วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

แอปบน iOS ยังคงติดตามเราอยู่ไม่ว่า Apple จะพูดยังไงก็ตาม

smartphone-usage
ภาพจาก Ars Technica

นักวิจัยจาก University of Oxford แห่งสหราชอาณาจักรพบว่าแอป iOS ยังคงติดตามผู้ใช้ได้แม้ว่านโยบาย App Tracking Transparency (ATT) ของ Apple จะห้ามไม่ให้นักพัฒนาแอปติดตามกิจกรรมของผู้ใช้ในแอปต่างๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างชัดแจ้ง

นักวิจัยพบแอป iOS 9 แอปที่ใช้โค้ดฝั่งเซิร์ฟเวอร์เพื่อสร้างตัวระบุผู้ใช้ร่วมกัน ซึ่งสามารถใช้สำหรับการติดตามข้ามแอปโดยบริษัทในเครือของ Alibaba ของจีน พวกเขายังเปรียบเทียบแอป 1,685 ตัวก่อนและหลังการติดตั้ง ATT โดยพบว่าจำนวนไลบรารีการติดตามที่ใช้โดยแอปนั้นคงที่

แม้ว่าแอป 25% จะบอกว่าไม่ได้รวบรวมข้อมูลผู้ใช้ แต่ 80% มีไลบรารีตัวติดตามอย่างน้อยหนึ่งไลบรารีนักวิจัยยังพบว่ามากกว่าครึ่งของแอพที่ใช้ SKAdNetwork, Google Firebase Analytics และ Google Crashlytics และ 47% ของแอพที่ใช้ Facebook SDK ไม่เปิดเผยว่ามีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica


วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อุปกรณ์สวมใส่จะสามารถติดตามความรุนแรงของโควิด 19 ได้หรือไม่

smartwatch
Photo by Ivan Shilov on Unsplash

การศึกษาที่ดำเนินการโดยนักวิจัยของ University of Michigan (U-M) ใช้ข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อพิจารณาว่าสมาร์ทวอทช์สามารถติดตามพัฒนาการของอาการ COVID-19 ได้ดีเพียงใด  นักวิจัยศึกษาข้อมูลตัวจากตัวติดตามสมรรถภาพจากแพทย์ฝึกหัด 43 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา 72 คน ซึ่งมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก

พวกเขาพบว่าเมื่อโรคเริ่มแสดงอาการ ผู้เข้าร่วมการศึกษามีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นต่อการก้าวเดินหนึ่งก้าว และยิ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นถ้ามีอาการไอ Daniel Forger จาก UM กล่าวว่า "คนส่วนใหญ่ที่ใช้ข้อมูลนี้คิดว่าอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเพียงตัวเลขตัวหนึ่ง แต่อัตราการเต้นของหัวใจเป็นสัญญาณสำคัญที่สะท้อนถึงกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ มากมาย นั่นคือสิ่งที่เป้าหมายของเราในฐานะนักคณิตศาสตร์: เราสามารถที่จะเอาชุดของตัวเลขเช่น อัตราการเต้นของหัวใจ เสียง และทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วบอกความแตกต่างระหว่างสัญญาณของร่างกายได้หรือไม่"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: HealthDay News


วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

ระบบค้นคว้ายาใหม่ ๆ ด้วย AI อาจถูกนำไปปรับใช้ในการสร้างอาวุธเคมี

ai-drug-discovery
ภาพจาก Scientific American

นักวิทยาศาสตร์จาก Collaborations Pharmaceuticals ได้นำเสนองานวิจัยในการประชุม Spiez CONVERGENCE ในปี 2020 ที่สวิตเซอร์แลนด์ว่า เฟรมเวิร์กการค้นคว้ายาที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อผลิตอาวุธเคมี

นักวิจัยได้ใช้ซอฟต์แวร์ MegaSyn ของ Collaborations เพื่อสร้างรายการของโมเลกุลที่เป็นพิษซึ่งคล้ายกับสารสื่อประสาท VX ซึ่งสร้างออกมาได้ 40,000 ตัวอย่าง ซึ่งรวมถึงสารที่สามารถใช้เป็นอาวุธอื่น ๆ นอกเหนือจาก VX ในเวลาน้อยกว่าหกชั่วโมง

Fabio Urbina แห่ง Collaborations กล่าวว่าทีมก่อนหน้านี้เคยใช้ MegaSyn เพื่อสร้างโมเลกุลที่ใช้ในการรักษาโดยมีเป้าหมายระดับโมเลกุลเดียวกันกับ VX ในขณะที่โมเลกุลที่เป็นพิษถูกสร้างขึ้นโดยขอให้ระบบออกแบบโมเลกุลที่คล้ายกันโดยไม่มีข้อมูลเข้าเชิงโครงสร้าง

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าการวิจัยไม่ได้ตอบคำถามสำคัญว่าการใช้ซอฟต์แวร์ AI เพื่อค้นหาสารพิษจะสามารถนำไปสู่การพัฒนาอาวุธชีวภาพในทางปฏิบัติได้หรือไม่

