วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563

JavaScript ยังคงครองมงกุฏภาษาเขียนโปรแกรมที่ได้รับความนิยม

Photo by Bharat Patil on Unsplash

จากการสำรวจของ SlashData ในหัวข้อ State of the Developer Nation Q3 2020 พบว่าภาษา JavaScript ยังคงครองมงกุฏภาษาสำหรับนักพัฒนา โดยมีจำนวนนักพัฒนาเพิ่มชึ้น 5 ล้านคนนับตั้งแต่ปี 2017 โดยตอนนีืมียอดรวมนักพัฒนาอยู่ที่ 12.4 ล้านคนทั่วโลก โดย Python อยู่ที่อันดับสอง มียอดรวมนักพัฒนาอยู่ที่ 9 ล้านคน เพิ่มขึ้นมา 2.2 ล้านคนจากปีที่แล้ว เหตุผลก็คือมันถูกนำไปใช้ในการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) วิทยาศาสตร์ข้อมูล (data science) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) ภาษา Java อยู่อันดับที่ 3 ในการจัดอันดับ อยู่ที่ 8.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.6 ล้านนับจากปี 2017 Oracle บอกว่ามากกว่า 69% ของนักพัฒนาแบบเต็มเวลายังใช้ Java โดยมี Java Virtual Machine ถูกติดตั้งอยู่กว่า 51พันล้านตัว

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  ZDNet

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563

WEF บอกว่าการเข้ามาของเครื่องจักรจะเพิ่มงานมากกว่าทำลายงาน

ภาพจาก ACM


World Economic Forum (WEF) ทำนายว่าความก้าวหน้าด้านหุ่นยนต์และปัญญาประเดิษฐ์จะมีผลให้จำนวนงานสุทธิเพิ่มสูงขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า แม้ว่าการใช้งานเครื่องจักรอย่างกว้างขวางจะทำให้ตำแหน่งงานหายไปถึง 85 ล้านตำแหน่งในปี 2025 แต่ในขณะเดียวกันงานอีก 97 ล้านตำแหน่งจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ นั่นคือจะมีงานเพิ่มขึ้นมา 12 ล้านตำแหน่ง WEF บอกว่าจะต้องมีจำนวนการฝึกทบทวนและเพิ่มทักษะใหม่ในหมู่คนงานเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะพร้อมกับงานในอนาคต WEF ยังบอกว่าทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและ COVID-19 จะทำให้การทำลายล้างเพิ่มเป็นสองเท่าสำหรับคนทำงาน โดยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีจะทำให้คนงานต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงาน แต่ COVID-19 จะนำไปสู่การเสียงาน

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  CNBC

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ใช้ AI เพื่อเปลี่ยนแผนที่โบราณเป็นแผนที่ดาวเทียม

Images: Escola Politécnica da Universidade de Pernambuco/IEEE

นักวิจัยจาก Polytechnic University of Pernambuco ในบราซิล ได้พัฒนาขั้นตอนวิธีทางการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อแปลงแผนที่โบราณเป็นแผนที่ดาวเทียมในรูปแบบเหมือนของ Google ซึ่งประโยชน์ก็คือจะสามารถบอกได้ว่ามีการใช้งานและมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่อย่างไรเมื่อเวลาเปลี่ยนไป และยังแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการสร้างเมือง นักวิจัยใช้เครื่องมือด้าน AI ที่มีอยู่คือ Pix2pix ซึ่งใช้โครงข่ายประสาทเทียม 2 ตัว หนึ่งใช้สร้างภาพจากชุดข้อมูล อีกหนึ่งใช้ตรวจสอบว่าภาพที่สร้างขึ้นเป็นภาพหลอก (fake) หรือไม่ ซึ่งเมื่อจำมาใช้ร่วมกันแล้วจะสร้างภาพที่เหมือนจริงของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ นักวิจัยบอกว่าพวกเขากำลังปรับปรุงความละเอียดของภาพผลลัพธ์อยู่ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563

NHS ใช้โดรนเพื่อส่งชุดข้อมูลโคโรนาไวรัสระหว่างโรงพยาบาล

Photograph: Annalisa Russell-Smith/PA

National Health Service (NHS) ของอังกฤษ กำลังทดสอบการใช้โดรนเพื่อส่งตัวอย่าง Covid-19 ผลเลือด และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลระหว่างโรงพยาบาล โดรนที่ถูกควบคุมจากระยะไกลในตอนเริ่มต้นนี้จะบินระหว่างโรงพยาบาล Essex's Broomfield กับ Basildon และแล็บพยาธิวิทยาของ Basildon โครงการนี้ดำเนินการโดย Apian ที่เป็นบริษัทสตารต์อัพด้านโดรนเพื่อสุขภาพ โดยได้เงินทุน 1.3 ล้านปอนด์ จากโครงการอวกาศของอังกฤษ โดยมีความหวังที่จะสร้างเครือข่ายทางอากาศสำหรับโดรนที่ถูกนำทางโดยระบบ GPS โดรนที่ใช้ในการทดลองนี้จะบิดที่ระดับความสูง 90 เมตร และทนทานต่อสภาพอากาศที่เลวร้าย โดยผลที่คาดหวังจากโครงการนี้คือลดเวลาในการขนส่ง ทำให้บุคคลากรของ NHS สามารถไปทำงานอย่างอื่น ลดการสัมผัสที่ไม่จำเป็น และลดความเสี่ยงของการระบาดในระลอกสอง

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  The Guardian (U.K.)

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พบประตูลับแอบถ่ายรูปในสมาร์ตวอทช์ของเด็ก

ภาพจาก Ars Technica

นักวิจัยจากบริษัทด้านความมั่นคงของนอร์เวย์คือ Mnemonic พบประตูลับ (backdoor) ที่ยังไม่เคยมีการพบมาก่อน ในสมาร์ตวอทช์ X4 ของบริษัท Xplora ซึ่งเน้นทำตลาดกับกลุ่มเด็ก นักวิจัยบอกว่าข้อความที่เข้ารหัสไว้ในการกระตุ้นให้ประตูลับทำงาน โดยมันจะทำงานอย่างลับ ๆ ในการรายงาน  ตำแหน่งของนาฬิกา อัดและส่งภาพไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ Xplora จากนั้นโทรศัพท์โดยส่งเสียงที่ได้ยินจากหูฟังออกไป Xplora บอกว่ากำลังพัฒนาตัวแก้ไขให้กับ X4 ตามที่นักวิจัยจาก Mnemonic แนะนำ 


อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica