วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

การเขียนโค้ดที่ผิดพลาดทำให้ตัวประมวลผลกราฟิกของอินเทลทำงานช้าลงร้อยเท่าในการทำเรย์เทรซซิง

GPU
Photo by Nana Dua on Unsplash

ข้อผิดพลาดในการเขียนโค้ดของไดรเวอร์ของหน่วยประมวลผลกราฟิก (graphic processing unit) หรือ GPU ของอินเทล (Intel) บนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) ซึ่งตั้งใจจะทำให้การทำเรย์เทรซซิง (ray tracing) เร็วขึ้น 100 เท่า กลับทำงานช้าลง ท่ามกลางข่าวที่ว่าไดรเวอร์ของ Arc GPU ของอินเทลก็มีปัญหากับวินโดวส์ (Windows) 

ไดรเวอร์ Mesa Vulkan ซึ่งเป็นแบบเปิดเผยโค้ดต้นฉบับ (open source) ของอินเทล มักจะรับประกันว่าหน่วยความจำชั่วคราวที่ใช้สำหรับการทำเรย์เทรซซิงของ Vulkan จะอยู่ในหน่วยความจำภายใน แต่โค้ดที่ขาดหายไปข้ามการจัดสรรหน่วยความจำในลักษณะนี้

สิ่งนี้ทำให้โปรแกรมควบคุมเปลี่ยนเอาข้อมูลที่ใช้ในการทำเรย์เทรซซิงไปใช้หน่วยความจำระบบภายนอกที่ช้า แล้วจึงย้อนกลับมาใช้หน่วยความจำภายใน เว็บไซต์ข่าวลินุกซ์ชื่อ Phoronix กล่าวว่าวิศวกรที่พัฒนาไดรเวอร์กราฟิกของอินเทลบนลินุกซ์ Lionel Landwerlin ได้ปล่อยโปรแกรมแก้ไข Mesa 22.2 ที่รวมเข้าไปในไดรเวอร์ Vulkan ซึ่งจะให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ใช้งานภายในสิ้นเดือนสิงหาคม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Tom's Hardware

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่จู่โจมการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมากขึ้น

rensomware
ภาพจาก Inside Higher Ed

บริษัทความมั่นคงทางไซเบอร์ Sophos รายงานการโจมตีของซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ทั่วโลกในปีที่แล้วว่า  เกือบ 75% ของการโจมตีของซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ในสถาบันอุดมศึกษานั้นประสบความสำเร็จ และมีเพียง 2% ของเหยื่อเท่านั้นที่เอาข้อมูลทั้งหมดกลับคืนมาได้ แม้แต่หลังจากจ่ายค่าไถ่แล้ว

ภาคการศึกษาระดับสูงใช้เวลาฟื้นตัวหลังการโจมตีช้าที่สุด โดย 40% ของเหยื่อใช้เวลามากกว่าหนึ่งเดือนในการฟื้นฟู เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 20% 

Jeremy Epstein ประธานคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาของ ACM กล่าวว่า "เมื่อภาคส่วนใดปรับปรุงการป้องกัน คนเลวจะไปที่ไหนสักแห่งที่การป้องกันต่ำกว่า ที่ทำให้พวกเขาสามารถหาเงินได้ง่าย"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Inside Higher Ed

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

แอปติดตามการสัมผัสผู้ป่วยของ Google และ Apple อาจถูกโจมตีทางดิจิทัล

contract-tracing-app
ภาพจาก  Ohio State News

แอปพลิเคชันติดตามการสัมผัสผู้ป่วยที่ขับเคลื่อนโดย Google/Apple Exposure Notification framework (GAEN) มีความเสี่ยงต่อการโจมตีซ้ำ (replay attach) ตามสภาพภูมิศาสตร์ ตามการกล่าวอ้างของนักวิจัยจาก Ohio State University (OSU)

การโจมตีจะเกิดจากการที่บุคคลที่สาม ดักจับและใช้ประโยชน์จากข้อมูลติดตามการสัมผัสที่ถูกส่งออกมาจากโทรศัพท์ของผู้ใช้จากพื้นที่หนึ่ง และนำไปส่งซ้ำในพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป

Anish Arora แห่ง OSU กล่าวว่า "เนื่องจากเฟรมเวิร์กทำงานเป็นโปรโตคอลไร้สาย ใครๆ ก็เพิ่มข้อมูล โควิดปลอมเข้าไปได้ และการได้ข้อมูลเท็จเหล่านั้น อาจทำลายความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อระบบติดตามการสัมผัสผู้ป่วย"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ohio State News

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ไมโครซอฟท์เปิดตัวจำลองการบินเพื่อฝึกโดรน

microsof-drone-traning
ภาพจาก BBC News

โปรแกรมจำลองการบินใหม่ของไมโครซอฟท์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อฝึกระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ของโดรนทางอากาศที่ทำงานอัตโนมัติ Project AirSim ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ดำเนินการทดสอบการจำลองการบินได้ในสถานที่ที่อาจเป็นอันตรายเกินไปในที่จะทดลองบินได้จริง ๆ ได้หลายล้านเที่ยวในไม่เวลากี่วินาที

 Project AirSim ทำงานบนแพลตฟอร์ม Azure cloud computing ของไมโครซอฟท์ Josh Riedy จากบริษัทตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้โดรนอย่าง Airtonomy กล่าวว่าเครื่องจำลอง "ยอมให้เราเราทำผิดพลาดได้" ในการฝึกโดรน รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ใช้กำหนดสถานการณ์ "จะเกิดอะไรขึ้นหาก" ซึ่งอาจอันตรายเกินไปสำหรับการทดสอบจริง ๆ ไมโครซอฟท์กล่าวว่าแพลตฟอร์มที่เป็นกรรมสิทธิ์ใหม่นี้ต้องการความรู้ด้านเทคนิคน้อยกว่าเครื่องจำลองที่มีอยู่ก่อนหน้านี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: BBC News

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

เมื่อทักษะทางภาษาของ AI เก่งขึ้น นักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มกังวล

researcher-AI
นักวิจัยผู้สร้าง BLOOM ภาพจาก  Associated Press

นักวิทยาศาสตร์กังวลเกี่ยวกับการใช้ตัวแบบภาษาขนาดใหญ่ในแชทบ็อตและเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะผู้สร้างพวกมันปกปิดการทำงานภายในและข้อบกพร่องที่อาจทำให้ระบบดังกล่าวแพร่กระจายข้อมูลที่ผิด 

Percy Liang แห่ง Stanford University กล่าวว่าบริษัทต่างๆ เผชิญกับแรงกดดันจากการแข่งขันที่จะไม่เปิดเผยเทคโนโลยีที่เป็นรากฐานของตัวแบบภาษาขนาดใหญ่ หรือเป็นพันธมิตรกับมาตรฐานของชุมชน

นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งทำงานร่วมกับรัฐบาลของฝรั่งเศสเพื่อเปิดตัวแบบภาษาขนาดใหญ่ BigScience Large Open-science Open-access Multilingual Language Mode (BLOOM) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นคู่แข่งกับตัวแบบแบบปิดเช่น GPT-3 ของ Microsoft BLOOM ทำงานได้กับ 46 ภาษา ในขณะที่ระบบส่วนใหญ่เน้นที่ภาษาอังกฤษหรือจีน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press