วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

Denmark พัฒนาพาสปอร์ตแบบดิจิทัลเพื่อแสดงว่าฉีดวัคซีนแล้ว

ภาพจาก ACM

รัฐบาลของเดนมาร์กกำลังร่วมมือกับภาคธุรกิจ เพื่อสร้างหนังสือเดินทางดิจิทัลที่จะระบุว่าบุคคลนั้นได้รับวัคซีนโคโรนาแล้วหรือไม่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง และบรรเทาข้อจำกัดเกี่ยวกับการแพร่ระบาด Morten Boedskov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคาดว่าหนังสือเดินทางโคโรนาดิจิทัลจะพร้อมใช้งานในสามถึงสี่เดือน Boedskov กล่าวว่า "มันจะเป็นหนังสือเดินทางพิเศษที่คุณสามารถใส่ไว้ในโทรศัพท์มือถือของคุณ โดยมีเอกสารว่าคุณได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว เราเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีเอกสารนี้ และนำไปแสดงให้คนในโลกได้เห็น ตอนนี้ก็มีหนังสือเดินทางดิจิทัลอย่างน้อยหนึ่งรายการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อทำให้ผู้เดินทางสามารถแสดงว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของการทดสอบ Covid-19 และยังสามารถติดตามการฉีดวัคซีนได้อีกด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press




วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บั๊กในซอฟต์แวร์ของเครื่อง F35 ทำให้เพนตากอนต้องขอความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัย

An F-35 Lightning II fighter jet. Source: U.S. Air Force

เพนตากอนกำลังปรึกษากับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเพื่อประเมินซอฟต์แวร์ของเครื่องบินขับไล่ F-35 ของ บริษัทการบินและอวกาศ Lockheed Martin โดยหวังว่าจะช่วยแก้ไขระบบที่มีบั๊กได้ Laura Seal จากโปรแกรม F-35 กล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์จาก  Applied Physics Laboratory ของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ร่วมด้วย Software  Engineering Institute ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon และ Georgia Institute of Technology Research Institute กำลังทำการประเมินทางเทคนิคอย่างอิสระต่อกัน โปรแกรม F-35 มูลค่า 398 พันล้านดอลลาร์เกี่ยวข้องกับเครื่องบินขับไล่ของ Lockheed ที่มีโค้ดโปรแกมกว่า 8 ล้านบรรทัด Seal กล่าวว่าทางโครงการจะวิเคราะห์การประเมินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ "ข้อมูลที่หลากหลาย" จากนั้นจะประกาศวันที่สำหรับหมุดหมายสำคัญของโปรแกรม รวมถึงการทดสอบการรบจำลองเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ F-35 เทียบกับเครื่องบินและอากาศยานรุ่นล่าสุดของรัสเซียและจีน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg

เพิ่มเติมเสริมข่าว: 

เอาข่าวนี้มาเล่าเพื่อให้เห็นว่าทางต่างประเทศเขาขอความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยทางด้านซอฟต์แวร์อย่างไรบ้าง มหาวิทยาลัยบ้านเราน่าจะจัดบริการทางด้านทดสอบระบบแบบนี้ เพราะตอนนี้โปรแกรมมีความซับซ้อนและเกี่ยวพันกับชีวิตของเรามากขึ้น 

