วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

นักวิจัยใช้การเรียนรู้ของเครื่องในการจำแนกเชื้อโรค

ทีมนักวิจัยจาก University of Waterloo's Cheriton School of Computer Science และ Western University ใน Canada ได้คิดค้นวิธีการคำนวณเพื่อระบุและจำแนกไวรัสโดยใช้เวลาเป็นนาที หรือเพียงไม่กี่ชั่วโมง โดยนักวิจัยบอกว่าพวกเขาใช้วิธีที่เรียกว่า alignment-free ร่วมกับวิธีทางการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อระบุไวรัส COVID-19 และยังสามารถจัดหมวดหมู่ของไวรัสนี้กับไวรัสตัวอื่น ๆ ได้ ซึ่งประโยชน์ก็คือเมื่อระบุได้เร็วก็ระวังตัวได้เร็ว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Waterloo Cheriton School of Computer Science

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

ใช้โดรนชาร์จไฟให้เซ็นเซอร์

นักวิจัยจาก American University of Beirut (AUB) ใน เลบานอน และ Italy’s Institute of Electronics, Computer, and Telecommunications Engineering ได้พัฒนาระบบการชาร์จไฟให้กับเซ็นเซอร์โดยใช้โดรนบินผ่านเซ็นเซอร์เหล่านั้น โดยตัวเซ็นเซอร์จะมีเสาอากาศชนิดพิเศษที่จะแปลงคลื่นวิทยุเป็นพลังงานไฟฟ้า

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

หลายภาคส่วนในไต้หวันคัดค้านการใช้บัตรประจำตัวอิเลกทรอนิกส์

หลายภาคส่วนทั้งภาคการศึกษา อตสาหกรรม การเมือง และ NGO ได้ออกมาเซ็นข้อเรียกร้องให้ไต้หวันหยุดการเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเป็นแบบอิเลกทรอนิกส์ไว้ก่อน โดยบัตรประจำตัวประชาชนที่ไต้หวันจะนำมาใช้จะเป็นชิปการ์ด ซึ่งจะเก็บข้อมูลส่วนตัวเช่นชื่อ วันเกิด เลขประจำตัว สถานะการแต่งงาน เพศ ที่อยู่ และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ซึ่งฝ่ายที่ค้านบอกว่าควรยังคงให้ประชาชนมีสิทธิใช้บัตรประจำตัวแบบไม่มีชิปการ์ดไปก่อน และต้องไปจัดการเรื่องการปกป้องข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

เพิ่มเติมเสริมข่าว:

แปลกดีบ้านเราใช้บัตรประจำตัวแบบนี้มานานแล้ว แต่กลับไม่ค่อยใช้ประโยชน์ ใช้ถ่ายเอกสารเอา

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

เทคโนโลยีการกระตุ้นสมองทำให้ผู้ป่วยอัมพาตเล่นกีตาร์ได้อีกครั้ง

ชายผู้ซึ่งสูญเสียประสาทสัมผัสเนื่องจากการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง สามารถกลับมาเล่นกีตาร์ได้อีกครั้ง ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ นักวิจัยจาก Battelle Memorial Institute  พบว่าผู้ป่วยคนหนึ่งที่มือขวาไม่มีความรู้สึก แต่จากการกระตุ้นสมองผ่านทางผิวหนังพบว่ายังมีสัญญาณประสาทเล็ก ๆ ที่ยังส่งไปถึงสมองได้ ดังนั้นวิธีการก็คือใช้อุปกรณ์ที่เป็นการสื่อสารระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ โดยเมื่อสมองแปลสัญญาณนี้ได้แล้ว ให้สมองส่งการควบคุมกลับไปยังกล้ามเนื้อผ่านทางอุปกรณ์นี้ แทนการส่งผ่านไขสันหลังที่เสียหายไปแล้ว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Daily Mail

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

ใช้การเรียนรู้เชิงลึกศึกษาเรื่องเนื้องอก

นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ปัญญาประดิษฐ์การเรียนรู้เชิงลึก ในงานวิจัยที่เกี่ยวกับมะเร็ง นักวิจัยที่ MIT ได้ใช้ ข้อมูลรูปภาพเพื่อหาข้อมูลการกลายพันธ์ ซึ่งถ้าต้องวิเคราะห์ด้วยคนนั้นอาจเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากนั้นนักวิจัยยังได้ใช้การเรียนรู้เชิงลึกทำนายการตอบสนองต่อยาของคนไข้อีกด้วย นักวิจัยยังได้แนะนำว่าปัจจุบันมีเครื่องมือด้านการเรียนรู้เชิงลึกอยู่หลายตัว ซึ่งหลายตัวก็เปิดให้ใช้ฟรี และบางตัวจะช่วยให้นักวิจัยที่ไม่มีทักษะในการเขียนโปรแกรมมากนักสามารถใช้งานการเรียนรู้เชิงลึกได้ ตัวอย่างเช่น ZeroCostDL4Mic ซึ่งใช้ Colab ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ฟรีของ Google สำหรับนักพัฒนา AI 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Nature00