ภาพจาก ACM |
อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Warwick (U.K.)
ภาพจาก ACM |
อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Warwick (U.K.)
ภาพจาก MIT News |
ระบบที่พัฒนาโดยทีมงานจากหลายสถาบัน รวมถึงนักวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) สามารถตรวจจับสารเคมี และจุลินทรีย์จากตัวอย่างอากาศได้ด้วยความไวมากกว่าจมูกของสุนัขถึง 200 เท่า เมื่อจับคู่กับการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) นักวิจัยกล่าวว่าระบบของพวกเขาสามารถระบุคุณสมบัติของตัวอย่างที่เป็นพาหะของโรคได้ ระบบนี้ได้ฝังความสามารถในการดมกลิ่นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมให้ทำงานในรูปแบบเซ็นเซอร์ ซึ่งสายธารของข้อมูล (data stream) สามารถจัดการได้ในระบบเวลาจริงโดยใช้สมาร์ตโฟน ระบบนี้มีอัตราผลสำเร็จเทียบได้กับจมูกของสุนัขดมกลิ่น เมื่อทดสอบจากตัวอย่างปัสสาวะ 50 ตัวอย่างที่ได้รับการบืนยันแล้วว่ามาจากผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และกลุ่มควบคุมที่ไม่เป็นโรค ซึ่งทั้งระบบนี้และสุนัขสามารถทำนายได้ที่ความแม่นยำกว่า 70% Andreas Mershin จาก MIT กล่าวว่าเครื่องตรวจจับกลิ่นดังกล่าวซึ่งติดตั้งอัลกอริธึมขั้นสูง สามารถระบุสัญญาณเริ่มต้นของโรคได้เร็วกว่าระบบการตรวจคัดกรองทั่วไป
อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News
รายงานโดย European
Photo by Alexander Jawfox on Unsplash |
อ่านข่าวเต็มได้ที่: VentureBeat
Photo by Jun Wai Chin on Unsplash |
อัลกอริทึมที่พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์จาก Skolkovo Institute of Science and Technology (Skoltech) ของรัสเซียและ Saint Petersburg State University สามารถปรับเวลาในสมาร์ตโฟนสำหรับงานที่ต้องใช้การวัดพร้อมกัน การปรับเวลานี้ใช้ Gyroscope ที่เรียกว่า micro-electro-mechanical systems (MEMS) ที่มีอยู่ในสมาร์ตโฟนเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว อัลกอริทึมนี้ถูกใช้ในสมาร์ทโฟนสองเครื่องให้ถ่ายภาพพร้อมกัน ซึ่งการทดลองได้ผลว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าซอฟต์แวร์ปรับเวลาที่มีอยู่ในหลักความแม่นยำหลายไมโครวินาที การใช้งานก็คือให้ถือสมาร์ตโฟนด้วยมือเดียว บิดมันเล็กน้อย แล้วปล่อยให้ซอฟต์แวร์ทำการปรับเวลา ทีมนักวิจัยกำลังปรับวิธีการนี้ให้ใช้กับอุปกรIณ์อื่น ๆ ได้ ไม่ใช่แค่สมาร์ตโฟน และยังมองการใช้เซ็นเซอร์อื่น ๆ อย่าง Lidar และกล้องวัดความลึก
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Skoltech
ภาพจาก The Harvard Gazette |
นักวิจัยจาก Harvard John A. Paulson School of Engineering and Applied Sciences (SEAS), University of Southern California และ Pennsylvania State University ได้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไวรัส HIV ใน ชุมชนที่มีความเสี่ยงสูง ทีมงานร่วมมือกับนักสังคมสงเคราะห์ที่ศูนย์ดรอปอินสำหรับเยาวชนจรจัดสามแห่งซึ่งพวกเขาได้เกณฑ์ผู้เข้าร่วมการศึกษามากกว่า 700 คน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำแผนที่เครือข่ายโซเชียลของผู้เข้าร่วมและใช้อัลกอริทึมเพื่อระบุผู้นำที่มีความเชื่อมโยงกับหลากหลายเครือข่าย ผู้นำเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการป้องกันเอชไอวี และส่งเสริมกลยุทธ์การป้องกันโดยการสื่อสารกับเครือข่ายทางสังคมของพวกเขาที่ศูนย์ดรอปอิน โปรแกรมนี้มีชื่อว่า CHANGE (CompreHensive Adaptive Network samplinG for social influencE) โดยผลวิจัยพบว่าเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีโอกาสน้อยที่จะมีเซ็กส์โดยไม่ป้องกัน เมื่อเทียบกับผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้สังเกตุการณ์เฉย ๆ
อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Harvard Gazette