วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567

คนตาบอดจะได้ยินและสัมผัสกับปรากฎการณ์สุริยุปราคา

lightsound-device
ภาพจาก  The LightSound Project (harvard.edu)

อุปกรณ์ที่มีให้บริการในการชุมนุมสาธารณะในวันที่ 8 เมษายนจะช่วยให้คนตาบอดสามารถ 'รู้สึก' และ 'ได้ยิน' สุริยุปราคาได้ ผู้สร้างอุปกรณ์ LightSound  ซึ่งแปลงการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงในช่วงสุริยุปราคาให้เป็นโน้ตดนตรี 

ผู้สร้างมีเป้าหมายที่จะแจกจ่ายอุปกรณ์อย่างน้อย 750 ชิ้นไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่จัดงานชมสุริยุปราคาทั่วทวีปอเมริกาเหนือ 

ส่วนคนที่เหลือ สามารถสัมผัสประสบการณ์สุริยุปราคาผ่านการสัมผัสได้โดยใช้แท็บเล็ต Cadence จากบริษัท Tactile Engineering ของรัฐอินดีแอนา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขนาดเท่าโทรศัพท์มือถือที่มีแถวของจุดนูนขึ้นลง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press โดย Christina Larson

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2567

80% ของวิธีการเลี่ยงจากตัวกรองของอีเมลบนคลาวด์ใช้ได้ผล

g-mail
Photo by Solen Feyissa on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ภายใต้การนำของ Sumanth Rao จาก University of California, San Diego พบว่าบริการกรองสแปมอีเมลบนคลาวด์ขององค์กรที่นิยมใช้กันสามารถถูกเลี่ยงได้อย่างน้อย 80% ในโดเมนหลักที่พวกเขาตรวจสอบ 

Rao อธิบายว่า "บริการกรองสามารถถูกเลี่ยงได้หากผู้ให้บริการโฮสต์อีเมลไม่ได้รับการกำหนดค่าให้ยอมรับเฉพาะข้อความที่มาจากบริการกรองสแปมอีเมลเท่านั้น" การเลี่ยงนี้เป็นไปได้เนื่องจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์กรองและเซิร์ฟเวอร์อีเมล ในแง่ของ ตอบสนองต่อข้อความที่มาจากที่อยู่ (IP address) ที่ไม่รู้จัก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Dark Reading โดย David Strom

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567

เซ็นเซอร์ขนาดเท่ากับเกลือเลียนแบบสมอง

salt-size-sensor
ภาพจาก IEEE Spectrum โดย Gwendolyn Rak

ระบบการสื่อสารไร้สายที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Brown University  ใช้เซ็นเซอร์ซิลิกอนขนาดเล็กเพื่อเลียนแบบสมอง เช่นเดียวกับเซลล์ประสาท เซ็นเซอร์ขนาด 300x300 ไมครอนทำหน้าที่เป็นโหนดไร้สายในอาร์เรย์ขนาดใหญ่ 

โดยใช้เทคนิคการประมวลผลแบบนิวโรมอร์ฟิก (neuromorphic) ตัวรับสัญญาณจะถอดรหัสสัญญาณในแบบเวลาจริง (real time) 

ในการจำลองระบบที่มีโหนด 200, 500 และ 1,000 โหนด อัตราความผิดพลาดของระบบอยู่ที่ต่ำกว่า 0.1% ซึ่งเหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์สมอง (brain-computer) 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum โดย Gwendolyn Rak


วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2567

เทคโนโลยีนำคนที่เรารัก"กลับมามีชีวิต"

VR-Avatar
ภาพจาก Sky News โดย Arthi Nachiappan

ในฐานะส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มเมตาเวิร์ส 3 มิติ Somnium Space ของสาธารณรัฐเช็กได้สร้างเครื่องมือ VR ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างอวตารที่สามารถพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวและคนรุ่นต่อไปหลังจากตายไปแล้ว เรียกว่า "โหมดใีชีวิตอยู่ตลอดไป" 

เครื่องมือนี้ต้องใช้เวลาเพียง 30 นาทีในการสังเกตเพื่อจำลองเสียง ท่าทาง และการเคลื่อนไหวของบุคคล Somnium Space ระบุว่าพวกเขาไม่ได้เก็บข้อมูลใด ๆ ที่ใช้ในการฝึกอวตารบนเซิร์ฟเวอร์ของตน แต่จะเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมปริมาณข้อมูลที่จะเก็บรักษาไว้ได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Sky News โดย Arthi Nachiappan 

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567

ซอฟต์แวร์ช่วยให้คนตาบอดหรือเห็นเลือนรางสร้างแผนภูมิแบบโต้ตอบที่เข้าถึงได้

MIT-Multimodal
ภาพจาก  MIT News โดย Adam Zewe

ระบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) และ University College London (UCL) ของสหราชอาณาจักร  ช่วยให้ผู้ใช้ตาบอดและสายตาเลือนรางสามารถสร้างการนำเสนอข้อมูลแบบหลายรูปแบบ (multimodla) ที่ปรับแต่งได้โดยไม่ต้องมีแผนภูมิภาพเริ่มต้น (initial visual chart) 

ระบบ Umwelt (ภาษาเยอรมันหมายถึงสิ่งแวดล้อม) ช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอสามารถสร้างการนำเสนอที่ปรับแต่งได้สามแบบ ได้แก่ การแสดงภาพ คำอธิบายเป็นข้อความ และการแปลงเป็นเสียง 

ระบบนี้มีตัวแสดงผลที่ทำให้การนำเสนอข้อมูลเป็นแบบมีปฏิสัมพันธ์ และช่วยเปลี่ยนระหว่างวิธีการต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News โดย Adam Zewe