วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

กังวลว่าโทรศัพท์มือถือของคุณกำลังแอบฟังอยู่ใช่ไหม

voice-editing-program
Photo by Kelly Sikkema on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของ Columbia University ได้พัฒนาอัลกอริธึมที่สามารถบล็อกอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลาบจากการสอดแนมผู้ใช้ โดยสร้างเสียงที่เงียบมาก ๆ  Carl Vondrick แห่ง Columbia กล่าวว่าอัลกอริธึมสามารถบล็อกไมโครโฟนที่แอบซ่อนอยู่เพื่อฟังเสียงได้ 80% ของเวลาทั้งหมดโดยการซ่อนเสียงของคน

Mia Chiquier จาก Columbia อธิบายว่าโปรแกรมใช้การโจมตีแบบคาดเดา สัญญาณที่สามารถขัดขวางรูปแบบการรู้จำคำพูดอัตโนมัติที่ถูกสอนให้ถอดเสียง ระบบจะทำงานนี้ในเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาจริงโดยคาดการณ์การโจมตีในอนาคตของสัญญาณหรือคำ โดยอ้างอิงจากสองวินาทีของคำพูดที่ใช้เป็นข้อมูลเข้า ระดับเสียงของการโจมตีใกล้เคียงกับเสียงรบกวนที่มีอยู่ตามปกติเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงสามารถสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Columbia Engineering News

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565

ความเสี่ยงจากยาปลอมกำลังเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีจากมือถือช่วยตรวจสอบได้

Fake-Label
ภาพจาก SciTechDaily

นักวิจัยได้พัฒนาวิธีการระบุยาปลอมโดยใช้แท็กที่สามารถกิน และอ่านได้ผ่านแอปสมาร์ทโฟนเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาและคุณภาพของยา นักวิจัยดัดแปลงพันธุกรรมตัวไหมเพื่อผลิตโปรตีนไหมที่กินได้โดยมีโปรตีนเรืองแสงสีฟ้า สีเขียว หรือสีแดงติดอยู่ 

แท็กที่มีโปรตีนไหมเรืองแสงเหล่านี้ สามารถถูกเอนไซม์ในทางเดินอาหารย่อยสลายได้อย่างปลอดภัย โดยสามารถใช้กับยาเม็ดหรือเติมลงในยาน้ำได้ แอพสมาร์ทโฟนจะสแกนหารูปแบบการเรืองแสง และหากพบ จะใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) เพื่อถอดรหัสคีย์ดิจิทัลและนำผู้ใช้ไปยังหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของยาและเป็นยาจริงหรือไม่

อ่านข่าวเต็มได้ที่: SciTechDaily

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์ควบคุมด้วยจอยสติ๊กสามารถช่วยศัลยแพทย์รักษาโรคหลอดเลือดสมองจากระยะไกลได้

joystick-robot
ภาพจาก MIT News

ระบบเทเลโรโบติก (telerobotic) ที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT), Massachusetts General Hospital, และ Philips Research North America  ช่วยให้ศัลยแพทย์ทำงานจากระยะไกลได้ โดยใช้จอยสติ๊กและการถ่ายทอดภาพสดเพื่อควบคุมแขนหุ่นยนต์โดยที่ผู้ควบคุมอยู่อีกที่หนึ่ง

ระบบสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือหลอดเลือดโป่งพองได้ โดยสามารถเข้าถึงเพื่อเปิดทางหลอดเลือดจากระยะไกล ในช่วงเวลาวิกฤตทันทีหลังจากเริ่มมีอาการ ในระหว่างการทดสอบโดยใช้แบบจำลองขนาดเท่าของจริง ศัลยแพทย์ระบบประสาทสามารถควบคุมแขนของหุ่นยนต์จากระยะไกลเพื่อนำลวดแม่เหล็ก (magnetic wire) ผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดได้หลังจากฝึกใช้เพียงชั่วโมงเดียว

Yoonho Kim แห่ง MIT อธิบายว่า "จุดประสงค์หลักของสายนำแม่เหล็ก (magnetic guidewire) คือการไปยังตำแหน่งเป้าหมายอย่างรวดเร็วและปลอดภัย เพื่อใช้อุปกรณ์มาตรฐานอย่าง microcatheters ในการรักษาได้ ระบบของเราเปรียบเสมือนเครื่องนำทาง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News


วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

รถขับเคลื่อนด้วยตัวเองสามารถถูกหลอกให้เห็นไฟแดงเป็นไฟเขียวได้

street-night
Photo by Tom Hill on Unsplash

นักวิจัยจาก Zhejiang University ของจีนพบว่ารถยนต์ไร้คนขับอาจถูกหลอกให้มองเห็นสัญญาณไฟจราจรสีแดงเป็นสีเขียวได้ นักวิทยาศาสตร์ฉายเลเซอร์ไปที่เซ็นเซอร์ของกล้องห้ารุ่นที่ใช้โดยรถขับเคลื่อนด้วยตนเอง โดยมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซสองชุดอ่านภาพที่ถ่ายไว้ 

เลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 650 นาโนเมตรและความยาวคลื่น 520 นาโนเมตรทำให้ภาพทั้งหมดเป็นสีแดงหรือสีเขียวตามลำดับ ในขณะที่การกะพริบของเลเซอร์ที่ความถี่สูงทำให้เกิดสีในบางส่วนของภาพเท่านั้น การเพิ่มแถบแนวนอนสีเขียวหรือสีแดงทำให้ชุดซอฟต์แวร์ทั้งสองตรวจพบสัญญาณไฟจราจรอย่างไม่ถูกต้องโดยเฉลี่ยว่าเป็นสีเขียว 30%  และสีแดง 86% ของเวลาทั้งหมด ระหว่างกล้องทุกตัว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565

เครื่องมือที่อาจทำนายความเสี่ยงของงานคุณจากระบบอัตโนมัติ

robot
Photo by Owen Beard on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์จาก Swiss Federal Institute of Technology (EPFL) ในเมืองโลซานน์  และ University of Lausanne ในสวิตเซอร์แลนด์ได้ออกแบบอัลกอริธึมเพื่อทำนายว่าแต่ละอาชีพมีความเสี่ยงจากระบบอัตโนมัติอย่างไร 

ดัชนีความเสี่ยงด้านระบบอัตโนมัติ (automation risk index) หรือ ARI จะตรวจสอบจำนวนข้อกำหนดในรายละเอียดงานที่หุ่นยนต์สามารถทำได้เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ จัดอันดับความสำคัญของทักษะเหล่านี้ และประเมินความสามารถในปัจจุบันของหุ่นยนต์ที่จะทำมัน 

ในการจัดอันดับงาน 967 ตำแหน่งโดย ARI ที่ระบุไว้ในฐานข้อมูล Occupation Information Network นักฟิสิกส์ได้รับการพิจารณาให้เป็นอาชีพที่ปลอดภัยที่สุดจากระบบอัตโนมัติ ในขณะที่พบว่าคนงานบรรจุหีบห่อ และคนงานในโรงฆ่าสัตว์มีความเสี่ยงสูงสุด

นักวิจัยยังได้จัดทำดัชนีความยืดหยุ่นนี้เป็นเว็บไซต์เพื่อผู้ใช้สามารถค้นหาเพื่อค้นหาความเสี่ยงด้านระบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงาน และงานที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ซึ่งใครที่สนใจสามารถทดลองเข้าไปค้นหาดูได้จากลิงก์นี้ครับ https://lis2.epfl.ch/resiliencetorobots/#/

 อ่านข่าวเต็มได้ที่: Silicon Republic