วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ฮาร์ดแวร์ที่ทำให้ AI คำนวณเร็วขึ้นและใช้พลังงานน้อยมาก

processor
ภาพจาก MIT News

นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้พัฒนาเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์แบบแอนะล็อก(analog) ที่ใช้ฟอสโฟซิลิเกตกลาส (phosphosilicate glass) หรือ PSG เพื่อให้สามารถคำนวณได้เร็วขึ้นและประหยัดพลังงานมากขึ้น 

การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) แบบแอนะล็อกทำได้โดยการเพิ่มและลดค่าการนำไฟฟ้าของตัวต้านทานแบบโปรแกรมได้โปรโตนิก ซึ่งควบคุมโดยการเคลื่อนที่ของโปรตอนเข้าและออกจากช่องสัญญาณในตัวต้านทาน

นักวิจัยใช้ PSG เพื่อสร้างตัวต้านทานโปรโตนิกที่สามารถโปรแกรมได้ ซึ่งเร็วกว่าอุปกรณ์ที่เร็วที่สุดที่นักวิจัยพัฒนามาก่อนหน้านี้ถึง 1 ล้านเท่า มันยังสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิห้องโดยใช้พลังงานน้อยกว่ามาก

Murat Onen แห่ง MIT กล่าวว่า "เมื่อคุณมีโปรเซสเซอร์แบบแอนะล็อก คุณจะไม่เป็นเหมือนเครือข่ายการฝึกอบรมที่คนอื่นใช้งานอยู่อีกต่อไป แต่คุณจะเป็นเครือข่ายการฝึกอบรมที่มีความซับซ้อนอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน และมีประสิทธิภาพเหนือกว่าทุกเครือข่าย หรืออาจพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า นี่ไม่ใช่รถที่เร็วขึ้น แต่มันคือยานอวกาศ”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2565

แก้ปัญหาที่มีตัวแปร 3,854 ตัวได้ใน 6 นาที ด้วยการคำนวณแบบควอนตัม

CPU
Photo by Jeremy Bezanger on Unsplash

Quantum Computing Inc. (QCI) แก้ปัญหาการปรับให้เหมาะสม (optimization) ที่มีตัวแป 3,854 ตัวของ BMW ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันได้ในหกนาที โดยใช้โซลูชัน Entropy Quantum Computing (EQC) เพื่อกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของเซ็นเซอร์ยานพาหนะในการแข่งขัน Vehicle Sensor Placement Challenge 2022 ของ BMW  ตัว 

EQC ใช้ปัจจัยของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในการคำนวณ ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยที่ไม่ต้องมีการควบคุมตัวแปรทุกตัวที่อยู่นอกหน่วยประมวลผลควอนตัม

Bob Liscouski จาก QCI กล่าวว่า "เราเชื่อว่าสิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าเทคโนโลยีนวตกรรมการคำนวณแบบควอนตัมสามารถแก้ปัญหาจริงทางธุรกิจในปัจจุบันได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Tom's Hardware

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565

การติดตามไฟป่าที่แม่นยำยิ่งขึ้นโดยใช้โซเชียลมีเดีย

twitter
ภาพจาก  Imperial College London (U.K.)

ตัวแบบการทำนายไฟป่าด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) หรือ ML ใช้โซเชียลมีเดียและข้อมูลของพื้นที่จากดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์และติดตามแบบเรียลไทม์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น

“แทนที่จะมีเครือข่ายของกล้องหรือเซ็นเซอร์สภาพอากาศเพื่อติดตามไฟป่า คุณสามารถใช้เครือข่ายของผู้ใช้เครือข่ายสังคมหรือ 'เซ็นเซอร์มนุษย์' ที่โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติแบบเรียลไทม์ได้” Jake Lever นักวิจัยจาก Imperial College London (ICL) ซึ่งพัฒนาตัวแบบกล่าว

นักวิจัยรวมข้อมูล Twitter กับข้อมูลดาวเทียมจาก Global Fire Atlas เพื่อสร้างตัวแบบ Sentimental Wildfires ML ซึ่งได้รับการฝึกสอนโดใช้ข้อมูลไฟป่าจากพื้นที่จริง และจากเครือข่ายสังคมผ่านเฟรมเวอร์กวิเคราะห์เนื้อหาข้อความของ Sentimental Analysis

พวกเขาทดสอบตัวแบบโดยใช้ชุดข้อมูลในปี ค.ศ. 2016 สองชุดจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย และผลการวิจัยของพวกเขาบ่งชี้ว่าโซเชียลมีเดียคาดการณ์การเกิดไฟป่าได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Imperial College London (U.K.)

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565

คิดว่าถนนควรจะได้รับการออกแบบใหม่ไหมถาม AI ดูสิ

AI-Redesigned-Street
Stuart Road, in Katz’s hometown of Herndon, Virginia. 
Credit: Zach Katz/OpenAI

Zach Katz ศิลปินจากกบรู๊คลินและอดีตนักเคลื่อนไหว ใช้ระบบ DALL-E 2 ของ OpenAI ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI  เพื่อออกแบบถนนใหม่ให้เป็นมิตรกับคนเดินถนนและจักรยานมากขึ้น

DALL-E 2 ซึ่งเป็นรุ่นที่สองของโครงข่ายประสาทเทียม DALL-E สามารถแปลงข้อความเป็นคุณลักษณะที่มองเห็นได้และแสดงว่าคุณลักษณะเหล่านี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร ต้องขอบคุณชุดข้อมูลการฝึกอบรมขนาดใหญ่

ผู้ใช้สามารถป้อนข้อความค้นหาและขอรูปแบบและคุณสมบัติเฉพาะจาก AI แม้ว่าผลลัพธ์จะมีความลำเอียงกับผู้หญิงและคนผิวสีเนื่องจากขาดข้อมูลการฝึกอบรมที่หลากหลาย Katz โพสต์ภาพถนนที่สร้างใหม่ของ DALL-E บน Twitter โดยมีคำขอให้ออกแบบใหม่จากทั่วโลกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565

การเข้ารหัสควอนตัมอาจทำให้เกิดการสื่อสารที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง

quantum-encryption-machine
ภาพจาก Silicon Republic

การเข้ารหัสด้วยควอนตัมรูปแบบใหม่อาจถึงจุดที่สามารถทำให้เกิดการสื่อสารที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง โดยช่วยอำนวยความสะดวกในการกระจายคีย์ควอนตัมระหว่างอุปกรณ์สองเครื่อง โดยอิงจากการพัวพันของควอนตัม (quantum entanglement) ตามคำกล่าวอ้างของทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ

นักวิจัยจำกัดไอออนเดี่ยวสองตัว—ผู้ส่งและตัวรับ—ในกับดักที่แยกจากกันซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยใยแก้วนำแสง การพัวพันช่วยให้ผู้ส่งและผู้รับสร้างผลลัพธ์ร่วมกันโดยไม่มีการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม

นักวิจัยกล่าวว่าระบบนี้อาจนำไปสู่การสื่อสารแบบสองฝ่ายที่ "อยู่เหนือพื้นฐาน" ของการควบคุมโดยศัตรู และยังสามารถรับประกันการสื่อสารแบบส่วนตัว ด้วยสมมติฐานทั่วไปเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Silicon Republic