ภาพจาก Cornell Chronicle |
ผลการศึกษาพบว่าทั้งข่าวจริงและข่าวเท็จแพร่กระจายผ่านทวิตเตอร์ ด้วยความเร็ว ความกว้าง และความลึกเท่ากัน ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นว่าเหตุใดความพยายามในการหยุดการบิดเบือนข้อมูลบนแพลตฟอร์มจึงประสบความสำเร็จอย่างจำกัด Jonas Juul แห่ง Cornell University และ Johan Ugander แห่ง Stanford University มุ่งเน้นไปที่โครงสร้างของ "การส่งต่อ (cascade)" ของทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นการหาปริมาณของเส้นทางทวีตที่เป็นไวรัลจากผู้โพสต์เริ่มต้นผ่านเครือข่ายผ่านการรีทวีต ทวีตที่ได้รับความนิยมมากขึ้นมีการส่งต่อที่มากกกว่า และนักวิจัยได้วิเคราะห์การส่งต่อที่มีขนาดเท่ากัน ซึ่งอนุมานว่าทวีตจริงและไม่จริงมีผู้ใช้จำนวนเท่ากัน การส่งต่อของทวีตจริงและไม่จริงที่แชร์กันอย่างเท่าเทียมกันนั้นแทบจะเท่ากันหมด เปลี่ยนแนวคิดที่เข้าใจกันแย่างแพร่หลายว่าทวีตที่ไม่จริงเดินทางเร็วกว่า นักวิจัยกล่าวว่าสิ่งนี้จะจำกัดมาตรการตอบโต้การบิดเบือนข้อมูล เช่น ตั้งค่าสถานะทวีตที่เป็นไวรัลด้วยแบบรูปการแพร่กระจายแบบยาว (long diffusion pattern) หรือลดความสำคัญของฮับหลักในฟีดข่าว พวกเขาแนะนำว่าการทำให้ผู้ใช้มีความรู้ด้านดิจิทัลที่ดีขึ้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่า
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Cornell Chronicle
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น