วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564

AI เขียนบทความวิชาการในระดับวิทยาลัยให้ผ่านได้ใน  20 นาที

ภาพจาก ZDNet

นักวิจัยจาก Education Reference Desk (EduRef) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ และนักเรียนที่ต้องการเข้าเรียนต่อ พบว่าเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์  (artificial intelligence) หรือ AI สามารถเขียนบทความประจำวิชาที่อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาต้องเขียนในภาคเรียน ได้ภายใน 3 ถึง 20 นาที และได้เกรดที่ผ่าน นักวิจัยได้จัดกลุ่มอาจารย์มาให้เกรดโดยไม่รู้ว่าใครเป็นคนส่งงานมา โดย AI  ที่ใช้เขียนบทความส่งเข้ามาคือ GPT-3 ของ Open AI ซึ่งทำธุรกิจด้านงานวิจัยที่มี Elon Musk  เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง โดยในการวิจัยได้ให้ AI  เขียนบทความในหลากหลายหัวข้อทั้งทางด้านประวัติศาสตร์อเมริกา ระเบียบวิธีวิจัย (ประสิทธิภาพของวัคซีน COVID-19) การเขียนเชิงสร้างสรรค์ และกฎหมาย ผลการทดลองพบว่า GPT-3 ได้เกรดเฉลี่ยอยูที่ C โดยได้เกรดตกเพียงหนึ่งบทความ คะแนนสูงสุดที่ได้อยู่ในในหัวข้อ ประวัติศาสตร์อเมริกา และกฎหมาย โดยได้เกรด B- ส่วนบทความวัคซีน COVID-19 ได้เกรด C โดยได้คะแนนสูงกว่าผู้เขียนที่เป็นคนหนึ่งคนด้วย นักวิจัยบอกว่า "แม้ว่าจะไม่มีคนเข้ามาช่วยเขียนเลย แต่ GPT-3 ก็ได้รับข้อคิดเห็นที่ไม่ต่างจากบทความที่คนเขียน" และต้องไม่ลืมว่าโดยเฉลี่ยคนจะใช้เวลาสามวันในการเขียนบทความระดับนี้ แต่ GPT-3 ใช้เวลาเพียง 3 ถึง 20 นาที 


อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564

ช่องโหว่ความมั่นคงของบัตรเครดิตถูกพบเป็นครั้งที่ 2

Photo: Adobestock

นักวิจัยจาก ETH Zurich ของสวิตเซอร์แลนด์พบวิธีการหลีกเลี่ยงมาตรการความมั่นคง (security) ในการใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตโดยไม่มีรหัส PIN ก่อนหน้านี้นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการข้ามความมั่นคงเป็นไปได้ในบัตรวีซ่า ในขณะที่การวิจัยใหม่แสดงให้เห็นว่าวิธีรักษาความมั่นคงอาจถูกข้ามได้ในบัตร Mastercard และ Maestro โดยการใช้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างตัวการ์ดและเทอร์มินัลที่อ่านการ์ด วิธีนี้ตอนแรกใช้ได้เฉพาะกับบัตร Visa เท่านั้น แต่นักวิจัยสามารถจัดการขั้นตอนการชำระเงิน ทำให้เครื่องรับทำธุรกรรมของ Visa ในขณะที่ตัวบัตรนั้นทำธุรกรรมของ Mastercard หรือ Maestro นักวิจัยแจ้งให้ Mastercard ทราบถึงผลการวิจัยนี้ โดยหลังจากนั้นบริษัทได้อัปเดตการป้องกันที่เกี่ยวข้องแล้ว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ETH Zurich (Switzerland)

