วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

การพิมพ์ 3 มิติ และการเรียนรู้ของเครื่องร่วมกันปรับปรุงการปลูกถ่ายประสาทหู

cochlear-3d-printed
ภาพจาก University of Cambridge (U.K.)

การปรับปรุงการปลูกถ่ายประสาทหู (cochlear implant) หรือ CI โดยการรวมการพิมพ์สามมิติ และการเรียนรู้ด้วยเครื่อง (machine learning) หรือ ML เป็นเป้าหมายของวิจัยซึ่งประกอบไปด้วยทีมวิศวกรและแพทย์ชาวอังกฤษ และชาวจีน นักวิจัยได้พิมพ์แบบจำลอง 3 มิติของประสาทหูของมนุษย์เพื่อตรวจสอบว่ารูปร่างของตัวแบบและ "การแพร่กระจายของกระแส" ส่งผลต่อกระแสหรือการกระตุ้นกระแสไฟฟ้าในหูอย่างไรบ้าง การเพิ่ม ML ให้กับกระบวนการทำให้สามารถคาดการณ์การแพร่กระจายของกระแสในผู้ใช้ CI ได้ ซึ่งสามารถใช้เพื่อคาดการณ์ช่วงความต้านทานของเนื้อเยื่อประสาทหูเทียมของผู้ป่วย Shery Juang จาก University of Cambridge แห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า การพิมพ์ 3 มิติ "เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างตัวแบบทางกายภาพ ซึ่งอาจให้ชุดข้อมูลการฝึกอบรมที่มีลักษณะเฉพาะเป็นอย่างดี เพื่อเป็นตัวแทนของข้อมูลทางคลินิกสำหรับการเรียนรู้ของเครื่อง หลักการสร้างตัวแบบร่วมในการศึกษานี้ อาจเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาด้านอื่น ๆ ของตัวแบบทางคลินิก และแอปพลิเคชันด้านการดูแลสุขภาพ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Cambridge (U.K.)


วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ข่าวจริงและไม่จริงเผยแพร่ได้อย่างเท่า ๆ กันบนทวิตเตอร์

twitter
ภาพจาก Cornell Chronicle

ผลการศึกษาพบว่าทั้งข่าวจริงและข่าวเท็จแพร่กระจายผ่านทวิตเตอร์ ด้วยความเร็ว ความกว้าง และความลึกเท่ากัน ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นว่าเหตุใดความพยายามในการหยุดการบิดเบือนข้อมูลบนแพลตฟอร์มจึงประสบความสำเร็จอย่างจำกัด Jonas Juul แห่ง Cornell University และ Johan Ugander แห่ง Stanford University มุ่งเน้นไปที่โครงสร้างของ "การส่งต่อ (cascade)" ของทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นการหาปริมาณของเส้นทางทวีตที่เป็นไวรัลจากผู้โพสต์เริ่มต้นผ่านเครือข่ายผ่านการรีทวีต ทวีตที่ได้รับความนิยมมากขึ้นมีการส่งต่อที่มากกกว่า และนักวิจัยได้วิเคราะห์การส่งต่อที่มีขนาดเท่ากัน ซึ่งอนุมานว่าทวีตจริงและไม่จริงมีผู้ใช้จำนวนเท่ากัน การส่งต่อของทวีตจริงและไม่จริงที่แชร์กันอย่างเท่าเทียมกันนั้นแทบจะเท่ากันหมด เปลี่ยนแนวคิดที่เข้าใจกันแย่างแพร่หลายว่าทวีตที่ไม่จริงเดินทางเร็วกว่า นักวิจัยกล่าวว่าสิ่งนี้จะจำกัดมาตรการตอบโต้การบิดเบือนข้อมูล เช่น ตั้งค่าสถานะทวีตที่เป็นไวรัลด้วยแบบรูปการแพร่กระจายแบบยาว (long diffusion pattern) หรือลดความสำคัญของฮับหลักในฟีดข่าว พวกเขาแนะนำว่าการทำให้ผู้ใช้มีความรู้ด้านดิจิทัลที่ดีขึ้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Cornell Chronicle

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านลำดับจีโนมใด ๆ เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมของมัน

