เคยรู้สึกไหมครับว่าหลาย ๆ ครั้งที่เราคุยกับใครแล้วก็มีความเห็นต่างกัน โดยอาจจะเป็นการวิจารณ์อะไรสักอย่างในมุมมองที่ต่างกัน สุดท้ายก็มักจะมีข้อความประเภทว่า ไปวิจารณ์เขาเราดีพร้อมแล้วหรือ หรือไปวิจารณ์เขาทำดีได้เท่าเขาหรือเปล่า ซึ่งถ้ามาถึงตรงนี้ผมก็มักจะเลิกคุย เพราะคุยไปก็ไม่มีประโยชน์ เสียอารมณ์กันเปล่า ๆ
ถ้าคนเราต้องดีให้ครบทุกด้าน แล้วถึงจะมีสิทธิวิจารณ์คนอื่นได้ โลกนี้คงไม่ต้องมีการวิจารณ์กัน อันนี้ไม่ได้หมายถึงว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเองนะ แต่หมายถึงคนทุกคนย่อมมีข้อบกพร่องอยู่ในตัวแทบทุกคน เช่นบางคนเป็นคนเคารพกฎหมาย แต่อาจจะหงุดหงิดง่าย ถ้าเขาจะวิจารณ์คนทำผิดกฎหมายก็ไม่น่าจะแปลก แต่ถ้าเขาไปวิจารณ์คนอื่นว่าหงุดหงิดง่ายจัง นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง และก็สมควรถูกว่ากลับว่าดูตัวเองหรือยัง
ถ้าคนเราจะวิจารณ์ใครแล้วจะต้องทำดีให้เท่าเขาให้ได้ก่อน โลกนี้คงไม่ต้องมีการวิจารณ์กันเช่นกัน การวิจารณ์นักฟุตบอลระดับพรีเมียร์ลีกสักคนหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเตะบอลให้เก่งระดับพรีเมียร์ลีก แต่การวิจารณ์เหล่านั้นมันจะอยู่บนมาตรฐานหรือสิ่งที่เราคาดหวังว่านักฟุตบอลระดับนั้นน่าจะทำได้ อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือคนที่ประเมินการสอนของอาจารย์ก็คือนักเรียน ถ้าอาจารย์คิดว่านักเรียนพวกนี้เป็นใครถึงมาวิจารณ์เรา มาสอนเองจะสอนได้ไหม มีความรู้เท่าเราไหม ก็คงไม่ต้องมีการประเมิน แต่ถ้าคิดว่าเขาประเมินเราด้วยระดับมาตรฐานที่เขาคิดว่าเราน่าจะทำได้ นั่นก็เป็นสิ่งที่เราควรจะต้องรับฟัง การวิจารณ์นักการเมือง ทหาร หัวหน้าคสช. หรือผู้บริหารบ้านเมือง โดยประชาชนก็เช่นกัน
อีกอย่างคงต้องแยกการวิจารณ์ออกจากการติเตียน (ด่า) ด้วย เพราะบางคนก็ขอให้ได้แย้ง ขอด่าเอามัน แต่การวิจารณ์ที่ดีก็คือการติเพื่อก่อ ชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง และอาจจะเสนอทางแก้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าเสนอได้ก็ดีมาก จริง ๆ การวิจารณ์บางอย่างมันก็บอกทางแก้อยู่ในตัวแล้ว เช่นถ้าบอกว่าแบบฟอร์มมันไม่เหมาะสม มีส่วนที่ให้ป้อนข้อมูลมากเกินไป ตรงนี้ตรงนั้นไม่น่ามี หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง วิจารณ์ว่าทำไมไม่ปลดล็อกพรรคการเมือง จะได้ไม่ต้องทำเรื่องขยายเวลาการทำงานพรรคการเมืองออกไป นั่นก็เสนอทางแก้ปัญหาแล้ว แต่ถ้าเสนอไม่ได้ เพราะปัญหาบางอย่างมันอาจเกินความสามารถของคนธรรมดาที่ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนั้นจะแก้ปัญหาได้ เพียงแต่เขาเห็นว่ามันเป็นปัญหา ก็เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบที่จะต้องรับฟังและหาทางแก้ หรือไม่ก็ชี้แจง แทนที่จะมาทำฟาดงวงฟาดงาหาว่าบิดเบือน หรือฟ้องเขาบ้าง อย่างที่คนบางคนชอบทำอยู่ในทุกวันนี้
การวิจารณ์อย่างเสรีและสร้างสรรค์เป็นปัจจัยหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสมควรจะเริ่มได้คืนมาก่อนที่เราจะได้เลือกตั้งกันนะ เอ๊ะผมพูดอะไรนี่ พวกเพลงดาบแม่น้ำห้าสายเขาประสานงานกันอย่างเป็นระบบที่จะทำให้การเลือกตั้งมันเลื่อนออกไปเรื่อย ๆ ดาบนี้ชง ดาบนี้รับลูก คนหนึ่งไม่ปลดล็อกพรรคการเมือง อีกคนทำเรื่องขยายเวลาอ้างความหวังดีกลัวพรรคการเมืองทำงานไม่ทัน ช่างเป็นกระบวนท่าที่สวยงามจริง ๆ อ้าวทำไมวกมาเรื่องนี้ล่ะนี่ พอก่อนแล้วกันนะครับ เดี๋ยวบล็อกจะปลิวไปซะ บล็อกต่อไปเขียนเรื่องเมย์-เจ ชวัญ-กอล์ฟท่านลอร์ด อะไรแบบนี้น่าจะถูกใจผู้มีอำนาจมากกว่า...
