ชาวอเมริกันคนแรกที่ถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาวูฮันได้รับการรักษาโดยความช่วยเหลือของหุ่นยนต์ที่ Providence Regional Medical Center in Everett, WA หุ่นยนต์ดังกล่าวมีหูฟังเพื่อให้หมอสามารถฟังสัญญาณชีพของคนไข้ และมีหน้าจอขนาดใหญ่ให้หมอกับคนไข้ได้คุยกัน โดยมีพยาบาลเป็นคนเลื่อนหุ่นยนต์ไปรอบ ๆ ห้องเพื่อให้หมอได้เห็นและพูดคุยกับคนไข้ หมอบอกว่าหุ่นยนต์นี้จะมีส่วนช่วยลดการติดเชื้อจากคนไข้มาสู่บุคลากรทางการแพทย์ได้ ตามข่าวบอกว่าโรงพยาบาลนี้ได้ทดสอบวิธีการในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชิ้อโรคที่แพร่กระจายและติดต่อกันได้ง่ายอย่าง Ebola หรือ MERS มาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน (ซึ่งก็เลยได้ใช้จริงกับคนไข้รายนี้พอดี) และจริง ๆ แล้วโรงพยาบาลได้เริ่มปรับเปลี่ยนวิธีรักษามาตั้งแต่หลังการระบาดของ Ebola
อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN Health
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ตอนแรกคิดว่าน่าเสียดายที่ยังต้องใช้พยาบาลเลื่อนหุ่นยนต์อยู่ ถ้าให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้เอง หรือใช้รีโมทควบคุมหุ่นยนต์ได้ก็น่าจะทำให้พยาบาลไม่ต้องเสี่ยง แต่คิดอีกที ยังไงก็คงต้องใช้พยาบาลที่เป็นคนดูแลคนไข้อยู่ดี บุคคลากรทางการแพทย์เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละจริง ๆ
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563
ตัวเลขที่จะเปิดเผยเซลมะเร็ง
นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลด้านชีวการแพทย์ (biomedical) ที่ Stanford University School of Medicine พบว่าจำนวนยีน (gene) ที่เซลใช้ในการสร้าง RNA เป็นตัวบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือในการระบุยีนที่ทำให้เกิดมะเร็ง ในปัจจุบันเชื่อกันว่าเซลต้นกำเนิด (stem cell) มักจะเป็นต้นเหตุในการเกิดมะเร็ง แต่การค้นหาเซลต้นกำเนิดทำได้ยาก เพราะมันมักจะเปลี่ยนรูปไปเป็นผิวหนัง กล้ามเนื้อ และตัวเลวร้ายก็ทำให้เกิดมะเร็ง การรักษามะเร็งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่ระบุว่าเซลไหนที่เป็นเซลมะเร็ง แต่การค้นพบนี้จะทำให้การระบุเซลที่อาจเป็นต้นเหตุทำได้ง่ายขึ้น
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Standford Medicine News Center
วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563
การส่งรหัส OTP ไปที่มือถืออาจไม่ปลอดภัย
การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน (Two-Factor Authentication, 2FA) หรือที่เรารูจักกันคือการส่งรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (One Time Password, OTP) ผ่านมาทางมือถือเพื่อให้เราใช้รหัสนั้นเพื่อยืนยันตัวเราในการทำธุรกรรมออนไลน์เช่นการฝากเงินโอนเเงินถอนเงินทำได้โดยปลอดภัยมากขึ้น กว่าการใช้แค่รหัสผ่านของเราอย่างเดียว แต่นักวิจัยจาก Princeton University พบว่าวิธีการดังกล่าวอาจไม่ปลอดภัย เพราะเขาบอกว่าแฮกเกอร์สามารถใช้วิธีที่เรียกว่าการสลับซิม (SIM Swapping) ซึ่งก็คือการเอาซิมใหม่มา แล้วคัดลอกข้อมูลจากซิมเดิมไปใส่ซิมใหม่ จากนั้นก็กลายเป็นเจ้าของเบอร์ได้เลย ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการมือถือที่จะต้องป้องกันไม่ให้มีการกระทำดังกล่าว แต่นักวิจัยพบว่าผู้ให้บริการมือถือขนาดใหญ่ของอเมริกาทั้งห้าแห่ง ไม่มีมาตรการรองรับที่ดีพอในเรื่องนี้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: NewScientist
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
แปลกใจที่อเมริกาเพิ่งมาตื่นเต้นกัน จริง ๆ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของคนไทยเลยนะครับ เราเคยเห็นกรณีแบบนี้มาแล้วหลายครั้ง วิธีการก็ง่าย ๆ คือไปแจ้งว่าซิมหาย แล้วขอเปลี่ยนซิม แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นตอนนี้ค่ายมือถือก็เข้มงวดขึ้นโดยขอบัตรประชาชนตัวจริงของผู้มาติดต่อทุกครั้ง ปัญหาแบบนี้ในบ้านเราก็เลยเงียบ ๆ ไป แต่ในอเมริกาเพิ่งมาตื่นเต้นกัน เราจะสรุปได้ไหมนะครับว่าไอ้เรื่องประยุกต์เทคโนโลบีไปในทางไม่ดีนี่ ไทยเราเก่งกว่าอเมริกาเยอะ
อ่านข่าวเต็มได้ที่: NewScientist
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
แปลกใจที่อเมริกาเพิ่งมาตื่นเต้นกัน จริง ๆ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของคนไทยเลยนะครับ เราเคยเห็นกรณีแบบนี้มาแล้วหลายครั้ง วิธีการก็ง่าย ๆ คือไปแจ้งว่าซิมหาย แล้วขอเปลี่ยนซิม แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นตอนนี้ค่ายมือถือก็เข้มงวดขึ้นโดยขอบัตรประชาชนตัวจริงของผู้มาติดต่อทุกครั้ง ปัญหาแบบนี้ในบ้านเราก็เลยเงียบ ๆ ไป แต่ในอเมริกาเพิ่งมาตื่นเต้นกัน เราจะสรุปได้ไหมนะครับว่าไอ้เรื่องประยุกต์เทคโนโลบีไปในทางไม่ดีนี่ ไทยเราเก่งกว่าอเมริกาเยอะ
วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563
เมื่อ Open Source กำลังเข้าสู่วงการผลิตชิป
บริษัทผลิตชิปรายใหญ่เริ่มพิจารณาที่จะใช้ชุดคำสั่งทางฮาร์ดแวร์ของ RISC-V ที่เปิดให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายมาใช้แทนชุดคำสั่งที่แต่ละบริษัทคิดขึ้นมาเอง ซึ่งมาตรฐานแบบเปิดเผยโค้ดโปรแกรม (open source) ของ RISC-V จะช่วยในด้านการควบคุมการสื่อสารระหว่างซอฟต์แวร์กับตัวชิป ดังนั้นบริษัทที่ใช้มาตรฐานนี้จะสามารถแข่งขันกับบริษัทอย่างอินเทล (Intel) และ ARM ซึ่งเป็นเจ้าหลักในการผลิตหน่วยประมวลผลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ ผู้สนับสนุนแนวทางนี้บอกว่าชุดคำสั่งมาตรฐานเหล่านี้จะช่วยออกแบบชิปที่ดีขึ้นที่สามารถนำไปใช้กับรถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และงานด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้นแนวคิดนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตชิป โดยเฉพาะในส่วนงานอย่างศูนย์ข้อมูล ซึ่งเริ่มคิดที่จะพัฒนาหน่วยประมวลผลขึ้นมาใช้เองมากขึ้น
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
Open Source หรือการเปิดเผยเปิดเผยโค้ดโปรแกรม เป็นคำที่รู้จักกันในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยมีแนวคิดคือผู้ที่สร้างซอฟต์แวร์ จะต้องเปิดเผยโค้ดโปรแกรมให้คนอื่นได้ศึกษา ปรับปรุง และส่งต่อไปยังคนอื่นได้ แนวคิดนี้อยู่บนฐานของการแบ่งปันและร่วมมือ ซึ่งช่วยให้เกิดความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
Open Source หรือการเปิดเผยเปิดเผยโค้ดโปรแกรม เป็นคำที่รู้จักกันในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยมีแนวคิดคือผู้ที่สร้างซอฟต์แวร์ จะต้องเปิดเผยโค้ดโปรแกรมให้คนอื่นได้ศึกษา ปรับปรุง และส่งต่อไปยังคนอื่นได้ แนวคิดนี้อยู่บนฐานของการแบ่งปันและร่วมมือ ซึ่งช่วยให้เกิดความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563
เทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบตัวแบบความเสี่ยงในการรักษาคนไข้
ตัวแบบความเสี่ยงของคนไข้ (patient risk model) เป็นตัวแบบที่หมอจะนำมาใช้ประกอบในการรักษาคนไข้ ตัวอย่างเช่นถ้ามีคนไข้เข้ามารักษาด้วยอาการหัวใจวาย หมอก็จะใช้ตัวแบบตวามเสี่ยงมาประกอบการรักษาโดยดูจากปัจจัยเช่นถ้าอายุเท่านี้ มีอาการแบบนี้ ต้องรักษาแบบนี้ เป็นต้น ซึ่งตัวแบบนี้มีประโยชน์มาก แต่บางครั้งมันก็ใช้ไม่ได้กับคนไข้ทุกคน เช่นอาจมีบางคนที่อายุเท่ากับที่ระบุไว้ในตัวแบบ แต่ถ้ารักษาโดยใช้วิธีการที่กำหนดไว้ในตัวแบบอาจมีความเสี่ยงกับชีวิตของคนไข้
นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ศูนย์วิจัย IBM และโรงเรียนแพทย์แห่ง University of Massachusetts จึงได้ร่วมกันพัฒนาเทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบความเที่ยงตรงของตัวแบบขึ้นมา โดยเทคนิคนี้จะให้ค่าความไม่น่าเชื่อถือในช่วงคะแนนจาก 0 ถึง 1 โดยการเปรียบเทียบคะแนนความเสี่ยงจากตัวแบบความเสี่ยงของคนไข้ที่ใช้ตามปกติ กับค่าความเสี่ยงที่สร้างจากตัวแบบอื่น ๆ ที่ฝึกสอนจากชุดข้อมูลเดียวกัน โดยถ้าได้ค่าความเสี่ยงต่างกัน แสดงว่าตัวแบบไม่น่าเชื่อถือ โดยถ้าค่าความไม่น่าเชื่อถือยิ่งสูงแสดงว่าตัวแบบยิ่งเขื่อถือไม่ได้ และถ้านำไปรักษาคนไข้ก็เท่ากับโยนหัวโยนก้อย คือมีโอกาสรอดกับตายเท่า ๆ กัน
นักวิจัยคาดหวังว่าในอนาคตจะมีซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์ซึ่งใช้เทคนิคนี้ ตัวอย่างการใช้งานก็เช่นถ้ามีคนไข้มา แล้วระบบบอกว่าตัวแบบความเสี่ยงอาจใช้ได้ไม่ดีกับคนไข้คนนี้ หมอก็สามารถขอให้ระบบปรับปรุงตัวแบบความเสี่ยงที่เหมาะกับคนไข้มากขึ้นได้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)