ภาพจาก Reuters; โดย Nichola Groom; Valerie Volcovici |
วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
Google แบ่งปันจุดรั่วไหลของน้ำมันและก๊าซซมีเทนที่จับได้ในอวกาศ
วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
Go Lang ติด 10 อันดับแรกในดัชนี Tiobe
ภาพจาก InfoWorld; โดย Paul Krill |
ภาษา Go ของ Google พุ่งทะยานสู่ 10 อันดับภาษาที่ได้รับความนิยมสูงสุด ในดัชนี Tiobe Index ประจำเดือนกุมภาพันธ์ โดยไต่ขึ้นไปแตะอันดับที่ 8 ซึ่งถือเป็นอันดับสูงสุดที่ภาษา Go เคยทำได้ในดัชนีนี้
สำหรับรายชื่อ 10 อันดับภาษาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในดัชนี Tiobe Index ประจำเดือนกุมภาพันธ์ มีดังนี้
- Python
- C
- C++
- Java
- C#
- JavaScript
- SQL
- Go
- Visual Basic
- PHP
อย่างไรก็ตาม ในดัชนี Pypl Popularity of Programming Language ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 10 อันดับแรกกลับแตกต่างกัน โดยเรียงลำดับดังนี้
- Python
- Java
- JavaScript
- C/C++
- C#
- R
- PHP
- TypeScript
- Swift
- Objective-C
วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
หุ่นยนต์เหมือนคนขนาดเล็กที่สุดในโลก
ภาพจาก Forbes; โดย Leslie Katz |
ทีมหุ่นยนต์จาก Dioesan Boys' School ฮ่องกง ได้รับรางวัลกินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด สำหรับการสร้างหุ่นยนต์เหมือนคน (humanoid) ขนาดเล็กที่สุด
ตัวหุ่นยนต์ประกอบด้วยแผ่นอะคริลิคและชิ้นส่วนที่พิมพ์สามมิติ ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน 7.4 โวลต์ และสามารถควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือหรือระบบควบคุมภายในตัว
หุ่นยนต์จะต้องเคลื่อนไหวด้วยสองเท้าและขยับแขนเพื่อรับรองคุณสมบัติ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งโปรแกรมให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เต้นรำและเล่นฟุตบอลได้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Forbes; โดย Leslie Katz
วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
นักวิจัยออกแบบหน่วยประมวลผลจาก DNA
ภาพจาก Tom's Hardware; โดย Christopher Harper |
นักวิจัยจาก Rochester Institute of Technology (RIT) และ University of Minnesota ได้พัฒนาตัวประมวลผล DNA แบบไมโครฟลูอิดิกส์ (microfluidic) ซึ่งมีความสามารถในการคำนวณ อ่าน และเขียนข้อมูลที่จัดเก็บภายใน DNA
"แล็บบนชิป (lab-on-chip)" DNA ตัวต้นแบบนี้รองรับการคำนวณเครือข่ายประสาทเทียม (artificial neural network) กับข้อมูลที่เก็บไว้ภายใน DNA โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารละลายไมโครฟลูอิดิกส์ของโมเลกุล DNA ที่ถูกดัดแปลง นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์และแบบไม่เชิงเส้นได้อีกด้วย
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Tom's Hardware; โดย Christopher Harper
วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
บังกลาเทศติดอันดับศูนย์กลางที่เติบโตเร็วที่สุดสำหรับโปรแกรมเมอร์
ภาพจาก Dhaka Tribune |
บังกลาเทศเป็นศูนย์กลางด้านการเขียนโปรแกรมที่เติบโตเร็วที่สุดตามข้อมูลที่เผยแพร่ล่าสุดโดย GitHub เมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2023 มีนักพัฒนาจากบังกลาเทศ 945,696 คนที่มีบัญชี GitHub เมื่อเทียบกับ 568,145 คนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 ซึ่งหมายถึงอัตราการเติบโตแบบปีต่อปี 66.5% ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเทศในโลก
สหรัฐอเมริกานำโด่งในด้านจำนวนนักพัฒนาโดยรวมที่มี 20.2 ล้านคน ตามมาด้วยอินเดีย (13.3 ล้านคน) จีน (6.9 ล้านคน) และบราซิล (5.4 ล้านคน)
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Dhaka Tribune