วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ซอฟต์แวร์ตรวจจับบ็อตอาจไม่แม่นยำอย่างที่เราเห็น

twitter
Photo by Souvik Banerjee on Unsplash

นักวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) พบว่าความแม่นยำของตัวแบบการตรวจจับบ็อตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอาจต่ำกว่าที่รายงานไว้ เนื่องจากข้อจำกัดในข้อมูลการฝึกอบรม

นักวิจัยใช้ตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่มีขายทั่วไปกับชุดข้อมูล Twitter จากพื้นที่เก็บข้อมูลที่ของโดย Indiana University ซึ่งตรวจแยกบอทจากคนด้วยความแม่นยำ 99%

การวิเคราะห์เชิงลึกแสดงให้เห็นว่าตัวแบบที่ได้รับการฝึกฝนให้ทำงานได้ดีในชุดข้อมูลหนึ่งไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพดีกว่าการคาดเดาแบบสุ่มในชุดข้อมูลอื่น โดยแนะนำว่าตัวแบบที่ใช้งานทั่วไปที่ได้รับการฝึกฝนบนข้อมูลดังกล่าวอาจเสี่ยงต่อข้อผิดพลาดในสถานการณ์จริง

นักวิจัยยังได้เรียนรู้ว่าอัลกอริทึมที่ค่อนข้างง่ายให้ความแม่นยำคล้ายกับตัวแบบที่ซับซ้อนกว่าสำหรับชุดข้อมูลหลาย ๆ ชุด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT Sloan School of Management


วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การสำรวจพบว่าร้อยละ 92 ของนักเขียนโปรแกรมใช้เครื่องมือ AI

cloud-computing
ภาพจาก  ZDNet

การสำรวจล่าสุดโดย GitHub พบว่า 92% ของนักพัฒนาในสหรัฐอเมริกาใช้เครื่องมือเขียนโค้ดปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI โดยมีเพียง 6% เท่านั้นที่ใช้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงานอย่างเดียว

จากการสำรวจนักพัฒนา 500 คนในสหรัฐอเมริกา 70% กล่าวว่าโค้ดของพวกเขาได้รับประโยชน์อย่างมากจาก AI ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าเครื่องมือเขียนโค้ด AI มีประโยชน์ในการบรรลุมาตรฐานด้านประสิทธิภาพด้วยคุณภาพโค้ดที่ดีกว่า เอาต์พุตที่เร็วขึ้น และปัญหาในระดับการใช้งานจริงที่น้อยลง

อย่างไรก็ตาม โค้ดที่เขียนด้วย AI ดูเหมือนจะเป็นจุดจบสำหรับนักพัฒนา เนื่องจากการสำรวจพบว่าพวกเขา “ต้องการเพิ่มทักษะด้านการออกแบบแก้ปัญหา รับข้อเสนอแนะจากผู้ใช้ปลายทาง และประเมินทักษะการสื่อสารของพวกเขา” Inbal Shani จาก GitHub กล่าว “

หัวหน้าโครงการจะต้องเริ่มถามว่าการวัดปริมาณโค้ดยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการวัดความสามารถในการผลิตและผลลัพธ์หรือไม่"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2566

จากการสำรวจพบว่าภาษา Rust เป็นภาษาที่ได้รับความชื่นชมที่สุด

iron-rust
Photo by michael schaffler on Unsplash

การสำรวจนักพัฒนาซอฟต์แวร์ Stack Overflow ปี 2023 พบว่า Rust เป็นภาษาโปรแกรมที่ผู้ตอบแบบสอบถามชื่นชมมากที่สุด โดยเกือบ 85% ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ Rust ต้องการที่จะใช้มันต่อไป เทียบกับ 58% สำหรับ JavaScript และ 66% สำหรับ Python