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ชีวิต แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ชีวิต แสดงบทความทั้งหมด
วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561
วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559
การสอบเข้ามหาวิทยาลัย การทดลองของผู้ใหญ่ที่ไม่เคยถามอะไรเด็ก
เริ่มเขียนเรื่องนี้มาหลายวันแล้วครับ แต่ไม่มีเวลามาเขียนจนเสร็จ จนกระแสเริ่มซาไปแล้ว แต่คิดว่ายังไงก็ยังอยากเขียน ก็คือเรื่องระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ (อีกแล้ว) ที่มีแนวโน้มว่าจะบังคับใช้ปีการศึกษา 2561 นี่แหละครับ
หลังจากรวบรวมเสียงของเด็กเกี่ยวกับแนวคิดจะเปลี่ยนระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ในบล็อกที่แล้ว วันนี้ก็ขอแสดงความเห็นของตัวเองบ้างนะครับ สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าแนวคิดนี้คืออะไร ถ้าคลิกดูที่บล็อกที่แล้วของผมก็จะเห็น หรือจะลองอ่านดูจากลิงก์นี้ได้ครับ http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/638816 ซึ่งผมแนะนำว่าถ้าใครเข้าไปอ่านลิงก์นี้แล้ว ขอให้อ่านให้จบนะครับ เพราะมันมีอะไรที่ผมอยากจะมาพูดถึงในบล็อกของผมด้วย
ก่อนที่จะพูดถึงแนวคิดใหม่นี้ เรามาทำความเข้าใจระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันกันก่อนแล้วกันนะครับ เพราะจริง ๆ ผมเชื่อว่าคนที่เป็นพ่อแม่ที่มีลูกเข้ามหาวิทยาลัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ น่าจะเป็นคนยุคที่สมัยตัวเองการสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีการสอบเอ็นทรานซ์เพียงครั้งเดียว แล้วก็นั่งลุ้นว่าคะแนนจะติดไหม แต่ระบบใหม่ที่เด็กใช้กันมาตลอดหลายปีนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยเหตุผลของผู้ใหญ่ที่มองเห็นว่า ระบบเอ็นทรานซ์แบบดั้งเดิมทำให้เด็กเครียด ไม่มีโอกาสแก้ตัว และทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในห้อง มุ่งหน้าไปกวดวิชาเพื่อเอนทรานซ์อย่างเดียว (ซึ่งระบบใหม่ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะแก้ปัญหาได้ โรงเรียนกวดวิชาเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด) จากตอนนั้นถึงตอนนี่ต้องบอกว่าระบบมีการปรับเปลี่ยนแทบทุกปี จนดูเหมือนจะเริ่มลงตัวมาในช่วงสองสามปีหลัง ดังนั้นผมจะขอสรุประบบล่าสุดที่ใช้กันอยู่ให้ฟังก่อนนะครับ บอกตามตรงผมก็เพิ่งจะมาเข้าใจระบบนี้จริง ๆ เมื่อปีที่แล้วนี้เอง เพราะลูกคนโตต้องสอบเข้า
สำหรับระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงจะใช้กับนักเรียนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2560 ก็เป็นดังนี้ครับ นักเรียนจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ตามช่องทางนี้ครับ
1. โควต้า มหาวิทยาลัยจะให้โควต้ากับนักเรียนซึ่งมีความสามารถพิเศษ อยู่ในภูมิภาคเดียวกับมหาวิทยาลัย หรืออยู่ในโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเป็นต้น ซึ่งโควต้าประเภทนี้อาจจะมีการสอบเองโดยมหาวิทยาลัย หรือจะใช้คะแนนสอบกลาง (จะกล่าวถึงต่อไป) มาประกอบบ้างก็ได้
2. รับตรง โดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะประกาศรับนักศึกษาด้วยตัวเอง ซึ่งการรับแบบนี้แหละครับ ที่ระบบที่นำมาใช้ใหม่เขาบอกว่ามันเป็นปัญหาที่เขาตั้งใจจะมาแก้ โดยระบบนี้มหาวิทยาลัยบางแห่งก็จะจัดสอบเอง หรือใช้คะแนนสอบกลาง โดยกำหนดเงื่อนไขขั้นต่ำในการรับ ถ้านักศึกษาไม่ผ่านเงื่อนไขขั้นต่ำ ก็ไม่สามารถสมัครได้ และถ้านักเรียนได้ในรอบนี้แล้ว ก็มักจะเรียกเก็บเงินค่ามัดจำล่วงหน้าไว้ก่อน เผื่อนักเรียนไปสมัครที่อื่น แล้วจะสละสิทธิ์ (คือมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะมีวันสอบหรือช่วงยื่นคะแนนและประกาศผลไม่ตรงกัน ดังนั้นใครประกาศรับก่อนก็จะเก็บเงินค่ามัดจำไว้ก่อน) ผมเล่ามาถึงตรงนี้คิดว่าคงเห็นปัญหาที่เขาพยายามจะแก้แล้วใช่ไหมครับ แต่จริง ๆ ระบบนี้มันก็มีข้อดีนะครับ ซึ่งผมจะพูดต่อไปทีหลัง ระบบรับตรงนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งจะเข้าร่วมสิ่งที่เรียกว่า Clearing House ก็คือถ้านักเรียนคนไหนที่ได้มหาวิทยาลัยในรอบนี้แล้ว จะไม่มีสิทธิ์ไปเข้าระบบแอดมิชชันกลาง (จะพูดถึงต่อไป) ด้วยการยืนยันสิทธิ์ เอาง่าย ๆ คือเขาจะไม่ให้เด็กที่มีที่เรียนแล้วไปกั๊กที่คนอื่นในรอบแอดมิดชันอีก ถ้าอยากไปแอดมิชชันก็ต้องสละสิทธิ์สิ่งที่ได้ในรอบรับตรง
3. แอดมิชชันกลาง อันนี้ก็เป็นระบบที่ใช้คะแนนสอบกลาง ให้นักเรียนเลือกมหาวิทยาลัย และคณะที่ต้องการได้ 4 อันดับ ถ้าคะแนนถึงอันดับไหนก็ได้อันดับนั้น ในระบบปัจจุบันการแอดมิชชันจะอยู่หลังจากรับตรง และเป็นความหวังเกือบสุดท้ายของเด็ก เพราะคู่แข่งก็จะน้อยลง เนื่องจากพวกที่รับตรงและยืนยันสิทธิ์ไปแล้ว จะไม่มาแข่งกับเขาอีก
4. รับตรงหลังแอดมิชชันกลาง อันนี้มหาวิทยาลัยบางแห่งจะเปิดรับอีกในกรณีได้นักศึกษาไม่ครบตามเป้าหมาย
5. การสอบ กสพท. อันนี้เป็นการสอบที่จัดให้นักศึกษาที่จะเข้าแพทย์ ทันตแพทย์ อะไรพวกนี้ เข้าใจว่าที่ต้องมาจัดสอบเองในสาขานี้ก็เพราะว่า มหาวิทยาลัยมองว่าข้อสอบกลางไม่สามารถคัดกรองคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมได้
คราวนี้มามองดูการสอบกลางบ้างว่านักเรียนต้องสอบอะไรบ้าง
1. GAT/PAT ซึ่ง GAT ก็เป็นการสอบความถนัดทางภาษา ทั้งไทยและอังกฤษ ส่วน PAT ก็คือการสอบความถนัดทางด้านต่าง ๆ เช่น PAT1 คือเลข PAT2 วิทยาศาสตร์ (รวมฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) และ PAT2 นี้นักเรียนที่อยู่สายศิลป์ก็เลือกสอบได้นะครับ แปลกดีเหมือนกัน PAT5 คือความถนัดด้านครูเป็นต้น ซึ่งจะต้องสอบ PAT อะไรบ้างนั้น แต่ละคณะในแต่ละมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนด นักเรียนจะต้องดูเงื่อนไขของคณะที่ต้องการเข้าเอาเองว่าต้องสอบอะไรบ้าง GAT/PAT จะสอบได้สองครั้ง ครั้งแรกจะประมาณ ปลายปี (ประมาณ ต.ค. - พ.ย.) คือยังเรียน ม.6 ไม่จบก็ต้องสอบแล้ว ครั้งที่สองจะประมาณเดือนมีนาคม หลังจากจบม. 6 แล้ว
2. 9 วิชาสามัญ ก็พวก เลข ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคม อะไรพวกนี้ ซึ่งนักเรียนก็ต้องดูว่าคณะที่ตัวเองต้องการเข้าเขาต้องการวิชาอะไรบ้าง อันนี้สอบประมาณ ธ.ค.