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564

ทำไมผู้ชายตีพิมพ์บทความวิชาการมากกว่าผู้หญิง

ภาพจาก CU Boulder Today

ผู้หญิงในแวดวงวิชาการมักจะประสบปัญหาผลิตบทความได้ลดลงหลังจากมีลูกในขณะที่ผู้ชายไม่ได้รับผลกระทบนี้  นักวิจัยของ  University of Colorado Boulder (CU Boulder) ชี้ให้เห็นความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในบททาทการเป็นพ่อแม่ ผู้หญิงตีพิมพ์บทความได้น้อยลง 20% เป็นเวลาหลายปีหลังจากมีลูก ในบรรดาอาจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แม่ตีพิมพ์บทความได้น้อยกว่าพ่อโดนเฉลี่ย 17.6 บทความ ในระยะเวลา 10 ปี หลังจากมีลูก  Aaron Clauset ของ CU Boulder กล่าวว่า "นโยบายใด ๆ ที่สามารถดึงดูดให้พ่อมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะลดช่องว่างของผลผลิตที่ต่างกันระหว่างเพศนี้" 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CU Boulder Today

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ฝนหนักมีผลต่อการตรวจจับวัตถุของเซ็นเซอร์ LiDAR ในรถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง

ภาพจาก ACM

นักวิจัยจาก University of Warwick ในสหราชอาณาจักรพบว่าเซ็นเซอร์ LiDAR บนยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพน้อยลงในการตรวจจับวัตถุในระยะไกลในช่วงที่ฝนตกหนัก นักวิจัยใช้เครื่องจำลอง WMG 3xD ของมหาวิทยาลัยเพื่อทดสอบเซ็นเซอร์ LiDAR ของรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยใช้ความแรงของฝนที่แตกต่างกันที่เกิดขึ้นบนถนนจริง พวกเขาพบว่าเมื่อปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจนถึง 50 มม. ต่อชั่วโมง การตรวจจับวัตถุโดยเซ็นเซอร์จะลดลงโดยต้องใช้ระยะทางที่ไกลขึ้น  Valentina Donzella จาก Warwick กล่าวว่า "ในที่สุดเราได้ข้อยืนยันแล้วว่า การตรวจจับวัตถุโดยเซ็นเซอร์ LiDAR นั้นยังมีปัญหาอยู่ ยิ่งฝนตกหนักเท่าไร มันก็ยิ่งต้องใช้ระยะทางไกลมากขึ้น"


อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Warwick (U.K.)

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

อุปกรณ์ดมกลิ่นหาโรคซึ่งสามารถสู้กับจมูกของสุนัขได้

ภาพจาก MIT News

ระบบที่พัฒนาโดยทีมงานจากหลายสถาบัน รวมถึงนักวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) สามารถตรวจจับสารเคมี และจุลินทรีย์จากตัวอย่างอากาศได้ด้วยความไวมากกว่าจมูกของสุนัขถึง 200 เท่า เมื่อจับคู่กับการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) นักวิจัยกล่าวว่าระบบของพวกเขาสามารถระบุคุณสมบัติของตัวอย่างที่เป็นพาหะของโรคได้ ระบบนี้ได้ฝังความสามารถในการดมกลิ่นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมให้ทำงานในรูปแบบเซ็นเซอร์ ซึ่งสายธารของข้อมูล (data stream) สามารถจัดการได้ในระบบเวลาจริงโดยใช้สมาร์ตโฟน ระบบนี้มีอัตราผลสำเร็จเทียบได้กับจมูกของสุนัขดมกลิ่น เมื่อทดสอบจากตัวอย่างปัสสาวะ 50 ตัวอย่างที่ได้รับการบืนยันแล้วว่ามาจากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และกลุ่มควบคุมที่ไม่เป็นโรค ซึ่งทั้งระบบนี้และสุนัขสามารถทำนายได้ที่ความแม่นยำกว่า 70%   Andreas Mershin จาก MIT กล่าวว่าเครื่องตรวจจับกลิ่นดังกล่าวซึ่งติดตั้งอัลกอริธึมขั้นสูง สามารถระบุสัญญาณเริ่มต้นของโรคได้เร็วกว่าระบบการตรวจคัดกรองทั่วไป

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News