วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ผลิตยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้ตัวแบบคอมพิวเตอร์

นักวิจัยจาก Leiden University's Center for Computational Life Sciences (CCLS) ในเนเธอร์แลนด์กำลังใช้ตัวแบบคอมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความเร็วในการผลิตยา เพื่อใช้ในการค้นหาวัคซีนที่ใช้กับโคโรนาไวรัส  นักวิจัยบอกว่าวิธีนี้จะเป็นประโยชน์ในระยะกลางและระยะยาว  เพราะในระยสั้นนี้มีหลายฝ่ายอยู่แล้วที่พยายาผลิตวัคซีนโคโรนาไวรัส แต่วิธีนี้จะเป็นประโยชน์เมื่อเราได้ยาตัวแรกแล้ว เราสามารถผลิตยาที่เป็นทางเลือกในแบบที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า ใช้ต้นทุนน้อยกว่า และนำไปใช้กับกลุ่มคนไช้ได้กว้างขวางกว่า และนี่คือประโยชน์ที่แท้จริงของงานวิจัยนี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Leiden University (The Netherlands)


วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

นักพัฒนาเปิดเผยภาษาที่ชอบ ไม่ชอบและงานไหนทำเงินได้มากที่สุด

จากการสำรวจนักพัฒนากว่า 65,000 คน ของเว็บไซต์ Stack Overflow พบว่าภาษา TypeScript แซง Python ขึ้นมาเป็นที่สองโดยภาษาอันดับหนึ่งคือ Rust ภาษาที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดสามอันดับคือ VBA, Objective-C และ Perl ส่วนงานที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยนต่อปีสูงสุดสามอันดับในอเมริกาคือ ผู้จัดการวิศกรรม ซึ่งได้รับเงินเดือนเฉลี่ย $152,000 ต่อปี Site Reliability Engineer (ไม่รู้จะแปลว่าอะไรดี)  ได้รับเงินเดือนเฉลี่ยน 140,000 ต่อปี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการเรียนรู้ของเครื่องได้เงินเดือนเฉลี่ย $115,000 ต่อปี 

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  ZDNet

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Play Store, App Store นั้นขึ้นอยู่กับประเทศที่เราลงทะเบียนใช้งาน

ทุกคนที่ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ไม่ว่าจะเป็นมือถือหรือแท็บเล็ตคงทราบว่าเราสามารถโหลดแอปและซื้อแอปจากร้านค้าที่เป็นทางการของค่ายต่าง  ๆ ซึ่งจริง ๆ ก็มีสองค่ายคือถ้าเป็นแอนดรอยด์ก็ใช้ Google Play Store ถ้าเป็น iOS (Apple) ก็คือ App Store และก็อาจจะมี Store ของแบรนด์มือถือเองอย่าง Samsung ก็จะมี Galaxy Store และบางคนก็อาจโหลดแอปจากที่อื่น ๆ ที่ไม่อยู่บน Store ที่เป็นทางการเหล่านี้ แต่อันหลังสุดนี้ผมไม่แนะนำนะครับ เพราะโอกาสที่เราจะได้แอปที่เป็นอันตรายจะสูงขึ้นมาก ขนาดโหลดแอปจาก Store ที่เป็นทางการยังมีแอปหลอกลวงต่าง ๆ หลุดมาให้เราโหลดได้ 

แต่เรื่องที่ผมจะเล่าในวันนี้ไม่เกี่ยวกับ Store หลอกลวงพวกนี้นะครับ แต่จะเล่าเกี่ยวกับ Store ที่เป็นทางการนี่แหละ ซึ่งเรื่องนี้หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้ว แต่ก็มีหลายคนที่อาจจะยังไม่รู้ และคนที่ไม่รู้หลายคนอาจเป็นคนที่ทำงานเกี่ยวกับการขายและให้บริการเกี่ยวกับมือถือ และให้คำแนะนำผิด ๆ กับผู้บริโภคได้ นั่นคือถ้าเราลงชื่อเข้าใช้ แล้วระบุ Store ที่ต่างกันในแต่ละประเทศ เราก็อาจจะหาแอปบางตัวไม่เจอ และไม่สามารถติดตั้งลงบนเครื่องของเราได้ 

เรื่องนี้เกิดกับโทรศัพท์ของน้องสาวผมอีกแล้วครับ ผมเคยเขียนว่าน้องสาวเพิ่งซื้อโทรศัพท์มาเครื่องนึงแล้วก็มีปัญหาที่ผมเข้าไปแก้ไขให้ถ้าใครอยากอ่านก็เข้าจากลิงก์นี้ได้ครับ เมื่อสองสามวันก่อนก็เกิดปัญหาอีกครับ คือเขาโหลดแอปบางตัวไม่ได้ และเขาก็ไปถามร้านมือถือ แต่ไม่ใช่ร้านที่เขาซื้อมา ซึ่งเขาเล่าว่า เจ้าหน้าที่เอามือถือเขาไปดู แล้วก็บอกว่า ที่ลงแอปไม่ได้ เพราะมือถือนี้ไม่ได้ซื้อจากเครื่องที่อนุญาตให้ขายในประเทศไทย เป็นเครื่องนอก เครื่องหิ้วอะไรประมาณนี้ ซึ่งเขาแนะนำให้ไปติดต่อศูนย์ของมือถือเพื่อที่อาจจะช่วยปลดล็อกให้ น้องก็เลยโทรมาหาผม ผมฟังแล้วก็มึนมาก เพราะจริง ๆ ต่อให้เป็นเครืองนอกจริง เท่าที่รู้มันก็ไม่มีการล็อกอะไรแบบนี้ และยิ่งไปกว่านั้น น้องผมไม่ได้ไปซื้อเครื่องหิ้วที่ไหน ซื้อมาจากแบรนด์ชอปของมือถือนั่นแหละ ผมก็เลยถามว่ามีแอปอะไรที่ลงไม่ได้บ้าง ก็มีแอปธนาคารบางเจ้า และแอปพวกชอปออนไลน์อย่าง Shopee และน้องก็ให้ข้อมูลต่อมานิดหน่อยว่า เครื่องเก่าของเขามันก็โหลดไม่ได้เหมือนกัน พอฟังถึงตอนนี้ผมก็เริ่มเดาอาการได้แล้วครับ ก็เลยบอกว่าโอเควันที่ต้องพาแม่ไปหาหมอ เดี๋ยวจะเข้าไปดูให้

เมื่อเข้าไปดู ก็เป็นไปตามที่คาดครับ คือเขาไปลงทะเบียนของ Play Store ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งน่าจะเป็นช่วงที่เขาไปแลกเปลี่ยนการสอนอยู่ที่ฝรั่งเศส และคงลืมไป หรือมีคนที่โน่นช่วยทำให้แล้วเขาไม่รู้เรื่องก็ไม่รู้ ผมก็จัดการเปลี่ยนกลับมาเป็น Store ไทย ทุกอย่างก็เรียบร้อยครับ โหลดแอปที่ต้องการทุกอย่างได้ตามปกติ ซึ่งวิธีการเปลี่ยนก็ง่ายมากครับ เผื่อใครที่มีปัญหานี้อยู่จะได้ทำได้ครับ ก็ให้รันแอป Play Store ที่เราใช้โหลดแอปนั่นแหละครับ ขึ้นมา จากนั้นเลือกที่ปุ่มตามรูป




จากนั้นก็เลือกบัญชีครับ





จากนั้นก็เข้าไปเปลี่ยนประเทศที่ต้องการได้เลยครับ 


ผมเห็นว่าเรื่องนี้ถึงมันจะเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ แล้วก็แก้ปัญหาไม่ได้ แล้วก็อาจต้องเสียเวลาไปที่ศูนย์ไปที่ร้านซ่อมโดยไม่จำเป็น ก็เลยเอามาเล่าให้ฟังครับ    

กว่าครึ่งหนึ่งของทวีตบนทวิตเตอร์ที่เกี่ยวกับโคโรนาไวรัสมาจากบอท

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก Carnegie Mellon University พบว่าเกือบครึ่งของบัญชีทวิตเตอร์ที่ส่งข้อความเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสน่าจะเป็นบอท โดยทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์ทวีตกว่า 200 ล้านทวีตที่เกี่ยวกับไวรัสตั้งแต่เดือนมกราคม และพบว่าประมาณ 45% มีพฤติกรรมที่น่าจะเป็นคอมพิวเตอร์บอทมากกว่าจะเป็นคน ยิ่งไปกว่านั้นนักวิจัยยังระบุว่ามีเรื่องเท็จเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสกว่า 100 เรื่องที่ถูกทวีตโดยบอท วิธีการติดตามบอทก็คือ ดูว่ามีบัญชีไหนบ้างที่โพสต์ข้อความบ่อย ๆ เกินกว่าที่คนปกติจะทำได้ หรือข้อความที่บอกว่าอยู่ในประเทศที่แตกต่างกันภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง นักวิจัยบอกว่าบอทมีการทำงานในช่วงนี้มากเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดมาก่อนหน้านี้อย่างภัยธรรมชาติ วิกฤติอื่น ๆ และการเลือกตั้ง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NPR

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

แอปมือถือที่ใช้ประเมินโรคโลหิตจางจากภาพถ่ายเปลือกตา

วิศวกรจาก Purdue University ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์นับจำนวนฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ได้จากภาพถ่ายเปลือกตาภายในของคนไข้ โดยภาพถ่ายนั้นสามารถใช้กล้องจากมือถือได้โดยไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ใด ๆ ช่วยอีก นักวิจัยบอกว่าวิธีนี้ไม่ได้จะมาแทนที่วิธีทดสอบเลือดแบบดั้งเดิม แต่มันให้ผลลัพธ์ที่ใช้ได้ในการนับฮีโมโกลบิน โดยไม่ต้องเจาะเลือดของคนไข้ และยังให้ผลทันทีอีกด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Purdue University News