วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

คอมพิวเตอร์วิชันสามารถประมาณปริมาณแคลอรีในอาหารได้โดยแค่เหลือบมอง

ภาพจาก filadendron/Getty Images

นักวิจัยจาก Karlsruhe Institute of Technology (KIT) ของเยอรมนีได้พัฒนาเทคนิคคอมพิวเตอร์วิชันเพื่อประเมินปริมาณแคลอรี่ของมื้ออาหารจากภาพถ่าย ทีมนักวิจัยได้ใช้เครือข่ายประสาทเทียม DenseNet ที่จะเชื่อมโยงภาพถ่ายอาหารจากฐานข้อมูลที่มีรูปภาพ 308,000 ภาพ จากสูตรอาหาร 70,000 สูตร จากเว็บไซต์ทำอาหารในเยอรมัน โดยวิธีนี้จะทำนายธาตุอาหารหลักจากส่วนประกอบที่ระบุไว้ในสูตรอาหาร นักวิจัยบอกว่าสมมติฐานของเทคนิคนี้ก็คือ อาหารถูกปรุงตามสูตรอย่างถูกต้อง โดยตัวแบบจะเรียนรู้ระหว่างข้อมูลโภชนาการกับรูปภาพ ตัวแบบนี้สามารถประมาณปริมาณแคลอรีได้ถูกต้องอยู่ที่ค่าเฉลี่ยประมาณ 32.6% เมื่อนำไปประเมินกับภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แต่นักวิจัยบอกว่ามันสามารถแยกความแตกต่างระหว่างอาหารที่มีแคลอรีสูงกับแคลอรีต่ำได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่:   New Scientist

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

DeepER ใช้การเรียนรู้เชิงลึกจัดสรรบริการฉุกเฉินให้ดีขึ้น

ภาพจาก Binghamton University News

นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Binghamton ใช้วิธีการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อวิเคราะห์ระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉินใช้ในการแก้ไขปัญหา และแนะนำวิธีการจัดสรรทรัพยากรให้ดีขึ้นถ้าจำเป็น เครื่้องมือนี้เรียกว่า DeepER ซึ่งเป็นตัวแบบการเข้าและถอดรหัสแบบเป็นลำดับ โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบ Recurrent ทีมนักวิจัยใช้ข้อมูลสาธารณะของเมืองนิวยอร์กในช่วงเวลา 10 ปี โดยแบ่งกลุ่มให้เห็นถึงประเภทของเรื่องฉุกเฉิน และเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา นักวิจัยบอกว่าเหตุการณ์หลายอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน และเวลาในการแก้ไขก็ย่อมจะต้องใช้เวลามากขึ้น เนื่องจากต้องมีการแบ่งปันบุคลากร ทรัพยากร และเครื่องมือ และสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นจากระยะเวลาที่ใช้แก้ปัญหา ซึ่งนักวิจัยจะใช้ข้อมูลนี้ในการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Binghamton University News

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

หมวกสำหรับวิเคราะห์สมองทารก

ภาพจาก University College London

นักวิจัยจาก University College London (UCL) ของสหราชอาณาจักร  Cambridge University, Rosie Hospital และบริษัทสตาร์ตอัพ Gowerlabs ได้สาธิตอุปกรณ์เทคโนโลยีที่จัดทำแผนที่สมองของเด็กทารกแบบสวมใส่ได้ โดยอยู่ในรูปหมวกสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน โดยปล่อยแสงสีแดงและแสงที่มีความใกล้เคียงกับอินฟาเรดที่ไม่เป็นอันตราย ในการสร้างภาพสามมิติของกิจกรรมของสมอง ซึ่งด้วยวิธีนี้ทำให้แพทย์และนักประสาทวิทยาไม่ต้องนำทารกไปผ่านเครื่องถ่ายภาพด้วยสนามแม่เหล็ก นักวิจัยบอกว่าวิธีนี้ปลอดภัย เงียบ และสวมใส่ได้ และสามารถสร้างรูปภาพการทำงานของสมองในรายละเอียดที่ดีกว่าเทคโนโลยีอื่นที่ใกล้เคียงกัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University College London

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

AI ช่วยให้แอป "อัจฉริยะ" เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

USask post-doctoral fellow Hao Zhang  (Photo credit: Dave Stobbe for the University of Saskatchewan.)

นักวิจัยจาก University of Saskatchewan (USask) ในแคนาดาได้ประดิษฐ์ตัวแบบคอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์ที่อาจมีศักยภาพในการทำให้แอปพลิเคชัน "อัจฉริยะ" อย่างผู้ช่วยส่วนตัว (เช่น Siri) โปรแกรมรู้จำใบหน้า หนือโปรแกรมทำนายสภาพอากาศ ปลอดภัยขึ้น เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น  นักวิจัยบอกว่าตัวแบบของเขาแบ่งกระบวนการประมวลผลของ AI เป็นส่วนเล็ก ๆ เพื่อช่วยให้แอปรันได้บนสมาร์ตโฟนแทนที่จะต้องไปรันบนเซิร์ฟเวอร์ เขาได้รันโปรแกรมจำลองเพื่อเปรียบเทียบตัวแบบที่สร้างขึ้นกับตัวที่ใช้อยู่บนโทรศัพท์รุ่นใหม่ ๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ผลลัพธ์คือตัวแบบสามารถรันแอปหลาย ๆ ตัวได้เร็วกว่าอุปกรณ์ที่ขายกันอยู่ในปัจจุบันถึง 20% และใช้แบตเตอรีน้อยกว่าสองเท่า ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถนำไปสู่วิธีการที่แตกต่างออกไปในการออกแบบแอป และระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์อย่างแท็บเล็ต โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Saskatchewan

 

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

หัวใจที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติใช้เป็นเครื่องมือในการผ่าตัด


ภาพจาก Carnegie Mellon University

นักวิจัยจาก Carnegie Mellon University (CMU) พัฒนาตัวแบบหัวใจมนุษย์ทีมีขนาดเท่าของจริงเพื่อใช้พิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์สามมิติได้เป็นที่แรก โดยใช้วิธีที่เรียกว่า  Freeform Reversible Embedding of Suspended Hydrogels (FRESH) ซึ่งการพิมพ์หัวใจมนุษย์แบบขนาดเท่าของจริงนี้ต้องใช้เครื่องพิมพ์สามมิติที่สั่งทำเป็นพิเศษ และต้องปรับปรุงซอฟต์แวร์เพื่อรักษาความเร็วและความเที่ยงตรงของการพิมพ์ นักวิจัยบอกว่าสิ่งที่ได้ไม่ใช่เป็นแค่ใช้เพื่อการวางแผน แต่สามารถนำไปใช้ได้จริง หมอผ่าตัดสามารถใช้มันในการฝึกเพราะมันสามารถตอบสนองได้เหมือนเนื้อเยื่อจริง 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Carnegie Mellon University