไป และความสำคัญของชัยชนะด้าน API นี้ สามารถย้อนไปอ่านข่าวที่ผมเขียนไว้เมื่อต้นปี 2563 ได้ครับ