อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum
วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
งานด้านเทคโนโลยีในช่วง COVID
จากรายงานของบริษัทหางาน Dice ในไตรมาสแรกพบว่ามีความต้องการงานด้านเทคโนโลยีสูงขึ้นในหลายพื้นที่ในสหรัฐอเมริกาในช่วงการระบาดของ COVID ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการที่ต้องทำงานและใช้ชีวิตแบบออนไลน์ Dice รายงานว่าความต้องการด้านความมั่นคงไซเบอร์เพิ่มขึ้นถึง 20% ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้ .Net และด้านวิศวกรรมระบบก็เพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลัก อย่างไรก็ตามงานด้านส่วนติดต่อกับผู้ใช้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดอันเป็นผลเนื่องมาจากการที่บริษัทหลายแห่งได้ชะลองานด้านนี้เอาไว้ก่อน เพื่อไปพัฒนางานด้านโครงสร้างพื้นฐานหลักของโปรแกรม แต่เมื่อไปดูประกาศทักษะที่ต้องการพบว่าวิศวกรระบบ DevOps และ scrum มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ทักษะด้าน Ruby, Git, C# ของไมโครซอฟท์, JavaScript และ .Net นั้นลดลง ซึ่งในกรณีของ .Net นั้นน่าประหลาดใจมาก เพราะมันสวนทางกับรายงานแรกที่บอกว่ามีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมาก
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
คอนเสิร์ตแบบ VR ในเฮลซิงกิมีผู้เข้าร่วมกว่า 1 ล้านคน
การจัดคอนเสิร์ตแบบ VR ในวันที่ 1 พ.ค. ในเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ มึผู้เข้าร่วม1.4 ล้านคน โดยมีเกือบ 150000 คนที่สร้างอวตารเข้ามาร่วมโต้ตอบกับศิลปิน โดยคอนเสิร์ตนี้มีคนฟินแลนด์ 70000 คนเข้าร่วม ที่เหลือมาจากอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน สวีเดน และที่อื่น ๆ ผู้จัดบอกว่าคอนเสิร์ตนี้เป็นความพยายามที่จะสถาปนาเมืองเฮลซิงกิแบบเสมือน ให้เป็นเมืองคู่แฝดของเฮสซิงกิ ซึ่งผู้พัฒนาบอกว่าวิกฤตสามารถใช้เป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีที่ตามปกติแล้วต้องใช้เวลาเป็นปีให้เกิดขึ้นได้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Forbes
วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
หุ่นยนต์แทนที่งานไปกี่ตำแหน่งกันแน่?
ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) และ Boston University สรุปว่าการแทนที่คนงานด้วยหุ่นยนต์เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นจริง แต่ที่บอกว่าจะมาแทนคนทั้งหมดอาจจะเกินจริงไปหน่อย ผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มหุ่นยนต์ 1 ตัวต่อคนงาน 1000 คน จะลดอัตราการจ้างคนงานต่อประชากรทั่วสหรัฐลง 0.2% จากปี 1990 ถึง 2007 โดยบางพื้นที่อาจจะมีผลกระทบมากกว่าบางพิ้นที่ การเพิ่มหุ่นยนต์หนึงตัวจะแทนที่คนงานประมาณ 3.3 คนทั่วประเทศ และค่าจ้างจะลดลง 0.4% ในขณะที่ฝั่งอเมริกาเพิ่มหุ่นยนต์ 1 ตัวต่อคนงาน 1000 คน ฝั่งยุโรปเพิ่มหุ่นยนต์ 1.6 ตัวต่อคนงาน 1000 คน ดังนั้นการศึกษานี้ไม่พบการสนับสนุนใด ๆ กับแนวคิดที่ว่าหุ่นยนต์จะมาแทนที่คน แต่มันทำให้เห็นว่าการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติจะเป็นจุดที่คนต้องต่อสู้อย่างแท้จริง
อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ช่วงกักตัวไปฝึกเต้นรำกันครับ
บล็อกวันนี้อาจจะเรียกว่าต่อเนื่องจากศุกร์ที่แล้วก็ได้นะครับ เมื่อศุกร์ที่แล้วผมชวนไปฟังเพลง Tennessee Waltz ซึ่งเป็นเพลงเก่า และเป็นเพลงช้า ๆ แต่เมื่อผมไปค้นวีดีโอจาก YouTube เพื่อเอามาประกอบบล็อก ก็เลยได้พบว่า เพลง Tennessee Waltz ถูกนำไป cover ใหม่ในเยอรมัน โดยนักร้องชื่อ Ireen Sheer ซึ่งเพลง Tennessee Waltz ถูกนำไปทำให้กลายเป็นเพลงที่มีจังหวะเต้นรำ และถูกนำไปใช้เป็นเพลงประกอบการเต้นที่เรียกว่า Line Dance จากที่พบค้นดูใน Youtube พบว่าการเต้นเพลงนี้ค่อนข้างจะเป็นที่นิมในเกาหลีใต้นะครับ เพราะวีดีโอใน YouTube ส่วนใหญ่ที่ผมเจอจะมาจากเกาหลีใต้ ลองไปฟังและไปดูกันครับ และอาจลองหัดเต้นตามกันดูก็ได้นะครับถ้าใครยังต้องอยู่บ้านแล้วรู้สึกเบื่อ
สื่อสังคมออนไลน์พบช่องโหว่ในซอฟต์แวร์เร็วกว่าภาครัฐ
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ U.S. Department of Energy's Pacific Northwest National Laboratory (PNNL) พบว่า ช่องโหว่ทางซอฟต์แวร์มักจะถูกพูดคุยกันบนสื่อสังคมออนไลน์ก่อนที่จะถูกรายงานในเว็บไซต์ของรัฐบาล ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อความมั่นคงได้ นักวิจัยพบว่าประมาณ 25% ของช่องโหว่ทางซอฟต์แวร์ระหว่างปี 2560-2562 จะถูกพูดคุยกันก่อนที่จะอ้างถึงในฐานข้อมูลด้านความมั่นคงของขาติ โดยเฉลี่ยแล้วจะมีช่องว่างประมาณ 90 วัน หลังจากที่มีพูดคุยกันก่อนที่ข้อมูลดังกล่าวจะเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูล โดยจากการวิเคราะห์ Github, Twitter, และ Reddit พบว่าส่วนใหญ่ต้นตอของการพูดคุยเริ่มมาจาก Github นักวิจัยบอกว่านอกจากจะมองว่าจุดนี้เป็นภัยต่อความมั่นคง แต่ในอีกแง่หนึ่งมันทำให้ภาครัฐรู้ว่าควรจะติดตามสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ให้มากขึ้นเพื่อจะลดช่องว่างของช่วงเวลาลง
อ่านข่าวเต็มได้ที่: GCN
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ไม่น่าแปลกใจที่ต้นกำเนิดการพูดคุยมาจาก Github เพราะเป็นแหล่งรวมของนักเขียนโปรแกรมอยู่แล้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)