วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

เทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบตัวแบบความเสี่ยงในการรักษาคนไข้

ตัวแบบความเสี่ยงของคนไข้ (patient risk model) เป็นตัวแบบที่หมอจะนำมาใช้ประกอบในการรักษาคนไข้ ตัวอย่างเช่นถ้ามีคนไข้เข้ามารักษาด้วยอาการหัวใจวาย หมอก็จะใช้ตัวแบบตวามเสี่ยงมาประกอบการรักษาโดยดูจากปัจจัยเช่นถ้าอายุเท่านี้ มีอาการแบบนี้ ต้องรักษาแบบนี้ เป็นต้น ซึ่งตัวแบบนี้มีประโยชน์มาก แต่บางครั้งมันก็ใช้ไม่ได้กับคนไข้ทุกคน เช่นอาจมีบางคนที่อายุเท่ากับที่ระบุไว้ในตัวแบบ แต่ถ้ารักษาโดยใช้วิธีการที่กำหนดไว้ในตัวแบบอาจมีความเสี่ยงกับชีวิตของคนไข้

นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ศูนย์วิจัย IBM และโรงเรียนแพทย์แห่ง University of Massachusetts จึงได้ร่วมกันพัฒนาเทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบความเที่ยงตรงของตัวแบบขึ้นมา โดยเทคนิคนี้จะให้ค่าความไม่น่าเชื่อถือในช่วงคะแนนจาก 0 ถึง 1 โดยการเปรียบเทียบคะแนนความเสี่ยงจากตัวแบบความเสี่ยงของคนไข้ที่ใช้ตามปกติ กับค่าความเสี่ยงที่สร้างจากตัวแบบอื่น ๆ ที่ฝึกสอนจากชุดข้อมูลเดียวกัน โดยถ้าได้ค่าความเสี่ยงต่างกัน แสดงว่าตัวแบบไม่น่าเชื่อถือ โดยถ้าค่าความไม่น่าเชื่อถือยิ่งสูงแสดงว่าตัวแบบยิ่งเขื่อถือไม่ได้ และถ้านำไปรักษาคนไข้ก็เท่ากับโยนหัวโยนก้อย คือมีโอกาสรอดกับตายเท่า ๆ กัน

นักวิจัยคาดหวังว่าในอนาคตจะมีซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์ซึ่งใช้เทคนิคนี้ ตัวอย่างการใช้งานก็เช่นถ้ามีคนไข้มา แล้วระบบบอกว่าตัวแบบความเสี่ยงอาจใช้ได้ไม่ดีกับคนไข้คนนี้ หมอก็สามารถขอให้ระบบปรับปรุงตัวแบบความเสี่ยงที่เหมาะกับคนไข้มากขึ้นได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น