วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ข้อมูลจากดาวเทียมช่วยส่งการช่วยเหลือจากภัยธรรมชาติ

satellite
ภาพจาก Ohio State News

นักวิจัยจาก Ohio State University (OSU)  กล่าวว่าภาพสามมิติ (3D) ที่สร้างจากข้อมูลดาวเทียมสามารถช่วยเหลือผู้เผชิญเหตุเบื้องต้นด้วยการตรวจจับภัยธรรมชาติในพื้นที่ห่างไกล  Rongjun Qin จาก OSU กล่าวว่านักวิทยาศาสตร์ "สามารถหาจำนวนคนที่จะส่งไปปฏิบัติการกู้ภัย และสังเกตระดับความเสียหายจริงที่เหตุการณ์นี้สร้างขึ้น" โดยการใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ชุดข้อมูลจากกลุ่มดาวเทียม Planetscope เพื่อสร้างแบบจำลองพื้นผิว 3 มิติของภูมิภาคที่ต้องการ

การสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาใหม่ของ Qin ใช้ปัจจัยในระดับระดับความสูงและภูมิประเทศที่แตกต่างกัน และแม่นยำลึกลงไปประมาณ 6 เมตร (20 ฟุต) จากพื้นดิน กรณีทดสอบในชนบทของสเปนและอัลเลนทาวน์ รัฐเพนซิลเวเนีย แสดงให้เห็นว่านักวิจัยสามารถสร้างภาพ 3D ขึ้นมาใหม่ในภูมิภาคหนึ่ง และสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลง 3D เมื่อเวลาผ่านไปในอีกภูมิภาคหนึ่งได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ohio State News

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

บริษัทรางในญี่ปุ่นเปิดตัวหุ่นยนต์คนงานกันดั้มที่ควบคุมด้วย VR

rail-robot
ภาพจาก New Atlas

บริษัท West Japan Rail ทำงานร่วมกับ บริษัทหุ่นยนต์ขั้นสูง Human Machinery Co. และผู้ให้บริการโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง Nippon Signal Co. ได้ติดตั้งหุ่นยนต์บำรุงรักษาเครื่องจักรกลหนักแบบฮิวแมนนอยด์ที่ควบคุมผ่านความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) หรือ VR 

บริษัทกล่าวว่าหุ่นยนต์ได้รับการออกแบบ "เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัย" โดยช่วยให้พนักงานยกและจัดการอุปกรณ์รอบระบบรางไม่ต้องเสี่ยงกับไฟฟ้าช็อตหรือล้ม ลำตัวของหุ่นยนต์ติดตั้งกับแขนเครนไฮดรอลิก ซึ่งเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ระบบด้วยรถราง และหย่อนขาที่เอาไว้ทรงตัวลงเมื่อถ฿งจุดที่ทำงาน 

ผู้ควบคุมการทำงานสวมแว่นตา VR ที่ติดตามการเคลื่อนไหวเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของส่วนหัว และใช้ด้ามจับควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและมือของหุ่นยนต์

อ่านข่าวเต็มไดที่: New Atlas


วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

คอมพิวเตอร์กำลังแข่งกันหาว่าไวรัสจากสัตว์อะไรที่ติดคนได้บ้าง

mouse
ภาพจาก The New York Times

นักวิจัยกำลังใช้ตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อทำนายว่าไวรัสในสัตว์ชนิดใดสามารถแพร่ระบาดในเซลล์ของมนุษย์ได้ ในเดือนมีนาคม Colin Carlson แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์และเพื่อนร่วมงานของเขาได้สร้างฐานข้อมูลแบบเปิด VIRION ซึ่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับไวรัส 9,521 ตัวและชนิดของสัตว์ที่พวกมันเข้าไปแฝงตัวอยู่ 3,692 ชนิด

