วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564

จะหากล้องแอบถ่ายด้วยสมาร์ตโฟนได้อย่างไร

LAPD-in-action
ภาพจาก Help Net Security

นักวิทยาศาสตร์จาก  National University of Singapore และ มหาวิทยาลัย Yonsei University ของเกาหลีใต้ได้พัฒนาแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนที่สามารถค้นหากล้องสอดแนมขนาดเล็กที่ซ่อนอยู่ในวัตถุในชีวิตประจำวัน โดยใช้เซ็นเซอร์ time-of-flight (ToF) ของสมาร์ทโฟน นักวิจัยกล่าวว่าแอป Laser-Assisted Photography Detection (LAPD) ตรวจจับกล้องที่ซ่อนอยู่ได้ดีกว่าเครื่องตรวจจับกล้องเชิงพาณิชย์และดีกว่าสายตามนุษย์มาก แอปนี้ทำงานได้บนสมาร์ทโฟนทุกเครื่องที่มีเซ็นเซอร์ ToF สามารถสแกนวัตถุได้ครั้งละหนึ่งชิ้นเท่านั้น และใช้เวลาประมาณหนึ่งนาทีในการสแกนวัตถุนั้น นักวิจัยกล่าวว่าสามารถปรับแอปให้แม่นยำยิ่งขึ้นได้โดยใช้ไฟแฟลชและกล้อง RGB ของโทรศัพท์มือถือ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Help Net Security


วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ตัวแบบเตือนระยะเริ่มต้นทำนายการเสื่อมสภาพของผู้ป่วยมะเร็ง

patient-on-bed
ภาพจาก The Source (Washington University in St. Louis)

Chenyang Lu และเพื่อนร่วมงานที่ Washington University ใน St. Louis ได้พัฒนาตัวแบบการทำนายด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งในโรงพยาบาล โดยรวบรวมจากข้อมูลที่ต่างกันในบันทึกสุขภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบเกิดซ้ำ CrossNet แบบปลายต่อปลาย (end-to-end) รวมข้อมูลแบบคงที่ที่รวบรวม ณ เวลาเข้ารับการรักษา กับข้อมูลอนุกรมเวลาที่รวบรวมซ้ำ ๆ ระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล CrossNet เรียนรู้ที่จะคาดการณ์การเสื่อมสภาพโดยป้อนข้อมูลแบบคงที่หรืออนุกรมเวลาที่ขาดหายไปอย่างถูกต้อง Lu กล่าวว่า "มนุษย์ไม่สามารถเห็นรูปแบบที่ซ่อนอยู่เหล่านี้หรือแนวโน้มในข้อมูล ดังนั้นนี่คือที่ที่การเรียนรู้ของเครื่องสามารถทำได้ดีมาก" การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการออกแบบระบบเตือนระยะเริ่มต้นเพื่อทำนายการเสื่อมสภาพของผู้ป่วยมะเร็งขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตลอดจนยกระดับผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Source (Washington University in St. Louis)

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2564

นักวิทยาศาสตร์อ้างว่ามีความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ในการใช้ DNA เก็บข้อมูล

ภาพจาก BBC News

นักวิทยาศาสตร์จาก  Georgia Institute of Technology's Georgia Tech Research Institute (GTRI) อ้างว่าสามารถปรับปรุงที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้ DNA ได้ 100 เท่าด้วยโปรเซสเซอร์ใหม่ที่พัฒนาขึ้น Nicholas Guise แห่ง GTRI กล่าวว่าคุณสมบัติของโปรเซสเซอร์ที่มีความหนาแน่นสูงขึ้นประมาณ 100 เท่าทำให้สามารถขยายได้ ซึ่งน่าจะมีการทำให้สะดวกในการใช้งานขึ้นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมในปีหน้า เทคโนโลยีดังกล่าวจะขยายสาย DNA ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งใช้ความแตกต่างของเบสหนึ่งตัวในการเข้ารหัสข้อมูล เช่น adenine หรือ cytosine ใช้แทน 0 และ guanine หรือ thymine ใช้แทน 1 ชิปต้นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ 2.5 ซม. (1 นิ้ว) มีไมโครเวลล์ (microwell) หลายช่อง จึงสามารถสังเคราะห์สายดีเอ็นเอหลายเส้นได้พร้อม ๆ กัน ทำให้เกิด DNA ได้มากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: BBC News

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เครื่องมือนี้ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณในณะท่องเว็บ

SugarCoat
ตัวอย่าง SugarCoat [ภาพจาก UC San Diego News Center ]  

เครื่องมือ SugarCoat ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก University of California, San Diego (UCSD) และ Brave Software สามารถปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้นขณะท่องเว็บ SugarCoat มุ่งไปที่สคริปต์ที่โจมตีความเป็นส่วนตัวแต่มีความสำคัญต่อการทำงานของเว็บไซต์ โดยแทนที่สคริปต์เหล่านั้นด้วยสคริปต์ที่ปลอดภัยซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกัน SugarCoat ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สได้รับการปรับแต่งให้รวมเข้ากับเบราว์เซอร์ที่เน้นความเป็นส่วนตัวที่มีอยู่เช่น Brave, Firefox และ Tor และส่วนขยายของเบราว์เซอร์เช่น uBlock Origin โดย Michael Smith จาก UCSD กล่าวว่า "SugarCoat ทำงานร่วมกับเครื่องมือปิดกั้นเนื้อหาที่มีอยู่ เช่นตัวบล็อกโฆษณา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถท่องเว็บได้โดยไม่สูญเสียความเป็นส่วนตัว"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UC San Diego News Center

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ระบบ AI ช่วยลดการแพร่ของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล

doctor-lab
ภาพจาก The Pittsburgh Post-Gazette

นักวิทยาศาสตร์จาก University of Pittsburgh และ Carnegie Mellon University (CMU) ได้พัฒนาเทคนิคที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ในการตรวจหาและหยุดยั้งการระบาดของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล นักวิจัยได้บูรณาการการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และการจัดลำดับจีโนม (genome) ทั้งหมดเพื่อให้สามารถระบุการระบาดได้เร็วกว่าวิธีการแบบเดิม ระบบ AI ใช้การเฝ้าระวังการจัดลำดับจีโนมเพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกันหรือไม่ คอมพิวเตอร์สามารถขุดบันทึกสุขภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วย เพื่อระบุสิ่งทั่วไปที่อาจเป็นพาหะ เช่น ขั้นตอนการตรวจรักษาที่ต้องโดยอุปกรณ์เดียวกัน หรือใช้ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเหมือนกัน Artur Dubrawski จาก CMU กล่าวว่าระบบ “สามารถตรวจจับและระบุลักษณะการระบาดที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้โรงพยาบาลดำเนินการอย่างรวดเร็วและแม่นยำเพื่อหยุดโรคไม่ให้แพร่กระจาย”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Pittsburgh Post-Gazette