วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

หัวใจที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติใช้เป็นเครื่องมือในการผ่าตัด


ภาพจาก Carnegie Mellon University

นักวิจัยจาก Carnegie Mellon University (CMU) พัฒนาตัวแบบหัวใจมนุษย์ทีมีขนาดเท่าของจริงเพื่อใช้พิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์สามมิติได้เป็นที่แรก โดยใช้วิธีที่เรียกว่า  Freeform Reversible Embedding of Suspended Hydrogels (FRESH) ซึ่งการพิมพ์หัวใจมนุษย์แบบขนาดเท่าของจริงนี้ต้องใช้เครื่องพิมพ์สามมิติที่สั่งทำเป็นพิเศษ และต้องปรับปรุงซอฟต์แวร์เพื่อรักษาความเร็วและความเที่ยงตรงของการพิมพ์ นักวิจัยบอกว่าสิ่งที่ได้ไม่ใช่เป็นแค่ใช้เพื่อการวางแผน แต่สามารถนำไปใช้ได้จริง หมอผ่าตัดสามารถใช้มันในการฝึกเพราะมันสามารถตอบสนองได้เหมือนเนื้อเยื่อจริง 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Carnegie Mellon University


วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สถานีตรวจอากาศที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ช่วยงานวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้นด้วยงบที่น้อยลง

3D-printed weather station initial installation in the field. (Image by Argonne National Laboratory.)

ทีมนักวิจัยที่นำโดย U.S. Department of Energy's Argonne National Laboratory  ได้ทดสอบสถานีวัดสภาพอากาศที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ โดยได้ทดลองเทียบผลการวัดกับสถานีวัดสภาพอากาศที่วางขายเพื่อการค้าในปัจจุบัน โดยช่วงระยะเวลาทดลองคือ 8 เดือน ซึ่งผลการทดลองพบว่าให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน โดยสถานีวัดอากาศนี้ถูกพิมพ์โดยใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกที่คงทน ติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ราคาถูก ซึ่งนอกจากสัญญาณของการเสื่อมสภาพเมื่อผ่านไป 5 เดือนแล้ว การวัดอุณหภูมิ ความดัน ฝน รังสีอัลตร้าไวโอเล็ต และองค์ประกอบด้านความชื้นอื่น ๆ ให้ผลในระดับเทียบเคียงได้กับสถานีวัดอากาศที่ขายกันอยู่ในปัจจุบัน นักวิจัยบอกว่าตัวเขาไม่ได้คาดหวังว่าสถานีวัดอากาศที่พิมพ์ออกมานี้จะทำงานได้ดีถึงขนาดนี้ ปัญหาเดียวของมันก็คือการเสื่อมสภาพ ซึ่งแสดงว่ามันจะถูกนำมาใช้ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Argonne National Laboratory

     

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ดูดฝุ่นแอบฟังเราอยู่หรือเปล่า

Credit Sriram Sami

นักวิจัยจาก University of Maryland และ National University of Singapore แสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ใช้ตามบ้านสามารถถูกแฮกให้ทำหน้าที่ไมโครโฟนได้ ทีมนักวิจัยเก็บข้อมูลจากระบบนำทางที่ใช้ LiDAR จากนั้นใช้การประมวลผลสัญญาณและการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อดึงคำพูดออกมา และระบุชื่อรายการทีวีที่กำลังฉายอยู่ในห้องนั้น ห่นยนต์ดูดฝุ่นใช้ LiDAR ในการสแกนสภาพแวดล้อมรอบตัวมันโดยใช้เลเซอร์ และใช้แสงที่สะท้อนกลับมาในการระบุอ็อบเจกต์ต่าง ๆ ทีมนักวิจัยแฮกระบบโดยเข้าไปควบคุมตำแหน่งของเลเซอร์และส่งข้อมูลที่มันสะท้อนกลับมาไปยังเครื่องโน้ตบุ๊กผ่านทางไวไฟ (Wi-Fi) จากนั้นส่งสัญญาณไปที่ขั้นตอนการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อฝึกสอนให้แยกเสียงคนหรือเสียงดนตรีจากรายการทีวี ระบบนี้สามารถระบุเสียงคนพูดได้แม่นยำถึง 90% และสามารถระบุชื่อรายการทีวีได้จากการฟังรายการทีวีที่มีความยาวอย่างน้อย 1 นาที 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Maryland Institute for Advanced Computer Studies

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตอย่างรุนแรงมากกำลังแพร่กระจายไปทั่วในประเทศประชาธิปไตย

Photo by Leon Seibert on Unsplash


นักวิจัยจาก University of Michigan (U-M) ใช้ระบบติดตามการเซ็นเซอร์อัตโนมัติเพื่อสาธิตให้เห็นว่า การเซ็นเซอร์ออนไลน์กำลังแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วแม้แต่ในประเทศที่มีเสรีภาพที่สุด ทีมนักวิจัยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Censored Planet เก็บข้อมูลจากการประเมินกว่า 21 พันล้านครั้ง จากระยะเวลากว่า 20 เดือน จาก 221 ประเทศ และพบว่าการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตกำลังเพิ่มชึ้นใน 10 ประเทศ รวมถึงประเทศที่คาดไม่ถึงอย่างนอร์เวย์ ญึ่ปุ่น อิตาลี อินเดีย อิสราเอล และโปแลนด์ ทีมนักวิจัยบอกว่าในหลายกรณีมันเริ่มจากการบล็อกสิ่งที่ไม่เหมาะสมชัดเจนอย่างภาพโป๊เด็ก แล้วก็นำไปสู่การวางนโนบายการบล็อกที่รุนแรงมากขึ้น และนี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการประเมินการเซ็นเซอร์เป็นสิ่งจำเป็น วิธีการที่ Censored Planet ใช้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพโดยการแปลงเซิร์ฟเวอร์อินเทอร์เน็ตสาธารณะให้กลายเป็นทหารยามในการติดตามและรายงานเมื่อมีการบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  University of Michigan News

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกตอนนี้ยิ่งเร็วมากขึ้นไปอีก

Image credit: RIKEN

Fugaku ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกในการจัดอันดับของ Top500 ตอนนี้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 442 petaFLOPS จากเดิมที่มีความเร็ว 416 petaFLOPS ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  Fugaku ยังได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากการผสมผสานด้าน high-performance computing (HPC)-artificial intelligence (AI) ซึ่งเพิ่มขึ้นจนแตะหลัก 2.0  exaFLOPS ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นได้มาจากการเพิ่มคอร์เข้าไป 330,000 คอร์ ใน CPU ที่เป็น  Arm-based ของ Fujitsu A64FX ทำให้ตอนนี้มีคอร์ทั้งหมด 7,630,848 คอร์ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: TechRadar