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

AI ระบุผู้ติด COVID-19 ที่ไม่แสดงอาการ

Photo: Gao Han/VCG/Getty Images

นักวิจัยจาก บริษัท เทคโนโลยี Synergies Intelligent Systems และ Universität Hamburg ของเยอรมนีได้พัฒนาอัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่องที่สามารถระบุได้ว่าใครบ้างในฝูงชนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นพาหะของ Covid-19 แบบไม่แสดงอาการ อัลกอริธึมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการอนุมานของความน่าจะเป็นของแต่ละบุคคล (continuous learning and inference of individual probability) หรือ CLIIP ซึ่งใช้การเคลื่อนที่ของผู้คนในเมืองจากการใช้การติดตามตำแหน่งบนโลก (global positioning system) หรือ GPS และข้อมูลของผู้ป่วยที่ทราบว่าติดเชื้อเป็นฐานในการระบุ ความแม่นยำของ CLIIP ขึ้นอยู่กับการที่คนต้องใช้แอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนที่ใช้ GPS ซึ่งเปิดการติดตามตำแหน่งของพวกเขาให้อยู่ในระยะไม่เกินหนึ่งเมตร (3.2 ฟุต) และบันทึกผลการทดสอบไวรัสที่เป็นบวก (คือติดไวรัส) Michael Chang ของ Synergies กล่าวว่า "ด้วยเทคโนโลยีประเภทนี้เราสามารถกักกันคนจำนวนน้อยมาก - เพียง 3% ถึง 5% และลดผลกระทบของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum



วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ผลการค้นหาจาก Google เปิดเผยผลเสียหายแฝงจากการล็อกดาวน์

Photo by Elena Mozhvilo on Unsplash

นักวิจัยจาก University of Warwick ของสหราชอาณาจักร University of Ottawa ของแคนาดาและ Paris School of Economics และ Aix-Marseille ๊ืรอำพหระั ของฝรั่งเศสพบว่าข้อมูล Google Trends จาก 10 ประเทศทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริการะหว่างเดือนมกราคม 2019 ถึงเมษายน 2020 แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพจิต จากการสั่งล็อกดาวน์อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาด นักวิจัยสังเกตเห็นจำนวนผู้คนที่ค้นหา ใน Google โดยใช้คำที่เกี่ยวข้องกับความเบื่อ ความเหงา และความกังวล เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเริ่มต้นของการล็อกดาวน์ครั้งแรก Nick Powdthavee จาก University of Warwick กล่าวว่า "ผลการค้นพบของเราบ่งชี้ว่าสุขภาพจิตของผู้คนอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดและการล็อกดาวน์" และยังกล่าวเสริมว่า “ อาจมีความจำเป็นที่ต้องทำให้เแน่ใจว่ามีการสนับสนุนที่จัดเตรียมไว้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องดิ้นรนมากที่สุดจากการล็อกดาวน์”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Warwick (U.K.)

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สิงคโปร์เปิดใช้บริการรถโดยสารอัตโนมัติเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก

Photo by Jisun Han on Unsplash

สิงคโปร์ได้เปิดตัวบริการรถโดยสารอัตโนมัติเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ซึ่งจะวิ่งในเส้นทางสองสายคือ Singapore Science Park 2 และ Jurong Island โดยเป็นโครงการนำร่องระยะเวลา 3 เดือนเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของบริการตามความต้องการ (on-demand service) รวมถึงความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพและ ผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Alliance for Action (AfA) on Robotics ในขณะที่รถโดยสารถูกสร้างขึ้นโดย บริษัทวิศวกรรม ST Engineering; ผู้ให้บริการแผนที่ GPS Lands ให้อัลกอริทึมการทำแผนที่สำหรับการนำทาง AfA กล่าวว่า "เพื่อให้ได้รับข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมที่จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการการขนส่งในเมืองในอนาคต เส้นทางทั้งสองมีความแตกต่างกันในสภาพทางกายภาพ ผู้โดยสาร ประเภทการบริการและยานพาหนะ ตลอดจนแนวคิดการดำเนินงาน" ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างเช่นข้อมูลเชิงลึกจากสาย Science Park 2 จะช่วยระบุได้ว่าบริการรถบัสแบบออนดีมานด์สามารถตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งของผู้ที่เรียกใช้ในพื้นที่ช่วงนอกเวลาเร่งด่วนได้ดีกว่าหรือไม่เมื่อระบบขนส่งสาธารณะให้บริการด้วยความถี่ที่ต่ำลง ส่วนเส้นทาง Jurong Island จะจอด 10 สถานี  และวิ่งตามกำหนดเวลาตั้งแต่เวลา 11.30 น. ถึง 14.30 น. ในวันธรรมดา เพื่อรองรับการเดินทางในช่วงเที่ยงวัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet