สวัสดีครับ วันนี้มีเรื่องเกี่ยวกับรายได้ของอาชีพบางอาชีพในอเมริกา พอดีผมบังเอิญไปอ่านเจอใน Yahoo! Education เห็นว่าแปลกดีก็เลยเอามาเล่าให้ฟังกันครับ ในบทความดังกล่าวเขาเริ่มด้วยคำถามว่า คุณคิดว่าระหว่างช่างซ่อมลิฟต์กับเจ้าหน้าที่เทคนิคด้านปรมาณู (nuclear) ใครมีรายได้สูงกว่ากัน หรือระหว่างครูมัธยมที่สอนด้านศิลปะกับเจ้าหน้าที่ผังเมืองใครมีรายได้มากกว่ากัน ผมคิดว่าพวกเราหลายคน (รวมทั้งผมด้วย) ก็คงต้องบอกว่า คนที่ทำงานด้านปรมาณูก็น่าจะมีรายได้มากกว่าช่างซ่อมลิฟท์ และดู ๆ แล้วเจ้าหน้าที่ผังเมืองก็น่าจะมีรายได้มากกว่าครูมัธยมใช่ไหมครับ
แต่ผลสำรวจจากกระทรวงแรงงานของอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2552 กลับออกมาอย่างนี้ครับ คือช่างซ่อมลิฟต์ได้เงินเดือนต่อปีอยู่ที่ 67,950 เหรียญสหรัฐ ส่วนเจ้าหน้าที่ปรมาณูได้เงินเดือนต่อปีอยู่ที่ 66,700 เหรียญเท่านั้น ครูมัธยมมีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 68,230 เหรียญ แต่เจ้าหน้าที่ผังเมืองมีรายได้อยู่ที่ 64,680 เหรียญ น่าประหลาดใจใช่ไหมครับ จริง ๆ ยังมีอีกหลายอาชีพครับที่เราอาจไม่เคยคาดคิดว่าจะมีรายได้สูง ถ้าสนใจก็สามารถคลิกลิงก์ด้านบนเข้าไปอ่านรายละเอียดได้เลยครับ
ไม่รู้เมืองไทยเป็นยังไงนะครับ จะมีอาชีพไหนที่มีรายได้สูงจนเราคาดไม่ถึงบ้างไหม ใครมีข้อมูลก็มาแบ่งปันกันได้นะครับ
วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554
การระบุตำแหน่งผ่านอินเทอร์เน็ตอาจทำได้เที่ยงตรงถึง 690 เมตร
คณะนักวิจัยจาก University of Electronic Science and Technology ของจีน และ Northwestern University ได้พัฒนาวิธีการระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวิธีการที่ใช้ก็คือใช้ Google Map เพื่อหาที่อยู่จริง ๆ และที่อยู่บนเว็บของมหาวิทยาลัยและองค์กรธุรกิจเพื่อนำมาสร้างเป็นแผนที่ IP address ซึ่งจากงานวิจัยนี้ก็จะได้ประมาณ 76,000 ตำแหน่ง ส่วนวิธีการคำนวณตำแหน่งของผู้ใช้ก็คือคำนวณเวลาส่งข้อมูลจากตำแหน่งที่มีอยู่ไปยังเครืองของผู้ใช้ จากนั้นก็แปลงจากเวลาเป็นระยะทาง ซึ่งก็จะสามารถให้ข้อมูลที่เที่ยงตรงได้ในระยะทาง 690 เมตร หรืออาจจะได้ถึง 100 เมตร วิธีนี้มีคนบอกว่าถ้าเราใช้ proxy server เราก็สามารถให้ตำแหน่งที่อยู่หลอก ๆ ได้ แต่นักวิจัยบอกว่าเขาสามารถตรวจจับได้ว่าเป็น proxy server และถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะส่งค่า null กลับมาให้แทนที่จะเป็นตำแหน่งหลอก
ถึงแม้การระบุตำแหน่งผู้ใช้จะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่บางทีมันก็ละเมิดความเป็นส่วนตัวเหมือนกันนะครับ ยิ่งวิธีนี้การระบุตำแหน่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ใช้
