วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เกมสงครามกับ COVID-19 อาจช่วยรักษางานของเรา

ภาพจาก ACM

uFlexReward ซึ่งเจ้าของคือ Unilever ได้พัฒนาเกมสงคราม COVID-19 ซึ่งเป็นเกมจำลองที่จะให้ผู้บริหารในอังกฤษ ได้พิจารณาผลกระทบกับแนวโน้มของรายได้ต่อการลดตำแหน่งงานลง ผู้เล่นจะต้องจำลองกลยุทธ์ที่จะลดค่าใช้จ่ายเงินเดือนลง 20% ในบริษัทจำลอง โดยสามารถเปรียบเทียบวิธีการปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมาก เทียบกับวิธีอื่น ๆ และผลกระทบระยะยาวต่อบริษัทกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง เกมนี้จะทำให้ผู้เล่นสามารถรวมเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการ โบนัส และรางวัลที่ได้รับร่วมกันเข้ามาเป็นค่าใช้จ่ายก้อนเดียว ซึ่งก็จะทำให้ผู้เล่นมองเห็นวิธีการต่าง ๆ ในการลดค่าใช้จ่ายได้ชัดเจนขึ้น ผลการตัดสินเกมที่แข่งขันกันระหว่างทีมผู้บริหารของ Unilever กับผู้บริหารของ Endava จะมีขึ้นในวันที่ 3 ธันวาคม 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

เพิ่มเติมเสริมข่าว 

ใครอยากเล่นเกมลองเข้าไปที่ลิงก์นี้ได้ครับ  

 

นักวิจัยแยกและถอดรหัสรูปแบบสัญญาณสมอง

ภาพจาก USC Viterbi School of Engineering 

นักวิจัยจาก   University of Southern California Viterbi School of Engineering (USC Viterbi) และ New York University พัฒนาขั้นตอนวิธีการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อแยกและถอดรหัสพฤติกรรมที่ได้จากสัญญาณที่ส่งมาจากสมอง ขั้นตอนวิธีนี้สามารถแยกแยะรูปแบบไดนามิกของสัญญาณสมองที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่นักวิจัยสนใจ ขั้นตอนวิธีนี้ยังสามารถหารูปแบบของสัญญาณประสาทที่ถูกมองข้ามไปโดยวิธีอื่น นักวิจัยบอกว่าการแยกรูปแบบสัญญาณประสาทแบบไดนามิกที่สัมพันธ์กับฟังก์ชันที่ต่างกันของสมอง ทำให้เราสามารถศึกษาฟังก์ชันของสมอง และพัฒนาส่วนติดต่อระหว่างเครื่องกับสมองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยซ่อมแซมฟังก์ชันที่เสียไปจากการทำงานผิดปกติของระบบประสาทและจิตใจ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: USC Viterbi School of Engineering

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ทีมนักวิจัยพัฒนา "จมูกอิเลกทรอนิกส์" เพื่อดมความสดของเนื้อ

ภาพจาก Nanyang Technological University (Singapore)

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาตินำโดย Nanyang Technological University สิงคโปร์ ได้พัฒนาจมูกอิเลกทรอนิกส์ที่ใช้ AI ที่เลียนแบบความสามารถของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในการประเมินความสดของเนื้อจากกลิ่นของมัน หลักการทำงานก็คือที่ตัวบรรจุภัณฑ์จะมีบาร์โค้ดที่เปลี่ยนสีตามแก๊สที่ถูกปล่อยออกมาจากเนื้อที่กำลังเน่าไปเรื่อย ๆ จากนั้นใช้แอปบนสมาร์โฟนเพื่ออ่านบาร์โค้ด การฝึกสอนจมูกอิเลกทรอนิกส์ทำโดยใช้คลังสีของบาร์โค้ด นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองจมูกอิเลกทรอนิกส์นี้โดยใช้ตัวอย่างที่เป็น ไก่ ปลา และเนื้อ และได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ 98.5% นักวิจัยบอกว่าระบบนี้สามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์ได้โดยง่าย และได้ผลลัพธ์ในเวลาอันรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องใช้สายเพื่อส่งสัญญาณอิเลกทรอนิกส์หมือนระบบจมูกอิเลกทรอนิกส์บางตัวที่ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อนหน้านี้ ดูวีดีโอการทำงานได้จากข่าวเต็มครับ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Nanyang Technological University (Singapore)

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การใช้รูปแบบสองรูปแบบในการปลดล็อกจะช่วยให้โทรศัพท์แอนดรอยด์มีความปลอดภัยมากขึ้น

Bust of Washington on the GWU campus (Dreamtime photo: Jon Bilous)

นักวิจัยจาก George Washington University (GWU) พบว่าการใช้รูปแบบหลายรูปแบบในการปลดล็อกโทรศัพท์แอนดรอยด์ให้ความปลอดภัยกว่าการใช้เพียงรูปแบบเดียว และในบางกรณียังมีความปลอดภัยกว่าการใช้ตัวเลข 4 หรือ 6 หลักอีกด้วย เทคนิคการปลดล็อกสองรูปแบบก็คือการให้ผู้ใช้เลือกรูปแบบการปลดล็อกมาสองรูปแบบ แล้วให้ใช้ต่อเนื่องกันในการปลดล็อกโทรศัพท์ จากการสำรวจผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่กว่า 600 ราย พบว่าการใช้รูปแบบสองรูปแบบนี้จะช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ นักวิจัยบอกว่าการใช้วิธีนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัยขึ้นมาก โดยไม่มีผลกระทบกับการใช้งานด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: George Washington University

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ช่วยตอบคำถามว่าทำไมปลาต้องว่ายน้ำเป็นฝูง


ภาพจาก: University of Konstanz

นักวิจัยที่  Max Planck Institute of Animal Behavior (MPI-AB) ของเยอรมัน และ University of Konstanz ร่วมมือกับนักวิจัยจาก Peking University ของจีน ในการใช้หุ่นยนต์ที่เหมือนปลาสาธิตการประยัดพลังงานการว่ายน้ำของฝูงปลา โดยที่ไม่ต้องเฝ้าดูพวกมันจากที่ไกล ๆ หุ่นยนต์ปลานี้ช่วยให้นักวิจัยวัดพลังงานที่ต้องใช้ไปในการว่ายน้ำของปลาที่ว่ายไปด้วยกัน และว่ายไปตามลำพัง นักวิจัยบอกว่าจากการทดลองกว่า 10,000 ครั้ง พบว่าปลาตัวที่ว่ายนำฝูงจะทำให้เกิดผลกระทบกับการเคลื่อนที่ของน้ำของปลาตัวที่ว่ายตามมา เพื่อประหยัดพลังงานปลาตัวที่ตามจะโบกหางโดยใช้จังหวะเดียวกับตัวนำ นักวิจัยบอกว่าก่อนหน้าที่จะจำลองฝูงปลาโดยใช้หุ่นยนต์ ก็เคยมีการสังเกตว่าปลามีพฤติกรรมที่ตัวตามจะว่ายโดยใช้จังหวะเดียวกับตัวนำ แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไม จนกระทั่งได้เข้าใจจากการใช้หุ่นยนต์นี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Konstanz