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Scientific American

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565

I Feel Fine

วันศุกร์นี้อยากมาชวนฟังเพลงกันครับ ไม่ได้ฟังกันมานานแล้ว เพลงที่จะมาชวนฟังก็เป็นเพลงของ The Beatles คือ I Feel Fine เหตุผลก็ไม่มีอะไรมากครับ เพราะหนึ่งในฐานะแฟนบอลลิเวอร์พูลมาอย่างเหนียวแน่นมาสีสิบกว่าปีได้  ตามข่าวความสำเร็จของทีมจากหนังสือนิตยสารเป็นส่วนใหญ่ในยุค ปลาย  70 ต่อ 80 ที่ทีมครองความยิ่งใหญ่ เพราะในช่วงนั้นการสื่อสารยังไม่ดีเท่าทุกวันนี้ โอกาสจะมีบอลถ่ายทอดทีมโปรดมาให้ดูสักนัดก็ยากมาก ผ่านยุคตกต่ำที่ต้องมองความสำเร็จของแมนยูปีแล้วปีเล่าในยุค 90 ที่ได้เริ่มดูถ่ายทอดสดได้มากขึ้น แต่ก็ต้องมองทีมตัวเองมีได้แค่ลุ้นตอนต้น ๆ ของฤดูกาล แล้วก็ค่อย ๆ หายไปจนไม่มีเหลือลุ้นอะไร เหมือนที่แมนยูเป็นอยู่ตอนนี้

แต่ถึงตอนนี้คงต้องบอกว่ากองเชียร์ลิเวอร์พูลทุกคนคงจะอยู่ในสถานะ I Feel Fine เพราะผลงานของทีมที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใต้การดูแลของชายที่ชื่อว่า เจอร์เก็น คลอปป์ ซึ่งกำลังพาลิเวอร์พูลกลับสู่ยุครุ่งเรื่องอีกครั้ง ในฤดูกาลนี้ก็ยังมีลุ้นทุกรายการที่ลงแข่ง เป็นทีมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทีมที่ดีที่สุดทีมหนึ่งของโลก และนอกจากนี้ยังมีข่าวดีอีกคือ คลอปป์ ยอมขยายสัญญาตัวเองออกไปจากที่จะหมดลงในปี 2024 เป็นปี 2026 ดูหมือนว่ามันจะขยายไปอีกไม่นาน แต่สำหรับแฟนลิเวอร์พูลแล้ว ผมว่าคลอปป์ยอมต่อสัญญาออกไปแม้จะเป็นแค่ปีเดียวก็ทำให้แฟน ๆ มีความสุขแล้ว เพราะมันหมายความว่าลิเวอร์พูลก็จะมีโอการประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นไปอีกตามจำนวนปีที่คลอปป์อยู่ต่อ

นอกจากจะรู้สึก Fine แบบชื่อเพลงแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ผมอยากจะมาชวนฟังเพลงนี้ก็เพราะ กองเชียร์ลิเวอร์พูลที่อังกฤษได้แต่งเพลงสั้น ๆ ให้คลอปป์ โดยใช้ทำนองเพลง I Feel Fine นี้ครับ ไปฟังเพลงและดูเนื้อร้องของเพลงนี้กันก่อนครับ 


 Baby's good to me, you know

She's happy as can be, you know
She said so
I'm in love with her and I feel fine

Baby says she's mine, you know
She tells me all the time, you know
She said so
I'm in love with her and I feel fine

I'm so glad that she's my little girl
She's so glad, she's telling all the world
That her baby buys her things, you know
He buys her diamond rings, you know
She said so
She's in love with me and I feel fine, mm

Baby says she's mine, you know
She tells me all the time, you know
She said so
I'm in love with her and I feel fine

I'm so glad that she's my little girl
She's so glad, she's telling all the world
That her baby buys her things, you know
He buys her diamond rings, you know
She said so
She's in love with me and I feel fine
She's in love with me and I feel fine

และนี่คือเพลงของคลอปป์ครับ



เนื้อเพลงก็สั้น ๆ ตามนี้ครับ

I'm so glad that Jurgen is a Red.

I'm so glad he delivered what he said.

Jurgen said to me, you know. We'll win the Premier League, you know. He said so.

I'm in love with him and I feel fine.


วันศุกร์นี้ก็ขอแสดงความ Fine ตามประสาเดอะค็อปสักวันนะครับ และก็ตามลุ้นให้ทีมทำภารกิจ 4 แชมป์ ที่แทบจะเป็น mission impossible ได้สำเร็จ 

กังวลว่าโทรศัพท์มือถือของคุณกำลังแอบฟังอยู่ใช่ไหม

voice-editing-program
Photo by Kelly Sikkema on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของ Columbia University ได้พัฒนาอัลกอริธึมที่สามารถบล็อกอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลาบจากการสอดแนมผู้ใช้ โดยสร้างเสียงที่เงียบมาก ๆ  Carl Vondrick แห่ง Columbia กล่าวว่าอัลกอริธึมสามารถบล็อกไมโครโฟนที่แอบซ่อนอยู่เพื่อฟังเสียงได้ 80% ของเวลาทั้งหมดโดยการซ่อนเสียงของคน

Mia Chiquier จาก Columbia อธิบายว่าโปรแกรมใช้การโจมตีแบบคาดเดา สัญญาณที่สามารถขัดขวางรูปแบบการรู้จำคำพูดอัตโนมัติที่ถูกสอนให้ถอดเสียง ระบบจะทำงานนี้ในเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาจริงโดยคาดการณ์การโจมตีในอนาคตของสัญญาณหรือคำ โดยอ้างอิงจากสองวินาทีของคำพูดที่ใช้เป็นข้อมูลเข้า ระดับเสียงของการโจมตีใกล้เคียงกับเสียงรบกวนที่มีอยู่ตามปกติเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงสามารถสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Columbia Engineering News