วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อีกไม่นานคนที่นั่งรถคันเดียวกันสามารถฟังเสียงที่ต่างกันได้

car-PSZ
ภาพจาก PhysicWorld

อัลกอริธึมเกี่ยวกับการได้ยินเสียง (acoustic) ที่สร้างขึ้นโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Le Mans ของฝรั่งเศสและ Stellantis ผู้ผลิตรถยนต์ในเนเธอร์แลนด์ ช่วยให้ผู้ฟังสองคนที่นั่งติดกันในรถยนต์เพื่อฟังเสียงที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงโดยไม่ต้องใช้หูฟัง ระบบจะตรวจสอบลักษณะของเสียงที่ปล่อยออกมาจากลำโพงแบบติดตั้งพนักพิงศีรษะในแบบเรียลไทม์ก่อน จากนั้นอัลกอริธึมจะปรับตัวกรองของระบบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งที่นั่ง โดยปรับตำแหน่งของโซนเสียงส่วนบุคคล (personalized sound zone) หรือ PSZ ของผู้โดยสารแต่ละคน ในระหว่างการทดสอบ เมื่อเบาะนั่งข้างหนึ่งเลื่อนไปข้างหน้า 15 ซม. ในขณะที่อีกที่นั่งอยู่ที่เดิม อัลกอริธึมสามารถรักษาความต่าง 30 เดซิเบลระหว่าง PSZ สองตัวได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งความดังนี้เป็นความแตกต่างระหว่างการกระซิบและการสนทนาปกติ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Physicsworld.com

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กรีซอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศโดยปลอดภัยจาก COVID-19 ได้ยังไง

covid-19-test
ภาพจาก University of Southern California

นักวิจัยจาก University of Southern California (USC) Marshall School of Business, Wharton School of Business ของ University of Pennsylvania บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารความมั่งคั่ง AgentRisk และGreece's universities of Athens and Thessaly ของกรีซได้ร่วมมือกันพัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถระบุ นักเดินทางที่ติด COVID-19 ที่ไม่มีอาการได้ อัลกอริทึม “Eva” ใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อระบุนักท่องเที่ยวที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อทำการทดสอบ นักวิจัยพบว่าอัลกอริธึมสามารถระบุนักเดินทางที่ติดเชื้อที่ไม่มีอาการที่เดินทางไปยังกรีซได้เกือบสองเท่า เมื่อเทียบกับการที่ประเทศที่ใช้เพียงข้อจำกัดการเดินทาง และการทดสอบแบบสุ่ม อีวาเคยถูกใช้เพื่อแยกข้อมูลที่ได้รับจากนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างโปรไฟล์ของผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะติดเชื้อและไม่มีอาการ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Southern California

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ปุ่ม dislike อาจปรับปรุงคำแนะนำของ Spotify

spotify-dislike
ภาพจาก Cornell Chronicle

ทีมวิจัยที่ Cornell University ได้พัฒนาอัลกอริธึมคำแนะนำที่อาจปรับปรุงผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเสียงและสื่อ  Spotify โดยผสมผสานทั้งความชอบ (like) และไม่ชอบ (disklike) ทีมวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ฟังมีแนวโน้มที่จะชอบเพลงมากขึ้นประมาณ 20% หากอัลกอริธึมแนะนำได้รับการฝึกฝนจากทั้งข้อมูลชอบและไม่ชอบทั้งหมด 400,000 ครั้ง ซึ่งต่างจากอัลกอริธึมที่ฝึกฝนโดยใช้ข้มูลเฉพาะการชอบเท่านั้น Sasha Stoikov จาก Cornell กล่าวว่าอัลกอริธึมที่เน้นไปที่ปุ่มที่ชอบเท่านั้นมีโอกาสแนะนำเพลงที่ผู้ฟังไม่ชอบมากขึ้น  ระบบใหม่นี้มีชื่อว่า Piki จะเลือกเพลงจากฐานข้อมูลประมาณ 5 ล้านเพลง และให้เงินผู้ใช้ 1 ดอลลาร์ต่อ 25 เพลงที่พวกเขาให้คะแนน ซึ่ง Stoikov กล่าวว่า "เป็นการจูงใจให้ผู้ใช้ลงคะแนนตามความจริง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Cornell Chronicle


วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564

นักวิจัยพบช่องโหว่ด้านความมั่นคงในแอพที่ใช้คู่กับอุปกรณ์บ้านอัจฉริยะ

Iot-Lab-Florida-Tech
ภาพจาก Florida Institute of Technology

นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีฟลอริดาค้นพบ "ข้อบกพร่องที่ร้ายแรงในการเข้ารหัส" ในแอพของสมาร์ทโฟนที่ใช้กับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมยอดนิยม 16 ตัว นักวิจัยทำการโจมตีแบบ "man-in-the-middle"" บนอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ( Internet of Things) หรือ IoT 20 เครื่อง และพบว่าผู้จำหน่ายอุปกรณ์ 16 รายไม่ได้ดำเนินมาตรการด้านความมั่นคงเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจมตีดักจับการสื่อสารของอุปกรณ์ IoT อุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบส่วนหนึ่งได้แก่ Amazon Echo, Blink camera, Google Home camera, Hue lights, Lockly lock, Momentum camera, Nest camera, NightOwl doorbell, Roku TV, Schlage lock, Sifely lock, SimpliSafe alarm, SmartThings lock, UltraLoq lock, และ Wyze camera นักวิจัยพบว่าอุปกรณ์ของ Arlo, Geeni, TP-Link และ Ring ไม่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีนี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Florida Institute of Technology

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

NASA ส่งหุ่นยนต์ไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอาร์คติก

Saildrone
ภาพจาก NASA

สำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ NASA ได้ส่งหุ่นยนต์สองตัวไปยังอาร์กติกในตอนต้นเดือนกรกฎาคมเพื่อรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล และสามารถประมาณอุณหภูมิมหาสมุทรได้ดีขึ้นได้จากที่นั่น นักวิจัยของ NASA ร่วมมือกับ Saildrone ผู้ผลิตยานยนต์พื้นผิวไร้คนขับ (unmanned surface vehicle ) หรือ USV โดยหวังว่าจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมโดยหุ่นยนต์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคนั้น เซ็นเซอร์แรงลมและพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในการขับเคลื่อน Saildrone USV อัตโนมัติ ซึ่งบังคับทิศทางจากระยะไกลได้หลายร้อยไมล์ ยานพาหนะสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดาวเทียม ซึ่งอาจนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงอัลกอริธึมที่จำลองการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ NASA Arctic Cruise 2021 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Multi-Sensor Improved Sea Surface Temperature (MISST) ซึ่งเป็นโครงการระดับนานาชาติ และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อเพิ่มการวิจัยและการพยากรณ์อากาศและสภาพภูมิอากาศ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NASA