วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566

การเรียนรู้ของเครื่องแบบควอนตัมช่วยแก้ปัญหาการหาเส้นทางเมื่อเกิดภัยธรรมชาติ

diagrams-on-blackboard
Photo by Dan Cristian Pădureț on Unsplash

ทางแก้ปัญหา (solution) การเรียนรู้ของเครื่อง ( machine learning) แบบควอนตัมที่พัฒนาโดยนักวิจัยที่ Terra Quantum และ Honda Research Institute Europe (HRI-EU) มีเป้าหมายเพื่อลดเวลาการอพยพระหว่างการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ

เครื่องมือประมวลผลควอนตัมแบบไฮบริด ซึ่งทำการจำลองควอนตัมบนฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์แบบคลาสสิก จะพิจารณาตัวแปรแบบเรียลไทม์ และสามารถตัดสินใจได้โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในตัวเองเท่านั้น

ในการจำลองแผ่นดินไหวบนแผนที่ของเมืองเล็ก ๆ ที่สมจริง ทางแก้ปัญหานี้สามารถคาดการณ์เส้นทางหลบหนีของยานพาหนะที่มีประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนได้ และลดเวลาการอพยพให้สั้นลงโดยใช้ข้อมูลแผนที่น้อยกว่า 1%

Sebastian Schmitt จาก HRI-EU กล่าวว่า "การนำมาใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง อาจทำให้เทคโนโลยีควอนตัมเปิดเผยศักยภาพของมัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในสาขานี้ในปัจจุบัน งานนี้แสดงให้เห็นถึงก้าวย่างที่เต็มไปด้วยความหวังในทิศทางดังกล่าว และแสดงให้เห็นถึงวิธีการใช้สถาปัตยกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานของควอนตัม-คลาสสิก ในการใช้งานจริง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: HPCwire


วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566

นวัตกรรมการเรียนรู้ของเครื่องลดการใช้พลังงานคอมพิวเตอร์

mainframe
ภาพจาก WSU Insider

กรอบ (framework) การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Washington State University (WSU) และ Intel สามารถจัดการการใช้พลังงานเพื่อลดการใช้พลังงานในโปรเซสเซอร์คอมพิวเตอร์แบบมัลติคอร์

นักวิจัยได้ออกแบบอัลกอริธึมเพื่อเลือกระดับแรงดันไฟฟ้าและความถี่สำหรับคลัสเตอร์ต่างๆ ของโปรเซสเซอร์ 64 คอร์ เฟรมเวิร์กที่ปรับขนาดได้ได้เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงานโดยไม่ลดประสิทธิภาพการทำงานของโปรเซสเซอร์หลายตัว ทำให้ประหยัดพลังงานได้สูงสุดถึง 60%

Jana Doppa จาก WSU กล่าวว่านวัตกรรมนี้ได้รับการออกแบบมาสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ในอนาคตที่โปรเซสเซอร์อาจมีมากถึง 1,000 คอร์ อย่างไรก็ตามมันสามารถนำไปใช้กับระบบฝังตัวที่มีขนาดเล็กมากด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: WSU Insider

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566

การสร้างตัวแบบพฤติกรรมโซเชียลมีเดียเพื่อสู้กับข้อมูลที่ผิดพลาด

social-medai-icons
Photo by Alexander Shatov on Unsplash


นักวิจัยที่นำโดย Alexander Nwala ของ  College of William and Mary ได้เปิดตัว Behavioral Languages for Online Characterization (BLOC) ซึ่งเป็นกรอบภาษาสากลสำหรับการสร้างแบบจำลองพฤติกรรมโซเชียลมีเดีย

Nwala และเพื่อนร่วมงานที่ Indiana University Observatory on Social Media ออกแบบ BLOC เพื่อต่อสู้กับข้อมูลที่ผิดในเชิงรุกโดยจัดให้มีภาษาท้องถิ่นสำหรับการอธิบายพฤติกรรมของโซเชียลมีเดีย โดยทำให้การกระทำที่อาจเป็นอันตรายสามารถจดจำได้ง่ายขึ้น

