แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Suriveillance แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Suriveillance แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2563

เมือสถานศึกษาเปลี่ยนสมาร์ตโฟนเป็นเครื่องมือสอดแนม

ปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่งในอเมริกาได้ใช้เทคโนโลยีในการติดตามนักศึกษาจากสมาร์ตโฟนที่พวกเขาใช้ โดยเชื่อมต่อสมาร์ตโฟนของพวกเขาเข้ากับไวไฟ (WiFi) หรือบลูทูช (Bluetooth) ของมหาวิทยาลัย หรือภายในชั้นเรียน ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากการทำแบบนี้ก็คือสามารถติดตามว่านักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนหรือไม่ สามารถประเมินสุขภาพจิตของนักศึกษา สถานศึกษาบางแห่งยังมีการคำนวณคะแนนความเสี่ยงว่านักศึกษาอาจมีผลการเรียนตก โดยดูจากจำนวนครั้งที่นักศึกษาเข้าห้องสมุด  อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการหลายคนกังวลว่าการติดตามในลักษณะดังกล่าว จะทำให้นักศึกษาเติบโตมาโดยยอมรับการสอดแนมว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิต แต่เมื่อไปสอบถามนักศึกษาหลายคนก็บอกว่าไม่ได้รู้สึกกังวลอะไรกับเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวดังกล่าว แต่นักศึกษาและอาจารย์หลายคนก็บอกว่า จะให้ทำยังไงล่ะก็ต้องยอมรับมันไป เพราะเทคโนโลยีนี้มันก็มีอยูแทบจะทุกที่แล้ว

อาจารย์ท่านหนึ่งให้ความเห็นทิ้งท้ายกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า  "สิ่งที่เรากำลังทำอยู่เป็นการเสริมความสร้างความรู้สึกของการไร้อำนาจที่จะขัดขืน (ให้กับนักเรียนนักศึกษา).... แต่คำถามที่ควรจะคิดกันจริงจังก็คือ ทำไมเราถึงสร้างสถาบันการศึกษาที่นักเรียนนักศึกษาไม่รู้สึกอยากจะมาเรียนขึ้นมาล่ะ"

“We’re reinforcing this sense of powerlessness … when we could be asking harder questions, like: Why are we creating institutions where students don’t want to show up?”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Washington Post

เพิ่มเติมเสริมข่าว

ในตอนนี้ยังไม่ได้ยินว่ามหาวิทยาลัยในไทยนำเทคโนโลยีแบบนี้มาใช้ แต่เอาจริง ๆ ตอนนี้เราก็เริ่มยอมรับมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตกันแล้วนะครับ อย่างกรณีแสดงความสนใจอะไร Facebook ก็ส่งโฆษณามาเลย นี่ก็แสดงถึงการสอดแนมแบบหนึ่ง และต่อไปการสอดแนมแบบนี้สักวันก็คงมาในระดับประชาชน ด้วย โดยเหตุผลก็คงเป็นเรื่องของการยกระดับคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศ ก็ได้แต่หวังว่าเราจะได้คนออกฎหมายที่เข้าใจ และออกกฎหมายมาเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ และป้องกันคนไม่ดีเอาข้อมูลไปใช้เพื่อหาประโยชน์หรือคุคามฝ่ายตรงข้ามกับตัวเองก็แล้วกัน