วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

แผ่นแปะที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติให้วัคซีนได้โดยไม่ต้องฉีด

3d-vaccine-patch
ภาพจาก University of North Carolina at Chapel Hill

นักวิทยาศาสตร์จาก  Stanford University และ University of North Carolina at Chapel Hill (UNC) ได้ออกแบบแผ่นแปะ (patch) วัคซีนที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งให้การป้องกันมากกว่าการฉีดวัคซีนที่แขนโดยทั่วไป แผ่นแปะพอลิเมอร์ที่มีเม็ดเข็มขนาดไมโครถูกนำไปใช้แปะผิวหนังโดยตรง ส่งผลให้การตอบสนองของภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น 10 เท่า และการตอบสนองของ T-cell และแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนเพิ่มขึ้น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการฉีดปกติ Shaomin Tian แห่ง UNC กล่าวว่าเข็มขนาดไมโครนั้นถูกพิมพ์แบบ 3 มิติ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการออกแบบแผ่นแปะโดยเฉพาะสำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โรคหัด ไวรัสตับอักเสบ หรือ COVID-19 Joseph M. DeSimone ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ กล่าวว่า "ในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เราหวังว่าจะวางรากฐานสำหรับการพัฒนาวัคซีนทั่วโลกอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ใช้โดสที่น้อยลง และปราศจากความเจ็บปวดและความวิตกกังวล"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of North Carolina at Chapel Hill


วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

เทคนิคการเข้ารหัสช่วยปกป้องรูปภาพบนคลาวด์

Cloud-encryption
ภาพจาก Scientific American

เครื่องมือ Easy Secure Photos (ESP) ที่สร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของ Columbia University สามารถเข้ารหัสภาพถ่ายที่จัดเก็บบนคลาวด์ได้ ในขณะที่ยังคงอนุญาตให้ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตสามารถเรียกดูและแสดงภาพของพวกเขาได้ ESP จะสร้างบล็อกของพิกเซลไว้โดยเลื่อนพวกมันไปรอบ ๆ เพื่อปิดบังภาพ โดยจะแบ่งรูปภาพออกเป็นสามไฟล์แยกกันเพื่อให้มีข้อมูลสีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงิน จากนั้นจึงใส่บล็อกพิกเซลรบกวนรอบ ๆ ไฟล์เหล่านั้น ไฟล์ยังคงถุกต้อง แต่จะปรากฏเป็นภาพนิ่งขาวดำแบบเม็ดเล็กสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ไฟล์ยังคงสามารถบีบอัดและเข้ากันได้กับแพลตฟอร์มเก็บข้อมูลบนคลาวด์จำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้ที่มีคีย์การถอดรหัสที่ถูกต้องจะสามารถดูรูปต้นฉบับได้ ผู้ใช้ยังสามารถเข้าถึงภาพถ่ายจากอุปกรณ์หลายเครื่องผ่าน ESP โดยใช้ระบบที่อุปกรณ์แต่ละเครื่องมีคู่คีย์ที่ไม่ซ้ำกัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Scientific American

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564

สองรัฐใหญ่สุดในออสเตรเลียทดลองซอฟต์แวร์รู้จำใบหน้า

Australia-Polices
ภาพจาก Reuters

รัฐ New South Wales (NSW)  และ Victoria ในออสเตรเลีย กำลังทดสอบระบบรู้จำใบหน้าเพื่อให้ตำรวจตรวจสอบว่าผู้คนอยู่บ้านในช่วงล็อกดาวน์หรือไม่ Genvis ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้พัฒนาเทคโนโลยีนี้เมื่อปีที่แล้วร่วมกับตำรวจรัฐ Western Australia เพื่อช่วยบังคับใช้ข้อจำกัดการเคลื่อนไหวในช่วงการระบาด ระบบจะให้คนตอบรับคำขอเช็คอินแบบสุ่มโดยถ่ายรูป "เซลฟี่" ซึ่งหากซอฟต์แวร์ตรวจแล้วไม่ตรงกับ "ลายเซ็นใบหน้า" อาจทำให้ตำรวจมาตรวจสอบที่บ้านได้ การทดสอบเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันเมื่อเดือนที่แล้วในรัฐSouth Australia ได้กระตุ้นให้เกิดความโกรธเคืองจากผู้สนับสนุนความเป็นส่วนตัว เกี่ยวกับการสอดแนมที่มากเกินไป Edward Santow จาก University of Technology, Sydney กล่าวว่า "เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าอาจดูเหมือนเป็นวิธีที่สะดวกในการตรวจสอบผู้คนที่ถูกกักกัน แต่...หากมีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีนี้ จะมีความเสี่ยงที่่สูง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564

อย่ายุกยิก Wi-fi จะนับคุณ

counting-crowd
ภาพจาก The Current (University of California, Santa Barbara)

นักวิจัยจาก University of California, Santa Barbara (UCSB) ใช้สัญญาณ Wi-Fi เพื่อประเมินจำนวนคนในกลุ่มที่นั่งอยู่กับที่ โดยคนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องพกอุปกรณ์ใด ๆ วิธีการนี้ต้องการแค่เครื่องส่งและตัวรับสัญญาณไร้สายนอกพื้นที่ที่สนใจจะนับ เครื่องส่งจะส่งสัญญาณและเครื่องรับจะวัดปริมาณพลังงานที่ได้รับ ผลการคำนวณจำนวนคนในพื้นที่ที่กำหนดนั้นออกใกล้เคียงกับตัวเลขจริง Yasamin Mostofi จาก UCSB กล่าวว่าเทคนิคนี้แก้ปัญหาในการนับคนที่เคลื่อนไหวร่างกายเพียงเล็กน้อย ซึ่งมักจะเคลื่อนไหวร่างกายตามธรรมชาติเล็ก ๆ ที่เรียกว่ายุกยิก (fidgets) วิธีการนี้แยกพฤติกรรมการยุกยิกของฝูงชนที่อยู่นิ่งโดยใช้สถิติ และเชื่อมโยงสิ่งนี้กับจำนวนคนที่นั่งทั้งหมด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Current (University of California, Santa Barbara)

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564

การปล่อยมลพิษจากการทำงานของคอมพิวเตอร์และ ICT อาจเลวร้ายกว่าที่คิด

data-center
ภาพจาก Lancaster University (U.K.)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communication technology) หรือ ICT ทั่วโลก  อาจเลวร้ายกว่าที่คำนวณไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นคำแนะนำจากนักวิจัยจาก Lancaster University แห่งสหราชอาณาจักรและ Small World Consulting ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน (sustainability)   ทีมงานกล่าวว่าการประมาณการก่อนหน้านี้ที่บอกว่า ICT มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกที่ 1.8% ถึง 2.8% มีแนวโน้มที่จะมองในแง่อนุรักษ์นิยมเกินไป เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงวงจรชีวิตที่สมบูรณ์และห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์และโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT นักวิจัยให้ความเห็นว่าว่าปริมาณ 2.1% ถึง 3.9% ของการปล่อยก๊าซน่าจะใกล้เคียงกว่าแม้ว่าอาจจะยังมีความไม่แน่นอนอยู่ในการคำนวณนี้ ทีมงานยังเตือนด้วยว่าแนวโน้มด้านการประมวลผลและไอซีทีแบบใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และบล็อคเชนและสกุลเงินดิจิทัล  สามารถเพิ่มการปล่อยมลพิษทางไอซีทีเพิ่มได้อีก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Lancaster University (U.K.)