Carlson และคณะยังได้พัฒนาตัวแบบเพื่อระบุสัตว์ที่มีแนวโน้มว่าน่าจะเป็นที่อยู่ของไวรัสสายพันธ์ที่ใกล้เคียง SARS-CoV-2 มากที่สุด ในปี 2020 ตัวแบบดังกล่าวระบุค้างคาวมากกว่า 300 สปีชีส์ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นที่อยู่ของเบตาโคโรนาไวรัส (betacoronavirus) มากที่สุด ซึ่งหลังจากนั้นก็พบว่า 47 สปีชีส์จาก 300 สปีชีส์ดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเบตาโคโรนาไวรัสจริง ๆ 

Emmie de Wit แห่ง Rocky Mountain Laboratories กล่าวว่า "สิ่งที่เราต้องการทราบจริง ๆ ไม่ใช่แค่ว่าไวรัสชนิดใดที่สามารถแพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้ แต่ไวรัสชนิดใดที่ทำให้เกิดการระบาดได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The New York Times

 

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

แอปบน iOS ยังคงติดตามเราอยู่ไม่ว่า Apple จะพูดยังไงก็ตาม

smartphone-usage
ภาพจาก Ars Technica

นักวิจัยจาก University of Oxford แห่งสหราชอาณาจักรพบว่าแอป iOS ยังคงติดตามผู้ใช้ได้แม้ว่านโยบาย App Tracking Transparency (ATT) ของ Apple จะห้ามไม่ให้นักพัฒนาแอปติดตามกิจกรรมของผู้ใช้ในแอปต่างๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างชัดแจ้ง

นักวิจัยพบแอป iOS 9 แอปที่ใช้โค้ดฝั่งเซิร์ฟเวอร์เพื่อสร้างตัวระบุผู้ใช้ร่วมกัน ซึ่งสามารถใช้สำหรับการติดตามข้ามแอปโดยบริษัทในเครือของ Alibaba ของจีน พวกเขายังเปรียบเทียบแอป 1,685 ตัวก่อนและหลังการติดตั้ง ATT โดยพบว่าจำนวนไลบรารีการติดตามที่ใช้โดยแอปนั้นคงที่

แม้ว่าแอป 25% จะบอกว่าไม่ได้รวบรวมข้อมูลผู้ใช้ แต่ 80% มีไลบรารีตัวติดตามอย่างน้อยหนึ่งไลบรารีนักวิจัยยังพบว่ามากกว่าครึ่งของแอพที่ใช้ SKAdNetwork, Google Firebase Analytics และ Google Crashlytics และ 47% ของแอพที่ใช้ Facebook SDK ไม่เปิดเผยว่ามีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica


วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อุปกรณ์สวมใส่จะสามารถติดตามความรุนแรงของโควิด 19 ได้หรือไม่

smartwatch
Photo by Ivan Shilov on Unsplash

การศึกษาที่ดำเนินการโดยนักวิจัยของ University of Michigan (U-M) ใช้ข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อพิจารณาว่าสมาร์ทวอทช์สามารถติดตามพัฒนาการของอาการ COVID-19 ได้ดีเพียงใด  นักวิจัยศึกษาข้อมูลตัวจากตัวติดตามสมรรถภาพจากแพทย์ฝึกหัด 43 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา 72 คน ซึ่งมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก

พวกเขาพบว่าเมื่อโรคเริ่มแสดงอาการ ผู้เข้าร่วมการศึกษามีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นต่อการก้าวเดินหนึ่งก้าว และยิ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นถ้ามีอาการไอ Daniel Forger จาก UM กล่าวว่า "คนส่วนใหญ่ที่ใช้ข้อมูลนี้คิดว่าอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเพียงตัวเลขตัวหนึ่ง แต่อัตราการเต้นของหัวใจเป็นสัญญาณสำคัญที่สะท้อนถึงกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ มากมาย นั่นคือสิ่งที่เป้าหมายของเราในฐานะนักคณิตศาสตร์: เราสามารถที่จะเอาชุดของตัวเลขเช่น อัตราการเต้นของหัวใจ เสียง และทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วบอกความแตกต่างระหว่างสัญญาณของร่างกายได้หรือไม่"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: HealthDay News