วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2566

นักวิจัยพัฒนาระบบกระตุ้นสมองส่วนลึก 'อัจฉริยะ' สำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน

doctors-in-lab
ภาพจาก Michigan Tech News

นักวิจัยของ Michigan Technological University (Michigan Tech) ได้พัฒนาระบบจำลองสมองส่วนลึก (deep brain simulation system) หรือ DBS ที่ได้รับการปรับปรุง เพื่อช่วยรักษาโรคพาร์กินสันผ่านการใช้คอมพิวเตอร์นิวโรมอร์ฟิก (neuromorphic) ซึ่งใช้ไมโครชิปและอัลกอริทึมเพื่อเลียนแบบระบบประสาท

ผลที่ได้คือระบบ DBS วงปิด (closed-loop) สามารถปรับการกระตุ้นตามสัญญาณสมองของผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 

Hongyu An จาก Michigan Tech กล่าวว่าการวิจัยนี้ "จะเปิดประตูใหม่สู่การพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์อัจฉริยะสำหรับการฟื้นฟูสมองที่มากขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Michigan Tech News

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566

นักวิทยาศาสตร์สร้างชีสเค้กจากการพิมพ์ 3 มิติด้วยส่วนผสม 7 อย่าง

3d-printed-cheese-ckae
ภาพจาก CBS News

นักวิทยาศาสตร์จาก Columbia University พิมพ์ชีสเค้กกล้วยเนยถั่วที่มีส่วนผสม 7 อย่าง โรยด้วยฝอยเชอร์รี จากเครื่องพิมพ์สามมิติ

 นักวิจัยแปลงส่วนผสมเป็นแป้ง แล้วป้อนเข้าเครื่องพิมพ์ 3 มิติเพื่อวางตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ให้กลายเป้นรูปชิ้นเค้ก 

พวกเขาพบว่าโครงสร้างของภาพพิมพ์คล้ายกับบ้าน โดยมี "พื้น ผนัง และเพดานเป็นฐาน (เกรแฮมแครกเกอร์) และสระน้ำด้านในบ้าน (นูเทลลาและเนยถั่ว) เก็บส่วนผสมที่อ่อนนุ่มกว่า (กล้วยและเยลลี่)"

นักวิจัยแนะนำว่าอาหารจากการพิมพ์ 3 มิติจะช่วยให้ผู้ปรุงอาหารสามารถปรับแต่งมื้ออาหารได้ดีขึ้น และป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่เกิดจากอาหารโดยลดการสัมผัสของมนุษย์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CBS News

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566

หุ่นยนต์ที่ปรับแต่งได้สามารถผสมผสานจับคู่กันเพื่อทำงานในอวกาศได้

assembled-robot
ภาพจาก Interesting Engineering

นักวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้ออกแบบระบบ Walking Oligomeric Robotic Mobility System (WORMS) เพื่อปฏิวัติวงการหุ่นยนต์อวกาศ

Brooke Bensche จาก MIT กล่าวว่า "แนวคิดของเราคือ ด้วยชิ้นส่วนเพียงไม่กี่ชิ้น ผสมผสานกันด้วยวิธีต่าง ๆ คุณสามารถผสมและจับคู่และได้หุ่นยนต์ที่แตกต่างกันทั้งหมดเหล่านี้"

Michael Brown จาก MIT กล่าวว่าอวัยวะของระบบได้รับแรงบันดาลใจจากหนอนต่ำต้อย เพราะแต่ละตัวสามารถ "เคลื่อนไหวคล้ายแขนหรือขา หรือกระดูกสันหลังหรือหาง"

หุ่นยนต์แต่ละปล้องที่ปรับแต่งได้แต่ละตัวมีมอเตอร์ เซ็นเซอร์ คอมพิวเตอร์ และแบตเตอรี  พวกมันสามารถประกอบเข้าด้วยกันทีละชิ้นเพื่อทำงานเล็ก ๆ หรือรวมกันสำหรับฟังก์ชันที่ซับซ้อนมากขึ้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566

CoDe เครื่องมือสร้างวัคซีนได้เร็วขึ้นและเที่ยงตรงมากขึ้น

dna-helix
ภาพจาก Texas Biomedical Research Institute

นักวิจัยจาก Texas Biomedical Research Institute, Indian Institute of Technology, Madras และ Center for Animal Research ในสเปนได้พัฒนาเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้สามารถแก้ไขลำดับพันธุกรรมได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อทำให้ยีนบางตัวทำงานได้น้อยลง

สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้พัฒนาวัคซีนในการลดประสิทธิภาพของยีนเฉพาะเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิผลของวัคซีนเชื้อเป็น ทีมงานกล่าว

หลังจากที่ผู้ใช้ป้อนลำดับพันธุกรรมที่จะทำการดีออปติไมซ์แล้ว CoDe (Codon Deoptimization) จะกำหนดว่านิวคลีโอไทด์ใดที่จะเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ CoDe ยังสามารถแปลงการแก้ไขไดโดยอัตโนมัติเพื่อลดทอนวัคซีนให้สามารถนำไปใช้กับสายพันธุ์อื่น

Luis Martinez-Sobrido จาก Texas Biomed กล่าวว่า "ด้วย CoDe เราสามารถกลายพันธุ์นิวคลีโอไทด์นับพันในยีนเดียวได้อย่างแม่นยำ ซึ่งทำให้ไวรัสเปลี่ยนกลับได้ยากอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังช่วยให้เราปรับการแสดงออกของยีนในส่วนเล็ก ๆ แทนที่จะกำจัดออกไปทั้งหมด ทั้งหมดนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในการออกแบบวัคซีน และงานวิจัยขั้นพื้นฐาน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Texas Biomedical Research Institute



วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566

คอมไพเลอร์ที่เขียนด้วย python บรรลุความเร็วอย่างมีนัยสำคัญ

python-computer-cartoon
ภาพจาก MIT News

คอมไพเลอร์ Codon ที่ตอนนี้อยู่บน GitHub แล้ว ช่วยให้นักพัฒนาสร้างภาษาใหม่ที่ทำงานเฉพาะโดเมนที่กำหนดภายใน Python ในขณะที่ได้รับประสิทธิภาพความเร็วของภาษาโปรแกรม เช่น C และ C++

นำโดยนักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ทีมวิจัยได้คอมไพล์แอปพลิเคชันเกี่ยวกับจีโนมที่ใช้กันทั่วไปประมาณ 10 รายการที่เขียนด้วย Python และเห็นว่ามีความเร็วเพิ่มถึง 5 ถึง 10 เท่าจากการใช้งานที่ปรับแต่งด้วยมือแบบดั้งเดิม

"แทนที่จะต้องเขียนโปรแกรมใหม่โดยใช้ไลบรารีที่ใช้ C เช่น NumPy หรือเขียนใหม่ทั้งหมดในภาษาเช่น C Codon สามารถใช้โปรแกรมเดิมที่เขียนด้วย Python และได้ประสิทธิภาพเดียวกันกับที่คุณจะได้รับจากการเขียนใหม่ด้วยภาษา C" Saman Amarasinghe จาก MIT กล่าว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News