DNA
Photo by ANIRUDH on Unsplash

นักวิจัยจาก Harvard University ได้พัฒนาโปรแกรมที่สามารถอ่านลำดับจีโนมของสิ่งมีชีวิต และกำหนดรหัสพันธุกรรม ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจวิวัฒนาการของรหัสพันธุกรรม แม้ว่าสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ใช้รหัสพันธุกรรมเดียวกัน แต่ก็มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ใช้รหัสพันธุกรรมทางเลือก โปรแกรมใหม่ที่ชื่อ Codetta สามารถใช้เพื่อระบุสิ่งมีชีวิตที่ใช้รหัสพันธุกรรมทางเลือก นักวิจัยได้ใช้ Codetta ในการวิเคราะห์ลำดับจีโนมของแบคทีเรียมากกว่า 250,000 ตัว และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอื่น ๆ และพบว่ามีสิ่งมีชีวิต 5 ตัวซึ่งถูกกำหนดรหัสของกรดอะมิโนอาร์จินีน (arginine) ใหม่ให้กับกรดอะมิโนที่ต่างออกไป ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เห็นการสลับนี้ในแบคที่เรีย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: News-Medical Life Sciences

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

การแผ่รังสีนิวเคลียร์ถูกใช้ในการส่งผ่านข้อมูลดิจิทัลแบบไร้สาย

ืีnuclear-plant
ภาพจาก Lancaster University (U.K.)

ข้อมูลที่เข้ารหัสแบบดิจิทัลถูกส่งแบบไร้สายโดยใช้รังสีนิวเคลียร์ จากผลงานของวิศวกรของ Lancaster University แห่งสหราชอาณาจักร และ Jožef Stefan Institute ของสโลวีเนีย นักวิจัยส่งข้อมูลโดยใช้นิวตรอนเร็วที่ปล่อยออกมาจากไอโซโทปกัมมันตภาพรังสี californium-252 เครื่องตรวจจับประเมินการปล่อยรังสีซึ่งถูกบันทึกไว้ในแล็ปท็อป นักวิจัยได้เข้ารหัสข้อมูลเป็นลำดับ ซึ่งรวมถึงคำ ตัวอักษร และตัวเลขสุ่มที่เลือกแบบไม่มีรูปแบบเพื่อในการปรับสนามนิวตรอน และถอดรหัสผลลัพธ์บนแล็ปท็อปที่ใช้อ่านข้อมูลที่เข้ารหัส Malcolm Joyce แห่ง Lancaster กล่าวว่า "เราแสดงให้เห็นศักยภาพของการแผ่รังสีนิวตรอนเร็วในฐานะสื่อกลางสำหรับการสื่อสารแบบไร้สาย สำหรับการใช้งานที่การส่งผ่านแม่เหล็กไฟฟ้าแบบธรรมดาไม่สามารถทำได้หรือมีข้อจำกัดในตัวมันเอง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Lancaster University (U.K.)

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เมื่ออัลกอริทึมมีความสร้างสรรค์

numeric-code
ภาพจาก University of Bern (Switzerland)

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่นำโดย University of Bern ของสวิตเซอร์แลนด์ได้พัฒนาอัลกอริธึมเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary algorithm) ที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์ อัลกอริธึมดังกล่าวกำหนด "ความเหมาะสม (fitness)" ของสิ่งที่เป็นคำตอบที่เป็นไปได้ โดยพิจารณาจากความสามารถว่าแก้ปัญหาที่กำลังศึกษาอยู่ได้ดีเพียงใด แนวทาง evolving-to-learn (E2L) หรือ "ปรับตัวได้ (becoming adaptive)" ของนักวิจัยถูกนำไปใช้กับสถานการณ์การเรียนรู้ทั่วไปสามสถานการณ์ อย่างแรกคือการตรวจจับแบบรูป (pattern) ที่เกิดซ้ำในสตรีมอินพุตแบบต่อเนื่องโดยไม่มีการตอบกลับด้านประสิทธิภาพ ประการที่สองให้รางวัลเสมือนแก่คอมพิวเตอร์สำหรับการมีพฤติกรรมตามที่ต้องการ และอย่างที่สามคือแนะนำคอมพิวเตอร์ว่าพฤติกรรมของมันเบี่ยงออกจากแบบรูปที่ต้องการมากน้อยเพียงใด Jakob Jordan จาก Bern กล่าวว่า "ในแนวทางทั้งหมดนี้" "อัลกอริธึมเชิงวิวัฒนาการสามารถค้นพบกลไก synaptic plasticity และด้วยเหตุนี้จึงแก้ปัญหาใหม่ได้สำเร็จ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Bern (Switzerland)