3. ONET อันนี้สอบหลังสุด และส่วนใหญ่จะใช้ตอนแอดมิชชันกลาง และที่เขาคิด ONET ขึ้นมาเพราะเขาบอกว่าจะให้นักเรียนตั้งใจเรียนในห้องเรียนมากขึ้น และทำให้เกรดที่ได้ของโรงเรียนมันเท่าเทียมกัน เพราะโรงเรียนมีคุณภาพไม่เท่ากัน บางโรงเรียนปล่อยเกรด อะไรแบบนี้ ONET จะนำไปถ่วงกับเกรดที่นักเรียนได้ ดังนั้นใครทำ ONET ได้น้อยก็จะทำให้เกรดที่ได้จากโรงเรียนลดลง และเขาค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักของการเข้ามหาวิทยาลัยด้วย ONET เพิ่มขึ้นทุกปี (แต่ได้ผลตามที่เขาคิดไหม ... ขอไม่พูดแล้วกัน)
เห็นนักเรียนต้องสอบแล้วเหนื่อยใช่ไหมครับ และถ้ามหาวิทยาลัยหรือคณะในบางมหาวิทยาลัยที่รับตรงแบบให้ไปสอบ อย่างคณะบริหารธุรกิจของธรรมศาสต์ในปีก่อนหน้าปีนี้ เขาก็จะมีการสอบที่เรียกว่า Smart-1 ซึ่งเปิดสอบทั้งปี ให้นักเรียนไปสอบเก็บคะแนนเพื่อนำไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัย หรือคณะอื่น ๆ ที่จัดสอบเองอีก ก็จะต้องเหนื่อยเข้าไปอีก ซึ่งระบบใหม่ส่วนหนึ่งนี้เขามุ่งจะแก้ปัญหานี้ เพื่อให้นักเรียนสอบน้อยลง ประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และเขายังมองถึงการลดความเหลื่อมล้ำด้วย คือเขามองว่าคนรวยก็มีสิทธิ์ที่จะได้สอบมากกว่าคนจนอะไรประมาณนี้
ก็คงพอเห็นภาพ และเห็นปัญหาที่เขาพยายามจะแก้แล้วนะครับ คราวนี้ผมจะขอแสดงความเห็นบ้าง แต่ก่อนจะแสดงความเห็นขอพูดสั้น ๆ ก่อนว่าสิ่งที่พวกเขาคิดขึ้นมามันเหมือนคิดอะไรไม่ค่อยจะสุด มีปัญหาให้ลองผิดลองถูกมาแทบจะตลอด คนที่รับผลก็คือนักเรียนนี่แหละ เพราะคิดปุ๊ปก็ทำปั๊ป พอเห็นว่ามีปัญหาก็เปลี่ยนใหม่ จะทำอะไรก็ไม่เคยถามความคิดของคนที่ต้องเป็นผู้ปฏิบัติ ไม่รู้คนพวกนี้ไม่มีลูกมีหลานที่ต้องสอบบ้างหรือยังไง
คราวนี้มาดูสิ่งที่เขาพยายามจะแก้ด้วยระบบใหม่นี้คือระบบรับตรง อันนี้เห็นด้วยว่าระบบรับตรง นักเรียนต้องสอบเยอะ ผู้ปกครองเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และมหาวิทยาลัยบางแห่งใช้ตรงนี้เป็นแหล่งหารายได้ทั้งค่าสอบและค่ามัดจำล่วงหน้า แต่ประเด็นหลังนี้ก็ต้องบอกว่าส่วนหนึ่งก็เพราะนโยบายที่จะให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบด้วยหรือเปล่า มหาวิทยาลัยหลายแห่งก็เลยหันมาหารายได้ด้วยวิธีนี้ ไม่ได้เห็นด้วยนะ แต่อยากให้คิดว่าเรื่องนี้มันก็เป็นปัญหา ส่วนเรื่องคนรวยได้สอบเยอะ ก็อยากให้คิดว่าคนที่ได้สอบเยอะก็ใช่ว่ามันจะสอบได้นะ คนที่ตั้งใจเรียนอาจสอบครั้งเดียวแล้วได้เลยก็ได้ และที่ต้องมองคือข้อดีอันหนึ่งของระบบรับตรงที่ผมมองเห็นคือ ระบบรับตรงจะทำให้มหาวิทยาลัยได้เด็กที่มีการเตรียมพร้อม (ผมไม่ได้บอกว่าเก่งกว่าพวกแอดมิชชันนะ) คือการรับตรงถ้าใช้คะแนนจากการสอบกลางนี่ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะตั้งเงื่อนไขการรับไว้ค่อนข้างสูง และส่วนใหญ่จะใช้ผลจากการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1 และ 9 วิชาสามัญ ซึ่งนักเรียนที่ผ่านมาได้คือเขามีการเตรียมพร้อมที่ดี แต่ประเด็นนี้จริง ๆ ก็ไม่สำคัญหรอก เพราะคนที่มันเตรียมพร้อมจะให้สอบอะไรแบบไหนมันก็พร้อม อีกประเด็นถ้าไม่มองแค่ว่ามหาวิทยาลัยอยากได้เงินจากการสอบ การที่มหาวิทยาลัยบางแห่งที่จัดสอบเองเป็นเพราะข้อสอบกลางคัดเด็กให้เขาไม่ได้ด้วยหรือเปล่า
ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากเสนอให้คิดกันก็คือ
หลังจากรวบรวมเสียงของเด็กเกี่ยวกับแนวคิดจะเปลี่ยนระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ในบล็อกที่แล้ว วันนี้ก็ขอแสดงความเห็นของตัวเองบ้างนะครับ สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าแนวคิดนี้คืออะไร ถ้าคลิกดูที่บล็อกที่แล้วของผมก็จะเห็น หรือจะลองอ่านดูจากลิงก์นี้ได้ครับ http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/638816 ซึ่งผมแนะนำว่าถ้าใครเข้าไปอ่านลิงก์นี้แล้ว ขอให้อ่านให้จบนะครับ เพราะมันมีอะไรที่ผมอยากจะมาพูดถึงในบล็อกของผมด้วย