Nwala กล่าวว่านักวิจัยสุ่มตัวอย่างโพสต์จากบัญชีโซเชียลมีเดียที่ระบุภายในระยะเวลาที่กำหนด และใช้ตัวอักษรเฉพาะเพื่อเข้ารหัสข้อมูล

BLOC รวบรวมพฤติกรรมของผู้ใช้ในลักษณะที่สามารถปรับให้เข้ากับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายผ่านพฤติกรรม และอักขระที่ใช้ในเนื้อหา

Nwala กล่าวว่า "เราสร้างแบบจำลองที่จับภาพเครื่องจักรและพฤติกรรมของมนุษย์ จากนั้นเราจะค้นหาว่าบัญชีที่ไม่รู้จักนั้นใกล้กับมนุษย์หรือเครื่องจักรมากกว่า"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: William & Mary News

วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566

เครื่องมือเจาะทะลวงโฆษณาที่โจมตีโดยใช้วิศวกรรมสังคม

pop-up-ad-blocker
ภาพจาก  Georgia Tech Research

Trident ซึ่งพัฒนาโดยนักวิจัยที่ Georgia Institute of Technology (Georgia Tech) คือโปรแกรมเสริมที่เข้ากันได้กับ Google Chrome ซึ่งสามารถบล็อกโฆษณาออนไลน์ที่ใช้วิศวกรรมสังคมได้ โดยที่นักวิจัยอธิบายว่ามีประสิทธิภาพเกือบสมบูรณ์

Zheng Yang จาก Georgia Tech กล่าวว่า "เป้าหมายคือการระบุโฆษณาที่น่าสงสัยซึ่งมักจะนำผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายหรือกระตุ้นให้มีการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ไม่พึงประสงค์ Trident ทำงานภายในเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของ Chrome และใช้ AI ที่ซับซ้อนเพื่อประเมินภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น"

นักวิจัยสร้าง Trident โดยใช้ชุดข้อมูลที่รวบรวมจากเว็บไซต์กว่า 100,000 แห่ง ซึ่งช่วยระบุการโจมตี 1,479 ครั้ง ครอบคลุมการโจมตีทางวิศวกรรมสังคม 6 ประเภททั่วไปที่เจอบนเว็บ

Trident มีอัตราการตรวจจับโฆษณาที่เป็นอันตรายที่เกือบจะสมบูรณ์แบบตลอดระยะเวลาหนึ่งปี โดยให้อัตราผลบวกลวงเพียง 2.57%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Georgia Tech Research

วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566

ทำไมญี่ปุ่นถึงพัฒนา ChatGPT ของตัวเอง

Fugaku-Supercomputer
ภาพจาก Nature

รัฐบาลญี่ปุ่น บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น และนักวิจัยในญี่ปุ่นกำลังทำงานเพื่อสร้าง ChatGPT เวอร์ชันที่มีตัวแบบภาษาขนาดใหญ่ (large language model) หรือ LLM ที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น

LLM ที่ได้รับการฝึกอบรมโดยใช้ชุดข้อมูลในภาษาอื่นไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างในระบบตัวอักษร โครงสร้างประโยค และวัฒนธรรม

Tokyo Institute of Technology, Tohoku University, Fujitsu และ RIKEN กลุ่มศูนย์วิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล กำลังร่วมมือกันในการสร้าง LLM ของญี่ปุ่นโดยใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Fugaku LLM ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวในปีหน้า อาจมีพารามิเตอร์อย่างน้อย 3 หมื่นล้านตัว

ในขณะเดียวกัน LLM ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของญี่ปุ่นสามารถเริ่มต้นด้วยพารามิเตอร์แสนล้านตัว และเพิ่มขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป

Shotaro Kinoshita จาก  Keio University School of Medicine กล่าวว่าการพัฒนา ChatGPT เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นที่แม่นยำอาจมี "ผลกระทบเชิงบวกต่อการวิจัยร่วมระหว่างประเทศ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Nature