ปัจจุบันมีผู้ช่วยเสมือนที่เราใช้ ๆ กันอยู่หลัก ๆ ก็คือ Alexa (ของอะแมซอน) Google Assistant และ Siri ซึ่งบริษัทที่อยู่เบื้องหลังของผู้ช่วยเสมือนเหล่านี้ ก็จะแอบเก็บข้อมูลที่เราพูดจาโต้ตอบกับผู้ช่วยเหล่านี้นำไปใช้ประโยชน์ นักวิจัยจาก University of Waterloo พบว่าตอนนี้มีแนวโน้มที่คนเราจะเชื่อถือและเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวกับผู้ช่วยเสมือนเหล่านี้มากขึ้น เพราะผู้ใช้เริ่มสร้างอวตาร (Avatar) ของผู้ช่วยเหล่านี้ขึ้น เช่นอายุประมาณเท่าไร หน้าตา และทรงผมเป็นยังไง เป็นต้น โดยนักวิจัยบอกว่าการที่คนเรามีภาพที่เป็นตัวตนกับผู้ช่วยเหล่านี้ แทนที่ึคิดว่ามันเป็นเพียงแค่เทคโนโลยี คือสาเหตุให้เราเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวจากการพูดคุยกับผู้ช่วยเหล่านี้ (ซึ่งแน่นอนบริษัทที่อยู่เบื่องหลังพวกมันก็จะได้ข้อมูลไปด้วย) โดยจากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมวิจัย 20 คน ชาย 10 หญิง 10 พบว่าบุคลิกของผู้ช่วยแต่ละตัวสรุปได้ดัวนี้ Siri ออกจะไม่ตรงไปตรงมา และดูเจ้าเล่ห์นิด ๆ Alexa จะจริงใจ และห่วงใยมากกว่า ในส่วนของรูปลักษณ์ Alexa จะเตี้ยกว่าอีกสองตัวนิดหน่อย แต่งตัวด้วยชุดลำลอง หรือชุดทำงานแบบลำลอง สีเข้ม หรือสีพื้น ๆ ถ้าอยากเห็นภาพของผู้ช่วยทั้งสามคลิกเข้าไปดูในข่าวเต็มได้เลยนะครับ
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Waterloo News
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
คำโบราณที่ว่า อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน คงไม่พอแล้วนะครับ คงอาจต้องเปลี่ยนเป็น
อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน อย่าหลงกลผู้ช่วยเสมือน
วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563
คอมพิวเตอร์ที่สร้างจาก DNA สามารถหารากที่สองของ 900 ได้แล้ว
นักวิจัยจาก University of Rochester ในรัฐนิวยอร์ก สร้างคอมพิวเตอร์จากสาย DNA ในหลอดทดลอง ซึ่งสามารถคำนวณหารากที่สองของ 900 ได้ โดยคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสร้างจากสาย DNA 32 เส้น โดยมันสามารถคำนวณหารากที่สองของเลขที่เกิดจากการยกกำลังสองตั้งแต่ 1,4,9, 16... ไปเรื่อย ๆ จนถึง 900 นักวิจัยที่ทำเรื่องนี้บอกว่าในตอนนี้คอมพิวเตอร์ที่สร้างจาก DNA ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นแต่เขาคิดว่าคอมพิวเตอร์แบบนี้สามารถที่จะแก้ปัญหาที่ยากมาก ๆ หรืออาจแก้ปัญหาที่อาจแก้ไม่ได้โดยคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซิลิกอนแบบที่ใช้ในปัจจุบันได้
อ่านข่าวเต็มได้ที: NewScientist
เพิ่มเติมเสริมข่าว
ข้อที่นักวิจัยมองว่าเป็นข้อดีของ DNA Computer ก็คือ การที่สามารถเพิ่มจำนวน DNA เข้าไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวณได้ง่ายกว่าการเพิ่มจำนวนหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซิลิกอนแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
อ่านข่าวเต็มได้ที: NewScientist
เพิ่มเติมเสริมข่าว
ข้อที่นักวิจัยมองว่าเป็นข้อดีของ DNA Computer ก็คือ การที่สามารถเพิ่มจำนวน DNA เข้าไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวณได้ง่ายกว่าการเพิ่มจำนวนหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซิลิกอนแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563
นักวิจัยสร้างตัวแบบทำนายสถานะทางการเงินได้แม่นยำกว่านักวิเคราะห์
นักวิจัยจาก MIT สร้างตัวแบบ (model) สำหรับทำนายสถานะทางการเงินของธุรกิจ ได้แม่นยำกว่านักวิเคราะห์ที่เป็นคนใน Wallstreet ยิ่งไปกว่านั้นยังใช้ข้อมูลที่นำมาใช้ทำนายน้อยกว่า โดยข้อมูลที่นักวิเคราะห์เอามาทำนายจะใช้ข้อมูลทั้งที่เป็นสาธารณะและข้อมูลเฉพาะของบริษัท และข้อมูลจากตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) หลากหลายโมเดล แต่ตัวแบบที่นักวิจัยจาก MIT คิดขึ้นมานี้จะใช้ข้อมูลแค่รายการการใช้บัตรเครดิตในแต่ละอาทิตย์ และรายงานรายรับสามเดือนของบริษัทเท่านั้น นักวิจัยได้ใช้ตัวแบบนี้ทำนายรายรับรายไตรมาสของบริษัท 30 แห่ง ผลการประเมินพบว่าตัวแบบที่สร้างขึ้นสามารถทำนายได้ดีกว่านักวิเคราะห์ที่เป็นคน 57% ของการทำนายทั้งหมด
อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News
เพิ่มเติมเสริมข่าว
นักวิเคราะห์ธรรมดาก็จะถูก disrupt ไป แต่คนที่สร้างโมเดลได้ก็จะยังอยู่ต่อไปครับ
อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News
เพิ่มเติมเสริมข่าว
นักวิเคราะห์ธรรมดาก็จะถูก disrupt ไป แต่คนที่สร้างโมเดลได้ก็จะยังอยู่ต่อไปครับ
วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2563
ควอนตัมบิตสามารถสื่อสารกันได้ไกลขึ้นแล้ว
นักวิจัยจาก Princeton University ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการส่งซิลิกอนควอนตัมบิต (quantum bit) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า คิวบิต (qbit) ได้ในระยะทางที่ไกลขึ้น โดยระยะห่างระหว่างคิวบิตต่อคิวบิตคือ 0.5 เซ็นติเมตร ซึ่งงานวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาซิลิกอนควอนตัมไมโครชิปต่อไป
อ่านข่าวเต็มได้ที: Princeton University
เพิ่มเติมเสริมข่าว
บางคนอาจถามว่าแหม 0.5 เซ็นติเมตรนี้ไกลแล้วหรือ คือต้องเข้าใจนะครับว่าเรากำลังพูดถึงระยะทางในการสื่อสารระหว่างชิปต่อชิปในคอมพิวเตอร์ ก็เหมือนกับเราพูดถึงเวลาในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หน่วยที่เราใช้ก็ไม่ใช่วินาที แต่เป็นมิลลิวินาที่ (1/1000) วินาที นั่นเองครับ
อ่านข่าวเต็มได้ที: Princeton University
เพิ่มเติมเสริมข่าว
บางคนอาจถามว่าแหม 0.5 เซ็นติเมตรนี้ไกลแล้วหรือ คือต้องเข้าใจนะครับว่าเรากำลังพูดถึงระยะทางในการสื่อสารระหว่างชิปต่อชิปในคอมพิวเตอร์ ก็เหมือนกับเราพูดถึงเวลาในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หน่วยที่เราใช้ก็ไม่ใช่วินาที แต่เป็นมิลลิวินาที่ (1/1000) วินาที นั่นเองครับ
วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2563
เมือสถานศึกษาเปลี่ยนสมาร์ตโฟนเป็นเครื่องมือสอดแนม
ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่งในอเมริกาได้ใช้เทคโนโลยีในการติดตามนักศึกษาจากสมาร์ตโฟนที่พวกเขาใช้ โดยเชื่อมต่อสมาร์ตโฟนของพวกเขาเข้ากับไวไฟ (WiFi) หรือบลูทูช (Bluetooth) ของมหาวิทยาลัย หรือภายในชั้นเรียน ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากการทำแบบนี้ก็คือสามารถติดตามว่านักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนหรือไม่ สามารถประเมินสุขภาพจิตของนักศึกษา สถานศึกษาบางแห่งยังมีการคำนวณคะแนนความเสี่ยงว่านักศึกษาอาจมีผลการเรียนตก โดยดูจากจำนวนครั้งที่นักศึกษาเข้าห้องสมุด อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการหลายคนกังวลว่าการติดตามในลักษณะดังกล่าว จะทำให้นักศึกษาเติบโตมาโดยยอมรับการสอดแนมว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิต แต่เมื่อไปสอบถามนักศึกษาหลายคนก็บอกว่าไม่ได้รู้สึกกังวลอะไรกับเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวดังกล่าว แต่นักศึกษาและอาจารย์หลายคนก็บอกว่า จะให้ทำยังไงล่ะก็ต้องยอมรับมันไป เพราะเทคโนโลยีนี้มันก็มีอยูแทบจะทุกที่แล้ว
อาจารย์ท่านหนึ่งให้ความเห็นทิ้งท้ายกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า "สิ่งที่เรากำลังทำอยู่เป็นการเสริมความสร้างความรู้สึกของการไร้อำนาจที่จะขัดขืน (ให้กับนักเรียนนักศึกษา).... แต่คำถามที่ควรจะคิดกันจริงจังก็คือ ทำไมเราถึงสร้างสถาบันการศึกษาที่นักเรียนนักศึกษาไม่รู้สึกอยากจะมาเรียนขึ้นมาล่ะ"
“We’re reinforcing this sense of powerlessness … when we could be asking harder questions, like: Why are we creating institutions where students don’t want to show up?”
อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Washington Post
เพิ่มเติมเสริมข่าว
ในตอนนี้ยังไม่ได้ยินว่ามหาวิทยาลัยในไทยนำเทคโนโลยีแบบนี้มาใช้ แต่เอาจริง ๆ ตอนนี้เราก็เริ่มยอมรับมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตกันแล้วนะครับ อย่างกรณีแสดงความสนใจอะไร Facebook ก็ส่งโฆษณามาเลย นี่ก็แสดงถึงการสอดแนมแบบหนึ่ง และต่อไปการสอดแนมแบบนี้สักวันก็คงมาในระดับประชาชน ด้วย โดยเหตุผลก็คงเป็นเรื่องของการยกระดับคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศ ก็ได้แต่หวังว่าเราจะได้คนออกฎหมายที่เข้าใจ และออกกฎหมายมาเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และป้องกันคนไม่ดีเอาข้อมูลไปใช้เพื่อหาประโยชน์หรือคุคามฝ่ายตรงข้ามกับตัวเองก็แล้วกัน
อาจารย์ท่านหนึ่งให้ความเห็นทิ้งท้ายกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า "สิ่งที่เรากำลังทำอยู่เป็นการเสริมความสร้างความรู้สึกของการไร้อำนาจที่จะขัดขืน (ให้กับนักเรียนนักศึกษา).... แต่คำถามที่ควรจะคิดกันจริงจังก็คือ ทำไมเราถึงสร้างสถาบันการศึกษาที่นักเรียนนักศึกษาไม่รู้สึกอยากจะมาเรียนขึ้นมาล่ะ"
“We’re reinforcing this sense of powerlessness … when we could be asking harder questions, like: Why are we creating institutions where students don’t want to show up?”
อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Washington Post
เพิ่มเติมเสริมข่าว
ในตอนนี้ยังไม่ได้ยินว่ามหาวิทยาลัยในไทยนำเทคโนโลยีแบบนี้มาใช้ แต่เอาจริง ๆ ตอนนี้เราก็เริ่มยอมรับมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตกันแล้วนะครับ อย่างกรณีแสดงความสนใจอะไร Facebook ก็ส่งโฆษณามาเลย นี่ก็แสดงถึงการสอดแนมแบบหนึ่ง และต่อไปการสอดแนมแบบนี้สักวันก็คงมาในระดับประชาชน ด้วย โดยเหตุผลก็คงเป็นเรื่องของการยกระดับคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศ ก็ได้แต่หวังว่าเราจะได้คนออกฎหมายที่เข้าใจ และออกกฎหมายมาเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และป้องกันคนไม่ดีเอาข้อมูลไปใช้เพื่อหาประโยชน์หรือคุคามฝ่ายตรงข้ามกับตัวเองก็แล้วกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)