ก่อนที่จะพูดถึงแนวคิดใหม่นี้ เรามาทำความเข้าใจระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันกันก่อนแล้วกันนะครับ เพราะจริง ๆ ผมเชื่อว่าคนที่เป็นพ่อแม่ที่มีลูกเข้ามหาวิทยาลัยในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ น่าจะเป็นคนยุคที่สมัยตัวเองการสอบเข้ามหาวิทยาลัย มีการสอบเอ็นทรานซ์เพียงครั้งเดียว แล้วก็นั่งลุ้นว่าคะแนนจะติดไหม แต่ระบบใหม่ที่เด็กใช้กันมาตลอดหลายปีนี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยเหตุผลของผู้ใหญ่ที่มองเห็นว่า ระบบเอ็นทรานซ์แบบดั้งเดิมทำให้เด็กเครียด ไม่มีโอกาสแก้ตัว และทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในห้อง มุ่งหน้าไปกวดวิชาเพื่อเอนทรานซ์อย่างเดียว (ซึ่งระบบใหม่ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะแก้ปัญหาได้ โรงเรียนกวดวิชาเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด) จากตอนนั้นถึงตอนนี่ต้องบอกว่าระบบมีการปรับเปลี่ยนแทบทุกปี จนดูเหมือนจะเริ่มลงตัวมาในช่วงสองสามปีหลัง ดังนั้นผมจะขอสรุประบบล่าสุดที่ใช้กันอยู่ให้ฟังก่อนนะครับ บอกตามตรงผมก็เพิ่งจะมาเข้าใจระบบนี้จริง ๆ เมื่อปีที่แล้วนี้เอง เพราะลูกคนโตต้องสอบเข้า
สำหรับระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงจะใช้กับนักเรียนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2560 ก็เป็นดังนี้ครับ นักเรียนจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ตามช่องทางนี้ครับ
1. โควต้า มหาวิทยาลัยจะให้โควต้ากับนักเรียนซึ่งมีความสามารถพิเศษ อยู่ในภูมิภาคเดียวกับมหาวิทยาลัย หรืออยู่ในโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเป็นต้น ซึ่งโควต้าประเภทนี้อาจจะมีการสอบเองโดยมหาวิทยาลัย หรือจะใช้คะแนนสอบกลาง (จะกล่าวถึงต่อไป) มาประกอบบ้างก็ได้
2. รับตรง โดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะประกาศรับนักศึกษาด้วยตัวเอง ซึ่งการรับแบบนี้แหละครับ ที่ระบบที่นำมาใช้ใหม่เขาบอกว่ามันเป็นปัญหาที่เขาตั้งใจจะมาแก้ โดยระบบนี้มหาวิทยาลัยบางแห่งก็จะจัดสอบเอง หรือใช้คะแนนสอบกลาง โดยกำหนดเงื่อนไขขั้นต่ำในการรับ ถ้านักศึกษาไม่ผ่านเงื่อนไขขั้นต่ำ ก็ไม่สามารถสมัครได้ และถ้านักเรียนได้ในรอบนี้แล้ว ก็มักจะเรียกเก็บเงินค่ามัดจำล่วงหน้าไว้ก่อน เผื่อนักเรียนไปสมัครที่อื่น แล้วจะสละสิทธิ์ (คือมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะมีวันสอบหรือช่วงยื่นคะแนนและประกาศผลไม่ตรงกัน ดังนั้นใครประกาศรับก่อนก็จะเก็บเงินค่ามัดจำไว้ก่อน) ผมเล่ามาถึงตรงนี้คิดว่าคงเห็นปัญหาที่เขาพยายามจะแก้แล้วใช่ไหมครับ แต่จริง ๆ ระบบนี้มันก็มีข้อดีนะครับ ซึ่งผมจะพูดต่อไปทีหลัง ระบบรับตรงนี้มหาวิทยาลัยหลายแห่งจะเข้าร่วมสิ่งที่เรียกว่า Clearing House ก็คือถ้านักเรียนคนไหนที่ได้มหาวิทยาลัยในรอบนี้แล้ว จะไม่มีสิทธิ์ไปเข้าระบบแอดมิชชันกลาง (จะพูดถึงต่อไป) ด้วยการยืนยันสิทธิ์ เอาง่าย ๆ คือเขาจะไม่ให้เด็กที่มีที่เรียนแล้วไปกั๊กที่คนอื่นในรอบแอดมิดชันอีก ถ้าอยากไปแอดมิชชันก็ต้องสละสิทธิ์สิ่งที่ได้ในรอบรับตรง
3. แอดมิชชันกลาง อันนี้ก็เป็นระบบที่ใช้คะแนนสอบกลาง ให้นักเรียนเลือกมหาวิทยาลัย และคณะที่ต้องการได้ 4 อันดับ ถ้าคะแนนถึงอันดับไหนก็ได้อันดับนั้น ในระบบปัจจุบันการแอดมิชชันจะอยู่หลังจากรับตรง และเป็นความหวังเกือบสุดท้ายของเด็ก เพราะคู่แข่งก็จะน้อยลง เนื่องจากพวกที่รับตรงและยืนยันสิทธิ์ไปแล้ว จะไม่มาแข่งกับเขาอีก
4. รับตรงหลังแอดมิชชันกลาง อันนี้มหาวิทยาลัยบางแห่งจะเปิดรับอีกในกรณีได้นักศึกษาไม่ครบตามเป้าหมาย
5. การสอบ กสพท. อันนี้เป็นการสอบที่จัดให้นักศึกษาที่จะเข้าแพทย์ ทันตแพทย์ อะไรพวกนี้ เข้าใจว่าที่ต้องมาจัดสอบเองในสาขานี้ก็เพราะว่า มหาวิทยาลัยมองว่าข้อสอบกลางไม่สามารถคัดกรองคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมได้
คราวนี้มามองดูการสอบกลางบ้างว่านักเรียนต้องสอบอะไรบ้าง
1. GAT/PAT ซึ่ง GAT ก็เป็นการสอบความถนัดทางภาษา ทั้งไทยและอังกฤษ ส่วน PAT ก็คือการสอบความถนัดทางด้านต่าง ๆ เช่น PAT1 คือเลข PAT2 วิทยาศาสตร์ (รวมฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) และ PAT2 นี้นักเรียนที่อยู่สายศิลป์ก็เลือกสอบได้นะครับ แปลกดีเหมือนกัน PAT5 คือความถนัดด้านครูเป็นต้น ซึ่งจะต้องสอบ PAT อะไรบ้างนั้น แต่ละคณะในแต่ละมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้กำหนด นักเรียนจะต้องดูเงื่อนไขของคณะที่ต้องการเข้าเอาเองว่าต้องสอบอะไรบ้าง GAT/PAT จะสอบได้สองครั้ง ครั้งแรกจะประมาณ ปลายปี (ประมาณ ต.ค. - พ.ย.) คือยังเรียน ม.6 ไม่จบก็ต้องสอบแล้ว ครั้งที่สองจะประมาณเดือนมีนาคม หลังจากจบม. 6 แล้ว
2. 9 วิชาสามัญ ก็พวก เลข ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคม อะไรพวกนี้ ซึ่งนักเรียนก็ต้องดูว่าคณะที่ตัวเองต้องการเข้าเขาต้องการวิชาอะไรบ้าง อันนี้สอบประมาณ ธ.ค.
3. ONET อันนี้สอบหลังสุด และส่วนใหญ่จะใช้ตอนแอดมิชชันกลาง และที่เขาคิด ONET ขึ้นมาเพราะเขาบอกว่าจะให้นักเรียนตั้งใจเรียนในห้องเรียนมากขึ้น และทำให้เกรดที่ได้ของโรงเรียนมันเท่าเทียมกัน เพราะโรงเรียนมีคุณภาพไม่เท่ากัน บางโรงเรียนปล่อยเกรด อะไรแบบนี้ ONET จะนำไปถ่วงกับเกรดที่นักเรียนได้ ดังนั้นใครทำ ONET ได้น้อยก็จะทำให้เกรดที่ได้จากโรงเรียนลดลง และเขาค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักของการเข้ามหาวิทยาลัยด้วย ONET เพิ่มขึ้นทุกปี (แต่ได้ผลตามที่เขาคิดไหม ... ขอไม่พูดแล้วกัน)
เห็นนักเรียนต้องสอบแล้วเหนื่อยใช่ไหมครับ และถ้ามหาวิทยาลัยหรือคณะในบางมหาวิทยาลัยที่รับตรงแบบให้ไปสอบ อย่างคณะบริหารธุรกิจของธรรมศาสต์ในปีก่อนหน้าปีนี้ เขาก็จะมีการสอบที่เรียกว่า Smart-1 ซึ่งเปิดสอบทั้งปี ให้นักเรียนไปสอบเก็บคะแนนเพื่อนำไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัย หรือคณะอื่น ๆ ที่จัดสอบเองอีก ก็จะต้องเหนื่อยเข้าไปอีก ซึ่งระบบใหม่ส่วนหนึ่งนี้เขามุ่งจะแก้ปัญหานี้ เพื่อให้นักเรียนสอบน้อยลง ประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และเขายังมองถึงการลดความเหลื่อมล้ำด้วย คือเขามองว่าคนรวยก็มีสิทธิ์ที่จะได้สอบมากกว่าคนจนอะไรประมาณนี้
ก็คงพอเห็นภาพ และเห็นปัญหาที่เขาพยายามจะแก้แล้วนะครับ คราวนี้ผมจะขอแสดงความเห็นบ้าง แต่ก่อนจะแสดงความเห็นขอพูดสั้น ๆ ก่อนว่าสิ่งที่พวกเขาคิดขึ้นมามันเหมือนคิดอะไรไม่ค่อยจะสุด มีปัญหาให้ลองผิดลองถูกมาแทบจะตลอด คนที่รับผลก็คือนักเรียนนี่แหละ เพราะคิดปุ๊ปก็ทำปั๊ป พอเห็นว่ามีปัญหาก็เปลี่ยนใหม่ จะทำอะไรก็ไม่เคยถามความคิดของคนที่ต้องเป็นผู้ปฏิบัติ ไม่รู้คนพวกนี้ไม่มีลูกมีหลานที่ต้องสอบบ้างหรือยังไง
คราวนี้มาดูสิ่งที่เขาพยายามจะแก้ด้วยระบบใหม่นี้คือระบบรับตรง อันนี้เห็นด้วยว่าระบบรับตรง นักเรียนต้องสอบเยอะ ผู้ปกครองเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และมหาวิทยาลัยบางแห่งใช้ตรงนี้เป็นแหล่งหารายได้ทั้งค่าสอบและค่ามัดจำล่วงหน้า แต่ประเด็นหลังนี้ก็ต้องบอกว่าส่วนหนึ่งก็เพราะนโยบายที่จะให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบด้วยหรือเปล่า มหาวิทยาลัยหลายแห่งก็เลยหันมาหารายได้ด้วยวิธีนี้ ไม่ได้เห็นด้วยนะ แต่อยากให้คิดว่าเรื่องนี้มันก็เป็นปัญหา ส่วนเรื่องคนรวยได้สอบเยอะ ก็อยากให้คิดว่าคนที่ได้สอบเยอะก็ใช่ว่ามันจะสอบได้นะ คนที่ตั้งใจเรียนอาจสอบครั้งเดียวแล้วได้เลยก็ได้ และที่ต้องมองคือข้อดีอันหนึ่งของระบบรับตรงที่ผมมองเห็นคือ ระบบรับตรงจะทำให้มหาวิทยาลัยได้เด็กที่มีการเตรียมพร้อม (ผมไม่ได้บอกว่าเก่งกว่าพวกแอดมิชชันนะ) คือการรับตรงถ้าใช้คะแนนจากการสอบกลางนี่ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะตั้งเงื่อนไขการรับไว้ค่อนข้างสูง และส่วนใหญ่จะใช้ผลจากการสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 1 และ 9 วิชาสามัญ ซึ่งนักเรียนที่ผ่านมาได้คือเขามีการเตรียมพร้อมที่ดี แต่ประเด็นนี้จริง ๆ ก็ไม่สำคัญหรอก เพราะคนที่มันเตรียมพร้อมจะให้สอบอะไรแบบไหนมันก็พร้อม อีกประเด็นถ้าไม่มองแค่ว่ามหาวิทยาลัยอยากได้เงินจากการสอบ การที่มหาวิทยาลัยบางแห่งที่จัดสอบเองเป็นเพราะข้อสอบกลางคัดเด็กให้เขาไม่ได้ด้วยหรือเปล่า
ดังนั้นสิ่งที่ผมอยากเสนอให้คิดกันก็คือ
- ถึงเวลาหรือยังที่จะสอบถามคนที่ได้ผลกระทบก่อนจะทำอะไร ลองให้เขาพูดถึงความรู้สึก หรือเสนอวิธีแก้ตามที่เขาคิดบ้างดีไหม
- ถึงเวลาหรือยังที่จะคิดอะไรปุ๊ปแล้วทำปั๊ปลองคิดพิจารณาให้ดีให้ถี่ถ้วน ไม่ใช้ลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ ดีไหม ผมมองว่ามันยังมีอะไรที่ควรจะต้องคิดให้ลงตัวก่อนที่จะนำระบบมาใช้เช่น
- ข้อสอบจะทำยังไงให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ยอมรับว่าคัดเด็กที่ต้องการได้จริง เรืองพวกนี้ต้องใช้เวลานะผมว่า ข้อสอบที่สทศ.จัดการอยู่ก็มีปัญหาเรื่องมาตรฐานให้พูดกันทุกปี ตามข่าวก็เห็นว่าที่ประชุมก็คิดถึงเรื่องนี้ ดังนั้นก่อนประกาศใช้อะไรเรื่องนี้ต้องชัดเจน
- เรื่องคะแนนที่จะเป็นจุดอ้างอิงให้นักเรียนที่จะสอบด้วยระบบใหม่เป็นรุ่นแรกจะต้องทำยังไง
- เรื่องการปิดเปิดเทอมของมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนกลับไปใช้แบบเดิมหรือเปล่า (นี่ก็อีกตัวอย่างของการทำอะไรไม่คิดให้ถี่ถ้วน) และมีมหาวิทยาลัยบางแห่งประกาศแล้วว่าจะกลับไปใช้แบบเดิมจะแก้ปัญหายังไง
- การสอบ ONET ถ้าไม่ได้แก้ปัญหาอะไร และจะไม่เอามาใช้เข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ยังต้องสอบอยู่ไหม
- การสอบ GAT/PAT ที่เคยสอบสองครั้ง มาเหลือสอบครั้งเดียว จะทำให้เด็กบางคนคิดว่าเสียโอกาสไหม
- เป็นไปได้ไหมที่จะรวมการสอบทั้งสองอย่าง หรือสามอย่างที่ว่าเข้าเป็นการสอบเดียว
- กสทพ. ยังจะให้เขาสอบอยู่ไหม ถ้าไม่ให้เขาสอบแสดงว่าต้องปรับข้อสอบกลาง แล้วถ้าปรับแล้ว มันจะทำให้สาขาอื่นที่ไม่ต้องการอะไรยากอย่างนั้นลำบากไปด้วยไหม
- เลิกด่าว่าคนที่เขาคิดไม่เหมือนตัวเองว่าเป็นผู้เสียผลประโยชน์ หรือไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงซะที หัดรับฟังความคิดและข้อเสนอที่หลากหลายบ้าง และควรยอมรับว่าเด็กเขาก็มีความคิดดี ๆ มันน่าจะหมดยุคผู้ใหญ่หัวหงอก ไปนั่งคิดแล้วก็บอกว่านี่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กได้แล้วมั้ง ขอโทษที่อาจแรงไปหน่อย เพราะอ่านในเนื้อข่าวที่พูดแล้วมันจี๊ด (ด่ามาก็ด่ากลับไม่คดโกง :) )
สรุปสุดท้ายก็คือ ไม่ใช่ผมจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงใด ๆ นะ ผมก็เห็นปัญหาและเข้าใจที่พยายามจะแก้ แต่อยากจะให้เลิกใช้วิธีแบบหนูลองยาซะที ลองรับฟังความเห็น และวางแผนการปรับเปลี่ยนให้ชัดเจนก่อนดีไหม ผมเชื่อว่าเด็กเขาพร้อมจะเปลี่ยนแปลง แต่ทางผู้ใหญ่ต้องชัดเจน และให้โอกาสให้เวลาเขาวางแผนเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ใช่เขาเตรียมตัวมาอย่างแต่มาเปลี่ยนเป็นอีกอย่าง ผมมองว่าหลังจากวางแผนอะไรลงตัวแล้ว ก็ควรจะจัดอมรมให้ครูแนะแนวได้เข้าใจ เพื่อนำไปถ่ายทอดให้นักเรียนด้วยและก็ควรจะประกาศใช้กับนักเรียนที่ขึ้นจาก ม.3 มา ม.4 หรือช้าสุดก็น่าจะม.4 ขึ้นม.5 อะไรประมาณนี้...
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
เมื่อผมได้รับคำขอโทษเป็นคำกลอน
วันนี้ขอใช้บล็อกทำหน้าที่ของมันด้วยการทำหน้าที่เป็นไดอารี่ออนไลน์สักวันแล้วกันนะครับ จากการสอนหนังสือมากว่า 20 ปี ผมได้รับคำขอโทษจากนักศึกษามากมายในความผิดพลาดที่เขาได้ทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่งงานช้า ทำงานไม่เสร็จ หรืออีกหลายสาเหตุ นักศึกษาที่มาขอโทษส่วนใหญ่ก็จะมาหามาพูดคุยกัน ถัดมาก็ใช้อีเมล หรือตอนนี้บางคนก็ใช้ส่งข้อความผ่านทาง Facebook Messenger หรือ Line แต่ไม่ว่าจะเป็นช่องทางใดสิ่งที่ผมได้รับก็จะเป็นคำพูดที่เป็นร้อยแก้วธรรมดาครับ แต่วันนี้ผมได้รับคำขอโทษผ่านทางอีเมลเป็นกลอนครับ เขาเขียนมาขอโทษที่เขาส่งงานช้า ไม่สามารถนำเสนอในเวลาที่กำหนดได้ และงานไม่ค่อยดี และอธิบายถึงเหตุผล ลองอ่านกลอนของเขาดูครับ
ประนมมือ ทั้งสอง ก้มลงกราบ
เพราะหนูทราบ ความผิด อันมหันต์
ความผิดที่ ทำงาน ส่งไม่ทัน
แม้นผลัดวัน มากี่ครั้ง ยังละเลย
อาจารย์คะ พวกหนู มาขอโทษ
อย่าได้โกรธ โปรดเถิด อย่าวางเฉย
กลับมาดี ต่อกัน เหมือนอย่างเคย
แย้มยิ้มเปรย โปรยให้หนู เหมือนวันวาน
มีเรื่องหนึ่ง หนูอยากขอ สารภาพ
อยากจะกราบ เรียนบอก อย่างฉะฉาน
พวกหนูนั้น ไม่ได้เที่ยว เริงสำราญ
และปล่อยกาล เวลา ล่วงเลยไป
แต่เป็นเพราะ งานอื่น ที่มีมาก
พวกหนูอยาก เรียนบอกให้ คลายสงสัย
งานอาจารย์ มิได้ด้อย กว่าใครใคร
หนูใส่ใจ ในงาน ทุกวิชา
เพราะเวลา ที่มีอยู่ มันจำกัด
หากจะมัด งานรวมไว้ คงจะหนา
จึงทำการ แตกงาน ตามวิชา
แบ่งเวลา จัดไว้ อย่างลงตัว
แต่ปัจจัย รอบข้าง ไม่ช่วยเอื้อ
ทั้งยังเผื่อ แผ่ความมืด อันสลัว
มอบแต่สิ่ง ที่ทำ ให้หนูกลัว
เหมือนว่าตัว ปีศาจ มาเดินตาม
ถึงแม้ว่า งานของหนู จะดูขาด
ดูแล้วปราศ จากบีน น่าเกรงขาม
แต่หนูก็ มีของแทน ที่งดงาม
อย่าห้ามปราม โปรดรับไว้ แต่โดยดี
อาจารย์ขา หนูมา ขอโอกาส
จะไม่พลาด ซ้ากันให้ ไร้ศักดิ์ศรี
จะมุ่งทำ แต่คุณ งามความดี
โอกาสนี้ จะถนอม ดั่งดวงใจ
กลอนบทนี้ หวังใจว่า คงจะชอบ
คงจะมอบ ความสุข ความสดใส
ให้อาจารย์ แย้มยิ้มยิ่ง กว่าวันใด
ด้วยรักใน อาจารย์ ศรัณย์เอย....
เป็นไงบ้างครับ เขาแต่งได้ดีทีเดียวว่าไหมครับ ผมอ่านแล้วก็ประหลาดใจและอดขำไม่ได้ แล้วก็คิดว่าเออเนอะใครว่าคนเรียนทางคอมพิวเตอร์จะเป็นคนแห้งแล้ง ไม่มีสุนทรียะในหัวใจ ดูจากกลอนนี้นี่ไม่จริงเลย
จากนั้้นผมก็ลองไล่ตรวจงานของเขาดู ซึ่งก็ไม่ค่อยดีอย่างที่เขาสารภาพไว้แหละครับ และแน่นอนผมก็ต้องตอบกลับงานของเขาไป และไหน ๆ เขาก็จัดเต็มเป็นกลอนมาแล้ว ผมก็คิดว่าคงต้องปลุกวิญญาณศิลปินในตัวตอบกลับไปซะหน่อย ก็เลยแต่งกลอนตอบเขาไปดังนี้ครับ
รู้สึกว่าแต่งสู้พวกเขาไม่ได้นะครับ แต่ก็พอได้ใจความที่ต้องการจะสื่อกับเขาแล้วนะครับ ก็เห็นว่าเป็นเรื่องสนุก ๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ก็เลยเอามาเล่าให้ฟังกันครับ
สุดท้ายอันนี้ส่วนตัวหน่อย ขอสื่อถึงนักศึกษากลุ่มนี้ที่เข้ามาอ่านนะครับว่า อาจารย์ไม่ได้โกรธอะไรนะ แต่คะแนนก็ได้ตามผลงานที่ทำมานะครับ...
