วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ก้าวแรกกับการต่อสู้กับจดหมายขยะ

นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Indiana ได้ศึกษาวิธีการที่คนสร้างจดหมายขยะรวบรวมรายชื่ออีเมลของเหยื่อ ซึ่งเป็นก้าวแรกของโครงการรณรงค์ต่อต้านจดหมายขยะ โดยเขาค้นพบว่าอีเมลที่พวกส่งจดหมายขยะได้มาส่วนใหญ่จะเป็นอีเมลที่ถูกโพสต์ไว้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่นคอมเมนต์บนบล็อก หรือเว็บบอร์ด มากกว่าที่จะได้มาจากอีเมลที่ใช้ในการสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ โดยพวกคนที่จะสร้างจดหมายขยะจะใช้โปรแกรมเข้ามาอ่านข้อมูลทีมีการโพสต์บนเว็บไซต์ และกรองอีเมลจากข้อมูลดังกล่าว วิธีการที่นักวิจัยแนะนำในการแก้ปัญหานี้คือ ถ้าเราต้องการโพสต์อีเมลลงไปเป็นส่วนหนึ่งของการคอมเมนต์ให้ใช้คำว่า at แทนที่จะเป็นเครื่องหมาย @ เช่น abc@cde.com ก็ให้ใช้เป็น abc at cde.com เป็นต้น

ที่มา
Technology Review

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เฟรมเวอร์กสำหรับสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้

โครงการ European OpenInterface (OI) ได้พัฒนาเฟรมเวอร์กสำหรับสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้เมาส์ไปคลิกที่ไอคอนต่าง ๆ ประเด็นก็คือมีการพัฒนาวิธีติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ มานานแล้ว แต่การคิดค้นแต่ละครั้งผู้ที่คิดค้นก็ต้องเริ่มทำขึ้นมาตั้งแต่ต้น เช่นจะต้องศึกษาคุณลักษณะของอุปกรณ์ พัฒนาให้มันใช้ได้กับระบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ และต้องทำการทดสอบมากมาย ซึ่งเฟรมเวอร์กนี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยในตัวเฟรมเวอร์กจะมีคลังของคอมโพเนนต์ต่าง ๆ ให้ผู้พัฒนาได้ลองนำเอาคอมโพเนนต์เหล่านั้นมาประกอบกัน เพื่อให้มองเห็นภาพการทำงานร่วมกันของคอมโพเนนต์ต่าง ๆ

ที่มา
ICT Result

อินเทอร์เน็ตโพรโตคอลสำหรับใช้ในอวกาศ

มหาวิทยาลัย Colorado at Boulder (CU-Boulder) ร่วมมือกับ NASA เพื่อพัฒนาอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมระหว่างดาวต่าง ๆ จุดประสงค์ก็เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง NASA และองการอวกาศอื่น ๆ กับยานอวกาศจากชาติต่างๆ ที่กำลังสำรวจดวงจันทร์ หรือดาวอังคารทำได้โดยสะดวก เทคโนโลยีใหม่นี้มีชื่อว่า Disruption Tolerant Networking (DTN) สาเหตุที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ใช้อยู่บนโลกได้ก็เพราะว่า อินเทอร์เน็ตที่อยู่บนโลกกำหนดให้ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ที่กำลังรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ในอวกาศโอกาสที่สัญญาณเชื่อมต่อจะขาด ๆ หาย ๆ เป็นเรื่องปกติ เช่นในขณะที่ยานอวกาศกำลังเคลื่อนตัวไปด้านหลังดาวเคราะห์ หรือในขณะที่เกิดพายุสุริยะ ซึ่งระบบใหม่นี้จะเก็บข้อมูลเอาไว้ให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลออกไปเมื่อเหตุการณ์เป็นปกติแล้ว นอกจากจะใช้ระบบใหม่นี้ในอวกาศได้แล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้บนโลกได้ด้วยเช่นใช้ในการติดตามฝูงสัตว์ ในบริเวณที่เป็นป่าเขาในประเทศโลกที่สาม หรือใช้ในทางการทหาร

ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)

อินเทอร์เน็ตโพรโตคอลสำหรับใช้ในอวกาศ

มหาวิทยาลัย Colorado at Boulder (CU-Boulder) ร่วมมือกับ NASA เพื่อพัฒนาอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมระหว่างดาวต่าง ๆ จุดประสงค์ก็เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง NASA และองการอวกาศอื่น ๆ กับยานอวกาศจากชาติต่างๆ ที่กำลังสำรวจดวงจันทร์ หรือดาวอังคารทำได้โดยสะดวก เทคโนโลยีใหม่นี้มีชื่อว่า Disruption Tolerant Networking (DTN) สาเหตุที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ใช้อยู่บนโลกได้ก็เพราะว่า อินเทอร์เน็ตที่อยู่บนโลกกำหนดให้ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ที่กำลังรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ในอวกาศโอกาสที่สัญญาณเชื่อมต่อจะขาด ๆ หาย ๆ เป็นเรื่องปกติ เช่นในขณะที่ยานอวกาศกำลังเคลื่อนตัวไปด้านหลังดาวเคราะห์ หรือในขณะที่เกิดพายุสุริยะ ซึ่งระบบใหม่นี้จะเก็บข้อมูลเอาไว้ให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลออกไปเมื่อเหตุการณ์เป็นปกติแล้ว นอกจากจะใช้ระบบใหม่นี้ในอวกาศได้แล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้บนโลกได้ด้วยเช่นใช้ในการติดตามฝูงสัตว์ ในบริเวณที่เป็นป่าเขาในประเทศโลกที่สาม หรือใช้ในทางการทหาร

ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รถไฟใต้ดินชนกัน(ในวอชิงตันดีซี)เผยให้เห็นปัญหาของระบบอัตโนมัติ

จากกรณีที่รถไฟใต้ดินสายสีแดงในวอชิงตันดีซีชนกัน ทำให้เห็นปัญหาที่เกิดจากระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยถ้าระบบยิ่งทำงานน่าเชื่อถือมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งทำให้คนไม่ค่อยจะให้ความสนใจมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็อาจนำไปสู่การทำงานที่ผิดพลาดจนเกิดความเสียหายร้ายแรงได้ ยิ่งไปกว่านั้นระบบอัตโนมัติในปัจจุบันมักจะบอกให้คนปล่อยการควบคุมให้กับเครื่อง โดยระบบอัตโนมัติในปัจจุบันเริ่มที่จะกีดกันการทำงานของคนออกไปเรื่อย ๆ ผู้เชี่ยวชาญเริ่มเห็นตรงกันว่าน่าจะดีกว่าถ้าออกแบบให้ระบบอัตโนมัติ เข้ามาเสริมการทำงานของคนให้ถูกต้องแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แทนที่จะกีดกันคนออกไป

ที่มา
The Washington Post