วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Google สาธิตหุ่นยนต์หยิบกระป๋องน้ำอัดลม

 

robot-fetchin-soda
ภาพจาก Reuters

Alphabet บริษัทในเครือ Google ได้พัฒนาพนักงานเสิร์ฟจักรกลที่สามารถหยิบน้ำอัดลมและของว่างจากห้องพักสำหรับพนักงานในสำนักงาน เพื่อเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ที่ช่วยเคลียร์เส้นทางสำหรับงานด้านหุ่นยนต์อเนกประสงค์ที่ควบคุมได้ง่าย

ปัจจุบันหุ่นยนต์สามารถทำงานง่ายๆ เพียงไม่กี่สิบอย่างเท่านั้น ในทางปฏิบัติ พวกมันตีความคำสั่งที่พูดตามปกติ พิจารณาว่าทำได้ไหมจากความสามารถของพวกมัน และวางแผนขั้นตอนการทำงานให้เสร็จสิ้น นักวิจัยของ Google ได้รวมเทคโนโลยีภาษาไว้ในหุ่นยนต์ โดยพวกเขาสามารถใช้มันในการอนุมานความรู้จากวิกิพีเดีย โซเชียลมีเดีย และหน้าเว็บต่าง ๆ 

การใช้ AI ที่มีความสามารถทางภาษาที่มีความละเอียดขึ้น ช่วยเพิ่มความสำเร็จในการดำเนินการตามคำสั่งของหุ่นยนต์จาก 61% เป็น 74%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ภาษาเขียนโปรแกรมตัวท้อปปี 2022

python-code
ภาพจาก Photo by Artturi Jalli on Unsplash

การจัดอันดับภาษาเขียนโปรแกรมยอดนิยมประจำปี 2022 ของ IEEE Spectrum พบว่า Python ยังคงเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยที่ C ตามมาติด ๆ ทั้ง Java และ JavaScript ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยได้แรงสนับสนุนจากความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของเว็บไซต์  การจัดอันดับพิจารณาจาก “ตัวชี้วัดเก้าตัวที่เราคิดว่าเป็นตัวแทนที่ดีสำหรับการวัดภาษาที่ผู้คนใช้เขียนโปรแกรม”

ถ้าดูเมตริกจาก IEEE Job Site และ CareerBuilder เพียงอย่างเดียว พบว่า SQL เป็นภาษาโปรแกรมที่ถูกกล่าวถึงบ่อยที่สุดในโฆษณางานบนเว็บไซต์ดังกล่าว ตามด้วย Java, Python และ JavaScript 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2565

สมาร์ตโฟนอาจรู้ว่าเป็นคุณจากวิธีที่คุณถือมัน

smartphone-in-hand
ภาพจาก New Scientist

กลุ่มนักวิจัยจาก Toulouse Institute of Computer Science Research ของฝรั่งเศสได้ฝึกฝนอัลกอริทึมมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI เพื่อระบุบุคคลตามรูปแบบการสั่นของมือเมื่อถือสมาร์ตโฟน

อาสาสมัครกว่า 200 คนแต่ละคนถือสมาร์ตโฟนไว้ในขณะที่เซ็นเซอร์รวบรวมข้อมูลในหนึ่งเซสชันซึ่งยาว 30 วินาที หรืออาจบันทึกชุดของเซสชันก็ได้ 

AI วิเคราะห์ข้อมูลนี้ประมาณครึ่งหนึ่งเพื่อกำหนดวิธีที่ดีที่สุดในการแยกแยะผู้ใช้แต่ละราย จากนั้นจึงใช้อีกครึ่งหนึ่งเพื่อทดสอบการระบุตัวบุคคล อัลกอริทึมระบุกลุ่มทดสอบได้อย่างถูกต้อง 92.5% ของเวลาภายใน 1.5 วินาทีจากการทดสอบ 1,100 รายการ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist


วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565

งานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลตัวเลือกสูงสุดสำหรับเจน Z

data-scientist
ภาพจาก ACM

เว็บไซต์สำรวจงานของสหรัฐ Glassdoor รายงานว่าคนทำงานเจน Z มีความพึงพอใจในอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล โดยอยู่ในอันดับที่ 4 จาก 10 อันดับแรก

Richard Johnson แห่ง Glassdoor กล่าวว่าการวิจัยก่อนหน้านี้พบว่านักวิทยาศาสตร์ข้อมูลได้รับค่าแรงสูง มีตำแหน่งงานว่างมากมาย และมีความพึงพอใจในงานมาก ทำให้ "ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปัจจัยเหล่านี้ดึงดูดพนักงานที่อายุน้อยที่กำลังเริ่มต้นทำงาน"

รายงานยังระบุด้วยว่าพนักงานที่อายุน้อยมีความพึงพอใจมากขึ้นในการทำงานให้กับบริษัทขนาดใหญ่และเป็นที่ยอมรับ ซึ่งสามารถรับมือกับความวุ่นวายทางเศรษฐกิจได้ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนักงาน นายจ้างจึงมีแนวโน้มที่จะให้พนักงานมีความยืดหยุ่นในการทำงานทางไกลมากขึ้น

Johnson กล่าวว่าวิทยาศาสตร์ข้อมูลยังดึงดูดเจน Z เพราะมันต้องการความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากพนักงานต้อง "ทำความเข้าใจรูปแบบข้อมูลที่ซับซ้อน และนำมาผสานเข้ากับคำบรรยายที่เข้าใจง่ายสำหรับผู้เกี่ยวข้องที่หลากหลาย"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Fortune


วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คำที่สร้างขึันเอง หลอก AI ที่ใช้สร้างภาพจากข้อความ

circuit-board
ภาพจาก Discover

Raphaël Millière แห่ง Columbia University' พบว่าคำที่สร้าวขึ้นเองสามารถหลอกลวงเครื่องมือสร้างข้อความเป็นรูปภาพ ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย 

Millièreสร้างคำที่ไร้สาระโดยใช้เทคนิคการรวมเอาคำที่มีความหมายจริงจากภาษาต่าง ๆ มาประกอบกัน ตัวอย่างเช่น คำว่า "falaiscoglieklippantilado" ที่ประกอบขึ้นจากคำภาษาเยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปนสำหรับ "หน้าผา" ซึ่งผลลัพธ์คือเครื่องสร้างภาพของหน้าผาหลายรูป เมื่อป้อนข้อมูลลงในเครื่องมือสร้างข้อความเป็นรูปภาพ DALL-E 2 

Millière กล่าวว่า "การทดลองเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่าสตริงแบบผสมสามารถสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างภาพของวัตถุแทบทุกประเภทที่ต้องการ หรือแม้กระทั่งรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างฉากที่ซับซ้อนมากขึ้น" 

อย่างไรก็ตาม Millière ตั้งข้อสังเกตว่า "โดยหลักการแล้ว การผสมคำแบบนี้อาจเป็นวิธีที่ง่าย และน่าจะเลี่ยงจากตัวกรอง [เนื้อหา] ได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาจนำไปสู่เพื่อสร้างเนื้อหาที่เป็นอันตราย ล่วงละเมิด ผิดกฎหมาย หรือมีความละเอียดอ่อน ซึ่งรวมถึงความรุนแรง ความเกลียดชัง การเหยียดผิว การเหยียดเพศ หรือ ภาพลามกอนาจาร

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Discover