ที่มา: News Scientist
ถึงแม้การระบุตำแหน่งผู้ใช้จะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่บางทีมันก็ละเมิดความเป็นส่วนตัวเหมือนกันนะครับ ยิ่งวิธีนี้การระบุตำแหน่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ใช้
ที่มา: News Scientist
ปริมาณข้อมูลสารสนเทศทางธุรกิจต่อปีอาจสูงถึง 9.7 เซตตาไบต์ต่อปี
คณะนักวิจัยจาก University of California, San Diego (UCSD) ได้ประมาณปริมาณการประมวลผลสารสนเทศทางธุรกิจต่อปีไว้ว่าอาจสูงถึง 9.7 เซตตาไบต์ (9,570,000,000,000,000,000,000 ไบต์) ต่อปีครับ โดยข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลชั่วคราวที่เกิดขึ้น ใช้งานและหายไปภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยที่เราไม่รับรู้เลยด้วยซ้ำ
ข้อมูลนี้ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะทำให้เราได้เห็นประสิทธิภาพของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับว่าต้องทำงานหนักแค่ไหน
ที่มา : UCSD News
ข้อมูลนี้ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะทำให้เราได้เห็นประสิทธิภาพของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับว่าต้องทำงานหนักแค่ไหน
ที่มา : UCSD News
วิธิใหม่ในการสร้างแผนที่การทำงานของสมอง
คณะนักวิจัยจาก University College London (UCL) กำลังพัฒนาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของสมองเพื่อสร้างแผนที่การเชื่อมต่อและหน้าที่ของเซลประสาท โดยงานวิจัยนี้ส่วนหนึ่งของสาขาใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า connectomics ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแผนที่การเชื่อมต่อของสมอง นักวิจัยคาดหวังว่าผลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะทำให้เราเข้าใจวิธีการคิดและการรับรู้ของสมอง และจะได้เข้าใจว่าฟังก์ชันเหล่านี้มีผลต่อโรคที่เกี่ยวกับสมองเช่นอัลไซเมอร์ หรือโรคจิตเภทอย่างไร แต่นักวิจัยบอกว่างานวิจัยนี้คงต้องใช้เวลาอีกหลายปี และต้องใช้พลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์อย่างมหาศาลครับ
ก็ขอภาวนาให้งานนี้สำเร็จ และหวังว่าคงจะไม่มีใครเอาองค์ความรู้นี้ไปสร้างสิ่งเลวร้ายมาทำลายมนุษย์ด้วยกันนะครับ
ที่มา: Reuters
ก็ขอภาวนาให้งานนี้สำเร็จ และหวังว่าคงจะไม่มีใครเอาองค์ความรู้นี้ไปสร้างสิ่งเลวร้ายมาทำลายมนุษย์ด้วยกันนะครับ
ที่มา: Reuters
วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554
ประสบการณ์การใช้ GPS
