นักวิจัยจาก University of Eastern Finland ได้พัฒนาตัวแบบที่ใช้การเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) เพื่อระบุระดับของการนอนได้แม่นยำกว่าหมอที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยข้อมูลที่นำมาใช้เป็นข้อมูลจากผู้ป่วยที่เป็นปกติ และข้อมูลจากผู้ป่วยที่อาจจะมีอาการหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากการอุดกั้น ผลการทดลองพบว่าระบบสามารถระบุระดับของการนอนหลับของคนปกติ ได้แม่นยำอยู่ที่ 83.7% ถ้าใช้ EEG และ 83.9% เมื่อใช้ว EOG ร่วมด้วย ส่วนคนที่อาจมีอาการหยุดหายใจขณะหลับจะระบุได้แม่นยำอยู่ที่ 82.9% โดยใช้ EEG และ 83.8% เมื่อใช้ EOG ร่วมด้วย
อ่านข่าวต็มได้ที่: University of Eastern Finland News
วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
นักวิจัยสร้างระบบโดรนเพื่อเตือนภัยธรรมชาติ
นักวิจัยจาก Trung Duong of Queen's University Belfast ในสหราชอาณาจักร ได้พัฒนาระบบโดรนที่ใช้ช่วยเตือนเมือเกิดภัยธรรมชาติ นอกจากนี้โดรนดังกล่าวยังสามารถใช้เป็น Wifi Hotspot ได้ด้วย เพื่อที่เราจะได้ใช้งานเครือข่ายได้ ในกรณีที่เครือข่ายโทรคมนาคมใช้งานไม่ได้ในช่วงที่มีสภาพอากาศที่เลวร้าย ระบบโดรนนี้สามารถใช้เป็นเครือข่ายโทรคมนาคมราคาถูกได้ เนื่องจากพวกมันจะถูกส่งขึ้นบินครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เพื่อเก็บข้อมูลสภาพอากาศ นักวิจัยเรียกเครือข่ายการสื่อสารระหว่างโดรนเหล่านี้ว่า Catastrophe-Tolerant Telecommunications Network (CTTN) ซึ่งสามารถจะใช้สื่อสารกันได้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินเมื่อเครือข่ายหลักอื่น ๆ ใช้งานไม่ได้ ตัวอย่างการใช้งานก็เช่นการติดต่อกันระหว่างทีมกู้ภัย หรือทีมแพทย์ จุดประสงค์ของการพัฒนาระบบนี้ก็คือช่วยเหลือคนที่อยู่ในภฺมิประเทศที่มีสภาพอากาศที่เลวร้าย และช่วยให้ทีมกู้ภัยและทีมแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น ปัญหาอีกประการหนึ่งที่งานวิจัยนี้ได้แก้ไขแล้วก็คืออายุการใช้งานแบตเตอรีของโดรน ซึ่งโดรนธรรมดาที่ใช้กันเล่น ๆ ทั่วไปจะมีอายุแบตเตอรีประมาณ 30 นาที แต่ในงานวิจัยนี้อายุของแบตเตอรีจะอยู่ได้นานกว่า3-5 เท่าของโดรนธรรมดา และที่สำคัญราคายังไม่สูงเท่าโดรนแบบที่มืออาชีพใช้กันด้วย ระบบนี้ได้ถูกนำไปใช้แล้วในเวียดนามโดย องค์การจัดการภัยพิบัติเวียดนาม (Vietnam’s Disaster Management Authority)
อ่านข่าวเต็มได้ที่: DEVELOPMENT & ALUMNI RELATIONS OFFICE News
อ่านข่าวเต็มได้ที่: DEVELOPMENT & ALUMNI RELATIONS OFFICE News
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
สอนรถให้แยกเสียงได้
นักวิจัยที่ Germany’s Fraunhofer Institute for Digital Media Technology (IDMT) ได้พัฒนาระบบให้รถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองสามารถแยกแยะเสียงจากภายนอกเช่นเสียงไซเรนได้ การฝึกสอนระบบใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) โดยใช้คลังเสียงแบบอะคูสติก (acoustic) และได้พัฒนาขั้นตอนวิธีที่ทำให้ระบบสามารถรู้จำเสียงที่เกิดจากวัตถุที่เคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ ได้ และยังได้พัฒนาขั้นตอนวิธีที่อยู่บนฐานของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ที่ทำให้แยกเสียงที่รถต้องรู้จักออกจากเสียงอื่น ๆ ได้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Farunhofer
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Farunhofer
วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ใช้ AI ช่วยระบุตัวนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ
นักวิจัยที่ North Carolina State University's Center for Educational Informatics ได้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Arificial Intelligence, AI) เพื่อช่วยวัดว่านักเรียนเข้าใจบทเรียนแค่ไหนผ่านทางการเล่นเกม โดยตัวแบบ (model) ที่ปรับปรุงขึ้นใช้แนวคิดการฝึกสอน AI ที่เรียกว่าการเรียนแบบหลายงาน (multi-task learning) ซึ่งจะช่วยปรับปรุงทั้งการสอนและผลลัพธ์การเรียนรู้ การเรียนแบบหลายงานก็คือการที่ตัวแบบตัวแบบหนึ่งใช้กับงานหลาย ๆ งาน AI จะถูกมอบหมายให้เรียนรู้งาน 17 งาน ซึ่งจะสัมพันธ์กับคำถามที่จะเป็นข้อสอบ 17 ข้อ นักวิจัยได้ทดสอบกับนักเรียน 181 คน โดย AI จะดูวิธีเล่นเกมของนักเรียน และระบุพฤติกรรมของนักเรียนว่าเล่นเกมแบบไหนจึงตอบคำถามถูก และแบบไหนจึงตอบคำถามผิด ซึ่งข้อมูลตรงนี้จะสามารถใช้ทำนายว่านักเรียนคนใหม่ที่เข้ามาเล่นเกมนี้จะตอบคำถามในข้อสอบถูกหรือไม่ นักวิจัยบอกว่าวิธีเรียนแบบหลายงานนี้ช่วยเพิ่มความแม่นยำจากการฝึกสอนแบบเดิม ๆ ประมาณ 10%
อ่านข่าวเต็มได้ที่: NC State University News
อ่านข่าวเต็มได้ที่: NC State University News
วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ยาที่ถูกสร้างจาก AI ถูกใช้กับคนเป็นครั้งแรก
กลุ่มของนักวิจัยจากอุตสาหกรรมยาของอังกฤษและญี่ปุ่นใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) เพื่อสร้างโมเลกุลของยาที่จะทดลองใช้กับมนุษย์ ยาดังกล่าวถูกผลิตขึ้นมาเพื่อทดลองใช้กับผู้ป่วยที่เป็น obsessive-compulsive disorder (OCD) โดย AI ใช้เวลา 12 เดือนในการผลิต โดยถ้าใช้วิธีแบบเดิมจะต้องใช้เวลา 5 ปี นักวิจัยบอกว่าปีนี้เป็นปีแรกที่ใช้ AI ออกแบบยา แต่เมื่อสิ้นทศวรรษนี้ ยาใหม่ ๆ ทุกตัวอาจผลิตโดย AI
อ่านข่าวเต็มได้ที่: BBC Technology News
อ่านข่าวเต็มได้ที่: BBC Technology News
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)