วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564

รันซอฟต์แวร์ควอนตัมบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดิม

quantum
ภาพจาก EPFL (Switzerland)

นักวิจัยจาก Swiss Federal Institute of Technology Lausanne (EPFL) ในสวิตเซอร์แลนด์และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้พัฒนาวิธีการใช้คอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมเพื่อจำลอง Quantum Approximate Optimization Algorithm (QAOA) วิธีการนี้ใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) แบบคลาสสิกที่ทำหน้าที่เหมือนคอมพิวเตอร์ควอนตัมระยะใกล้ (near-term quantum computer) นักวิจัยใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่มีอยู่แล้วที่พัฒนาร่วมกับ Giuseppe Carleo แห่ง EPFL เพื่อจำลอง QAOA ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่มีแนวโน้มอย่างมากว่าจะเป็นการ "ได้เปรียบเชิงควอนตัม" ในคอมพิวเตอร์ควอนตัมระยะใกล้  Carleo กล่าวว่า "นี่ไม่ได้หมายความว่าอัลกอริทึมควอนตัมที่มีประโยชน์ทั้งหมดที่สามารถรันบนตัวประมวลผลควอนตัมระยะใกล้จะสามารถจำลองในเครื่องแบบดั้งเดิมได้ อันที่จริงเราหวังว่าแนวทางของเราจะทำหน้าที่เป็นแนวทางในการประดิษฐ์อัลกอริทึมควอนตัมใหม่ที่ทั้งมีประโยชน์ และยากที่จะจำลองบนคอมพิวเตอร์แบบเดิม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: EPFL (Switzerland)

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เราได้ยินเสียงเดียวกันของการโจมตีทางไซเบอร์ใช่ไหม

Yang-Cai
Yang Cai ภาพจาก Carnegie Mellon University CyLab Security and Privacy Institute

Yang Cai แห่งมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon และเพื่อนร่วมงานได้ออกแบบวิธีการที่ทำให้การรับส่งข้อมูลเครือข่ายผิดปกติสามารถเปล่งออกมาเป็นเสียง โดยการเรนเดอร์ข้อมูลความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้ออกมาเป็นเสียงดนตรี นักวิจัยได้สำรวจอัลกอริธึมการจับคู่เสียงหลายแบบ โดยแปลงชุดข้อมูลตัวเลขเป็นเพลงที่มีท่วงทำนอง ความกลมกลืน ทำนอง และจังหวะที่หลากหลาย พวกเขาสร้างเพลงโดยใช้ข้อมูลการรับส่งข้อมูลเครือข่ายจากเครือข่ายการกระจายมัลแวร์จริง โดยระบุการเลื่อนระดับเสียงได้อย่างแม่นยำเมื่อเล่นบนอุปกรณ์ต่าง ๆ และนำเสนอให้กับคนที่ไม่ใช่นักดนตรีได้ฟัง  นักวิจัยกล่าวว่า "เราไม่เพียงแต่ทำดนตรีเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนข้อมูลนามธรรมให้เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถประมวลผลได้" Cai กล่าวว่า "กระบวนการโซนิฟิเคชั่น (sonification) ซึ่งคือใช้เสียงเพื่อรับรู้ข้อมูลไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การทำโซนิฟิเคชั่นเพื่อทำให้ข้อมูลน่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับหูของมนุษย์เป็นเรื่องใหม่"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Carnegie Mellon University CyLab Security and Privacy Institute

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เทคนิคความมั่นคงไซเบอร์ที่ทำให้แฮกเกอร์ต้องเดา