ประนมมือ ทั้งสอง ก้มลงกราบ
เพราะหนูทราบ ความผิด อันมหันต์
ความผิดที่ ทำงาน ส่งไม่ทัน
แม้นผลัดวัน มากี่ครั้ง ยังละเลย
อาจารย์คะ พวกหนู มาขอโทษ
อย่าได้โกรธ โปรดเถิด อย่าวางเฉย
กลับมาดี ต่อกัน เหมือนอย่างเคย
แย้มยิ้มเปรย โปรยให้หนู เหมือนวันวาน
มีเรื่องหนึ่ง หนูอยากขอ สารภาพ
อยากจะกราบ เรียนบอก อย่างฉะฉาน
พวกหนูนั้น ไม่ได้เที่ยว เริงสำราญ
และปล่อยกาล เวลา ล่วงเลยไป
แต่เป็นเพราะ งานอื่น ที่มีมาก
พวกหนูอยาก เรียนบอกให้ คลายสงสัย
งานอาจารย์ มิได้ด้อย กว่าใครใคร
หนูใส่ใจ ในงาน ทุกวิชา
เพราะเวลา ที่มีอยู่ มันจำกัด
หากจะมัด งานรวมไว้ คงจะหนา
จึงทำการ แตกงาน ตามวิชา
แบ่งเวลา จัดไว้ อย่างลงตัว
แต่ปัจจัย รอบข้าง ไม่ช่วยเอื้อ
ทั้งยังเผื่อ แผ่ความมืด อันสลัว
มอบแต่สิ่ง ที่ทำ ให้หนูกลัว
เหมือนว่าตัว ปีศาจ มาเดินตาม
ถึงแม้ว่า งานของหนู จะดูขาด
ดูแล้วปราศ จากบีน น่าเกรงขาม
แต่หนูก็ มีของแทน ที่งดงาม
อย่าห้ามปราม โปรดรับไว้ แต่โดยดี
อาจารย์ขา หนูมา ขอโอกาส
จะไม่พลาด ซ้ากันให้ ไร้ศักดิ์ศรี
จะมุ่งทำ แต่คุณ งามความดี
โอกาสนี้ จะถนอม ดั่งดวงใจ
กลอนบทนี้ หวังใจว่า คงจะชอบ
คงจะมอบ ความสุข ความสดใส
ให้อาจารย์ แย้มยิ้มยิ่ง กว่าวันใด
ด้วยรักใน อาจารย์ ศรัณย์เอย....
เป็นไงบ้างครับ เขาแต่งได้ดีทีเดียวว่าไหมครับ ผมอ่านแล้วก็ประหลาดใจและอดขำไม่ได้ แล้วก็คิดว่าเออเนอะใครว่าคนเรียนทางคอมพิวเตอร์จะเป็นคนแห้งแล้ง ไม่มีสุนทรียะในหัวใจ ดูจากกลอนนี้นี่ไม่จริงเลย
จากนั้้นผมก็ลองไล่ตรวจงานของเขาดู ซึ่งก็ไม่ค่อยดีอย่างที่เขาสารภาพไว้แหละครับ และแน่นอนผมก็ต้องตอบกลับงานของเขาไป และไหน ๆ เขาก็จัดเต็มเป็นกลอนมาแล้ว ผมก็คิดว่าคงต้องปลุกวิญญาณศิลปินในตัวตอบกลับไปซะหน่อย ก็เลยแต่งกลอนตอบเขาไปดังนี้ครับ
อ่านกลอนแล้วต้องกลั้นใจ ก่อนไปตรวจ
เมื่อได้ตรวจยิ่งปวดใจ เหมือนไข้ถาม
พวกเธอนี้ทำอะไร ไม่อยากตาม
โปรแกรมงามทำอะไร หรือพวกเธอ
เมื่อได้ตรวจยิ่งปวดใจ เหมือนไข้ถาม
พวกเธอนี้ทำอะไร ไม่อยากตาม
โปรแกรมงามทำอะไร หรือพวกเธอ
ดูเหมือนว่ามีแต่พิมพ์ ผลลัพธ์ออก
ตัดสต๊อกตรวจบัญชี ตรงไหนหรือ
ส่งให้บีนแล้วบีนทำ อะไรฤา
หรือเพียงแต่พิมพ์ซื่อซื่อ บื้อออกมา
ตัดสต๊อกตรวจบัญชี ตรงไหนหรือ
ส่งให้บีนแล้วบีนทำ อะไรฤา
หรือเพียงแต่พิมพ์ซื่อซื่อ บื้อออกมา
เข้าใจว่ามีงานมาก ยากจะเสร็จ
แต่เด็ดเด็ดมีให้ได้ แค่นี้หรือ
ทำไมเพื่อนทำกันได้ สบายมือ
หรือเขาถืออุปกรณ์ วิเศษใด
แต่เด็ดเด็ดมีให้ได้ แค่นี้หรือ
ทำไมเพื่อนทำกันได้ สบายมือ
หรือเขาถืออุปกรณ์ วิเศษใด
เอาเวลาที่แต่งกลอน ไปถามเพื่อน
เผื่อจะช่วยเพิ่มความรู้ ดีกว่าไหม
ขอโปรแกรมเขามาลอง ไล่ดูไป
เพื่อจะได้แก้สงสัย หายงวยงง
เผื่อจะช่วยเพิ่มความรู้ ดีกว่าไหม
ขอโปรแกรมเขามาลอง ไล่ดูไป
เพื่อจะได้แก้สงสัย หายงวยงง
ถึงตอนนี้ขอบอกว่า ไม่ได้โกรธ
อาจารย์โหดต้องทำใจ ให้วางเฉย
ขอเตือนให้ทุกคนไป ทบทวนเลย
อย่าทำเฉยปล่อยจนแย่ แพ้ตัวเอง
อาจารย์โหดต้องทำใจ ให้วางเฉย
ขอเตือนให้ทุกคนไป ทบทวนเลย
อย่าทำเฉยปล่อยจนแย่ แพ้ตัวเอง
รู้สึกว่าแต่งสู้พวกเขาไม่ได้นะครับ แต่ก็พอได้ใจความที่ต้องการจะสื่อกับเขาแล้วนะครับ ก็เห็นว่าเป็นเรื่องสนุก ๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ก็เลยเอามาเล่าให้ฟังกันครับ
สุดท้ายอันนี้ส่วนตัวหน่อย ขอสื่อถึงนักศึกษากลุ่มนี้ที่เข้ามาอ่านนะครับว่า อาจารย์ไม่ได้โกรธอะไรนะ แต่คะแนนก็ได้ตามผลงานที่ทำมานะครับ...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)