สวัสดีครับ หลังจากไม่ได้เขียนบล็อกมาเสียนาน วันนี้ก็ได้โอกาสมาเขียนเสียที วันนี้ผมเขียนบล็อกมาจากบุรีรัมย์ครับ มางานพระราชทานเพลิงศพของพ่อของเพื่อนร่วมงานที่ผมเคารพท่านหนึ่ง แล้วก็ไม่อยากขับรถกลับตอนกลางคืน บอกตรงๆว่ารู้สึกว่าไม่ค่อยปลอดภัยครับ โดยเฉพาะพวกปาหิน ถึงตอนนี้จะเงียบไปแล้วก็ตาม ผมได้พักโรงแรมที่เพิ่งเปิดใหม่มาได้แค่สองเดือนครับ และโซนที่พักก็เพิ่งเปิดเรียกว่าห้องพักที่ผมพักนี้ผมได้ประเดิมเป็นคนแรกเลยครับ แต่ก็ตามธรรมดาของโรงแรมเปิดใหม่ก็ยังมีอะไรไม่เรียบร้อยอยู่บ้าง
สำหรับวันนี้ก็ขอไม่มีสาระอะไรสักวันแล้วกันนะครับ จะเล่าประสบการณ์ใชั GPS ให้ฟัง การเดินทางครั้งนี้ทำให้ผมมีโอกาสได้ใช้ GPS นำทางจริง ๆ จัง ๆ ครับ ซึ่งมันก็ทั้งช่วยและบางทีก็ทำให้งงได้เหมือนกันครับ ผมเริ่มใช้มันตั้งแต่เริ่มเดินทางเลยครับ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ผมคุ้นเคยอยู่แล้วปรากฏว่ามันทำให้ผมประทับใจมากครับ คือบอกตำแหน่งรถย้อนหลังไปเจ็ดร้อยเมตร คือผมอยู่บนรามอินทราแล้วมันยังบอกว่าผมยังอยู่บนสุวินทวงศ์เป็นต้น ผมก็เริ่มคิดแล้วว่าเฮ้ยมันจะพาเราไปหลงที่ไหนไหมนี่ แต่สักพักมันก็จับตำแหน่งถูกต้องครับ คือพอขึ้นวงแหวนตะวันออกได้มันก็โอเคครับ และเพราะทางช่วงนั้นเป็นทางตรงไปตลอดมันก็ไม่พูดอะไรอีกเลย ซึ่งผมก็เข้าใจว่าถ้าขึ้นทางหลักถูกต้องและเป็นทางตรงแล้วมันก็จะไม่เตือนอะไร แต่จริง ๆ ผมก็อยากให้มันพูดบ้างนะครับ คือผมขับมาคนเดียวบางทีมันเหงาน่ะครับ :)
เอาล่ะครับคราวนี้พอลงจากวงแหวนเข้าทางหลวงหมายเลข 1 ซึ่งพอขึ้นไปแล้วมันก็เป็นทางตรงเหมือนกันแต่คราวนี้มันไม่เงียบครับ มันจะพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าอีก ... เมตรชิดขวาเข้าทางหลวงหมายเลขหนึ่ง ซึ่งทำให้ผมงงว่าเอ๊ะเราอยู่ที่ไหนกันแน่ เช็คจากป้ายและจากหน้าจอของมันเราก็อยู่ถูกที่แล้ว และบางทีเราก็อยู่เลนขวาสุดอยู่แล้ว มันจะเอายังไงกันแน่ หรือมันจะให้เราข้ามไปขับอีกฝั่งหนึ่ง :) เอาเถอะครับสุดท้ายผมก็เริ่มชินกับมัน เฮ้อรู้งี้ไม่น่าอยากให้มันพูดเลย ถ้ารู้ว่ามันจะพูดไม่หยุดอย่างนี้ จนมันนำผมเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ไปแล้วมันก็ยังพูดต่อไปว่าอีก .... คงอยู่ทางขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ซึ่งปัญหาแค่นี้ผมก็คิดว่าทนรำคาญเอานะครับ แต่จริงๆ มันมีมากกว่านี้ครับเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังต่อไป
คราวนี้มาดูความดีของมันบ้างครับ วัดที่ผมไปร่วมงานนี้เป็นวัดที่อยู่ใกล้ๆ ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้ง มันก็นำทางผมไปเรื่อย ๆ แต่ช่วงนี้เขาพนมรุ้งมีงานครับ เขาก็เลยปิดเส้นทางหลัก ให้เบี่ยงไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งมันก็เก่งมากครับ สามารถนำทางผมไปได้ และยังบอกให้ระวังทางโค้งต่าง ๆ อีกต่างหาก ในที่สุดมันก็นำผมมาถึงวัดครับ
ตอนขากลับผมไม่อยากกลับทางเดิมเพราะมันต้องขึ้นเขาผ่านทางโค้งซึ่งค่อนข้างอันตราย และฝนก็ตกถนนลื่น ก็เลยถามเพื่อนว่าจะกลับทางที่ไม่ต้องขึ้นเขาได้ไหม เพื่อนก็แนะนำให้ว่าต้องไปทางไหน ผมก็มุ่งหน้าไปพร้อมให้ GPS นำทางต่อ ซึ่งตอนแรกมันก็ดีนะครับ จนมาถึงจุดหนึ่งครับมันบอกว่า ... เมตรเลี้ยวซ้าย ซึ่งความหมายของมันก็เหมือนกับที่ผ่านมาก็คืออยู่บนเส้นเดิมนั่นแหละ แต่บังเอิญตรงนั้นมันมีทางเลี้ยวซ้ายพอดี ผมก็เลยเลี้ยวไปตามที่มันบอก แทนที่มันจะบอกว่าผิดมันกลับบอกให้ไปต่อครับ สงสัยมันจะคำนวณเส้นทางใหม่ จากนั้นมันก็บอกให้ผมเลี้ยวขวาผมก็ตามมันไป มันพาผมไปเข้าหมู่บ้านอะไรไม่รู้ครับ ผมก็คิดไปถึงหนังสยองขวัญของฝรั่งที่นักท่องเที่ยวหลงเข้าไปในหมู่บ้านอะไรไม่รู้ในยามสนธยา สภาพผมตอนนั้นเป็นอย่างนั้นเลยครับ คือไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหนบรรยากาศก็ดูวังเวงมีฝนตกพรำ ๆ ยิ่งไปกว่านั้นสักพัก GPS มันเงียบครับไม่พูดอะไรอีกเลย ผมเห็นท่าไม่ได้การก็เลยกลับรถออกมา และขับกลับมาทางเดิม ซึ่งพอถึงแยกที่เป็นปัญหามันก็บอกให้ผมเลี้ยวซ้ายซึ่งก็คือเข้าเส้นเดิมที่เลี้ยวแยกลงมานั่นแหละ จากนั้นก็โอเคครับเข้าทางหลักและมาถึงโรงแรมได้
ก็เป็นประสบการณ์ผจญภัยกับ GPS ที่ได้ประสบมาครับ ก็เลยมาเล่าสู่กันฟัง ตอนเดินทางกลับก็ว่าจะใช้มันอีกสักครั้ง หวังว่าคราวนี้เราจะเข้าใจกันมากกว่านี้
สำหรับวันนี้ก็ขอไม่มีสาระอะไรสักวันแล้วกันนะครับ จะเล่าประสบการณ์ใชั GPS ให้ฟัง การเดินทางครั้งนี้ทำให้ผมมีโอกาสได้ใช้ GPS นำทางจริง ๆ จัง ๆ ครับ ซึ่งมันก็ทั้งช่วยและบางทีก็ทำให้งงได้เหมือนกันครับ ผมเริ่มใช้มันตั้งแต่เริ่มเดินทางเลยครับ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ผมคุ้นเคยอยู่แล้วปรากฏว่ามันทำให้ผมประทับใจมากครับ คือบอกตำแหน่งรถย้อนหลังไปเจ็ดร้อยเมตร คือผมอยู่บนรามอินทราแล้วมันยังบอกว่าผมยังอยู่บนสุวินทวงศ์เป็นต้น ผมก็เริ่มคิดแล้วว่าเฮ้ยมันจะพาเราไปหลงที่ไหนไหมนี่ แต่สักพักมันก็จับตำแหน่งถูกต้องครับ คือพอขึ้นวงแหวนตะวันออกได้มันก็โอเคครับ และเพราะทางช่วงนั้นเป็นทางตรงไปตลอดมันก็ไม่พูดอะไรอีกเลย ซึ่งผมก็เข้าใจว่าถ้าขึ้นทางหลักถูกต้องและเป็นทางตรงแล้วมันก็จะไม่เตือนอะไร แต่จริง ๆ ผมก็อยากให้มันพูดบ้างนะครับ คือผมขับมาคนเดียวบางทีมันเหงาน่ะครับ :)
เอาล่ะครับคราวนี้พอลงจากวงแหวนเข้าทางหลวงหมายเลข 1 ซึ่งพอขึ้นไปแล้วมันก็เป็นทางตรงเหมือนกันแต่คราวนี้มันไม่เงียบครับ มันจะพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าอีก ... เมตรชิดขวาเข้าทางหลวงหมายเลขหนึ่ง ซึ่งทำให้ผมงงว่าเอ๊ะเราอยู่ที่ไหนกันแน่ เช็คจากป้ายและจากหน้าจอของมันเราก็อยู่ถูกที่แล้ว และบางทีเราก็อยู่เลนขวาสุดอยู่แล้ว มันจะเอายังไงกันแน่ หรือมันจะให้เราข้ามไปขับอีกฝั่งหนึ่ง :) เอาเถอะครับสุดท้ายผมก็เริ่มชินกับมัน เฮ้อรู้งี้ไม่น่าอยากให้มันพูดเลย ถ้ารู้ว่ามันจะพูดไม่หยุดอย่างนี้ จนมันนำผมเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ไปแล้วมันก็ยังพูดต่อไปว่าอีก .... คงอยู่ทางขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ซึ่งปัญหาแค่นี้ผมก็คิดว่าทนรำคาญเอานะครับ แต่จริงๆ มันมีมากกว่านี้ครับเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังต่อไป
คราวนี้มาดูความดีของมันบ้างครับ วัดที่ผมไปร่วมงานนี้เป็นวัดที่อยู่ใกล้ๆ ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้ง มันก็นำทางผมไปเรื่อย ๆ แต่ช่วงนี้เขาพนมรุ้งมีงานครับ เขาก็เลยปิดเส้นทางหลัก ให้เบี่ยงไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งมันก็เก่งมากครับ สามารถนำทางผมไปได้ และยังบอกให้ระวังทางโค้งต่าง ๆ อีกต่างหาก ในที่สุดมันก็นำผมมาถึงวัดครับ
ตอนขากลับผมไม่อยากกลับทางเดิมเพราะมันต้องขึ้นเขาผ่านทางโค้งซึ่งค่อนข้างอันตราย และฝนก็ตกถนนลื่น ก็เลยถามเพื่อนว่าจะกลับทางที่ไม่ต้องขึ้นเขาได้ไหม เพื่อนก็แนะนำให้ว่าต้องไปทางไหน ผมก็มุ่งหน้าไปพร้อมให้ GPS นำทางต่อ ซึ่งตอนแรกมันก็ดีนะครับ จนมาถึงจุดหนึ่งครับมันบอกว่า ... เมตรเลี้ยวซ้าย ซึ่งความหมายของมันก็เหมือนกับที่ผ่านมาก็คืออยู่บนเส้นเดิมนั่นแหละ แต่บังเอิญตรงนั้นมันมีทางเลี้ยวซ้ายพอดี ผมก็เลยเลี้ยวไปตามที่มันบอก แทนที่มันจะบอกว่าผิดมันกลับบอกให้ไปต่อครับ สงสัยมันจะคำนวณเส้นทางใหม่ จากนั้นมันก็บอกให้ผมเลี้ยวขวาผมก็ตามมันไป มันพาผมไปเข้าหมู่บ้านอะไรไม่รู้ครับ ผมก็คิดไปถึงหนังสยองขวัญของฝรั่งที่นักท่องเที่ยวหลงเข้าไปในหมู่บ้านอะไรไม่รู้ในยามสนธยา สภาพผมตอนนั้นเป็นอย่างนั้นเลยครับ คือไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหนบรรยากาศก็ดูวังเวงมีฝนตกพรำ ๆ ยิ่งไปกว่านั้นสักพัก GPS มันเงียบครับไม่พูดอะไรอีกเลย ผมเห็นท่าไม่ได้การก็เลยกลับรถออกมา และขับกลับมาทางเดิม ซึ่งพอถึงแยกที่เป็นปัญหามันก็บอกให้ผมเลี้ยวซ้ายซึ่งก็คือเข้าเส้นเดิมที่เลี้ยวแยกลงมานั่นแหละ จากนั้นก็โอเคครับเข้าทางหลักและมาถึงโรงแรมได้
ก็เป็นประสบการณ์ผจญภัยกับ GPS ที่ได้ประสบมาครับ ก็เลยมาเล่าสู่กันฟัง ตอนเดินทางกลับก็ว่าจะใช้มันอีกสักครั้ง หวังว่าคราวนี้เราจะเข้าใจกันมากกว่านี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)