car-security
ภาพจาก U.S. Army DEVCOM Army Research Laboratory

Army Research Laboratory (ARL) ได้ออกแบบเฟรมเวิร์กที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรถยนต์ เฟรมเวิร์ก DESOLATOR (deep reinforcement learning-based resource allocation and moving target defense deployment framework) ซึ่งใช้การจัดสรรทรัพยากรตามการเรียนรู้การเสริมแรงเชิงลึก และปรับใช้การป้องกันสำหรับเป้าหมายที่เคลื่อนที่ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยระบุอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (internet protocol) หรือ IP ที่เหมาะสมที่สุดในการเปลี่ยนความถี่และการจัดสรรแบนด์วิดท์ เพื่อให้สามารถป้องกันเป้าหมายเคลื่อนที่ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ Terrence Moore จาก ARL อธิบายว่า "หากคุณสับเปลี่ยนที่อยู่ IP เร็วพอ ข้อมูลที่กำหนดให้กับ IP จะสูญหายไปอย่างรวดเร็ว และฝ่ายจู่โจมจะต้องค้นหาอีกครั้ง" Frederica Free-Nelson ของ ARL กล่าวว่าเฟรมเวิร์กนี้ช่วยรักษาความไม่แน่นอนให้สูงพอที่จะเอาชนะผู้โจมตีโดยไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่มากเกินไป และป้องกันการลดลงของประสิทธิภาพในพื้นที่ที่มีลำดับความสำคัญสูงของเครือข่าย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: U.S. Army DEVCOM Army Research Laboratory


วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564

กล้องที่สวมใส่ได้ลดความเสี่ยงจากการชนของคนตาบอดและบกพร่องทางสายตา

wearable-device-reduce-collision
ภาพจาก UPI

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์วิชัน (computer vision) ที่สวมใส่ได้ซึ่งพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ของ Harvard Medical School  อาจช่วยลดการชนและอุบัติเหตุอื่นๆ สำหรับคนตาบอดและผู้พิการทางสายตา อุปกรณ์ประกอบด้วยหน่วยบันทึกข้อมูลที่อยู่ในกระเป๋าเป้สะพายหลังแบบมีสายพร้อมกล้องที่สายรัด และสายรัดข้อมือที่เชื่อมต่อ Bluetooth สองเส้น นักวิจัยกล่าวว่าหน่วยประมวลผลบันทึกภาพจากกล้อง และวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการชนโดยพิจารณาจากการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เข้ามา และวัตถุรอบข้างภายในขอบเขตการมองเห็น สายรัดข้อมือมซ้ายหรือขวาจะสั่นเตือนโดยขึ้นอยู่กับว่าอาจเกิดการชนจากด้านใด ในขณะที่สายรัดข้อมือทั้งสองจะสั่นเมื่อตรวจพบการชนกันที่อาจเกิดขึ้นทางด้านหน้า ข้อมูลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า วิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยงในการชนและหกล้มได้เกือบ 40% เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยแบบเคลื่อนที่อื่น ๆ เมื่อใช้ร่วมกับไม้เท้ายาวหรือสุนัขนำทาง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UPI

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564

หุ่นยนต์สองเท้าเรียนรู้การวิ่งได้ 5 กิโล

cassie-robot
ภาพจาก Oregon State University News

หุ่นยนต์เดินสองเท้าแบบไม่มีตัววิ่งได้ระยะทาง 5 กิโลเมตร (3.10 ไมล์) ในเวลาเพียง 53 นาที หุ่นยนต์ Cassie ซึ่งออกแบบโดยนักวิจัย Oregon State University (OSU) และสร้างโดย Agility Robotics บริษัทที่แตกออกมาจาก OSU เป็นหุ่นยนต์สองเท้าตัวแรกที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อรักษาท่าทางการวิ่งบนสภาพแวดล้อมภายนอก หุ่นยนต์สอนตัวเองให้วิ่งโดยใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้แบบเสริมแรง (reinforcement learning) และทำการปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสมเพื่อให้ตั้งตรงขณะเคลื่อนที่ Jonathan Hurst จาก OSU กล่าวว่านักพัฒนาของ Cassie "ผสมผสานความเชี่ยวชาญจากชีวกลศาสตร์และวิธีการควบคุมหุ่นยนต์ที่มีอยู่ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ของเครื่องแบบใหม่" Hurst กล่าวเสริมว่า “ในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกคนจะได้เห็นและโต้ตอบกับหุ่นยนต์ในหลาย ๆ ที่ในชีวิตประจำวันของพวกเขา หุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับเราและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเรา”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Oregon State University News