TypeScript และ  Zig ซึ่งเป็นตัวเลือกแทนภาษา C ได้รับความชื่นชมรองลงมา JavaScript เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้มากที่สุดในบรรดานักพัฒนาเกือบ 90,000 คนติดต่อกันเป็นปีที่ 11 รองลงมาคือ HTML/CSS และ Python PostgreSQL และ Amazon Web Services เป็นฐานข้อมูล และแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ใช้มากที่สุดตามลำดับ

เทคโนโลยีเว็บที่ใช้มากที่สุดสองตัวคือ Node.js และ React ในขณะที่ GitHub Copilot และ Tabnine เป็นเครื่องมือที่นักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ใช้มากที่สุด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: InfoWorld


วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566

คอมพิวเตอร์วิทัศน์แบบผสมรวมเอาฟิสิกส์และบิ๊กดาต้าเข้าด้วยกัน

hybrid-AI-Computer-vision
ภาพจาก UCLA Samueli School of Engineering

นักวิจัยจาก University of California, Los Angeles (UCLA) และ US Army Research Laboratory ได้ผสมผสานฟิสิกส์ และเทคนิคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI

การศึกษาของพวกเขามุ่งเน้นไปที่การผสมผสานฟิสิกส์เข้ากับชุดข้อมูล AI สถาปัตยกรรมเครือข่าย และฟังก์ชันการสูญเสียเครือข่าย (network loss funcion) 

Achuta Kadambi ของ UCLA กล่าวว่า "รูปแบบการอนุมานที่คำนึงถึงฟิสิกส์สามารถช่วยให้รถยนต์ขับเคลื่อนได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น หรือหุ่นยนต์ผ่าตัดมีความแม่นยำมากขึ้น" 

นักวิจัยพบว่าวิธีการแบบผสมผสานอาจทำให้การติดตามและทำนายการเคลื่อนไหวของวัตถุเที่ยงตรง และแม่นยำยิ่งขึ้นโดยใช้ AI  นักวิจัยกล่าวว่าในที่สุด AI ที่ใช้การเรียนรู้เชิงลึกอาจเรียนรู้กฎของฟิสิกส์ได้ด้วยตัวเอง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UCLA Samueli School of Engineering

วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2566

แฮกเกอรฺ์สามารถขโมยกุญแจเข้ารหัสด้วยการบันทึกไฟ LED

LED-Hack
ภาพจาก Ars Technica

การศึกษาวิจัยใหม่ได้เปิดเผยช่องโหว่ที่ช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถขโมยคีย์เข้ารหัสโดยบันทึกวิดีโอของไฟ LED จากระยะไกลถึง 60 ฟุต 

การโจมตีทำงานโดยใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริงที่ว่าไฟ LED บนอุปกรณ์เหล่านี้ปล่อยแสงจาง ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปตามปริมาณพลังงานที่อุปกรณ์ใช้ ด้วยการบันทึกกำลังไฟมราเปล่งออกมาด้วยกล้องวิดีโอ จากนั้นวิเคราะห์วิดีโอทีละเฟรม นักวิจัยสามารถสร้างกุญแจเข้ารหัสที่ใช้เข้ารหัสข้อมูลบนอุปกรณ์ขึ้นมาใหม่ได้

นักวิจัยสามารถแยกกุญแจอัลกอริทึมลายเซ็นดิจิทัล Elliptic Curve 256 บิตจากสมาร์ทการ์ดที่รัฐบาลอนุมัติใบเดียวกับที่ใช้ในการโจมตีแบบ side-channel ของการจู่โจม Minerva 

อีกตัวอย่างหนึ่งคือช่องโหว่ที่สองกู้คืนกุญแจ Supersingular Isogeny Key Encapsulation ของโทรศัพท์ Samsung Galaxy S8 โดยใช้กล้องของ iPhone 13 กับไฟ LED ของลำโพง USB ที่ต่ออยู่กับโทรศัพท์

การค้นพบนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้นเพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน และตอกย้ำความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการเข้ารหัสที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง เพราะจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica