จากทีเคยสรุปข่าวเรื่องการใช้หุ่นยนต์รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาในอเมริกา โดยสรุปว่าหุ่นยนต์ดังกล่าวยังมีข้อจำกัดคือต้องใช้พยาบาลในการเลื่อนหุ่นยนต์ไปรอบ ๆ ห้อง วันนี้เจอข่าวนี้ครับ Sheba Medical Center ในอิสราเอลได้เปิดตัววิธีการรักษาผู้ป่วยโคโรนาไวรัสแบบโทรเวชกรรม (telemedicine) เป็นที่แรกในโลก โดยใช้หุ่นยนต์ที่ควบคุมจากระยะไกล และแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น โดยสามารถตรวจสัญญาณชีพและอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยได้ โดยหุ่นยนต์นี้จริง ๆ แล้วถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทในสหรัฐอเมริกานะครับ แต่ที่น่าสนใจมากในข่าวนี้คือในตอนนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัสในอิสราเอล แต่ทางโรงพยาบาลบอกว่า ทางโรงพยาบาลต้องเตรียมการไว้ก่อน เพื่อให้บุคลการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเสี่ยงจากการติดเชื้อให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังมีแผนการที่จะใช้โทรเวชกรรมนี้ในอีกระดับหนึ่ง ด้วยการที่ทำให้ผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นอะไรร้ายแรงสามารถได้รับการรักษาจากที่บ้าน
อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Jerusalem Post
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
สิ่งที่ได้เห็นจากข่าวนี้ไม่ใช่ตัวเทคโนโลยี เพราะมันควรจะทำได้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่เห็นคือการคิด การทำงานเชิงรุก ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่เห็นจากรัฐบาลของสารขัณฑ์โดยสิ้นเชิง ที่ทำงานเป็นแต่เชิงรับ หรือแม้แต่เชิงรับก็ทำไม่เป็นก็ไม่รู้
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Corona Virus แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Corona Virus แสดงบทความทั้งหมด
วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563
ชายอเมริกันที่ติดไวรัสโคโรนาถูกดูแลโดยหุ่นยนตฺ์
ชาวอเมริกันคนแรกที่ถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาวูฮันได้รับการรักษาโดยความช่วยเหลือของหุ่นยนต์ที่ Providence Regional Medical Center in Everett, WA หุ่นยนต์ดังกล่าวมีหูฟังเพื่อให้หมอสามารถฟังสัญญาณชีพของคนไข้ และมีหน้าจอขนาดใหญ่ให้หมอกับคนไข้ได้คุยกัน โดยมีพยาบาลเป็นคนเลื่อนหุ่นยนต์ไปรอบ ๆ ห้องเพื่อให้หมอได้เห็นและพูดคุยกับคนไข้ หมอบอกว่าหุ่นยนต์นี้จะมีส่วนช่วยลดการติดเชื้อจากคนไข้มาสู่บุคลากรทางการแพทย์ได้ ตามข่าวบอกว่าโรงพยาบาลนี้ได้ทดสอบวิธีการในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชิ้อโรคที่แพร่กระจายและติดต่อกันได้ง่ายอย่าง Ebola หรือ MERS มาเมื่อสองสัปดาห์ก่อน (ซึ่งก็เลยได้ใช้จริงกับคนไข้รายนี้พอดี) และจริง ๆ แล้วโรงพยาบาลได้เริ่มปรับเปลี่ยนวิธีรักษามาตั้งแต่หลังการระบาดของ Ebola
อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN Health
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ตอนแรกคิดว่าน่าเสียดายที่ยังต้องใช้พยาบาลเลื่อนหุ่นยนต์อยู่ ถ้าให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้เอง หรือใช้รีโมทควบคุมหุ่นยนต์ได้ก็น่าจะทำให้พยาบาลไม่ต้องเสี่ยง แต่คิดอีกที ยังไงก็คงต้องใช้พยาบาลที่เป็นคนดูแลคนไข้อยู่ดี บุคคลากรทางการแพทย์เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละจริง ๆ
อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN Health
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ตอนแรกคิดว่าน่าเสียดายที่ยังต้องใช้พยาบาลเลื่อนหุ่นยนต์อยู่ ถ้าให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้เอง หรือใช้รีโมทควบคุมหุ่นยนต์ได้ก็น่าจะทำให้พยาบาลไม่ต้องเสี่ยง แต่คิดอีกที ยังไงก็คงต้องใช้พยาบาลที่เป็นคนดูแลคนไข้อยู่ดี บุคคลากรทางการแพทย์เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละจริง ๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)